ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้ต่างจากแฮร์รี่ พอตเตอร์

    ลำดับตอนที่ #1 : สิ่งที่น่ารู้เกี่ยวกับลูกบอลในการแข่งขันควิดดิช

    • อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 48


                                                                                    ลูกควัฟเฟิล

    เรารู้จากบันทึกของเกอร์ตี้ เค็ดเดิล ว่าลูกควัฟเฟิลในยุคแรกนั้นทำจากหนัง ในบรรดาลูกบอลทั้งสี่ลูกในเกมควิดดิช ควัฟเฟิล เป็นลูกบอลเดียวที่ไม่ได้ลงคาถาไว้ตั้งแต่ต้น เป็นเพียงลูกบอลที่ทำจากแผ่นหนังเย็บปะติปะต่อกัน ส่วนมากมักมีสายหนัง ยื่นมาให้จับและขว้างได้ด้วยมือเดียวลูกควัฟเฟิลสมัยโบราณมีรูให้นิ้วสอดเข้าไปได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อพบคาถาเกาะติดใน ค.ศ. 1875 สายหนังและรูนิ้วมือก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป ในเมื่อเชสเตอร์สามารถใช้มือข้างเดียวก็จับลูกหนังที่ลงคาถาได้โดยไม่ต้อง ใช้เครื่องช่วยอื่นๆ ควัฟเฟิลปัจจุบันมีเส้นผ่านศูนย์กลางสิบสองนิ้วและไม่มีตะเข็บเลย ตอนแรกในการแข่งขันฤดูหนาว ปี ค.ศ. 1711 ลูกควัฟเฟิลมีสีแดง หลังจากที่ฝนตกหนักมากทำให้สีของควัฟเฟิลไม่ต่างจากสีโคลนในสนามทุกครั้งที่มันตกลงไป นอกจากนี้ พวกเชสเตอร์ยังหงุดหงิดมากที่ต้องบินดิ่งลงไปยังพื้นสนามอยู่เรื่อยๆ เพื่อเก็บลูกควัฟเฟิลกลับมาทุกครั้งที่พวกเขา รับลูกพลาด ดังนั้นไม่นานหลังจากที่ลูกควัฟเฟิลปลี่ยนสี แม่มดชื่อเดซี่ เพนนีโฟลด์ ก็เกิดความคิดเสกควัฟเฟิลว่าถ้ามันตก ให้ค่อยๆตกลงไปที่พื้น เหมือนว่ากำลังจมลงไปในน้ำ หมายความว่าเชสเตอร์สามารถบินลงไปคว้าควัฟเฟิลที่ตกมาได้กลางอากาศ ควัฟเฟิลเพนนีโฟลด์ ยังคงใช้กันอยู่จนทุกวันนี้

                                                                                      ลูกบลัดเจอร์

    ในสมัยแรกอย่างที่รู้กัน บลัดเจอร์ (หรือบลัดเดอร์) คือก้อนหิน และในยุคของมัมส์ก็พัฒนาเป็นหินที่เกลาให้เป็นลูกบอล อย่างไรก็ตาม บลัดเจอร์หินนี้มีข้อเสียที่สำคัญมากคือ มันแตกได้ ถ้าบีตเตอร์ตีด้วยไม้ที่เพิ่มพลังเวทมนตร์ซึ่งประดิษฐ์ ในคริสต์ศตวรรษที่15 ถ้าเป็นเช่นนั้น ผู้เล่นทุกคนต่างก็ต้องถูกก้อนกรวดบินไล่ตามตลอดเกมการแข่งขัน คงเป็นด้วยเหตุนี้เอง ต้นศตวรรษที่ 16 ทีมควิดดิชบางทีมจึงเริ่มทดลองใช้ลูกบลัดเจอร์ทำจากโลหะแทน อากาธา ชับบ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการประดิษฐ กรรมเวทมนตร์โบราณพบลูกบลัดเจอร์ทำด้วยตะกั่วไม่น้อยกว่าสิบสองลูกที่มีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ยุคนั้น โดยพบทั้งในหนองถ่านหินของ ไอร์แลนด์ และที่หนองน้ำในประเทศอังกฤษ เธอเขียนไว้ว่า ไม่ต้องสงสัยเลยว่าพวกนี้คือลูกบลัดเจอร์ มันไม่ใช่ลูกปืนใหญ่แน่นอน ในที่สุดก็พบว่าตะกั่วนั้นก็ยังอ่อนเกินไปที่จะใช้ผลิตลูกบลัดเจอร์ (รอยบุบๆเบี้ยวๆ ที่ปรากฎที่ลูกบลัดเจอร์มีผลกระทบต่อการบิน ให้ตรงของลูกบลัดเจอร์) ปัจจุบันนี้ บลัดเจอร์ทุกลูกทำด้วยเหล็ก มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวสิบเอ็ดนิ้ว บลัดเจอร์ถูกเสกให้ไล่ตาม ผู้เล่นโดยไม่แยกแยะ ถ้าปล่อยให้บลัดเจอร์เป็นไปตามธรรมชาติของมันบลัดเจอร์จะบุกเข้าใส่ผู้เล่นที่อยู่ใกล้มันที่สุด ดังนั้นเป็นหน้า ที่ของบีตเตอร์ที่จะหวดไล่บลัดเจอร์ไปให้ไกลจากทีมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

                                                                                           ลูกสนิชสีทอง

    ลูกสนิชสีทองมีขนาดเท่ากับลูกวอลนัต เช่นเดียวกับนกสนิดเจ็ต ลูกสนิชถูกเสกให้หนีการ\"ล่จับให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ มีเรื่องเล่ากันอยู่ว่าลูกสนิชสีทองลูกหนึ่งหนีการไล่จับอยู่นานถึงหกเดือนที่ทุ่งโบ๊ดมินมัวร์ ใน ค.ศ. 1884 ในที่สุด ทั้งสองทีมต่าง ยอมแพ้เพราะรู้สึกเบื่อหน่ายกับความไม่เอาไหนของซีกเกอร์ฝ่ายตน พ่อมดจากแคว้นคอร์นวอลที่คุ้นเคยกับบริเวณดังกล่าวยืนยันมา จนทุกวันนี้ว่าลูกสนิชสีทองยังคงมีชีวิตอยู่ในทุ่งที่ราบสูงนั้น

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×