ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา

    ลำดับตอนที่ #1 : ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.38K
      1
      7 ม.ค. 53

    ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา

    หลักการของพระพุทธศาสนากับหลักวิทยาศาสตร์
    หลักของวิทยาศาสตร์

    วิทยาศาสตร์ คือ วิชาที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้าหาหลักฐานและเหตุผลแล้วจึง
    นำมาจัดเข้าเป็นระเบียบ หรือวิชาที่มนุษย์พยายามศึกษาเรื่องราวของตนเองและจักรวาลจนเกิดความรู้ ซึ่งได้มาโดยการสังเกตและค้นคว้าจากธรรมชาติแล้วนำมาจัดระเบียบ หลักการของวิทยาศาสตร์ มีดังนี้
    1. วิทยาศาสตร์เน้นด้านวัตถุนิยม คือสสารและพลังงาน และความสุขทางวัตถุ
    2. วิทยาศาสตร์เชื่อว่าความจริงรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย
    3. วิทยาศาสตร์ไม่ยอมรับความจริงที่เป็นนามธรรม (หรือจิตใจ) ซึ่งสัมผัสจับต้องไม่ได้
    4. วิทยาศาสตร์เน้นให้คนแสวงหาความสุขทางกาย
    5. วิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญกับมูลค่า หรือผลสำเร็จคิดเป็นราคา ต้นทุน และกำไร
                                       
    หลักการของพระพุทธศาสนา

    หลักการสำคัญของพระพุทธศาสนา คือ การเข้าถึงความหลุดพ้นจากความทุกข์ โดย
    จำแนกเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
    1. พระพุทธศาสนายอมรับความจริงอื่นนอกจากวัตถุ
    2. พระพุทธศาสนายอมรับความจริงที่เป็นนามธรรม (จิตใจ) เช่น กรรมดี กรรมชั่ว
    3. พระพุทธศาสนายอมรับในประสาทสัมผัสทั้งห้า และประสาทสัมผัสทางจิต
    4. พระพุทธศาสนาเน้นให้คนเป็นคนดี โดยมุ่งฝึกฝนอบรมทางจิต
    5. พระพุทธศาสนามุ่งเน้นความสงบสุขทางใจ หรือความสุขจากการสละกิเลสตัณหา
    6. พระพุทธศาสนามีเป้าหมายให้ชาวพุทธหลุดพ้นจากความทุกข์ ทั้งในการดำเนินชีวิตประจำวัน (การดำรงชีวิตในสังคม) และดับทุกข์โดยสิ้นเชิง (นิพพาน)
            
