ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พฤษภาทมิฬ ความจริงที่ไม่อาจลืม

    ลำดับตอนที่ #31 : บทสรุป

    • อัปเดตล่าสุด 13 มิ.ย. 50


    บทสรุป

             ปรากฏการณ์ที่สำคัญในเหตุการพฤษภาทมิฬ คือการชุมนุมของกลุ่มผู้เรียกร้องประชาธิปไตยประกอบด้วยชนชั้นกลางเป็นจำนวนมาก ซึ่งแตกต่างจากกรณี 14 ตุลาคม 2516  ทั้งนี้เนื่องจากสองทศวรรษที่ผ่านมาเศรษฐกิจและสังคมไทยได้พัฒนาไปมาก ทำให้ชนชั้นกลางที่เริ่มส่อเค้ามาตั้งแต่ปี 2516 เห็นเด่นชัดขึ้นผู้ร่วมชุมชุมหลายคนมีโทรศัพท์มือถือ ขับรถเก๋งส่วนตัวไปร่วมชุมนุมและมีเป็นจำนวนมากที่มีกิจการเป็นของตนเอง

            จากการสำรวจของสามคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย โดยใช้ผลสำรวจ 2,000 จุดพบ้อมูลที่น่าสนใจคือ

    อายุของผู้ชุมนุม

    20-29 ปี

    39.4 %

    30-39 ปี

    36.5%

    40-49 ปี

    14.2%

    50 ปีขึ้นไป

    6.7%

    อาชีพของผู้ชุมชุม

    เจ้าของกิจการ

    13.7%

    เอกชน

    45.7%

    ราชการ

    14.8%

    รัฐวิสาหกิจ

    6.2%

    รายได้ของผู้ชุมนุม

    รายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท

    14.1%

    5,000-9,900 บาท

    28.5%

    10,000-19,999 บาท

    30%

    20,000-50,000 บาท

    15.5%

    สูงกว่า 50,000 บาท

    6.2%

            จะเห็นได้ว่าจากข้อมูลดังกล่าว ผู้ร่วมชุมชุมเป็นชนชั้นกลางของสังคมมีจำนวนมาก ระดับและจำนวนของชนชั้นกลางแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในแง่อายุ อาชีพ และรายได้ กล่าวได้ว่าเป็นความแตกต่างในแง่คุณภาพ ไม่ใช่เพียงปริมาณ อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงที่ว่าการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยประสบความสำเร็จ โดยที่ฝ่ายรัฐบาลซึ่งแม้จะมีกำลังทหารหนุนหลัง ก็ไม่สามารถปราบปรามประชาชนได้นั้นไม่ได้เกิดจากสภาพการขยายตัวของชนชั้นกลางเพียงอย่างเดียว หากเกิดจากตัวแปรต่างๆ หลายอย่างด้วยกันคือ

    1.แนวโน้มของโลกปัจจุบันคือการมีระบบการเมืองแบบเปิด และเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ กระแสแห่งประชาธิปไตยดังกล่าวแผ่กระจายไปทั่วโลก แม้กระทั่งสหภาพโซเวียตก็หนีไม่พ้น

    2.ความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนมีมากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การศึกษา สื่อมวลชน เทคโนเลยีสานสนเทศ

    3.เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 เป็นประวัติศาสตร์ที่คอยกระตุ้นเตือน ความทรงจำถึงการต่อสู้และการเสียสละ วิญญาณเสรีชนดังกล่าวมีการสืบทอดมาโดยความทรงจำ การศึกษาและการปลุกเร้า

    4.เศรษฐกิจไทยไม่ใช่เศรษฐกิจการเกษตรเป็นหลักอีกต่อไป แต่เป็นเศรษฐกิจผสมมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและกายภาพ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจและการเมืองมีสูง การใช้อำนาจเผด็จการแบบสังคมเกษตรจึงไร้ผล

    5.เทคโนเลยีการสื่อสารทำให้ปฏิบัติการของผู้อยู่ในอำนาจล้าสมัย การส่งโทรสาร การับข่าวสารจากต่างประเทศล้วนแต่ทำให้การปิดข่าวสารและการบิดเบือนเป็นไปได้ยาก6

    6.การต่อต้านนายกรัฐมนตรีเกิดจากการที่นายกรัฐมนตรีผิดคำสัญญาที่ให้ไว้แก่ประชาชนตอนที่เรียกร้องให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ ว่าจะไม่รับตำแหน่งทางการเมือง แต่ก็มาเสียคำพูดเท่ากับเป็นการหลอกลวงประชาชน นอกจากนั้นท่าทีแข็งกร้าวและเชื่อมั่นในอำนาจเท่ากับเป็นการยั่วยุยิ่งขึ้น นอกจากนั้นนายกรัฐมนตรียังเป็นสัญลักษณ์ของเผด็จการทหารและการสืบทอดอำนาจ ทำให้เกิดความเคืองแค้นให้หมู่ประชาชน

    7.การประเมินพลังประชาชนต่ำและเข้าใจว่าเป็นมวลชนจัดตั้งของฝ่ายตรงข้ามเพียงอย่างเดียว บนฐานของการประเมินดังกล่าว จึงคาดว่าถ้ามีการกวาดล้างด้วยกำลังประชาชนผู้ประท้วงจะแตกกระเจิงเพราะความรักตัวกลัวตาย แต่การณ์กลับตรงกันข้าม

    8.วิกฤติแห่งความน่าเชื่อถือ การตระบัดสัตย์โดยอ้างว่า "เสียสัตย์เพื่อชาติ" ทำให้คำพูดทุกคำพูดของท่านนายกรัฐมนตรี ของรัฐบาล สื่อมวลชนของรัฐ ขาดความน่าเชื่อถือ

    9.ความเชื่อแบบเก่า ที่ว่าอำนาจบริสุทธิ์สามารถสยบได้ทุกอย่างเป็นความเชื่อที่ล้าสมัย ผู้ที่คิดเช่นนี้ เป็นคนที่ ไม่ทันเหตุการณ์โลกเป็นวุฒิภาวะของคนรุ่นเก่าที่ไม่ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลก ทำให้มองภาพผิด ตีความข้อมูลผิด รับฟังแต่ข้อมูลของผู้สอพลอ จึงนำไปสู้ปัญหาวิกฤต ผลสุดท้ายคือการทำลายตนเอง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×