ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา

    ลำดับตอนที่ #2 : พุทธประวัติ

    • อัปเดตล่าสุด 7 ม.ค. 53


    พุทธประวัติ

    พุทธจริยาพุทธจริยา คือ การปฏิบัติตนหรือการบำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธเจ้า พุทธจริยาประกอบด้วยพระจริยวัตรของพระพุทธเจ้า 3 ประการ ดังนี้
    1. โลกัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์ต่อชาวโลก
    2. ญาตัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์แก่พระประยูรญาติ
    3. พุทธัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์แก่พระองค์เองและผู้อื่นตามหน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะทรงเป็นพระพุทธเจ้า
    โลกัตถะจริยา
    โลกัตถะจริยา คือ การบำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธเจ้าต่อชาวโลก ภายหลังการตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว มีดังนี้
    1. เวลาเช้ามืดก่อนสว่าง ทรงพิจารณาถึงบุคคลหรือสถานที่ที่จะเดินทางไปโปรด
    2. เวลาเช้า เสด็จออกบิณฑบาต
    3. เวลาเย็นแสดงธรรมโปรดประชาชน
    4. เวลาค่ำ ประทานโอวาทแก่พระภิกษุ
    5. เวลาเที่ยงคืน สนทนาธรรมกับเทวดา (กษัตริย์หรือบุคคลชั้นสูง)
    ญาตัตถจริยา
    ญาตัตถจริยา คือ การบำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธเจ้าต่อพระประยูรญาติ ซึ่งประกอบด้วย พระญาติวงศ์ 2 ฝ่าย ตั้งบ้านเมืองอยู่สองฝั่งแม่น้ำโรหิณี ได้แก่ ฝ่ายพระมารดาที่เมืองเทวทหะ แคว้นโกลิยะ และฝ่ายพระบิดาที่เมืองกบิลพัสดุ์ แค้วนสักกะ สรุปพุทธจริยาในข้อนี้ได้ดีนี้
    1. โปรดพระบิดา (พระเจ้าสุทโธทนะ) และพระประยูรญาติที่เมืองกบิลพัสดุ์ เป็นผลให้บิดาและพระญาติวงศ์เกิดความศรัทธาเข้ารับนับถือในพระพุทธศาสนาจำนวนมาก
    2. โปรดพระนางพิมพาและพระราหุล ผลจากการเสด็จไปแสดงธรรมเทศนาโปรดพระประยูรญาติในครั้งนี้ พระนางพิมพา (พระมารดาของพระโอรสราหุล) ได้ขออุปสมบทเป็นภิกษุณี ต่อมาได้ชื่อใหม่ว่า “ภัททากัจจานา” และพระราหุล พระโอรสได้ขอบวชเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา
    3. ทรงระงับกรณีพิพาทระหว่างพระญาติ โดยมีสาเหตุเกิดจากราษฎรชาวเมืองกบิลพัสดุ์กับชาวเมืองโกลิยะขัดแย้งกันเรื่องการทดน้ำเข้านาในในช่วงฝนแล้ง ซึ่งระดับน้ำในแม่น้ำโรหิณีลดลงต่ำ ทำให้กองทัพทั้งสองฝ่ายเตรียมทำสงครามแย่งน้ำกัน พระพุทธเจ้าจึงเสด็จไปห้าม
    พุทธัตถจริยา
    พุทธัตถจริยา คือ การบำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธเจ้าตามหน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะที่ทรงเป็นพระบรมศาสดา มีดังนี้
    1. ทรงแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ (สัตว์ที่พึงสั่งสอนอบรมขัดเกลาได้)
    2. ทรงบัญญัติพระวินัยแก่พุทธบริษัท ได้แก่ ศีล 5 (ชาวพุทธทั่วไป) , ศีล 8 (อุบาสกและอุบาสิกา) , ศีล 227 (ภิกษุ) และศีล 311 (ภิกษุณี)
    3. ทรงมอบความเป็นใหญ่ให้แก่คณะสงฆ์ เช่น มอบอำนาจให้คณะสงฆ์ในชนบทบริหารและปกครองกันเอง และทำพิธีบวชให้แก่ผู้ศรัทธาเลื่อมใส โดยไม่ต้องยึดติดกับพระพุทธองค์
    4. ทรงประกาศให้พระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนพระสงฆ์ ก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ทรงให้โอวาทแก่พระสงฆ์และพุทธบริษัทให้ยึดพระธรรมวินัยเป็นที่พึ่ง หรือเป็นศาสดาแทนพระองค์
     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×