ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พฤษภาทมิฬ ความจริงที่ไม่อาจลืม

    ลำดับตอนที่ #27 : อรุณรุ่งที่ไร้การบันทึก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 360
      0
      13 มิ.ย. 50

    อรุณรุ่งที่ไร้การบันทึก

    เวลา 04.55 น. 

            ของวันที่ 20 พฤษภาคม นายแพทย์คนหนึ่งในโรงเรียนรัตนโกสินทร์ถือโทรโข่งแจ้งว่า กำลังทหารจากศูนย์สงครามพิเศษลพบุรีเคลื่อนประชิดเขามาแล้ว และมีข่าวว่าจะปิดล้อมปราบขั้นสุดท้ายเวลาตีห้า แพทย์ได้แจ้งให้ทุกคนทราบและทำการปรับสภาพหน่วยพยาบาลให้อยู่ทำเลที่ปลอดภัยพร้อมกับเตรียมรับสถานการณ์บุกปราบ โดยให้ทุกคนนอนราบคว่ำหน้ากับพื้นประสานมือหลังศรีษะ นอนนิ่ง ๆ ไม่ส่งเสียงและไม่ต่อสู้

            ราวตีห้า กำลังทหารกว่า 1,000 นายเดินเรียงหน้ากระดานระดมยิงเข้าใส่ฝูงชนตั้งแต่หน้ากรมประชาสัมพันธ์เข้ามา เพื่อหวังเผด็จศึกสลายการชุมนุมให้ได้ก่อนรุ่งสาง ฝูงชนแตกกระจายไปคนละทิศละทาง บ้างคว่ำจมกองเลือดบ้างคลานตะเกียกตะกายให้พ้นวิถีกระสุน กำลังทหารจากทุก ๆ ด้านโอบล้อมต้อนฝูงชนไม่ให้เล็ดลอดออกไปได้ เสียงหวีดร้องดังระงมไปทั่ว เสียงปืนดังเป็นระยะตามจุดต่าง ๆ

            เพียง 30 นาที ฝูงชนถูกต้อนมารวมกันหน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ ผู้ชายถอดเสื้อมัดมือไพล่หลัง ส่วนผู้หญิงถูกกันไว้อีกทาง

            กำลังทหาร 300 ฝูงชนถูกต้อนมารวมกันหน้าโรงแรม ทุกคนที่ห้องล๊อบบี้ถูกบังคับให้นอนก้มหน้า หากใครชักช้าหรือขัดขืนจะถูกกระทืบไม่เว้นแม้แต่แพทย์อาสาซึ่งสวมชุดเขียวแตกต่างจากคนทั่วไป ห้องพักทุกห้องถูกเข้าตรวจค้น ใครที่ไม่สามารถแสดงหลักฐานการเข้าพักจะถูกต้อนลงมารวมกับคนอื่น ๆ หน้าโรงแรม ทหารเหยียบลงบนร่างนับร้อยที่นอนคว่ำหน้าอยู่แน่นขนัดในห้องล๊อบบี้ พร้อมกับส่งเสียงตะโกนว่า "เหยียบมันเข้าไป ไอ้ตัวแสบพวกนี้เผาบ้านเผาเมือง เอาไว้ทำไม"

             เกือบหกโมงเช้า ประชาชนราว 2,000 กว่าคนนั่งก้มหน้านิ่งในสภาพเชลยศึกสงครามอัดกันอยู่หน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์รถยีเอ็มซี 20 คัน รถบัสทหารสองคัน ขนผู้ต้องหาก่อการจลาจลส่งเรือนจำชั่วคราวที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขน

            เหตุการณ์ช่วงการเข้าเผด็จศึกครั้งสุดท้ายไม่มีช่างภาพคนใดได้บันทึกภาพ หรือแม้กระทั่งถ่ายภาพวีดีโอ ไม่มีใครรู้ว่าประชาชนถูกสังหารไปอีกกี่มากน้อย หลายเสียงเล่าว่า ศพถูกขนขึ้นรถยีเอ็มซีไป แต่ไม่มีใครทราบว่ารถจะวิ่งไปสู่ที่ใด

             ภาพหลังเหตุการณ์ล้อมปราบ กลุ่มคณาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชนห้าสถาบัน ซึ่งได้ร่วมมือกันเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้บาดเจ็บในโรงพยาบาลและผู้อยู่ในเหตุการณ์ช่วงวิกฤต ได้ตั้งข้อสังเกตว่าการปราบปรามประชาชนครั้งนี้มีพฤติการณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาตีห้า (ผู้สื่อข่าวถูกถอนออกมาหมดตั้งแต่เวลาตีหนึ่ง) ซึ่งผู้ร่วมเหตุการณ์เห็นตรงกันทั้งหมดว่า น่าจะเป็นช่วงเวลาที่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตมากที่สุด เพราะลักษณะการปราบปรามเป็นการปิดล้อมและระดมยิงเข้ามาทุกด้าน (ยกเว้นทางสะพานพระปิ่นเกล้าซึ่งทหารเรือเปิดให้ผู้ชุมนุมวิ่งออกไป) มีผู้ให้สัมภาษณ์ยืนยันว่า มีคนบาดเจ็บและเสียชีวิตขณะที่วิ่งหลบเข้าไปตามตรอกซอกซอยต่าง ๆ ทุกแห่ง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×