ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พฤษภาทมิฬ ความจริงที่ไม่อาจลืม

    ลำดับตอนที่ #3 : หลัง "สุจินดา" เป็นนายกฯ

    • อัปเดตล่าสุด 12 มิ.ย. 50


              การเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ในรัฐบาลผสมของพรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย พรรคราษฎร และ พรรคสามัคคีธรรม ( ปัจจุบันสองพรรคหลังเลิกไปแล้ว ) นับเป็นจุดเริ่มต้นของความไม่พอใจและการคัดค้านของประชาชน พรรคฝ่ายค้านสี่พรรค ( พรรคประชาธิปัตย์ พรรคความหวังใหม่ พรรคพลังธรรม พรรคเอกภาพ) และ กลุ่มองค์กรต่าง ๆ ทั่วประเทศ การคัดค้านครั้งนี้ยืนอยู่บนหลักการสำคัญสองประการ คือ

    ๑. คัดค้านการสืบทอดอำนาจของเผด็จการ รสช.

              เนื่องจาก พล.อ. สุจินดาเป็นผู้หนึ่งในคณะ รสช. ซึ่งทำการรัฐประหารล้มรัฐธรรมนูญ และเป็นที่ทราบกันดีกว่าเหตุผลแท้จริงของการรัฐประหารนั้นเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างทหารกับรัฐบาล มิใช่เรื่องผลประโยชน์ของประเทศชาติหรือประชาธิปไตยแต่อย่างใด การเข้ารับตำแหน่งนายกฯ ของ พลงอ. สุจินดา จึงเป็นการเข้าสืบทอดอำนาจเผด็จการของคณะ รสช. อย่างเห็นได้ชัด

    ๒. คัดค้านรับธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

              รัฐธรรมนูญ ซึ่งร่างกายใต้อำนาจของคณะ รสช. เป็นรับธรรมนูญที่ขัดต่อหลักการพื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยหลายประการ ทั้งนี้เพื่อเปิดช่องทางสำหรับการสืบทอดอำนาจของคณะ รสช. เช่นนายกรับมนตรีคนนอก จำนวนวุฒิสมาชิกและอำนาจของวุฒิสภา ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภา ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีเหตุผลคัดค้านเรื่องความชอบธรรมของตัวบุคคลที่ร่วมรัฐบาลเช่น พล.อ. สุจินดา เป็นคนไม่รักษาคำพูดเนื่องจากเคยสัญญาว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรับมนตรี หากยังบริหารประเทศได้อย่างไร รับมนตรีหลายคนในคณะรัฐบาลเคยถูกคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินซึ่งตั้งโดยคณะ รสช. สั่งยึดทรัพย์และประกาศว่าเป็นผู้ร่ำรวยผิดปรกติ ฯลฯ

              ในขณะที่เสียงคัดค้านอันยืนอยู่บนหลักการประชาธิปไตยดังขึ้นทุกขณะ พรรคร่วมรับบาล พล.อ. สุจินดากลับเฉยเมยต่อเสียงประชาชนโดยถือว่าเป็นการเล่นนอกสภาและได้พยายามปิดกั้นบิดเบือนข่าวสารทุกอย่างเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวคัดค้าน ของประชาชน รวมทั้งกล่าวหาผู้คัดค้านว่าเป็นขัดพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีโดยลืมนึกไปว่าคณะ รสช. นั่นเองเป็นผู้ขัดพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรับมนตรีโดยลืมนึกไปว่าคระ รสช. นั้นเองเป็นผู้ขัดพระบรมราชโองการ และใช้กำลังทหารเล่นการเมืองนอกสภาโดยการล้มรับบาลชาติชายและล้มรัฐธรรมนูญอันถือเป็นหัวใจของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

              การต่อสู้ของประชาชนผู้ยึดมั่นในหลักการและความถูกต้องของการปกครองระบอบประชาธิปไตยกับกลุ่มผู้มีอำนาจทางทหาร ซึ่งยึดมั่นในอำนาจและกติกาที่ตนเองเป็นผู้ร่าง และกลุ่มนักการเมืองผู้ต้องการรักษาผลประโยชน์ของตนเอง จึงเปิดฉากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คำพูดและการกระทำของทุก ๆ คนในเหตุการณ์พฤษภาวิปโยค เป็นภาพสะท้อนอย่างแจ่มชัดถึงจุดยืนทางความคิดของคนคนนั้นว่า เขาเป็นผู้ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย หรืออำนาจเผด็จการ หรือยึดมั่นในผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องหรือเป็นคนที่ไม่มีหลักการใด ๆ เลย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×