คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : หลักการพระพุทธศาสนากับหลักการวิทยาศาสตร์
หลักการของพระพุทธศาสนากับหลักการของวิทยาศาสตร์มีทั้งส่วนที่สอดคล้อง และส่วนที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ ความสอดคล้องกันของหลักการของพระพุทธศาสนากับหลักการวิทยาศาสตร์
1. ในด้านความเชื่อ (Confidence) หลักการวิทยาศาสตร์ ถือหลักว่า จะเชื่ออะไรนั้นจะต้องมีการพิสูจน์ให้เห็นจริงได้เสียก่อน วิทยาศาสตร์เชื่อในเหตุผล ไม่เชื่ออะไรลอย ๆ และต้องมีหลักฐานมายืนยัน วิทยาศาสตร์ไม่อาศัยศรัทธาแต่อาศัยเหตุผล เชื่อการทดลองว่าให้ความจริงแก่เราได้ แต่ไม่เชื่อการดลบันดาลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะทุกอย่างดำเนินอย่างมีกฎเกณฑ์ มีเหตุผล และวิทยาศาสตร์อาศัยปัญญาและเหตุผลเป็นตัวตัดสินความจริง วิทยาศาสตร์มีความเชื่อว่า สรรพสิ่งในจักรวาลล้วนดำเนินไปอย่างมีเหตุผล มีความเป็นระเบียบและมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน
หลักการทางพระพุทธศาสนา มีหลักความเชื่อเช่นเดียวกับหลักวิทยาศาสตร์ ไม่ได้สอนให้มนุษย์เชื่อและศรัทธาอย่างงมงายในอิทธิปาฏิหาริย์ และอาเทศนาปาฏิหาริย์ แต่สอนให้ศรัทธาในอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ที่จะก่อให้เกิดปัญญาในการแก้ทุกข์แก้ปัญหาชีวิต ไม่สอนให้เชื่อให้ศรัทธาในสิ่งที่อยู่นอกเหนือประสาทสัมผัสเช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์ สอนให้มนุษย์นำเอาหลักศรัทธาโยงไปหาการพิสูจน์ด้วยประสบการณ์ ด้วยปัญญา และด้วยการปฏิบัติ ดังหลักของความเชื่อใน “กาลามสูตร” คืออย่าเชื่อ เพียงเพราะให้ฟังตามกันมา อย่าเชื่อ เพียงเพราะได้เรียนตามกันมา
อย่าเชื่อ เพียงเพราะได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมา
อย่าเชื่อ เพียงเพราะเสียงเล่าลือ
อย่าเชื่อ เพียงเพราะอ้างตำรา
อย่าเชื่อ เพียงเพราะตรรกะ หรือนึกคิดเอาเอง
อย่าเชื่อ เพียงเพราะอนุมานหรือคาดคะเนเอา
อย่าเชื่อ เพียงเพราะคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่าเชื่อ เพียงเพราะตรงกับทฤษฎีของตนหรือความเห็นของตน
อย่าเชื่อ เพียงเพราะรูปลักษณะน่าเชื่อ
อย่าเชื่อ เพียงเพราะท่านเป็นสมณะหรือเป็นครูอาจารย์ของเรา
ในหลักกาลามสูตรนี้ พระพุทธเจ้ายังตรัสต่อไปว่า จะต้องรู้เข้าใจด้วยว่า สิ่งเหล่านี้เป็นกุศล หรืออกุศล ถ้ารู้ว่าเป็นอกุศล มีโท
2. ในด้านความรู้ (Wisdom) ทั้งหลักการทางวิทยาศาสตร์และหลักการของพระพุทธศาสนา ยอมรับความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ หมายถึง การที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้ประสบกับความรู้สึกนึกคิด เช่น รู้สึกดีใจ รู้สึกอยากได้ เป็นต้น วิทยาศาสตร์เริ่มต้นจากประสบการณ์คือ จากการที่ได้พบเห็นสิ่งต่าง ๆ แล้วเกิดความอยากรู้อยากเห็นก็แสวงหาคำอธิบาย วิทยาศาสตร์ไม่เชื่อหรือยึดถืออะไรล่วงหน้าอย่างตายตัว แต่จะอาศัยการทดสอบด้วยประสบการณ์สืบสาวไปเรื่อย ๆ จะไม่อ้างอิงถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ ที่อยู่นอกเหนือประสบการณ์และการทดลอง วิทยาศาสตร์แสวงหาความจริงสากล (Truth) ได้จากฐานที่เป็นความจริงเฉพาะองค์ความรู้ในทางวิทยาศาสตร์ได้จากประสบการณ์ ความรู้ใดที่อยู่นอกขอบเขตของประสบการณ์ไม่ถือว่าเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์พระพุทธเจ้าก็ทรงเริ่มคิดจากประสบการณ์คือ ประสบการณ์ที่ได้เห็นความเจ็บ ความแก่ ความตาย และที่สำคัญที่สุดคือความทุกข์ พระองค์มีพระประสงค์ที่จะค้นหาสาเหตุของทุกข์ในการค้นหานี้ พระองค์มิได้เชื่ออะไรล่วงหน้าอย่างตายตัว ไม่ทรงเชื่อว่ามีพระผู้เป็นเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ ที่จะให้คำตอบได้แต่ได้ทรงทดลองโดยอาศัยประสบการณ์ของพระองค์เองดังเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว
หลักการพระพุทธศาสนาและหลักการทางวิทยาศาสตร์มีส่วนที่ต่างกันในเรื่องนี้คือ วิทยาศาสตร์เน้นความสนใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ด้านประสาทสัมผัส (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ส่วนพระพุทธศาสนาเน้นความสนใจกับปัญหาที่เกิดทางจิตใจ หลักการทางพระพุทธศาสนามีส่วนคล้ายคลึงกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ในหลายประการ เช่น ในขณะที่มีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งมุ่งแสวงหาความจริงของธรรมชาติที่เรียกว่า วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (Pure Science) และมีนักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งมุ่งแสวงหาความรู้ที่จะนำมาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ที่เรียกว่า วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science)
หลักการพระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน พระพุทธเจ้าตรัสรู้พระสัทธรรมเพื่อสอนให้มนุษย์เกิดปัญญา 2 ทางคือ ทางแรก สอนให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในธรรมชาติและในกฎธรรมชาติ เช่น สอนให้รู้หลักอิทัปปัจจยตา หลักไตรลักษณ์ หลักอริยสัจ หลักเบญจขันธ์ ทางที่สอง สอนให้เกิดความรู้ความเข้าใจในคุณค่าทางจริยธรรม เพื่อนำไปใช้ไปปฏิบัติให้เกิดผลดีต่อตนเอง ต่อสังคม และต่อธรรมชาติที่เรียกว่า ไตรสิกขา สอนให้ละเว้นความชั่ว สอนให้กระทำความดี และสอนให้ทำจิตใจให้สงบบริสุทธิ์
อย่างไรก็ตามหลักการพระพุทธศาสนาจะมีฐานะคล้ายกับวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ แต่จริยศาสตร์แนวพุทธไม่เหมือนกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ดังท่านพระธรรมปิฎก แสดงความเห็นไว้ในการบรรยายเรื่อง พระพุทธศาสนาในฐานะรากฐานของวิทยาศาสตร์ตอนหนึ่งว่า
“วิทยาศาสตร์นำเอาความรู้จากกฎธรรมชาติ โดยสอนให้มนุษย์รู้จักใช้เทคโนโลยี เพื่อควบคุมธรรมชาติ ส่วนปรัชญาพุทธสอนให้มนุษย์นำสัจธรรมมาสร้างจริยธรรมเพื่อดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ สอนให้มนุษย์ใช้ปัญญา ในการแก้ปัญหาชีวิตและพัฒนาคุณภาพชีวิต”
ความคิดเห็น