ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ...วันวาเลนไทน์...

    ลำดับตอนที่ #2 : .. ทำไมจึงชื่อ " วันวาเลนไทน์ " ..

    • อัปเดตล่าสุด 1 ก.พ. 53


    วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น วันวาเลนไทน์ ซึ่งพวกหนุ่มสาวมักจะรีบไปซื้อบัตรส่งทักทายกันส่งใจถึงกัน นับเป็นความนิยมมากขึ้น ประเพณีนี้เข้ามาสู่ประเทศไทยทีละเล็กละน้อย และดูเหมือนจะเป็นที่นิยมมากขึ้นทุกปี เป็นประเพณีที่หนุ่มสาวนิยมกันมากเป็นพิเศษที่สหรัฐอเมริกาและที่ประเทศอังกฤษ

    ทำไมจึงมีชื่อว่า “ วันวาเลนไทน์ ” และความหมายที่แท้จริงของวันนี้คืออะไร? และมาจากไหน?

    นักบุญ วาเลนไทน์ (Valentine) เป็นสงฆ์คาทอลิกองค์หนึ่งที่ได้ถูกประหารชีวิตในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ คริสตศักราช 270 ในสมัยพระเจ้าจักรพรรดิโรมัน เกลาดิอุส ที่ 2 ( Clanoius) โดยแท้จริงแล้วท่านนักบุญไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเพณีการเลือกคู่ หรือหาคู่ หรือหาแฟน หรือความรัก ความสนใจระหว่างหนุ่มสาว ท่านก็ไม่ได้ไปเกี่ยวข้องด้วยเลย ถ้าเช่นนั้นแล้ว ทำไมจึงเลือกนักบุญองค์นี้มาเป็นองค์อุปถัมภ์สำหรับผู้ที่กำลังหาคู่ เลือกคู่หรือเลือกแฟนกันได้เล่า ? เหตุผลที่ค้นพบได้ก็คือ ที่มาของวันวาเลนไทน์ ไม่ขึ้นอยู่กับคนผู้นี้ แต่ขึ้นอยู่กับวันที่ 14 กุมภาพันธ์

    ประเพณีเลือกคู่ หรือหาคู่นี้มีมาแต่โบร่ำโบราณในทุกชาติ ดูเหมือนกับว่าได้เกิดขึ้นพร้อมกับวิวัฒนาการของมนุษย์ก็ว่าได้ ประเพณี วาเลนไทน์ นี้ก็มีต้นเหตุหรือ ที่มาสมัยที่จักรวรรดิโรมันแผ่อิทธิพลไปทั่ว ชาวโรมันสมัย โบราณมีการฉลองเทพเจ้าองค์หนึ่งชื่อ ลูแปร์คูส (Lupercus) ซึ่งตรงกับวันที่ 15 กุมภาพันธ์ และถือว่าเป็นการฉลองใหญ่ ส่วนหนึ่งของการฉลองใหญ่นี้ก็จะเป็นการจัดงานหาคู่ของพวกหนุ่มสาว ซึ่งจัดขึ้นในวันก่อนวันฉลองใหญ่ 1 วัน คือวันที่ 14 กุมภาพันธ์ นี้จะถือโอกาสให้พวกหนุ่มสาวเสนอตัวเป็นคนรักกันชั่วระยะเวลา 1 ปี ช่วงนี้จะเรียกว่าเป็นช่วงทดลองมิตรภาพเพื่อดูว่าทั้งคู่จะมีนิสัยใจคอเข้ากันได้หรือไม่ ชาวโรมันเป็นคนศรัทธาในเทพเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ก็มีความเชื่อกันว่าพวกตนมีเทพเจ้าองค์หนึ่งซึ่งเขาขอให้เป็นผู้ดูแลความรักของเขาในระหว่างช่วงระยะเวลาการทดลองเป็นคู่รักกัน 1 ปี นั้น เทพเจ้าองค์นี้เป็นหญิงชื่อเทพธิดา Juno Februata ซึ่งตาม เทพนิยายของชาวโรมันเป็นมเหสีของ Jupiter องค์มหาเทพเจ้าทั้งหลาย

