คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #23 : ╠ ประเภท - ชนิด. ของชาฝรั่ง (ชาอังกฤษ)
ประเภท - ชนิด. ของชาฝรั่ง (ชาอังกฤษ)
ชาที่พวกเราเรียกกันว่า ชาฝรั่ง หรือ ชาอังกฤษ นั้นโดยทั่วไปอาจจะแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
Black Tea คือ ชาดำ ที่เป็นใบชาชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น Darjeeling , Ceylon , Assam ฯลฯ
Blend Tea คือ ชาที่นำเอาใบชาจากประเภทแรก มาผสมกัน ให้เป็นสูตรเฉพาะ หรือที่ภาษาฝรั่งเขาเรียกว่า การ Blend นั่นแหละครับ เช่น Earl Grey , Lady Grey , English Breakfast Tea ฯลฯ
ชาอัสสัม Assam Tea (Photo: http://www.wikipedia.org)
เป็นชาจากรัฐอัสสัมของอินเดีย มีแหล่งเพราะปลูกอยู่บริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำพรหมบุตร , รัฐอัสสัม มีพรมแดนติดกับ บังคลเทศ และ พม่า ถือเป็นพื้นที่ปลูกชาแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก เนื่องด้วยอากาศและความชื้นที่เหมาะสม
ชาอัสสัมจะมีสีเข้ม รสชาติก็เข้มข้น จึงเหมาะสำหรับจะทำเป็นชานมที่สุด และนอกจากนั้นยังเป็นชาพื้นฐานที่สามารถนำมาผสมปรุงแต่ง (Blend) กับชาชนิดอื่นๆ อีกด้วย
ชาซีลอน Ceylon Tea (Photo: http://www.wikipedia.org)
ซีลอน เป็นชื่อเกาะทางตอนใต้ของอินเดีย ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นประเทศศรีลังกา ซีลอน ก็คือชื่อเดิมของศรีลังกานั่นเอง เราอาจจะรู้จักเกาะนี้ในนามของ เกาะลังกา มากกว่า เกาะซีลอน
ใบชาคือสินค้าส่งออกที่สำคัญของศรีลังกา ชาของศรีลังกา หรือ ชาซีลอนนั้น ขึ้นชื่อในเรื่องของสีอันสดใส ว่ากันว่า เป็นชาที่เมื่อผสมนมลงไปแล้ว จะได้น้ำชาสีทองสว่างสดใส สวยที่สุด ผิดกับชาจากแหล่งอื่นๆ ที่เมื่อผสมนมแล้วสีจะออกมาคล้ำๆ ช้ำๆ ไม่
ชาดาร์จีลิง Darjeeling Tea (Photo: http://www.wikipedia.org)
ชาดาร์จีลิง เป็นชาที่มีชื่อเสียงอีกตัวหนึ่งของอินเดีย แหล่งเพาะปลูกอยู่ที่ เมืองดาร์จีลิง รัฐเบงกอลตะวันตก , ประเทศอินเดีย
ชาดาร์จีลิง นั้นมีชื่อเสียงด้านความหอม เนื่องจากกลิ่นอันหอมละมุนคล้ายกลิ่นดอกไม้ รสชาติออกฝาดเล็กน้อย แต่กลมกล่อม
เนื่องจากกลิ่นที่หอม ผสมกับรสชาติอันกลมกล่อม นักดื่มชาทั่วโลกจึงให้สมญานามว่าเป็น แชมเปญแห่งชา (The Champagne of Teas)
ชาแดงฉีเหมิน (Keemun red tea) (Photo: http://www.wikipedia.org)
ชาแดงฉีเหมิน เป็นชาอีกชนิดหนึ่ง ที่ฝรั่งเขานำไปเป็นชาพื้นฐาน สำหรับผสมชาชนิดอื่นๆ
ชาแดงฉีเหมิน หรือ ชาคีมุน นั้นมีแหล่งเพาะปลูกอยู่ที่ เมืองฉีเหมิน มณฑลอานฮุย สาธารณรัฐประชาชนจีน , เป็นชาที่มีความหอม คล้ายกลิ่นกล้วยไม้ และ กลิ่นผลไม้ และมีความฝาดเพียงเล็กน้อย
ชื่ออื่นๆ เช่น ฉีเหมินหงฉา (祁门红茶)
ชาเลปซาง ซูชอง (Lapsang souchong Tea) (Photo: http://www.wikipedia.org)
ชาเลปซาง ซูชอง ตามสำเนียงฝรั่งที่พยายามออกเสียงเลียนแบบ ชื่อในภาษาจีนถิ่นใต้ ชื่อชาชนิดนี้ ภาษาจีน กลางจะเรียกว่า เจิ้งซานเสี่ยวจง (正山小种) มีแหล่งเพาะปลูกอยู่ที่ อู่อี๋ซาน มณฑลฝูเจี้ยน
เลปซาง ซูชอง เป็นชาที่ผ่านการอบแห้งแบบจีน ซึ่งเป็นการอบแห้งด้วยไม้สน จึงมีกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์
