เท แปลว่า มือ
ควัน แปลว่า เท้า
โด แปลว่า สติปัญญา
เทควันโดเป็นศิลปะการต่อสู้ ที่เน้นการใช้มือและเท้าที่มี เทคนิคต่างไปจากศิลปะการต่อสู้ชนิดอื่นๆ มีการกระโดดและการหมุนตัวที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้เป็นที่น่าสนใจ ในวงการณ์ศิลปะการต่อสู้อีกชนิดเลยทีเดียว เริ่มต้นมาจากศิลปะการต่อสู ้ของโรมัน ญี่ปุ่น จีน เกาหลี อินเดีย ได้เริ่มมีการพัฒนาการต่อสู้ โดยปราศจากอาวุธและได้พัฒนาจนกลายเป็นศิลปะการป้องกันตัวศิลปะการป้องกันตัวของเกาหลีมีมากว่า 2000 ปี ในปี1955 มีองค์กรได้ถูกจัดตั้งขึ้นมาในนามองค์การควบคุมศิลปะแห่งชาติ ถูกจัดตั้งเพื่อเผยแพร่แก่สาธารณะชนองค์กรทางทหาร ซึ่งขึ้นกับเงินทุนกองกลางที่มีสมาชิกขององค์กรเป็นผู้ที่มีความสามารถที่ เชี่ยวชาญมารวมตัวกัน โดยมีมีนายพล Choi Hong Hi เป็นผู้ตั้งชื่อใหม่ว่า " เทควันโด" หลังจากที่ประเทศเกาหลีได้รับการประกาศเอกราช เป็นอิสระภาพจากการ ปกครองของประเทศญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวเกาหลีเริ่มได้มี การพัฒนาขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของชาติขึ้น ปรมาจารย์ ผู้อาวุโส ซองคุกดี แห่งสำนัก เทคิวโด (TeakKwondo) ได้แสดงสาธิต ศิลปะป้องกันตัวเทควันโดขี้น ต่อหน้าประธานาธิบดีของสาธารณรัฐเกาหลี โดย ฯพณฯ นายยังแมนลี (SyngmanRhee) ในโอกาสวันคล้ายวันเกิดของอาจารย์ซองคุกคีได้แสดงให้เห็นความแตกต่างของวิชาศิลปะการต่อสู้แบบเทควันโดและคาราเต้ของญี่ปุ่น อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรก ของการจุดประกายวิชานี้ขึ้นมาให้สาธารณชนได้รับรู้ต่อมาก็ได้มี การเปิด โรงฝึก (Gymnasiu) ของวิชาเทควันโด ไปทั่วประเทศเกาหลีและ หลังจากสงครามเกาหลี( ค. ศ.19501953) วิชาเทควันโด้ได้รับความนิยมเป็น อย่างมากไปทั่วประเทศเกาหลี ได้มีการผลิตและส่งผู้เชี่ยวชาญ ครูฝึกสอนวิชาเทควันโ**อกไปเผยแพร่ยังต่างประเทศกว่า 2,000 คน และในประเทศกว่า 100 ประเทศทั่วโลก หลังจากนั้นก็ได้มีการเสนอให้ วิชาเทควันโดเป็นศิลปะป้องกันตัวประจำชาติเกาหลี ในปี ค. ศ. 1971 ตามมาด้วยการก่อตั้งศูนย์ เทควันโดแห่งชาติ Kukkiwon ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงโซล และได้ใช้เป็นศูนย์กลาง การฝึก, การแข่งขัน,การบริหาร และการเผยแพร่วิชาเทควันโดตราบจนปัจจุบัน ต่อมาเมื่อ วันที่ 28 พฤษภาคม 1973 ก็ได้มีการก่อตั้ง สหพันธ์ เทควันโดโลกสากล( The World Taekwondo Federation ) WTF มีหน้าที่ดูแลประเทศสมาชิกกว่า 108 ประเทศ และในปีเดียวกันนี้ เองก็ได้การเริ่มแข่งขัน ชิงแชมป์เทควันโดระดับโลกขึ้นและได้จัดแข่งเป็นประจำทุก 2 ปีตลอดมา เมื่อแรกก่อตั้งมีสมาชิกเพียง 50 ประเทศ แต่ในปัจจุบันมีถึงกว่า 150 ประเทศ ประธานสหพันธ์คนแรก และคนปัจจุบันได้แก่ ดร. อุน ยอง คิม ซึ่งท่านผู้นี้เป็นกำลัง สำคัญ ในการผลักดันให้มีการบรรจุกีฬาเทควันโดในเอเชี่ยนเกมส์ ในปี ค. ศ.1974 ปีถัดมาการแข่งขันกีฬาเทควันโด ได้มีการยอมรับเป็น ทางการจากสหพันธ์กีฬาสมัครเล่นของสหรัฐอเมริกา