ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    บทความเกี่ยวกับการออกกำลังกายจ้า

    ลำดับตอนที่ #3 : "เส้าหลิน-วูซู" ศิลปะการออกกำลังกายทางเลือกใหม่

    • อัปเดตล่าสุด 15 ม.ค. 50


    กลวิธีเบื้องต้นในการดูแลรักษาร่างกายให้ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ อย่างน้อยที่สุดคือ การออกกำลังกาย ซึ่งควรเลือกให้เข้ากับลักษณะของแต่ละบุคคล

             

    ศิลปะการต่อสู้บางประเภท ก็เป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่งด้วยเหมือนกัน ดังเช่น "วูซู หรือ อู่ซู่"

               

    เส้าหลิน,วูซู,ออกกำลังกาย,โรค,ศิลปะ,การต่อสู้,ชาวจีน,กระบวนยุทธ์,ฟื้นฟู,ระบบประสาท,สัมพันธ์,ยืดหยุ่นวูซู หรือ อู่ซู่ เป็นศิลปะการต่อสู้ของชาวจีนที่มีมาแต่โบราณ ใช้หลักการปะทะต่อสู้เป็นสาระสำคัญ มีรูปแบบการร่ายกระบวนยุทธ์และชั้นเชิงต่อสู้เป็นหลักในการฝึก และมีหลักศิลปะกายบริหารที่สืบทอดกันมา การฝึกวูซูเป็นลักษณะการฝึกแบบที่เรียกว่า เส้าหลิน คือ มุ่งเน้นการประสานพลังภายในและภายนอก ซึ่งเป็นจุดเด่นของวิทยาการวูซู

             

    คุณประโยชน์ที่ผู้ฝึกวูซูได้รับคือ การเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย เพราะการออกกำลังกายแบบวูซูนั้น จะอาศัยพลังที่มีอยู่ในร่างกายมาประกอบด้วยหลักการงอเหยียด การหมุนรอบเป็นวงจร ซึ่งผู้ฝึกจำเป็นต้องฝึกการทรงตัวให้ดี เนื่องจากมีท่ากระโดดโจนทะยาน ท่าหกคะเมนตีลังกา รวมถึงท่าทิ้งตัวลงม้วนกลิ้ง เป็นต้น

             

    ท่าต่างๆ ที่ใช้ฝึกวูซู ยังช่วยเสริมสร้างและปรับปรุงระบบประสาทที่มีส่วนสัมพันธ์กัน ให้เกิดการพัฒนาตัวเองในทางบวก นั่นหมายถึง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเส้นประสาทดีขึ้น และกระตุ้นต่อระบบอวัยวะภายในร่างกาย เช่น กระตุ้นระบบการไหลเวียนเลือดของหัวใจ เพิ่มขีดความสามารถการสันดาปภายในร่างกาย กระตุ้นระบบหายใจ ส่งผลให้มีผลต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายให้มีความกระฉับกระเฉงว่องไว สร้างความเร็ว ความแรงและความอ่อนตัว ความยืดหยุ่นทางกายภาพได้

             

    นอกจากสร้างความแข็งแกร่งให้กับร่างกายแล้ว ผู้ที่ได้รับการฝึกหัดวิชาวูซู ยังเรียนรู้วิธีการต่อสู้ไปในตัวอีกด้วย โดยเฉพาะเมื่อรับการฝึกฝนอย่างหนักและจริงจังต่อการฝึกด้วยแล้ว ผลที่ได้รับก็คือ ผู้นั้นจะมีขีดความสามารถในการใช้วิชาวูซู เพื่อการต่อสู้ป้องกันตัว

             

    สิ่งสำคัญในการฝึกเริ่มแรก ผู้ฝึกจำเป็นต้องฝึกการนั่งสมาธิ เพื่อให้จิตใจสงบ ปรับความสมดุลภายในร่างกาย ซึ่งทั้งสองสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการฝึกวูซูต้องใช้ทั้งพลังกายและพลังใจฝึกให้สอดคล้องกัน

             

    ท่าสำหรับฝึกวูซูมีจำนวนมาก ซึ่งผู้ฝึกจำเป็นต้องเรียนรู้พื้นฐานของการฝึกวูซูก่อน ทั้งนี้ท่าสำหรับการฝึกวูซู ที่สามารถใช้ฝึกได้ทุกเพศ ทุกวัย มุ่งเน้นให้ร่างกายและจิตใจแข็งแกร่งนั้น มี 8 ท่า เรียกว่า "ปาต่วนจิน" หรือ แปดการเคลื่อนไหวที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งถือเป็นสุดยอดของมวยเส้าหลิน และทั้งแปดการเคลื่อนไหวมีที่มาจาก ท่ามวย 18 อรหันต์ (โหลน ฮั่น ฉวน)

             

    การฝึกวูซูทั้ง 8 ท่า มุ่งเน้นไปที่การยกขึ้น แบก ดึง จับ กด แกว่ง และปล่อยทิ้ง

             

