ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ย่ำเท้าบนดินแดนแห่งช็อคโกแลต (Belgium)

    ลำดับตอนที่ #2 : ก้าวที่ 1 :: การสอบบบบบบ

    • อัปเดตล่าสุด 17 พ.ค. 57


         มาถึงเรื่องของการสอบ เราสอบของ AFS มีทุนอยู่ทั้งหมด 3 แบบคือ

    - ทุนทั่วไป : เราไปอันนี้เพราะเลือกได้ทุนเดียว = = คือจ่ายประมาณ 300,000 บาทขึ้น โดยราคาที่เราต้องสมทบนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ ปีเราสหรัฐแพงสุด 420,000 บาท สอบแค่ 2 รอบคือ ข้อเขียน และสัมภาษณ์

    - ทุนเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ : ต้องมีหลักฐานยืนยันว่าพ่อกับแม่เงินเดือนรวมกันเฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 25,000 บาท สอบหลายรอบ เอกสารแอบเยอะ เพราะเอาแค่น้อยคน แต่ฟรีจริงๆ (เลือกไม่ได้พ่อแม่เฉลี่ยเกิน = =)

    - ทุน CSP : เป็นทุนการศึกษาจากบริษัท หน่วยงาน และองค์กร ที่จัดให้บุตร-ธิดาของพนักงาน เจ้าของทุนเป็นผู้จ่ายเงินสมทบทุนสาหรับผู้เข้าร่วมโครงการให้กับมูลนิธิโดยตรง (เลือกไม่ได้ไม่ได้เป็นบุตรหรือธิดา = =)

    - ทุนรัฐบาลสหรัฐฯ : ต้องนับถือศาสนาอิสลามนะ (เลือกไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ = =)

     

    สอบข้อเขียน

         ตอนสอบข้อเขียนสารภาพเลยว่า เราไม่ได้อ่านไรไปเลยกะสดเอาเลย = =;; เราไปหน้าห้องสอบมีแต่คนถือข้อสอบย้อนหลังมานั่งทำ นั่งอ่าน ถามนู่นถามนี้กัน เรา...ยืนรออย่างเดียว - -;; แต่พอไปเจอข้อสอบแบบ...ช็อค!! ตาลาย @-@

         ปีเรา (AFS รุ่น 53) ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ โดยมี Grammar ด้วยเป็นแบบปราบเซียนนั้นคือ Error!! แต่มีแค่ 10 ข้อเท่านั้น แต่ขอบอกว่ายาก! (อาจจะสำหรับเรานะ = =) ส่วนที่เหลือเป็น reading หมดเลย ซึ่งมีทุกแบบของ reading ทั้งแบบที่เป็นเรื่องยาวๆมาให้ประมาณหน้าหนึ่ง แบบที่เป็นป้าย แบบที่เป็นบทกวีก็มี และก็มีบทสนทนาด้วย

         ไม่มีพาสที่เป็นฟังกับเขียนนะ มีแต่ฝนล้วนๆ ซึ่งการสอบครั้งนี้ใช่เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง ตอนเราทำเราทำทันนะ แต่เดาซะส่วนใหญ่มันก็เลยทัน - -;; ออกมาจากห้องสอบกลับบ้านนอนรอลุ้นผล

     

         ตอนรอลุ้นผลเป็นอะไรที่แอบทรมานนิดๆ คือมันอยากรู้มากๆแต่มันไม่ยอมบอกซักที โดยเฉพาะ 1 วันก่อนจะประกาศผล เรานั่งดูเว็บ AFS จนถึงตี 1 ตี 2 เลยอ่ะ แบบลุ้นสุด แต่ผลสุดท้ายกว่าจะออกก็บ่ายๆนู่น (ฉันจะแหกขี้ตาอยู่ไปทำไมดึกดื่นเนี่ย = =) ผลออกมาแอบอึ้ง...เราผ่านรอบแรกแล้ว!! ดีใจมากอ่ะ (AFS น่าจะเอาเกณฑ์ข้อเขียนประมาณ 50% ขึ้นนะ) เตรียมตัวต่อในการสอบสัมภาษณ์

     

