ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บความรู้

    ลำดับตอนที่ #22 : คอโรนา

    • อัปเดตล่าสุด 25 ก.ค. 51


                         การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเป็นโอกาสพิเศษที่นักดาราศาสตร์ทำการสังเกตการณ์ เก็บข้อมูล และศึกษาค้ยคว้าเกี่ยวกีบบรรยากาศที่ห่อหุ้มดวงอาทิตย์ชั้นนอกสุด
                         เมื่อดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บังมืดมิดเต็มดวง จะเห็นแสงเรืองโดยรอบดวงอาทิตย์ เรียกว่า คอโรนา สวยงามมาก และเป็นภาพที่หาดูได้ยากคำว่าคอโรนา(corona)มาจากภาษาละติน แปลว่ามงกุฎ (crown) ดวงอาทิตย์เกิดตอนสุริปราคาเต็มดวงก็มีลักษณะเหมือนดวงกลมดำสวมมงกุฎ
                         สีของคอโรนาเป็นสีขาวนวลอมเขียวอ่อนๆ ประมณว่าสว่างเพียงครึ่งนำงของดวงจันทร์เพ็ญ ปรกติมองไม่เห็น เพราะสีอ่อนจางมาก จึงถูกแสงอาทิตย์บดบังและท้องฟ้าก็สว่างประกอบกับเราไม่มองดวงอาทิตย์อยู่แล้ว แต่เมื่อเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงจึงเห็นคอโรนาได้ง่าย แสงของคอโรนาบางส่วนเกิดจากแสงที่แพร่กระจายออกมาจากอะตอมธาตุภายในคอโรนาที่สูญเสียอิเล็กตรอนไปหลายตัว เช่นอะตอมธาตุเหล็กนิกเกิล แมกนีเซียม และบางส่วนเป็นแสงที่สะท้อนจากอนุภาคที่โครจรอบดวงอาทิตย์
                         รูปร่างของคอโรนาจะแตกต่างกันไปสำหรับการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้ง เพราะจะขึ้นอยู่กับสนามแม่เหล็กหรือการเกิดจุดบนดวงอาทิตย์ (sunspot) ในช่องเวลาที่เกิดจุดบนดวงอาทิตย์จำนวนมาก รูปร่างของคอโรนาค่อนข้างกลม กระจายไปโดยรอบดวงอาทิตย์เท่าๆกัน ถ้าหากเกิดสุริปราคาเต้มดวงในช่วงเวลาที่มีจุดบนดวงอาทิตย์จำนวนน้อย รูปร่างของคอโรนาจะไม่เป็นวงกลม และมีแนวโน้มจะแผ่ยาวไปตามแนวศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์
                          สมัยก่อนจะดูคอโรนากํนที นักดาราศาสตร์ต้องคอยสุริยุปราคาเต็มดวง ซึ่งในชีวิตจะเกิดเพียง 1-2 ครั้งเท่านั้น ปัจจุบันมีเครื่องมือช่วยแล้ว เรียกว่า คอโรนากราฟ จะเห็นคอโรนาได้ดีเมื่อท้องฟ้าใสกระจ่างมากๆ และใช่กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่กำลังสูงติดตั้งบนภูเขา สำหรับพวกเราจะเห็นคอโรนาได้ก็ยังต้องคอยสุริยุปราคาเต็มดวง อย่างเช่นที่เกิดไปแล้วในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2538ที่ผ่านมา











    ที่มา หนังสือรูไว้ใช่ว่าประสาวิทยาศาสตร์
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×