    ท่าที่ 1 ซวงโซว่ ทัวเทียน หรือ "สองมือค้ำฟ้า" ช่วยปรับอารมณ์ และจิตใจ

             

    ท่าที่ 2 จั่วโยว่ ไคกุง หรือ "ซ้าย ขวา ยิงธนู" ช่วยปรับสร้างสมาธิ

             

    ท่าที่ 3 ตันว่าง ฉี่หยวน หรือ "แขนเดียวค้ำเมฆ" ช่วยระบบการทำงานของกระเพาะและลำไส้

             

    ท่าที่ 4 หยางโถ่ว ลี่เฉียว หรือ "เพ่งมองท้องฟ้า" ช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อ แก้ปวดเมื่อย และทำให้อวัยวะภายในแข็งแรง

             

    ท่าที่ 5 โฉวฉวนนู่มู่ หรือ "จ้อง พิโรธ ชก" ช่วยเพิ่มพลังนิ้วมือ ฝ่ามือ และแขน

             

    ท่าที่ 6 เป่ยโฮว่ ฉีเตี่ยน หรือ "ประสานมือไพล่หลัง" ช่วยลดอาการปวดหลัง

             

    ท่าที่ 7 ถี โถว ไป๋เว่ย หรือ "ม้วนหัว ม้วนหาง" ช่วยลดอารมณ์โกรธ และเครียด

             

    ท่าที่ 8 เหลียงโซว่ ผานชี หรือ "สองมือจับเข่า" ช่วยกล้ามเนื้อหลังด้านล่าง และต่อมลูกหมากให้ฟื้นฟูและแข็งแรง

             

    นอกเหนือจากคุณประโยชน์ที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง จิตใจมีสมาธิ ควบคุมอารมณ์ได้เป็นอย่างดีแล้ว ผลพวงที่ได้รับตามมาและกลายเป็นที่นิยมภายหลังการฝึกวูซู คือ การรักษาโรค

             

    นางพัชรวรรณ เกษมสันต์ ณ อยุธยา เจ้าของเส้าหลิน วูซู ไทยแลนด์ เล่าให้ฟังว่า เห็นได้ชัดที่สุด คือลูกชายของพี่เอง เขามีขาที่ผิดปกติ เขาได้รับยีนที่มีปัญหา (genetic problem) มาจากคุณพ่อเขา ซึ่งทำให้เขามีเท้าที่แป หากโตขึ้นจะเดินลักษณะเดียวกับเป็ด และมีอาการตะคริวเมื่อยังเล็กสัปดาห์ละประมาณ 5 วัน จึงพยายามทำทุกวิธีทางให้เขาหาย แต่ก็ไม่ดีขึ้น

             

    "หลังจากพาลูกชายมาฝึกวูซูได้ประมาณ 2 เดือน ตะคริวก็หาย การทรงตัวดีขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาหมอทำกายภาพให้ก็ช่วยไม่ได้ หลังจากฝึกวูซูไปกว่า 5 เดือน ขาแข็งแรงขึ้นมา จากเดิมที่นั่งยองๆ ไม่ได้ ก็นั่งยองๆ ได้ ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถเชิดสิงโตได้ด้วย จากเด็กที่ขายืนไม่อยู่ยังย่อตัวเวลาเชิดสิงโตได้ ทั้งยังสามารถเอาเท้าเกาหูสิงโตได้อีกด้วย ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนมาก ถึงจะไม่ใช่การรักษาที่หายร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี" นางพัชรวรรณ กล่าว

             

    ที่ผ่านมา โรงเรียนเคยฝึกวูซูให้กับเด็กอายุ 11 ปี รายหนึ่ง ซึ่งป่วยด้วยโรคร่างกายไม่ตอบรับการสั่งงานของสมอง เด็กเข้าใจในสิ่งที่พูด แต่ไม่สามารถบังคับให้ร่างกายทำงานได้ หลังจากฝึกวูซูได้เพียงเดือนเศษ เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ พูดจารู้เรื่อง ซึ่งเชื่อว่าวูซูเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นด้วย

             

    หรือโรคในผู้สูงอายุ เช่น โรคพาร์กินสัน จะช่วยให้ลดอาการลง แต่มีข้อจำกัดเรื่องของท่าที่ใช้ฝึก เพราะสภาพร่างกายของแต่ละคนจะแตกต่างกัน ฉะนั้น ก่อนการฝึกวูซู ผู้ฝึกจะทดสอบสมรรถภาพทางร่ายกายให้ก่อนทุกคน

             

    วูซู ช่วยรักษาอาการโรคร้ายให้ดีขึ้นได้ อาจจะไม่หายร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ตาม แต่การผสมผสานท่วงท่าแข็งแกร่ง อ่อนช้อยรวมเข้าด้วยกัน ภายนอกดูนุ่มนวล แต่ภายในแข็งแกร่ง และเป็นศิลปะการต่อสู้....โรคร้ายใดๆ ใครหรือจะกล้ายุ่ง!!!

     

     

    zz

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×