ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา

    ลำดับตอนที่ #8 : วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

    • อัปเดตล่าสุด 7 ม.ค. 53


     

    วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา 

     

            1.  ความสำคัญ วันมาฆบูชา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ได้ชื่อว่าเป็น วันพระธรรม เพราะมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องที่เกิดขึ้นในวันนี้เมื่อครั้งพุทธกาลได้ 2 ประการ คือ

                  (1) มีการประชุมพระสงฆ์สาวกที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต หรือการประชุมที่ประกอบด้วยองค์ 4 คือ

                  - วันประชุมตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ (เดือน 3)

                  - พระสงฆ์สาวก 1,250 รูป ที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์

                  - พระสงฆ์สาวกทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุ (พระพุทธเจ้าทรงบวชให้)

                  - พระสาวกทุกรูปมาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย

                  (2) พระพุทธเจ้าทรงแสดง โอวาทปาติโมกข์ ซึ่งเป็นแม่บทหรือหรือหัวใจของคำสั่งสอนทั้งปวงสรุปได้ 3 ประการ คือ ทำความดีให้พร้อม ไม่ทำบาปทั้งปวง และทำจิตใจให้บริสุทธิ์

            2.  การปฏิบัติของชาวพุทธในวันมาฆบูชา เหมือนกับวันวิสาขบูชา

            3.  หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับวันมาฆบูชา คือ บุญกิริยาวัตถุ 3 หมายถึง วิธีการทำบุญหรือทำความดี 3 ประการ สรุปย่อ ๆ ได้ว่า ทาน ศีล ภาวนา ดังนี้

                  (1) ทาน (ทานมัย) คือ การให้ทาน มีทั้งทานด้วยวัตถุสิ่งของ (วัตถุทาน) , ให้ทานด้วยการให้ความรู้ (ธรรมทาน) และการให้อภัยต่อการกระทำของผู้อื่น (อภัยทาน)

                  (2) ศีล (สีลมัย) คือ การรักษาศีล การควบคุมกายและวาจาให้อยู่ในความดี ปฏิบัติตามศีล 5 หรือ ศีล 8 โดยเคร่งครัด

                  (3) ภาวนา (ภาวนามัย) คือ การเจริญภาวนา หรือฝึกอบรมจิตให้สะอาดบริสุทธิ์

     1.  ความสำคัญสำหรับชาวพุทธ วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปีได้ชื่อว่าเป็น วันพระพุทธเจ้า เพราะมีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ

           (1) เป็นวันคล้ายวันประสูติ   (เมื่อ 80 ปี ก่อน พ.ศ.)

           (2) เป็นวันคล้ายวันตรัสรู้   (เมื่อ 45 ปี ก่อน พ.ศ.)

           (3) เป็นวันคล้ายวันปรินิพพาน (เมื่อ 1 ปี ก่อน พ.ศ.)

            2. ความสำคัญทางสากล ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งชาติ (UN) มีมติให้รับรองวันวิสาขบูชา เป็น วันสำคัญสากล) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา

           3. การปฏิบัติกิจของชาวพุทธ

           (1) ทำบุญตักบาตรในตอนเช้า หรือนำภัตตาหารไปถวายพระสงฆ์ที่วัด

           (2) ฟังพระธรรมเทศนา รักษาศีล

           (3) เวียนเทียนรอบพระอุโบสถในช่วงค่ำ

           4. หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับวันวิสาขบูชา คือ  อิทธิบาท 4 หมายถึงคุณธรรมแห่งความสำเร็จ 4 ประการ นำมาใช้ทั้งในการปฏิบัติหน้าที่การงานและการศึกษาเล่าเรียน มีดังนี้

           (1) ฉันทะ  คือ ความพอใจในสิ่งที่ทำ

           (2) วิริยะ คือ ความขยันหมั่นเพียร

           (3) จิตตะ คือ ความเอาใจใส่ในสิ่งที่ทำ

           (4) วิมังสา คือ การไตร่ตรองหาเหตุผล ใช้ปัญญาตรวจสอบเพื่อปรับปรุงให้ดียิ่ง ๆขึ้น

            1.  ความสำคัญ วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ได้ชื่อว่าเป็น วันพระสงฆ์ เพราะมีพระสงฆ์สาวกองค์แรกเกิดขึ้นในโลก (พระโกณฑัญญะ) มีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในวันนี้คือ

                  (1) การแสดงปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้า ทรงแสดงต่อพราหมณ์ปัญจวัคคีย์ ธรรมที่แสดง คือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร (ปฐมเทศนา)

                  (2) เกิดพระสงฆ์สาวกองค์แรกในโลก คือ พระโกณฑัญญะ

                  (3)  มีพระรัตนตรัยครบองค์สาม คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