และเป็นกีฬาสากลตลอดจนไปถึงการยอมรับวิชาเทควันโดไปฝึกในโรงเรียนทหาร ในปี ค. ศ.1979-1980 ได้มีการยอมรับวิชาเทควันโดไปยังสหพันธ์กีฬาทั่วโลก จนในที่สุดคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ก็ได้บรรจุให้มี การแข่งขันเป็นทางการระดับสากลได้ จนในที่สุด ปี ค. ศ.2000 เทควันโดก็ได้มีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก ที่ประเทศออสเตรเลีย นับได้ว่ากีฬาเทควันโดเข้าสู่การแข่งขันระดับสากลได้เป็นผลสำเร็จ
มวยเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่ว่าเป็นศาสตร์เพราะเป็นวิชาการที่ทุกท่าน อาจจะศึกษาหาความรู้ได้เช่นวิชาแขนงอื่นๆ และเป็นศิลป์อย่างสูงของนักมวยคนหนึ่งยากที่นักมวยอีกคนหนึ่งจะพึ่งปฎิบัติสืบทอดต่อไปได้ ดังที่ทุกท่านตระหนักดีว่า มวยเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวอย่างหนึ่งตามธรรมชาติ ปัจจุบันมีมวยอยู่ 2 ชนิดคือ มวยปล้ำและมวยชกแบ่งเป็น 2 แบบคือ ชกด้วยหมัด บวกกับการต่อสู้ด้วยเท้าตามแบบมวยไทย และชาติเพื่อนบ้าน โดยชกด้วยหมัดเพียงอย่างเดียว อันเป็นที่นิยมกันทั่วโลก เรียกว่า มวยสากล (Boxing) มวยสากลนั้นมีมานานแล้วตามหลักฐานซึ่ง Sir Ather Evan ได้ค้นพบเศษรูปสลักของนักมวยโบราณ ซึ่งแยกออกเป็นชิ้นๆ ในปี พ.ศ. 2443 ที่เมืองบอซซุส อันเป็นโบราณสถานเก่าแก่แห่งหนึ่งในเกาะครีตของประเทศกรีซ ทางตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จากหลักฐานทำให้ทราบว่า มวยโบราณสมัยกรีกก่อนคริสต์ศักราช แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
- ระยะแรก เป็นสมัยของโฮมเมอร์ ประมาณ 900-600 ก่อนคริสต์ศักราช ตอนนี้ใช้หนังอ่อนๆ ยาว 10-12 ฟุต พันตั้งแต่ข้อมือถึงข้อศอก จุดประสงค์เพื่อป้องกันมือของผู้ชก กติกาก็มีเพียงเล็กน้อยแต่ยุติธรรม มีความแข้มแข็ง กล้าหาญ ทนทาน และฝีมือดี จึงจัดว่าเป็นสิ่งสำคัญ
- ระยะที่สอง ระหว่าง 400-200 ปี ก่อนคริสต์ศักราช มีการดัดแปลงเล็กน้อยคือ พันมือแน่นและหนักขึ้นกว่าเดิม และเป็นที่นิยมในสมัยนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องฝึกอย่างน้อย 9 เดือน เมื่อใกล้ถึงวันแข่งจริงจะทำการจับคู่คล้ายกับปัจจุบัน วิธีการชกคือ นักมวยเข้าหากันเป็นเส้นตรง ชกกันตลอดเวลาไม่มีการพักยกจนกว่าข้างหนึ่งข้างใดจะหมดกำลัง หรือยอมแพ้ ไม่มีผู้ตัดสิน และไม่มีกำหนดน้ำหนัก
- ระยะที่สาม ระหว่าง 400 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ลงมาจนถึงสมัยโรมันรุ่งเรือง สมัยนี้การชกมวยเป็นการต่อสู้ของพวกพวก Giadaiors ซึ่งอาจจะตายไปข้างหนึ่งต่อมาในราวปี พ.ศ. 937 โรมันเสื่อมอำนาจลง การชกมวยก็ได้เสื่อมไปด้วย
เมื่อครั้งโรมันเข้ายึดครองอังกฤษ ได้นำเอามวยเข้าไปเผยแพร่ในอังกฤษด้วย ซึ่งนักบุญเบอร์นาร์ดได้เขียนเรื่องมวยในประเทศอิตาลีไว้อย่างละเอียด ในปี พ.ศ. 1783 ตอนหนึ่งท่านกล่าวว่า มวยเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่ฝึกคนให้เป็นอัศวิน
มวยสากลของอังกฤษแบ่งเป็น 3 ระยะคือ