    ครั้นต่อมา เมื่อชาวโรมันส่วนใหญ่กลับใจมาถือศาสนาคริสต์ (ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 4 ) ประเพณีของหนุ่มสาวที่จะหาคู่เพื่อทดลองเป็นคนรักกัน เพื่อจะแต่งงานกันในเวลาต่อไปนั้นก็ยังนิยมทำกันอยู่ แม้ว่าจะเป็นคริสตชนแล้วก็ตาม ฉะนั้นเขาก็ยังรักษาประเพณีการเลือกคู่ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์นั้นอยู่ตลอดมา เพียงแต่ว่าหนุ่มสาว โรมันชาวคริสต์ได้หันมาเปลี่ยนตัวผู้อุปถัมภ์องค์ใหม่ เพราะคริสตชนไม่นับถือเทพเจ้าหรือเทพธิดาอย่างกาลก่อน เขาจึงหันมาเลือกหานักบุญในคริสตศาสนาที่มี วันฉลองในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ซึ่งก็มี นักบุญวาเลนไทน์องค์นี้เอง จึงขอยืมชื่อท่านมาเป็นองค์อุปถัมภ์แทนเทพเจ้าเดิมของชาวโรมัน เรื่องราวความเป็นมามีดังนี้ ฉะนั้นถ้าท่านนักบุญมีชีวิตอยู่ท่านอาจรู้สึกงงงวยในตำแหน่งที่หนุ่มสาวได้เลือกตั้งและแต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้อุปถัมภ์ โดยที่ท่านไม่ได้รู้เรื่องทางโลกของหนุ่มสาวด้วยเลยแม้แต่น้อย

    ความรักระหว่างหนุ่มสาวนั้นอาจจะเผชิญกับอันตรายบางอย่าง และอาจจะเป็นโอกาสให้พลังและความรักนั้นทำลายความสัมพันธ์อันสูงส่งระหว่างหนุ่มสาวนั้นเอง ความหมายของการมี วันวาเลนไทน์ นี้ก็คือการช่วยหนุ่มสาวหาวิธีการเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันด้วยใจบริสุทธิ์

    ความหมายเห็นได้ชัดในคำว่า “You are my Valentine” ที่มักจะเขียนลงในบัตรส่งใจถึงกันและกัน ประโยคตามความหมายเดิม หมายถึงว่า “ข้าพเจ้าขอเสนอตัวเป็นเพื่อนสนิทของท่านในช่วงเวลา 1 ปี และข้าพเจ้าพร้อมที่จะตกลงแต่งงานกับท่าน ถ้ามิตรภาพของเรานี้เป็นสิ่งที่ยืนยง”

    ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาวที่จะช่วยให้ก้าวหน้าในความรักที่แท้จริงนั้น ก็ควรจะประกอบด้วย 3 ข้อด้วยกัน ดังนี้

    1. ให้รู้จักกันทั้งในด้านดี ในด้านเสีย และข้อผิดพลาดซึ่งต่างก็มีอยู่ และยอมรับซึ่งกันและกันในข้อเหล่านั้น
    2. ให้เคารพและเห็นใจกัน โดยเสียสละต่อกันเพื่อให้คนรักของตนได้รับความดี และความสุขใจในทางที่บริสุทธิ์งดงาม
    3. ให้มีการปรับปรุง และเปลี่ยนนิสัยของตนในส่วนที่บกพร่อง เพื่อจะอยู่กันด้วยความสุขในอนาคต

    ลักษณะทั้งสามดังกล่าวนี้ คงจะเป็นประโยชน์สำหรับหนุ่มสาวไทยไม่เฉพาะ ในวันวาเลนไทน์หรือสำหรับกลุ่มที่นิยมประเพณีต่างประเทศเท่านั้น แต่สำหรับทุกคู่ที่แสวงหาวิธีการเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันอัน จะนำไปสู่ความรักที่มั่นคงและยั่งยืนชั่วชีวิต

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×