       เปรียบเทียบหลักการของพระพุทธศาสนากับหลักวิทยาศาสตร์
    หลักการของพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ มีทั้งเหมือนกันและแตกต่างกัน ดังนี้
    1. หลักการที่เหมือนกัน มี 3 ประการ คือ
    (1) ความจริงที่ค้นพบ เกิดจากการพิสูจน์ให้ประจักษ์ด้วยประสบการณ์ของตนเอง
    (2) จุดมุ่งหมาย มุ่งแสวงหาความจริงที่เกิดประโยชน์ต่อมนุษยชาติ
    (3) วิธีการแสวงหาความจริง เน้นการลงมือปฏิบัติ ทดลอง และพิสูจน์
    2. หลักการที่แตกต่างกัน คือ พระพุทธศาสนามุ่งค้นหาความจริงที่เป็นประสบการณ์
    ด้านจิตใจแต่วิทยาศาสตร์มุ่งแสวงหาความจริงหรือคำตอบที่ต้องการเป็นวัตถุ (สสารและพลังงาน)
    การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนากับการคิดแบบวิทยาศาสตร์
    พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ มีวิธีการที่เป็นระบบเหมือนกัน ดังนี้
    1. วิธีคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา เป็นกระบวนการคิดพิจารณาค้นคว้าหาคำตอบ
    ของพระพุทธเจ้าเพื่อตรัสรู้ สรุป ได้ 2 วิธี คือ
    (1) คิดโดยสืบสาวจากผลไปหาเหตุ เช่น การสังเกตสภาพของคนแก่ คนเจ็บ คน
    ตาย (เป็นผล) และคิดตามหลักอริยสัจ 4 (ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค)
    (2) คิดโดยสืบสาวจากเหตุไปหาผล คือ การคิดจะลงมือปฏิบัติโดยวิธีการต่าง ๆ
    เช่น การบำเพ็ญเพียรทางจิต จะส่งผลให้เกิดการรู้แจ้งในสัจธรรม
    2. วิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ เป็นการคิดใช้เหตุผล หรือคิดตามกระบวนการของ “วิธีการวิทยาศาสตร์” โดยเริ่มตั้งแต่ การสังเกต การรวบรวมข้อมูล การตั้งสมมติฐาน การทดสอบ และการสรุปผลตามลำดับ
    4. ความสอดคล้องกันระหว่างแนวคิดของพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
    พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ มีแนวคิดสอดคล้องกัน 2 ประการ ดังนี้
    1. ความไม่เที่ยงของสรรพสิ่งในโลก สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเกิดขึ้นและดำเนินเป็นไป
    ตามกฎแห่งเหตุและผลตามธรรมชาติ (หลักคำสอนเรื่องไตรลักษณ์ของพระพุทธศาสนา) สอดคล้องกับทรรศนะของวิทยาศาสตร์ที่ว่าทุกสิ่งในสากลจักรวาลมีการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่ง
    2. มนุษย์คือผลผลิตของธรรมชาติ ไม่ได้เกิดจากการปั้นแต่งของพระเจ้า
    3. การพิสูจน์ความจริงอย่างเสรีและมีเหตุผล พระพุทธศาสนาสอนไม่ให้เชื่ออะไร
    ง่าย ๆ (หลักคำสอนเรื่องกาลามาสูตร) โดยไม่ได้พิสูจน์ให้ประจักษ์ด้วยประสบการณ์ของตนเองเสียก่อน ซึ่งสอดคล้องกับหลักแนวคิดของวิทยาศาสตร์เช่นกัน
    ความแตกต่างในแนวคิดระหว่างพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
    มีคำสอนในพระพุทธศาสนาบางเรื่องที่วิทยาศาสตร์ไม่ยอมรับ เพราะวิทยาศาสตร์ไม่สามารถแยกแยะหรือพิสูจน์ได้ มีดังนี้
    1. คำสอนเรื่องของจิต ได้แก่ หลักคำสอนเรื่อง “เบญจขันธ์” หรือองค์ประกอบของมนุษย์ 5 ประการ ได้แก่ รูปขันธ์ (ร่างกาย) และนามขันธ์ 4 (ส่วนประกอบที่เป็นจิต 4 อย่าง ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญาณ) ซึ่งวิทยาศาสตร์ไม่สามารถใช้เครื่องมือพิสูจน์ให้ประจักษ์ได้
    2. คำสอนเรื่องปัญญา คำสอนในพระพุทธศาสนาเรื่องปัญญาขึ้นสูงสุด คือ การ
    เข้าถึงโลกุตระ (ปัญญาที่ที่หลุดพ้นจากกิเลสหรือวิสัยทางโลก) โดยวิธีฝึกอบรมวิปัสสนาจนเกิดปัญญารู้แจ้งตามความจริงนั้น เป็นสิ่งที่วิทยาศาสตร์ยังไม่ยอมรับ



                
               ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
    1. พระพุทธศาสนามีหลักการเป็นประชาธิปไตย
    พระพุทธศาสนาได้ชื่อว่าเป็นศาสนาที่มีลักษณะประชาธิปไตยหลายประการ สรุปดังนี้
    1. ยึดหลักธรรมาธิปไตย โดยใช้เหตุผลเป็นใหญ่ มิใช่ยึดในตัวบุคคล
    2. การไม่บังคับ ให้ชาวพุทธมีเสรีภาพทางความคิดและปฏิบัติ ให้เกิดศรัทธาด้วยปัญญา
    3. การรับฟังความเห็น หรือฟังเสียงของเหล่าพุทธบริษัท 4 และนำมาพิจารณาไตร่ตรอง