ระยะแรกในระหว่างปี พ.ศ. 2241 ถึง 2333 เรียกว่า สมัยมงกุฎผีสิงเพราะส่วนมากจะได้มงกุฎเป็นรางวัล Jim Fick เป็นผู้ชนะเลิศมวยมือเปล่าคนแรกของอังกฤษโดยชนะเลิศในปี พ.ศ. 2283 เขาได้ดำเนินการสอนมวยสากล และเป็นบุคคลแรกในปี พ.ศ. 2486 ที่ได้กำหนดกติกามวยสากลขึ้น จนได้ชื่อว่า บิดาแห่งมวยสากลอังกฤษ
ในปีเดียวกัน Brutan ก็ได้ประดิษฐ์นวมขึ้นในการชก แต่คงใช้ในการสอนศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวเท่านั้น สำหรับมวยอาชีพยังใช้มือเปล่าอยู่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2335 Carepier Mandesa ได้ครองตำแหน่งชนะเลิศ และได้พยายามรักษาตำแหน่งไว้จนถึงปี พ.ศ. 2338 ถึงได้เสียตำแหน่งให้แก่ Jackson ซึ่ง Jackson ได้สละตำแหน่งในเวลาต่อมา และได้เปิดฝึกมายจนมีชื่อเสียง มีลูกขุนนางและสุภาพชนมากหน้าหลายตามาสัครเรียนมวยจึงกลายเป็นศาสตร์ที่เราต่างศึกษากันจนถึงทุกวันนี้
ต่อมาเนื่องจากการให้รางวัลนักมวย ด้วยเงิน จึงมีการแข่งขันกันมากโดยการติดสินบนแก่ผู้จัดการของนักมวย มวยจึงเป็นเครื่องมือหากินของเจ้าของเงินนั้นไป สามคมหลายแห่งต้องล้มเลิกในระยะต่อมา ทางราชการอังกฤษจึงไม่ร่วมมือด้วยนักมวยก็ละเมิดกติกา จึงมีอันตรายเกิดขึ้นเนืองๆ ในที่สุดวงการมวยสากลของอังกฤษก็เสื่อมลงไประยะหนึ่ง
ต่อมาเมื่อวิเคราะห์กติกามวยสากลที่บูรตันคิดค้นแล้วจะเห็นว่ายังไม่รัดกุม เช่น จำนวนยกกำหนดไว้ไม่แน่นอน เพียงแต่แข่งขันกันจนนักมวยคนหนึ่งคนใดถูกน็อคหรือถูกเหวี่ยงจนล้มไม่สามารถลุกขึ้นมาต่อสู้ได้ภายในเวลา 30 วินาที การฟาวล์ก็มีเพียง 2 ข้อคือ การชกขณะล้มและกอด หรือยึดต่ำกว่าเอว
กติกาเหล่านี้ภายหลังได้ชื่อว่าเป็นกติกามวยชิงรางวัลแห่งกรุงลอนดอน ต่อมาในปี พ.ศ. 2381 บาควิสที่ 6 แห่งควินสาบอรี่ จึงได้ยกร่างกติกาใหม่ด้วยความร่วมมือของ John B. Chember ในปี พ.ศ. 2409 จึงได้รับความนิยมจากบุคคลทั่วไปว่าเป็นกติกาสากล อันเป็นรากฐานแบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 ยก 2 ยกแรก ยกละ 3 นาที ยกสุดท้าย 4 นาที
การตัดสินก็โดยความเห็นชอบจากฝ่ายข้างมากของผู้ตัดสิน ผู้ใดชกล้มถือว่าแพ้ ถ้าไม่ลุกขึ้นมาภายใน 10 วินาที การชกต้องสวมนวมตลอดเวลา ผู้ชี้ขาดจะต้องอยู่ในสังเวียนเพียงคนเดียวกับนักมวยอีกสองคนเท่านั้น กติกานี้วงการมวยสมัครเล่นนำไปใช้ทันที แต่สำหรับมวยอาชีพค่อยๆ นำไปใช้ในตอนหลัง มวยอาชีพได้มีการเปลี่บนแปลงเรื่องจำนวนยก คือสู้กี่ยกก็ได้แล้วแต่จะตกลงกัน ในปี พ.ศ. 2424 ได้วางกติกามวยสมัครเล่นขึ้นใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะคล้ายของเดิม เพียงแต่เพิ่มระเบียบการตัดสินและการบันทึกให้รัดกุมเท่านั้น
การใช้นวมเริ่มกันอย่างจริงจังในสมัยการใช้กติกาควีนสเบอรี่ (Queensberry) ปี พ.ศ. 2403 นี้เอง ก่อนนั้นนิยมการพันมือแทนนม และค่อยๆ เปลี่ยนมาเรื่อยๆ จนถึงสมัยกิจกรรมมวย ได้ถูกยกย่องขึ้นเป็นศิลป์ ความจริงการใช้นวมทำให้การชกลดอันครายลงได้มาก และทำให้การชกรวดเร็วขึ้น ผู้ชกไม่ต้องห่วงถึงอันตรายเกี่ยวกับมือหักหรือเคล็ดอีกต่อไป