           2. การปฏิบัติกิจของชาวพุทธในวันอาสาฬหบูชา เหมือนกับวันวิสาขบูชา

            3. หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับวันอาสาฬหบูชา คือ จักร 4 (จักรธรรม 4) คือ ธรรมที่เปรียบเสมือนล้อรถนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ได้แก่

                  (1) การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม (ที่อยู่อาศัยและที่ทำงานแวดล้อมด้วยคนดี มีความเจริญ)

                  (2) การคบคนดี (คบคนมีความรู้และมีศีลธรรม)

                  (3) การตั้งตนไว้ชอบ (มีจิตตั้งมั่นในคุณความดี)

                  (4) การทำความดีให้ถึงพร้อม (ทำความดีอย่างต่อเนื่อง)

             1. ความสำคัญ วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลิง พุทธสรีระ ณ เมืองกุสินารา เมืองหลวงของแคว้นมัลละ ในปัจจุบัน มีวัดที่จัดพิธีนี้ไม่มากนัก

           2.  การปฏิบัติกิจของชาวพุทธในวันอัฏมีบูชา เหมือนกับวันวิสาขบูชา แต่ไม่มีพิธีเวียนเทียน

           3. หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับวันอัฏฐมีบูชา คือ สุจริต 3 หมายถึง การประพฤติดี ปฏิบัติชอบทางกาย วาจา และใจ เพื่อความสงบสุขของชีวิต 3 ประการ มีดังนี้

                  (1) กายสุจริต ได้แก่ ไม่ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่นทางกาย ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ฯลฯ

                  (2) วจีสุจริต ได้แก่ ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดใดๆ ให้ผู้อื่นเกิดทุกข์ ฯลฯ

                  (3) มโนสุจริต ได้แก่ ไม่คิดทำร้ายหรือโกรธอาฆาตพยาบาทผู้อื่น ให้คิดแต่สิ่งที่ดี ๆ ฯลฯ

         1.  ความสำคัญ วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระสงฆ์เริ่มอยู่จำพรรษาที่วัดแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นเวลา 3 เดือน ตลอดช่วงฤดูฝน เป็นพิธีสำหรับพระสงฆ์โดยตรง

            2. จุดมุ่งหมาย  เพื่อปฏิบัติตามพุทธบัญญัติ คือ ให้พระสงฆ์หยุดพักจากการเดินทางไปจาริกสั่งสอนพระธรรมแก่ชาวพุทธตามชนบทในช่วงฤดูฝน ซึ่งเดินทางยากลำบากและอาจไปเหยียบย่ำพืชผลของชาวไร่ชาวนาให้ได้รับความเสียหายได้

            3. ประโยชน์ที่พระสงฆ์ได้รับ คือ ได้ใช้เวลาศึกษาพระธรรมวินัยให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น แลเปิดโอกาสให้ชาวพุทธเข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ เพื่อศึกษาพระธรรมตลอดช่วงฤดูพรรษา

            4.  ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ คือ ได้ปฏิบัติตนรักษาศีลให้เคร่งครัดตลอดฤดูพรรษา เช่น งดเหล้า การพนัน ฯลฯ ได้ฟังพระธรรมเทศนา ตักบาตร และทำบุญที่วัด

            5. การปฏิบัติของชาวพุทธในวันเข้าพรรษา มีดังนี้

                  (1) ทำบุญตักบาตร

                  (2) ฟังเทศน์ ฟังธรรม

                  (3) ถวายเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน และเครื่องไทยธรรมแด่พระสงฆ์ผู้จำพรรษา

          1. ความสำคัญ วันออกพรรษา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันสิ้นสุดการอยู่จำพรรษาของพระสงฆ์

            2.   จุดมุ่งหมาย เพื่อปฏิบัติตามพุทธบัญญัติ โดยพระภิกษุสงฆ์จะทำพิธี ปวารณากรรม หมายถึง ยินยอมให้พระภิกษุสงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ เพื่อให้ถึงพร้อมก่อนจะออกไปทำหน้าที่จาริกสั่งสอนพระธรรมและเผยแพร่พระศาสนาต่อไป เป็นพิธีการของพระสงฆ์โดยเฉพาะ

            3.  การปฏิบัติของชาวพุทธในวันออกเข้าพรรษา มีดังนี้

                  (1) การทำบุญตักบาตร

                  (2) ฟังพระธรรมเทศนา

            4.  พิธีตักบาตรเทโว (หรือตักบาตรเทโวโรหณะ) จัดขึ้นถัดจากวันปวารณา เกิดจากตำนานที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ในวันนี้

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×