คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #6 : :: 8 มีนาคม วันสตรีสากล ::
ประวัติความเป็นมาของ วันสตรีสากล
วันสตรีสากลมีจุดกำเนิดมาจากการนัดหยุดงานและเดินขบวนของกรรมกรหญิงโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก เพื่อเรียกร้องสิทธิสตรีของผู้ใช้แรงงานหญิง นำโดย คราลา เซทคิน ผู้นำแรงงานหญิงชาวเยอรมัน ที่มีชีวิตอันแร้งแค้นไร้ความหวังจากการทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมอันเลวร้ายและมีชั่วโมงทำงานยาวนานหลังจากต่อสู้นานถึง 3 ปีเต็ม ในวันที่ 8 มีนาคม 1910 ผู้แทนหญิงจาก 18 ประเทศได้เข้าประชุมเพื่อสนับสนุนและเสนอให้มีการคุ้มครองแรงงานหญิง ใน ระบบ สาม 8 ในการทำงาน กล่าวคือ...
• 8 ชั่วโมงทำงาน
• 8 ชั่วโมงเพื่อการพักผ่อน
• 8 ชั่วโมงเพื่อการศึกษาแสวงหาความรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเอง
กำหนดค่าจ้างให้เท่าเทียมกับชาย
ให้การคุ้มครองผู้หญิงและเด็ก เพื่อเรียกร้องให้มีระบบ เช่น เนื่องจากคนงานหญิงในสมัยนั้นต้องทำงานอยู่ในโรงงานไม่ต่ำกว่า 16-17 ชั่วโมงโดยไม่มีวันหยุด ไม่มีการประกันการใช้แรงงานใดๆ คนงานหญิงที่เข้าไปทำงานในเวลาไม่กี่ปีก็ต้องกลายเป็นคนหลังค่อม ตามัวหรือเป็นวัณโรคและถึงแก่ชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว
เพื่อเรียกร้องสิทธิของผู้ใช้แรงงานหญิง
ที่ถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบและการถูกเลือกปฏิบัติที่มีต่อชนชั้นแรงงาน จึงเป็นกำเนิดของวันสตรีสากล ดังนั้น ใน วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี ซึ่งองค์กรที่ทำงานด้านผู้หญิงหลายประเทศทั่วโลกได้มีการจัดงานวันสตรีสากลขึ้น เพื่อรำลึกถึงการต่อสู้ของกลุ่มผู้ใช้แรงงานหญิง และเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล รวมทั้งการจัดกิจกรรมรณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลง หรือแก้ปัญหา โดยเฉพาะปัญหาที่ผู้ใช้แรงงานได้รับผลกระทบตามสถานการณ์ของแต่ละประเทศ
สังคมไทยยุคปัจจุบัน
ผู้หญิงได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญ ๆ และได้รับการยอมรับให้ขึ้นดำรงตำแหน่งระดับสูงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางการเมือง หรือระบบราชการ ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันสตรีมีศักยภาพในด้านฝีมือการทำงานที่ทุกคนได้ประจักษ์ถึงความสามารถไม่แพ้บุรุษเพศ
ในอดีตที่ผ่านมา
เรื่องราวของการต่อสู้เพื่อสตรีมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน โดยเฉพาะวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1857 ซึ่งกลุ่มผู้ใช้แรงงานสตรีในนิวยอร์คเดินขบวนเรียกร้องสิทธิในการทำงาน การเรียกร้องสิทธิของสตรีมีต่อมาอีกหลายยุคหลายสมัยจนปี ค.ศ.1911 ได้มีการจัดฉลองวันสตรีสากลขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม
อันเป็นความพยายามในการท้าทายอย่างเปิดเผยต่อขนบประเพณีดั้งเดิม และเป็นแรงผลักดันให้ทุกฝ่ายตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชนของสตรี และการต่อสู้เพื่อสิทธิที่เท่าเทียมกันระหว่างบุรุษและสตรี ทั้งการออกเสียงเลือกตั้ง การดำรงตำแหน่งทางการเมืองและการทำงาน จากความพยายามของสตรีที่ผ่านมา ทำให้สมัชชาใหญ่ องค์การสหประชาชาติมีมติในปี ค.ศ.1957 เชิญชวนให้ทุกประเทศกำหนดให้วันใดวันหนึ่งเป็นวันฉลองแห่งชาติว่าด้วยสิทธิสตรีและสันติภาพสากล
โดยให้ขึ้นกับขนบธรรมเนียมประเพณีและสภาพทางประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ
ซึ่งหลายประเทศส่วนใหญ่ได้ กำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากล ดังนั้น เมื่อถึงวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี องค์การสหประชาชาติ ตลอดจนกลุ่มสตรีจากทุกทวีปทั่วโลก ได้ร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลองเพื่อระลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่ง ความเสมอภาค ความยุติธรรม สันติภาพ และการพัฒนา
สำหรับประเทศไทย
เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2532 ได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) ขึ้นอย่างเป็นทางการ ดังนั้นวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อฉลองเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล และระลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้เพื่อให้ได้ซึ่งความเสมอภาค ยุติธรรม สันติภาพ และการพัฒนา
เครดิต - http://www.teenee.com
ความคิดเห็น