ในปี พ.ศ. 2425 John L. Sulrivan ชาวอเมริกัน ได้ชกชนะ Patty Ryan ชาวอังกฤษ และได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ชนะเลิศแห่งอเมริกาในการชกตามกติกามวยชิงรางวัลแห่งกรุงลอนดอน 9 ยก ที่เมืองมิสซิสซิปปี้
ต่อมาอีก 3 ปี James Smith ชาวอังกฤษ ได้เป็นผู้ชนะแห่งอังกฤษ โดยชนะ Jack Davids
ในปี พ.ศ. 2430 Jack Kirlan อเมริกา เสมอกับ James Smith อังกฤษและในการแข่งขันครั้งนี้ได้เป็นที่ยอมรับกันว่าทั้งคู่คือผู้ครองเข็มขัดชนะเลิศแห่งโลกเป็นครั้งแรก
ต่อมาวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2432 John L. Sulrivan ได้ชิงตำแหน่งชนะเลิศของโลกจาก Jack Kirlan ที่เมืองริชเยอก มลรัฐมิสซิสซิปปี้ ซึ่งเป็นการต่อสู้แบบมือเปล่าครั้งสุดท้าย เป็นจำนวน 75 ยก John L. Sulrivan ผู้ชนะเลิศ ประกาศว่าจะไม่ยอมชกด้วยมือเปล่าอีกต่อไป ตั้งแต่นั้นมาการชกมวยอาชีพในอเมริกาจึงใช้นวมมาตลอด
ในปี พ.ศ. 2457 มี 4 รัฐ ในอเมริกาคือ นิวยอร์ก แคลิฟอร์เนีย หลุยเซียนา เนวาดา และฟลอริดา ได้ตกลงแบ่งการชกออกเป็น 20 ยก เหมือนกัน และในปีนี้รัฐบาลกลางได้ตรากฎหมายควบคุมในรัฐแคลิฟอร์เนียให้การชกเหลือเพียง 4 ยก ในปี พ.ศ. 2458
ระหว่างปี พ.ศ. 2458-2473 นับว่าเป็ระยะที่การชกมวยในสหรัฐอเมริการุ่งเรืองถึงขีดสุด รัฐนิวยอร์ก และรัฐวินคอนซิลได้ตรากฎหมายควบคุมการชกเป็นจำนวน 10 ยก และมีผู้ตัดสินที่มีสมรรถภาพดีเยี่ยมเพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่มลรัฐอื่นๆ ส่วนในรัฐแคลิฟอร์เนียยังคงกำหนดการชกเป็น 4 ยกอยู่ เมื่อรัฐบาลกลางตรากฎหมายควบคุม ในตอนนี้กฎหมายควบคุมการชกมวยในมลรัฐต่างๆ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 44 มลรัฐ
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการฝึกซ้อมมวยกันภายในกองทัพเพื่อฝึกหัดให้ทหารมีจิตใจกล้าหาญเพื่อการสู้รบในยามสงคราม ฝึกให้มีสมรรพภาพทางกาย หู ตาไว การทรงตัวดี และเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมตนเองในเวลาต่อสู้และเหนือสิ่งอื่นให้เป็นผู้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา มวยสากลจึงเป็นกิจกรรมที่นิยมกันในกองทหารตลอดมา
มวยสากลเข้าสู่สถานศึกษาครั้งแรกในมหาวิทยาลัยฮาวาโด เมือง**บริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ เริ่มศึกษากันอย่างจริงจังในระหว่างปี พ.ศ. 2429-2462 และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างเต็มที่ ถึงกับได้ตั้งสถาบันฝึกหัดมวยขึ้นโดยเฉพาะอีกแห่งหนึ่ง มีผู้สมัครเข้ารับการอบรมเป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2463 ได้บรรจุวิชามวยสากลเข้าในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย และโรงเรียนต่างๆ ทำให้กิจกรรมมวยสากลได้แพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันมวยกากลซึ่งได้กำหนดไว้ในวิชาพลศึกษาในโรงเรียนต่างๆ ทั่วทุกมุมโลกได้ขยายตัวมากขึ้น เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้ฝึกเป็นศิลปะแห่งการต่อสู้ป้องกันตัว และทำการแข่งขันกันระหว่างโรงเรียนเป็นประจำ อันเป็นทางหนึ่งที่จะผลิตนักมวยสากลให้แก่สมาคมมวยสมัครเล่น และมวยสากลอาชีพต่อไป