ถือว่าเป็นชาที่มีชื่อ และได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเมื่ออังกฤษปลูกและผลิตชาได้เอง พยายาม ปรุงชา เพื่อเลียนแบบ แต่ไม่สำเร็จ ลองผิดลองถูก จนคิดว่าได้ชาทีมีกลิ่นใกล้เคียงที่สุด จึงตั้งชื่อชาที่ปรุงเลียนแบบนั้นว่า "Earl Grey Tea"
BLEND TEA
ชาเอิร์ลเกรย์ (Earl Grey tea) (Photo: http://www.wikipedia.org)
ชาเอิร์ลเกรย์ นี่แหละครับ เป็นชาที่สันนิษฐานว่า พยายามปรุงเพื่อเลียนแบบชาเจิ้งซานเสี่ยวจง (หรือ เลปซาง ซูชอง)
มีประวัติ หรือ บ้างก็ว่าเป็น ตำนาน เล่าว่า เอิร์ลเกรย์ที่ 2 (Earl Grey II 1764 - 1845) อดีตนายกรัฐนม ตรีแห่งสหราชอาณาจักร ได้ชาชนิดหนึ่งเป็นของกำนัลจาก ขุนนางชาวจีน เอิร์ลเกรย์ จึงได้นำชานั้นกลับบ้าน ปรากฎว่าเมื่อลองชงดื่มแล้วเป็นที่ถูกอกถูกใจของคนในครอบครัว
เมื่อชาหมด เอิร์ลเกรย์ เลยให้ร้านชาทไวนิงส์ (Twinings) ลองปรุงชาให้เหมือนกับชาที่เคยได้รับจากขุนนางชาวจีน และเมื่อร้านชาทไวนิงส์ ได้ปรุงชาที่คิดว่ามีกลิ่น และรสชาติใกล้เคียงที่สุดแล้ว จึงได้จำหน่ายชานั้นแก่ครอบครัวเกรย์ เป็นรายแรก
นอกจากจะชงดื่มในครอบครัวแล้ว เอิร์ลเกรย์ ยังใช้ชานั้นชงเพื่อรับรองแขก แขกที่ได้ดื่มชานั้น ต่างถูกอกถูกใจ และต่างก็ไปซื้อชานั้นที่ร้านทไวนิงส์ โดยบอกกับทางร้านว่า อยากได้ชาแบบที่บ้านของเอิร์ลเกรย์ จน เอิร์ลเกรย์ ได้กลายเป็นชื่อชาชนิดนี้ไปในที่สุด
ชาเอิร์ลเกรย์ เป็นชาที่มีกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยเบอร์กาม็อต กลิ่นดังกล่าว ก็คือกลิ่นมะกรูด นั่นเอง นอกจากนั้นยังใช้พืชตระกูลส้มอีกหลายชนิดมาเป็นส่วนผสมด้วย
ความหอมจากนำมันเบอร์กาม็อตนั้น ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี
ชาเลดี้เกรย์ (Lady Grey Tea) (Photo: http://www.wikipedia.org)
ชาเลดี้เกรย์ เป็นชาที่มีกลิ่นเบอร์กาม็อต คล้ายกับชาเอิร์ลเกรย์ แต่ชาเลดี้เกรย์จะมีกลิ่นที่อ่อนโยนกว่า
ชาอิงลิชเบรกฟาสต์ (English Breakfast Tea) (Photo: http://commons.wikimedia.org)
ชาอิงลิชเบรกฟาสต์ เป็นชาที่มีส่วนผสมของชาหลายชนิด แต่หลักๆ จะเป็นการผสมกันระหว่าง ชาอัสสัม , ชาซีลอน, ชาอัฟริกัน หรือ ชาเคนย่า
เป็นชาสีสว่าง ที่รสชาติเข้มข้น อาจใส่นม หรือน้ำตาลตามชอบ เหมาะสำหรับดื่มในมื้อเช้า เพื่อเพิ่มความสดชื่นปลอดโปร่ง
ชาไอริชเบรกฟาสต์ (Irish Breakfast Tea) (Photo: http://www.wikipedia.org)
ชาไอริชเบรกฟาสต์ จะมีความเข้มข้นกว่า ชาอิงลิชเบรกฟาสต์ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ชาไอชิชเบรกฟาสต์ มีส่วนผสมของชาอัสสัมที่มากกว่า
ชาวไอริช มีมุกตลกร้ายเกี่ยวกับชาเรื่องหนึ่ง ที่มักจะอยู่ในวงสนทนากันว่า ชาในโลกนี้มีอยู่ 3 เกรด เกรดที่ดีที่สุดคือที่ดื่มกันในเมืองจีน เกรดรองลงมาส่งมาให้ชาวไอริชดื่ม และเกรดต่ำสุด ส่งไปให้พวกอังกฤษดื่ม
ชาปรินซ์ ออฟ เวลส์ (Prince of Wales tea) (Photo: http://www.14kumpa.com)
ชาปรินซ์ ออฟ เวลส์ เป็นชาสูตรเฉพาะพระองค์ของ เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งเวลส์ ซึ่งภายหลัง พระองค์ได้ขึ้นครองราชฯ เป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แห่งสหราชอาณาจักร
ชาปรินซ์ ออฟ เวลส์ เป็นชารสนุ่มละมุน มีส่วนผสมหลัก คือ ชาแดงฉีเหมิน (Keemun red tea) แห่งมณฑลอานฮุย ประเทศจีน
.
ความคิดเห็น