ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    งานๆห้ามเข้านะ

    ลำดับตอนที่ #1 : วิชาคอมหน่วยที่1เทคโนโลยีสารสนเทศ

    • อัปเดตล่าสุด 4 มิ.ย. 52


     

    ข้อมูล (data) คือ ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักขระ หรือสัญลักษณ์ใดๆ เช่น เลข 1.5 อาจจะถูกกำหนดให้เป็นจำนวนหน่วยการเรียนของวิชา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 8:30 แทนเวลาเข้าเรียน สัญลักษณ์ แทนการเลี้ยวขวา เป็นต้น

    1.ความถูกต้อง หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว ถ้าข้อมูลที่เก็บมาเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสียอย่างมาก ผู้ใช้จะไม่กล้าอ้างอิงหรือนำเอาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเหตุให้ การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำ และอาจมีโอกาสผิดพลาดได้ รูปแบบการจัดเก็บ ข้อมูลต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด   

    2.ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้ ทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน

     3.ความสมบูรณ์ ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์คือข้อมูลที่สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ซึ่งจะขึ้นกับวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิธีการประมวลผล ดังนั้นใน การดำเนินการรวบรวมข้อมูลต้องสำรวจและสอบถามความต้องการในการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์

    4.ความกระชับและชัดเจน การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่มาก จึง จำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กระชับและสื่อความหมายได้ อาจมีการใช้รหัสแทน ข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ 

      5.ความสอดคล้อง ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อ หาความต้องการของหน่วยงานและองค์การ ดูสภาพการใช้ข้อมูล และขอบเขตของข้อมูลที่ สอดคล้องกับความต้องการ

     

      

    ชนิดและลักษณะของข้อมูล

    ข้อมูลสำหรับการประมวลผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
     

    (1) ข้อมูลชนิดจำนวน (numeric data) หมายถึง ข้อมูลที่สามารถนำไปคำนวณได้ ข้อมูลชนิดนี้เขียนได้หลายรูปแบบ เช่น
                     (
    ก) จำนวนเต็ม หมายถึง ตัวเลขที่ไม่มีจุดทศนิยม เช่น 12 , 9 , 137, -

                          46
                     (
    ข) จำนวนทศนิยม หมายถึง ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม ซึ่งอาจมีค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น  12.0 หรือเป็นจำนวนที่มีทศนิยมก็ได้ เช่น 12.763     

          

      2) ข้อมูลชนิดอักขระ(character data)หมายถึง ข้อมูลที่ไม่สามารถ 

     
    สารสนเทศ (information) หมายถึง สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวม มาผ่านกระบวนการประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ กระบวนการประมวลผลอาจเป็นการแยกแยะ จัดเก็บ จัดลำดับ คำนวณโดยเลือกและจัดรูปแบบให้เหมาะสม ทันต่อ ความต้องการและทันสมัยกับเหตุการณ์ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี และมีการกำหนดสิทธิ์ในการใช้ข้อมูล

         นำไปคำนวณได้แต่อาจนำไปเรียงลำดับได้ ข้อมูลอาจเป็นตัวหนังสือ ตัวเลข

         หรือเครื่องหมายใดๆ เช่น COMPUTER , ON-LINE ,171101 , &76     

      

    การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล

     

    การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ และการดูแลรักษาข้อมูลเพื่อการใช้งาน

     

     

    1. การรวบรวมข้อมูล ปัจจุบันมีเทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บข้อมูลอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านแผงแป้นอักขระ การอ่านข้อมูลจากรหัสแท่ง การกราดตรวจใบลงทะเบียนที่มีการฝนดินสอดำในตำแหน่งต่างๆ

      

    2. การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการรวบรวมข้อมูลแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้อง ข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบต้องมีความน่าเชื่อถือได้ หากพบที่ผิดพลาดต้องแก้ไข การตรวจสอบข้อมูลอาจตรวจสอบ โดยสายตามนุษย์หรือตั้งกฎเกณฑ์ให้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบ

        

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×