ประวัติความเป็นมาของ Capoeira
คาโปเอ**ั้นเป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีประวัติยาว นานมากกว่า 500 ปี โดยเชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากแอฟริกา เป็นการเลียนแบบท่าทางการต่อสู้ของม้าลาย เนื่องจากไม่ค่อยมีหลักฐานที่แน่ชัดนักสำหรับจุดเริ่มต้นของคาโปเอร่า แต่คนส่วนใหญ่จะเชื่อถือตามทฤษฎีต่อไปนี้ ประมาณคริสต์ศักราช 1500 เป็นช่วงที่ชาวโปรตุเกสปกครองประเทศ บราซิล ในยุคแรกๆ ชาวโปรตุเกสได้เริ่มทำการพัฒนาประเทศโดยการเพาะปลูก โดยใช้คนพื้นเมืองของบราซิลแต่ว่าคนพื้นเมืองของบราซิลค่อนข้างที่จะอ่อนแอ และตายง่าย ส่วนที่เหลือก็หลบหนีไปที่เมืองอื่นๆ หมด ชาวโปรตุเกสจึงตัดสินใจจับชาวแอฟริกามาใช้งานเยี่ยงทาส ชาวแอฟริกันจำนวนมากถูกนำตัวมายังประเทศบราซิล (ประมาณ 4 ล้านคน) สิ่งที่ทาสเหล่านั้นได้นำติดตัวมาด้วยก็คือ วัฒนธรรม ซึ่งฝังอยู่ในร่างกาย จิตใจและวิญญาณของเค้าเหล่านั้น สิ่งเหล่านี้ได้สืบทอดจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งมาเป็นเวลานาน เหล่าทาสได้ถูกแบ่งออกไปเป็นกลุ่มๆ เพื่อที่แยกย้ายกันไปทำงานในที่ต่างๆ ในทาสกลุ่มนี้จะมีคนจากหลายพื้นที่และต่างวัฒนธรรมมารวมกัน หลังจากที่ทาสเหล่านี้อยู่ด้วยกันต่างคนต่างแลกเปลี่ยนและซึมซาบวัฒนธรรม ซึ่งกันและกัน จากจุดนี้ทำให้สามารถบอกได้ว่า คาโปเอร่า เกิดจากวัฒนธรรมหลายๆ อย่างผสมผสานกัน และในบางทฤษฎีจะกล่าวไว้ว่า คาโปเอร่า มาจากประเทศ Angola
ในทวีปแอฟริกา ในทุกๆ ปีจะมีการจั**ุงโกโล่ (Dance of the zebra) หรือที่แปลว่า การเต้นรำของม้าลาย ถือว่าเป็น คาโปเอร่า ที่เก่าแก่ที่สุด เป็นวันที่คนหนุ่ม ๆ จะมาโชว์ความสามารถกันว่าใครแข็งแรง เร็ว และเก่งกว่ากัน โดยผู้ที่ชนะจะได้แต่งงานกับผู้หญิงในเผ่าเป็นรางวัล เนื่องจากความรักการเป็นอิสระ จึงทำให้เหล่าทาสบางกลุ่มเริ่มทำการหลบหนี พวกที่หนีได้สำเร็จจะหนีขึ้นไปอยู่บนภูเขาและสร้างกลุ่มชุมชนเล็กๆ ขึ้นมา และในกลุ่มชุมชนเล็ก ๆ นี้เอง คาโปเอร่าได้เริ่มก่อตัวและพัฒนาเพื่อใช้ในการต่อสู้และป้องกันตัว จากทหารชาวโปรตุเกส ทาสบางคนที่หนีไปได้กลับลงมายังกลุ่มทาสที่ยังถูกใช้งานอยู่และเริ่มสอนคาโป เอร่าให้กับคนอื่นๆ โดยที่จะฝึกหัดกันในวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดพักของทาส แต่เนื่องจากทาสนั้นไม่ได้รับอนุญาตให้ฝึกศิลปะป้องกันตัว การฝึกจึงถูกแต่งเติมไปด้วยการเต้น ดนตรี ร้องเพลง ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวแอฟริกันอยู่แล้ว เพื่อที่จะใช้บังหน้าจากการฝึกคาโปเอร่าจริงๆ
ต่อมาหลังจากมีการเลิกทาส ชาวแอฟริกันบางส่วนเดินทางกลับ แต่บางส่วนยังคงอาศัยอยู่ในบราซิล แต่เนื่องด้วยไม่มีงานทำมากนัก จึงทำให้หลายกลุ่มกลายเป็นอันธพาล สำหรับคนที่เก่งมาก ๆ จะถูกว่าจ้างให้เป็นบอดี้การ์ดให้กับนักการเมือง โดยจะใส่สูทสีขาว ใส่หมวก ลักษณะเหมือนมาเฟีย (โดยในการต่อสู้แต่ละครั้งจะมีการใช้อาวุธต่างๆและที่โดดเด่นมากก็คือจะมี การติดใบมีดไว้ที่เท้า การเตะแต่ละครั้งจะเล็งไปที่ลูกกระเดือกของคู่ต่อสู้) ตอนนั้นถือว่าเป็นยุคมืดของคาโปเอร่า
