ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บความรู้

    ลำดับตอนที่ #105 : ปริศนาแห่งพีระมิด

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 242
      0
      25 พ.ย. 52


                                  มหาพีระมิดแห่งเมืองกีซา (Great pyramid of Giza) หรือพีระมิดของฟาโรห์ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก เพราะไม่เพียงเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ แต่ยังเป็นสิ่งก่อสร้างที่หันด้านทั้ง 4 ไปยังทิศทั้ง 4 อย่างแม่นยำ พีระมิดนี้สร้างจากหินที่หนักก้อนละประมาณ 2.5 ตัน เป็นจำนวนทั้งหมดกว่า 2,400,000 ก้อน ก้อนหินที่หนักขนาดนี้ถูกขนย้ายแและก่อขึ้นไปได้อย่างไรทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่าชาวอียิปต์โบราณใช้โคลนสร้างทางลาดข้างพีระมิดเป็นเส้นทางลำเลียงก้อนหิน ว่าแต่พวกเขาใช้วิธีไหนทำให้หินเหล่านี้เป็นก้อนสี่เหลี่ยมเรียบๆได้ล่ะ คาดว่าชาวอียิปต์ใช้เครื่องมือคล้ายลิ่มหรืออาจใช้เครื่องมือทำจากทองแดงแต่ทั้งหมดเป็นเพียงแค่การคาดเดาจนปัจจุบันก็ยังหาคำตอบที่ถูกต้องไม่ได้
                                   แต่สิ่งที่แน่นอนคือ การสร้างพีระมิดต้องใช้ความชำนาญและใช้กำลังคนในช่วงมี่ไม่ได้ทำเกษตรกรรม เนื่องจากมีข้อมูลบันทึกไว้ว่าคนงานเหล่านี้เคยประท้วง เนื่องจากไม่ได้รับค่าตอบแทน แสดงให้รู้ว่าการก่อสร้างพีระมิดไม่ได้ใช่แรงงานทาส

    ในมหาพีระมิดมีมัมมี่หรือสมบัติหรือไม่
                                   เป็นเวลานานที่มนุษย์ไม่รู้เรื่องโครงสร้างภายในของมหาพีระมิด เพราะทางเข้าถูกปิดด้วยก้อนหินเพื่อป้องกันการลักลอบขโมยสมบัติ จนกระทั้งปี ค.ศ.832 ระหว่างที่อาบู จาฟอร์ อัลมามุนกำลังค้นหาสมบัติของฟาโรห์คูฟู เขาได้ค้นพบห้องเก็บพระศพ แต่ภายในโลงหินกลับว่างเปล่าและไม่มีสมบัติเลย โดยปกติแล้วพระศพของฟาโรห์จะถูกฝังพร้อมสมบัติมากมาย จากบันทึกของอัลมามุน เขาไม่พบร่องรอยการขโมยศพหรือสมบัติในพีระมิดแต่อย่างใด แล้วมัมมี่และสมบัติเหล่านั้นหายไปไหนล่ะ อาจเป้นได้ว่าห้องที่พบไม่ใช่ห้องเก็บพระศพ หรือมหาพีระมิดอาจไม่ใช่สุสานก็เป็นได้
                                     ปริศนาอีกอย่างคือ เชื่อกันว่าศูนย์กลางของพีระมิดเป็นที่รวมของพลังงานจักรวาล ไม่เพียงจะป้องกันไม่ให้ศพเกิดการเน่าเปื่อย แต่ถ้าวางมีดโกนขึ้นสนิมที่จุดศูนย์กลางของพีระมิดสนิมจะหลุดออกมาได้เอง!











    ที่มา ล่าขุมทรัยพ์สุดขอบฟ้าในอียิปต์
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×