    สอบสัมภาษณ์

         ก่อนสอบเราต้องไปเอาเอกสารในการกรอกข้อมูลของเราก่อน ตอนสำคัญอยู่ตรงนี้แหละ คือการเลือกประเทศ!! มันแล้วแต่ศูนย์ว่าจะมีกี่โควต้าและกี่ประเทศ เหมือนกับที่บอกไปแล้วตั้งแต่บทที่แล้ว สำหรับศูนย์ไหนที่ใหญ่ๆจะมีให้เลือกเยอะหน่อย แต่บางศูนย์เล็กๆคนสอบน้อยก็จะมีให้เลือกน้อย บางศูนย์มีให้เลือกแค่ 2 ประเทศคือ สหรัฐฯ กับจีน แค่นั้น แข่งกันตายเลย

         ส่วนศูนย์ของเรามีให้เลือกอยู่ 5 ประเทศ คือ เบลเยี่ยมแฟลนเดอร์ อาร์เจนติน่า อิตาลี จีน และสหรัฐฯ ซึ่งก่อนที่เราจะเลือกอันดับก็ต้องดูดีๆด้วยว่าเกณฑ์เราผ่านมั้ย โดยเฉพาะพวกวันเดือนปีเกิดสำคัญนะ บางคนได้เป็นตัวจริงประเทศนี้แต่อายุเกินอาจจะถูกตัดสิทธิ์ลงไปเหลือแค่ตัวสำรองเลยก็ได้นะ และที่สำคัญ BMI ของยุโรปห้ามต่ำหรือสูงเกินเกณฑ์มาตราฐานเด็ดขาด อันนี้ถ้าได้ตัวจริงก็กลายเป็นตัวสำรองได้เหมือนกันนะถ้าไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ของเราเลือก 3 อันดับคือ เบลเยี่ยม อาร์เจนติน่า และสหรัฐฯ (คืออีก 2 ประเทศอายุเราเกิน อด! = =)

     

         ก่อนสอบสัมภาษณ์เราก็ไปอ่านเรื่องของคนอื่นเยอะแยะเลยมีวิธีวางตัวกับพวกคำถามเยอะเลย เราเอามาให้ดูแค่นิดหน่อยนะ

    - เป็นตัวเองมากที่สุด ไม่เฟค

    - ที่สำคัญคือห้ามลืม ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม และยิ้ม!

    - มีมารยาท เข้าสวัสดี ออกสวัสดี

    - ตอบคำถามให้ดีๆนะ

    - ตอบไม่ได้ก็ขอให้อ.พูดอีกรอบก็ได้ เค้าไม่ว่าหรอก (อันนี้ไม่แน่ใจว่าจะหักคะแนนป่าว แต่เราก็ถาม คือจริงๆฟังออก แต่คิดคำตอบไม่ออกเลยขอให้ถามอีกรอบเพื่อเพิ่มเวลาคิด - -;;)

     

         คำถามมันแล้วแต่คนเจออ่ะ ส่วนใหญ่จะถามวิธีแก้ปัญหา แต่ที่ลำบากใจของ(เกือบ)ทุกคนคือความสามารถพิเศษ!! อันนี้ตอนแรกเราก็แอบหนักใจนะ คือไม่มีอ่ะ ถึงมีก็ไม่ได้พิเศษกว่าคนอื่นมากนัก ตอนแรกว่าจะเล่นคีย์บอร์ดแต่มันไม่เป็นไทย ไม่ได้ๆ เราเลยลองไปหาประสบการณ์รุ่นพี่คนอื่นๆก็มี

    - แกะสลัก (อันนี้ไม่เป็น)

    - รำ (คนเอาเยอะแน่เลย ถึงจะรำเป็นแต่ไม่สวยขนาดนั้น)

    - ร้อยมาลัย (เอิ่ม.. = =;;)

    - ทำอาหาร (ทำเป็นแค่ไข่เจียวอ่ะ =[]=)

    - ร้องทำนองเสนาะ (เราร้องกรรมการคงหูหนวกไปตามๆกัน ไม่ไหวๆ)

    - เครื่องดนตรีไทย (ถ้าใหญ่เช่น ขิม ต้องโดนคำถาม จะแบกไปไงแน่เลย)

    - ร้องเพลง (เสียงฉันยังกับหมาฉี่รดสังกะสี)

    ...