เมื่อมีการนำคาโปเอร่าไปใช้ในทางที่ผิด ทางรัฐบาลของบราซิลจึงมีคำสั่งให้ คาโปเอ**ั้นเป็นสิ่งผิดกฏหมาย ผู้ฝ่าฝืนจะถูกจับ แต่ก็มีบางส่วนที่ขัดขืนก็จะถูกยิง โดยที่ตำรวจในสมัยนั้นก็เป็นคาโปเอร่าด้วยเหมือนกัน เพื่อที่จะใช้ต่อสู้กับผู้ฝ่าฝืนได้ จนกระทั่งถึงช่วงที่ บราซิลมีสงครามกับปารากวัย รัฐบาลบราซิลได้จัดตั้งกลุ่มนักรบขึ้นมากลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นนักสู้ คาโปเอร่าทั้งหมด โดยเรียกว่า Black Military จะส่งไปรบกับปารากวัย โดยสามารถนำชัยชนะมาให้กับบราซิลได้ นั่นทำให้เหล่านักสู้คาโปเอร่าได้รับการยกย่องอีกครั้ง หลังจากที่คาโปเอร่าถูกต่อต้านจากรัฐบาลมาเป็นเวลานาน ในปี ค.ศ. 1932 ก็ได้มีนักการเมืองท่านหนึ่งเล็งเห็นว่า คาโปเอ**ั้นสามารถจะเปลี่ยนมาเป็นเกมส์กีฬาที่สวยงามและสามารถพัฒนาจิตใจ ผู้ฝึกได้ จึงได้สั่งให้มีการเปิดโรงเรียนสอนคาโปเอร่าแห่งแรกขึ้นมา
ประเภทของท่า
ท่วงท่าของคาโปเอร่าเกิดจากการผสมผสานของการเตะ ศอก เข่า ตีลังกา และการหลอกล่อคู่ต่อสู้ นอกจากนั้น ก็ยังมีท่วงท่าอื่นๆ อีก ซึ่งผู้เล่นสามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ รูปแบบของคาโปเอร่าแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ รูปแบบที่ใช้ในการต่อสู้จริง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการต่อสู้แบบอื่นๆ คือมีการปะทะกัน และอีกรูปแบบหนึ่งก็คือที่ใช้ในการเล่น โดยในลักษณะนี้จะไม่มีการปะทะกันโดยตรง การเล่นนั้น จะอยู่ในลักษณะของความลื่นไหลและสอดคล้องของท่วงท่า อีกทั้งยังมีดนตรีประกอบเพิ่มความสนุกสนาน ท่วงท่าของคาโปเอร่าซึ่งสามารถแยกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. จิงก้า (Ginga) คือพื้นฐานของคาโปเอร่าถ้าเปรียบเทียบกับศิลปะการต่อสู้ชนิดอื่น ๆ ก็คือ การเต้น Footwork นั่นเอง ในหมวดนี้ยังรวมไปถึง ท่าการเตะในรูปแบบต่าง ๆ ท่า Ginga นี้เอง ที่ทำให้คาปูเอร่ะ มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากศิลปะการต่อสู้ประเภทอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด
2. อาอู (Au) คือการเคลื่อนไหวแบบกลับหัวกลับหาง อาทิเช่น การทำล้อเกวียน การกระโดดตีลังกา รวมไปถึงการทำท่ากลางอากาศอื่น ๆ ด้วย
3. เนกาชิว่า (Negativa) คือการทำท่าเคลื่อนไหวโดยที่ร่างกายส่วนใหญ่อยู่ใกล้กับพื้น ท่าเคลื่อนไหวในหมวดนี้ ทำให้ผู้ฝึกสามารถเคลื่อนไหวในขณะที่ตัวเองล้มหรืออยู่กับพื้นได้รวดเร็วขึ้น ในขณะเดียวกันเป็นทั้งการหลบ และโจมตีกลับอีกด้วย
