ลำดับตอนที่ #36
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #36 : ปรากฏการณ์พระจัทร์สีแดง
ครั้งหนึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงถามบาทหลวงเจชูอิตที่ตั้งกล้องถวายเพื่อทอดพระเนรตจันทรุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2228 ว่า.... "ขณะเกิดคราส ทำไมดวงจันทร์จึงมีสีแดง?" ปรากฏบาทหลวงว่าก็ตอบไม่ได้ แต่มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ถึงสาเหตุการเกิดพระจันทร์สีแดงขณะเกิดจันทรุปราคา ดังนี้...เมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์ไม่ได้หายไปจนมืดทั้งดวง แต่จะเห็นเป็นสีแดงอิฐ เนื่องจากได้รับแสงสีแดงจากดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นคลื่นยาวที่สุด แล้วเกิดการหักเหของแสง เมื่ส่องผ่านชั้นบรรยากาศของโลก สีของดวงจันทร์เมื่เกิดจันทรุปราคาแต่ละครั้งจะไม่เหมือนกัน นักดาราศาสตร์ของฝั่งเศสชื่อ เอ ดันเจอ (A. Danjon) ได้กำหนดความสว่างของจันทรุปราคาเต็มดวงไว้เป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับ 0 ถึง 4 ดังนี้
ระดับ 0 ดวงจันทร์มืดจนมองไม่เห็น
ระดับ 1 ดวงจันทร์มืด เห็นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลแต่มองไมเห็นรายละเอียด ลักษณณะพื้นผิวของดวงจันทร์
ระดับ 2 ดวงจันทร์มีสีแดงเข้มบริเวณด้านในของเงามืด และมีสีเหลืองสว่างบริเวณด้านนอกของเงามืด
ระดับ 3 ดวงจันทร์มีสีแดงอิฐและมีสีเหลืองสว่างบริเวณขอบของเงามืด
ระดับ 4 ดวงจันทร์สว่างสีทองแดงหรือส้ม ด้านขอบของเงาสว่างมาก
ที่มา หนังสือครอบครัวกึ๊กกึ๊ย
ระดับ 0 ดวงจันทร์มืดจนมองไม่เห็น
ระดับ 1 ดวงจันทร์มืด เห็นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลแต่มองไมเห็นรายละเอียด ลักษณณะพื้นผิวของดวงจันทร์
ระดับ 2 ดวงจันทร์มีสีแดงเข้มบริเวณด้านในของเงามืด และมีสีเหลืองสว่างบริเวณด้านนอกของเงามืด
ระดับ 3 ดวงจันทร์มีสีแดงอิฐและมีสีเหลืองสว่างบริเวณขอบของเงามืด
ระดับ 4 ดวงจันทร์สว่างสีทองแดงหรือส้ม ด้านขอบของเงาสว่างมาก
ที่มา หนังสือครอบครัวกึ๊กกึ๊ย
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น