    ผลสุดท้ายเราก็ได้ข้อสรุปตอนกลางคืนก่อนวันสอบสัมภาษณ์วันเดียว = =

     

         ถึงวันสอบสัมภาษณ์จริง เราได้คิวที่ 11 ตอนนั่งรอแบบสั่นอ่ะ ตื่นเต้นไปหมด ตอนช่วงนั่งรอก็จะเห็นคนซ้อมความสามารถพิเศษกันซะส่วนใหญ่ มีมาหมดทั้งซอ กีต้าร์ ไวโอลิน ร้องเพลง รำ เยอะแยะไปหมด แต่ศูนย์เราเป็นศูนย์เล็ก เลยสอบแค่ครึ่งวัน ไม่มีการทำกิจกรรมกลุ่มเหมือนศูนย์ใหญ่ๆนะ แล้วพอใกล้ถึงคิวเค้าจะให้เราไปนั่งรออยู่หน้าห้อง พอคนก่อนเดินออกมาก็ให้รีบเข้าไปเลย ตอนนั่งรอหน้าห้องสั่นยิ่งกว่าตอนแรกๆอีก เราแอบเห็นคนก่อนเราด้วยละ เค้าเล่นไวโอลินซึ่งดูกรรมการชอบใจมาก ตบไม้ตบมือกันใหญ่เลย ท้อตั้งแต่ยังไม่เข้าเลยฉัน T-T พอคนก่อนหน้าเราออกมา ถึงคิวเราแล้วสินะ เอาว่ะ เป็นไงเป็นกัน!

         ในห้องสัมภาษณ์เรามีกรรมการอยู่ 5 ท่าน ไทย 2 ต่างชาติ 3 ตอนแรกที่เดินเข้าไปเราก็ทักทายก่อนเลยเป็นอันดับแรก แล้วเข้าไปยืนอยู่ตรงกลางซึ่งมีเก้าอี้วางอยู่ตัวหนึ่ง เรายังไม่นั่งจนกรรมการเชิญนั่งแล้วค่อยนั่งลง แล้วต่อไปนี้เป็นคำถามที่เราเจอซึ่งอังกฤษหมด แต่ถามน้อยนะ

    - แนะนำตัวเองภาษาอังกฤษ (บอกชื่อ เรียนม.ไหน โรงเรียน ครอบครัว hobby ประมาณนี้)

    - เลือกประเทศอะไร (เราเลือกเบลเยี่ยม)

    - รู้อะไรเกี่ยวประเทศที่เลือกบ้าง (Belgium has the best chocolate in the world...หัวเราะกันทั้งห้อง =///=)

    - ถ้าคุณไปถึงที่สนามบินที่เบลเยี่ยมแล้วไม่มี host มารอรับจะทำไง (โทรหา host) ถ้าโทรไม่ติดล่ะ (โทรหา AFS)

    - ชอบวิชาอะไร (คณิต) !!@^#@&&!#^**%&% (ฟังไม่ออก แต่ตอบ 'no' และเกิดเสียงหัวเราะอีกครั้ง =//=)

    - คุณไม่ชอบอะไรเกี่ยวกับตัวคุณแล้วคุณจะแก้ไขมันยังไง? (ข้อนี้แหละเราคิดคำตอบไม่ออก เลยถามอีกรอบ)

    - มีความสามารถพิเศษอะไรมาโชว์ : เราเดินออกจากเก้าอี้และหยิบออกมาจากกระเป๋านั่นคือ...ผ้าแดงค่า วันนี้เราจะมาโชว์ใส่ผ้าแดงให้กรรมการดูกันนะค่ะ (เพิ่งคิดออกเมื่อคืนไง ไม่รู้มีใครเคยทำป่าว) เราก็ใส่โชว์มันตรงนั้นเลย

    - พอใส่เสร็จให้เรารำให้ดูรอบเก้าอี้ที่เราเคยนั่ง โดยเราสดจ้า ไม่มีเตรียมมาก่อน ท่าสด ไร้เสียงเพลง มีจังหวะเป็นของตัวเองสุดๆ

    - รำเสร็จ ก็มีคำถามสุดท้ายว่า ถ้าเอาผ้าแดงไปนู่นแล้วเราจะเอากลับมาด้วยป่าว? (ไม่เอากลับค่ะ ให้ host เก็บไว้เป็นที่ระลึก)

         สัมภาษณ์เสร็จก็ขอบคุณเค้างามๆ แล้วรีบวิ่งออกจากห้องแก้ผ้าแดงออกด่วนๆ แล้วก็กลับบ้านนอนรอผล กลับมาสู่อารมณ์เดิมๆของการรอคอยที่หนักหน่วงยิ่งกว่าการรอผลสอบข้อเขียน T-T

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×