สำหรับผู้ที่เริ่มต้นจะต้องทำการฝึกและเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อน (Warm up) เพื่อที่จะสามารถรับท่วงท่าการฝึกฝนได้ เมื่อผู้ฝึกมีความพร้อมแล้วก็จะมาฝึกพื้นฐานของคาโปเอร่าจะต้องฝึกทั้ง 3 หมวดนี้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดทักษะและความเข้าใจในท่วงท่า อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและทำให้ร่างกายยืดหยุ่นมากขึ้นด้วย นอกเหนือจากท่าการเคลื่อนไหวแล้วผู้ที่เริ่มต้นยังจะต้องศึกษาประวัติความ เป็นมา รูปแบบ และองค์ประกอบของคาโปเอร่าเพื่อให้เข้าใจในวิชาคาโปเอร่ามากขึ้น ผู้ที่ฝึกพื้นฐานจนชำนาญแล้ว ต่อไปก็จะเป็นการฝึกท่าเตะในรูปแบบต่าง ๆ รวมไปถึงการป้องกัน จังหวะในการรุกและรับ ทั้งนี้ทั้งนั้นยังคงต้องฝึกฝนพื้นฐานทั้ง 3 หมวดอยู่ แต่ก็มีการเสริมเทคนิคที่ยากขึ้นเข้าไปอีก
การเล่น Capoeira
การเล่นคาโปเอร่าจะเกิดขึ้นโดยทุกๆ คนในกลุ่มจะยืนเป็นวงกลม ซึ่งเรียกว่า Roda (ออกเสียงว่า โฮ-ด้า) โดยที่มีเครื่องดนตรีอยู่ตรงหัววง การเล่นจะเริ่มต้นโดยที่ผู้ที่เล่นบีริมเบาว์ เริ่มเล่น และหลังจากนั้นเครื่องดนตรีอื่นๆ ก็จะเล่นตามมา เมื่อผู้เล่นบีริมเบาว์ ส่งสัญญาณว่าให้เริ่มเล่นได้ ผู้เล่น 2 คนก็จะเดินมาหยุดตรงหน้าของผู้เล่นบีริมเบาว์ ทำการจับมือกัน และเริ่มต้นเล่น โดยในขณะเดียวกันคนอื่นๆ รอบๆ วงก็จะตบมือพร้อมทั้งร้องเพลง โดยมีผู้เล่นบีริมเบาว์เป็นผู้นำ เมื่อคู่ที่เล่นอยู่ต้องการที่จะหยุดก็จะทำการจับมือกัน เพื่อเป็นสัญญาณว่ายุติการเล่นของคู่นั้นๆ แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเกิดคนใดคนหนึ่งรอบๆ วง มีความต้องการจะเล่นกับคนใดคนหนึ่งในคู่ที่กำลังเล่นอยู่ ก็สามารถทำได้ซึ่งเราเรียกว่า การ Buying Game โดยคนๆ นั้น จะหาจังหวะเข้าไปแทรกกลางระหว่างคู่ที่กำลังเล่นอยู่ โดยผู้ที่แทรกนั้นหันหน้าไปทางผู้ใด ก็คือต้องการที่จะเล่นกับคนๆ นั้น
ยูโด (Judo) เป็นศิลปะการป้องกันตัวประเภทหนึ่งที่ถือกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ปัจจุบันมีผู้นิยมฝึกหัดเล่นกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ยูโดเป็นรูปแบบของการป้องกันตัว เป็นศิลปะส่วนหนึ่งของชาวญี่ปุ่นที่มีการดัดแปลงปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัย นอกจากจะเป็นการฝึกเพื่อป้องกันตัวเองแล้วยังเป็นการบริหารร่างกายเพื่อให้เกิดความแข็งแรง ฝึกสมาธิให้มั่นคง ผู้ฝึกจะได้รับประโยชน์ทั้งด้านร่างกาย และสมาธิด้านจิตใจอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการจู่โจมคู่ต่อสู้ หรือการตั้งรับ
ยูโดมีชื่อเต็มว่า โคโดกัน ยูโด (Kodokan Judo) เดิมทีเดียวเรียกกันว่า ยูยิตสู (Jiujitsu) ซึ่งเป็นวิชาที่สามารถต่อสู้กับคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธด้วยมือเปล่าและเป็นการทำลายจุดอ่อนของคู่ต่อสู้ ในประเทศญี่ปุ่นมีการเล่นยูยิตสูกันอย่างแพร่หลายมากญี่ปุ่นมีความเชื่อว่าตนเองมีเชื้อสายมาจากเทพยดา เทพธิดา และเชื่อว่าตนเองเป็นลูกพระอาทิตย์ มีถิ่นที่อยู่บนเกาะใหญ่น้อยทั้งหลาย ราวๆ 3,000-4,000 เกาะ จากการที่อยู่อาศัยบนเกาะต่างๆ นี้เองจึงมีความคิดเห็นไม่ตรงกันและไม่สามารถรวมกลุ่มกันได้ ทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจความเป็นใหญ่ ผู้ที่ได้รับชัยชนะก็พยายามซ่องสุมเสริมสร้างกำลังพลให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ผู้ที่พ่ายแพ้ก็พยายามที่จะรวบรวมสมัครพรรคพวกที่พ่ายแพ้ขึ้นใหม่เพื่อรอจังหวะช่วงชิงอำนาจกลับคืนมา