    4. การกระจายอำนาจมอบภาระหน้าที่ให้สงฆ์รับผิดชอบใน

    พื้นฐานที่ต่าง ๆ
    5. จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ มุ่งสู่อิสรภาพ

    (หมายถึง บุคคลเป็นอิสระจากกิเลสกองทุกข์เครื่องเศร้าหมองทั้งปวง)หรือ เรียกว่า“วิมุติ”
    6. ความเสมอภาคของบุคคล ไม่ยอมรับในเรื่องชนชั้นวรรณะ
    7. ยึดหลักความถูกต้องตามธรรมะและความเป็นเอกฉันท์ในการลงมติในที่ประชุม   หมายถึง ให้พิจาณาตัดสินจาก “เสียงข้างมาก” ในที่ประชุมสงฆ์ ประกอบกับหลักความถูกต้องตามศีลวินัยสงฆ์และหลักธรรมะ                  อื่น ๆ ประกอบการพิจารณาร่วมกัน
    8. มีหลักธรรมสนับสุนนการประชุมในหมู่สงฆ์และเคารพกฎของการประชุม คือ หลักธรรม เรื่อง
    “อปริหานิยธรรม” มี 7 ประการ เช่น หมั่นประชุมเป็นเนืองนิตย์ เข้าประชุมและเลิกประชุมพร้อมเพรียงกันเป็นต้น
    พระพุทธศาสนาเน้นการฝึกฝนอบรมตนเอง การพึ่งตนเอง และการมุ่งสู่อิสรภาพ
    พระพุทธศาสนาสอนให้ชาวพุทธหมั่นฝึกฝนอบรมตนเอง
    โดยการศึกษาให้ครบทั้ง 3 ด้าน เรียกว่า “ไตรสิกขา” (สิกขา แปลว่า ศึกษา) มีดังนี้
    1. ศีล (อธิสีลสิกขา) คือ การฝึกฝนอบรมตนเองทางด้านศีล โดยควบคุมกายและ
    วาจาไม่ให้เบียดเบียนผู้อื่น (รักษาศีล 5)
    2. สมาธิ (อธิจิตตสิกขา) คือ การฝึกอบรมทางด้านจิตใจ โดยควบคุมจิตใจให้
    อ่อนโยน ปลอดโปร่ง บริสุทธิ์ แน่วแน่ และมั่นคง
    3. ปัญญา (อธิปัญญาสิกขา) คือ การฝึกอบรมตนเองทางด้านปัญญา ให้รู้เท่าทันโลก ตามความเป็นจริง จนจิตใจเป็นอิสระอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลสตัณหา เป้าหมายในการฝึกฝนอบรมตนเอง
    การฝึกฝนอบรมตนเองตามหลัก “ไตรสิกขา” ดังกล่าว มีเป้าหมาย 2 ระดับ คือ

    1. การพึ่งตนเองได้ หมายถึง ควบคุมตนเองได้ทั้งกาย วาจา และใจ ทำให้สามารถ
    ดำเนินชีวิตประจำวันด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง แก้ปัญหาหรือตัดสินใจได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องให้ผู้ใดมาคอยกำกับ
    2. การมีอิสรภาพ เมื่อพึ่งตนเองได้ย่อมมีอิสรภาพ หมายถึงมีอิสระที่จะคิด จะทำ จะ
    ตัดสินใจในเรื่องใด ๆ ได้ด้วยตนเอง การมีอิสระทางจิตใจไม่ตกอยู่อำนาจของใคร ย่อมทำให้ชีวิตมีความสุข

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×