ในสมัยนั้นประเทศญี่ปุ่น มีแต่ความทารุณโหดร้าย นักรบของแต่ละเมืองจะได้รับการฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ที่ใช้ในสงครามหลายชนิด และมีความชำนาญมาก เช่น การฟันดาบ การยิงธนู การใช้หอก ทวน หลาว การขี่ม้า และยูยิตสู ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ใช้มือเปล่าในระยะประชิดตัว ไม่สามารถที่จะใช้อาวุธได้ถนัด การต่อสู้แบบยูยิตสูมิได้มุ่งที่จะทำให้คู่ต่อสู้มีอันตรายถึงชีวิต แต่มีจุดประสงค์เพื่อให้คู่ต่อสู้ได้รับบาดเจ็บและยอมแพ้ ถ้าไม่ยอมแพ้ก็อาจทำให้พิการทุพพลภาพ โดยใช้วิธีจับมือหักข้อต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ในสมัยนั้น นักรบญี่ปุ่นจะต้องฝึกการต่อสู้วิชายูยิตสูทุกคน การฝึกต้องฝึกสมาธิ และฝึกกำลังใจให้บังเกิดความแข็งแรง ร่างกายแข็งแกร่ง ทุกคนจะต้องมีความตั้งใจในการฝึก มิฉะนั้นจะเป็นอันตรายได้ ยูยิตสูไม่มีความเมตตาปราณีใดๆ มิได้คำนึงถึงศีลธรรม จะคอยหาโอกาสซ้ำเติมคู่ต่อสู้ตลอดเวลา จึงทำให้อาจารย์ที่ตั้งสถานที่ฝึกอบรมวิชานี้ พยายามคิดค้นประดิษฐ์ท่าทางกลวิธีแตกต่างกันออกไปอย่างอิสระ สถานที่เปิดฝึกสอนหรือที่เรียกว่าโรงเรียนสำหรับสอนวิชายูยิตสูสมันนั้นมีประมาณ 20 แห่ง
ซูโม่ ถือเป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งของญี่ปุ่นที่แพร่หลาย ซูโม่เป็นการต่อสู้ของคน 2 คน ใช้มือเปล่าและกำลังกายเข้าทำการต่อสู้กันมาแต่สมัยโบราณกว่า 2,500 ปีมาแล้ว นักประวัติศาสตร์ในวิชายูยิตสูได้สนใจซูโม่มาก จากหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ที่รวบรวมโดย Imperial Command ชื่อนิฮอนโซกิ (Nihon-Sho-Ki)
ในปี พ.ศ. 1263 กล่าวถึงการแข่งขันในสมัยของจักรพรรด์ซุยนิน ก่อนคริสต์ศักราช 230 ปี (พ.ศ. 313) ยืนยันว่าเป็นการเริ่มต้นของวิชาซูโม่ ซึ่งแปลว่าการต่อสู้โดยใช้กำลังเข้าประลองกัน การต่อสู้ตามหลักวิชาซูโม่ บางท่าจะตรงกับวิชายูยิตสู เช่น การใช้สะโพกเป็นกำลังบังคับขากวาดเหวี่ยงคู่ต่อสู้ให้เสียหลักล้มลงซึ่งท่านี้วิชายูยิตสูเรียกว่า ฮาราย กุชิ (Harai Goshi) เป็นการยืนยันว่าวิชาซูโม่มีความสัมพันธ์กับวิชายูยิตสูแน่นอน
การพัฒนาวิชายูยิตสูเป็นวิชายูโด
ตอนปลายสมัย เซนโกกุ (Sengoku) วิชายูยิตสูได้ถูกรวบรวมไว้เป็นแบบแผนอย่างมีระเบียบ โต**กาวา (Tokugawa) เป็นตระ**ลที่ทำการปราบปรามการกระด้างกระเดื่องบรรดาเจ้าผู้ครองนครตามหัวเมืองต่างๆ ให้สงบลงอย่างราบคาบและตั้งตนเป็นมหาอุปราชปกครองประเทศญี่ปุ่น เมื่อบ้านเมืองสงบสุข วิชาการรบของพวกซามูไรที่ได้รับการศึกษาอบรมมาต้องปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมกับกาลสมัย คือนอกจากการรบแล้ว ซามูไรต้องเรียนหนังสือเพื่อศึกษาวิชาการปกครอง การอบรมจิตใจให้มีศีลธรรม ยูยิตสูเป็นวิชาป้องกันตัวชนิดหนึ่งในสมัยนั้น จึงต้องมีการปรับปรุงวิธีการต่อสู้จากการไร้ศีลธรรมมาเป็นการป้องกัน การต่อสู้ด้วยกำลังกาย และกำลังใจอันประกอบด้วยคุณธรรม มีจรรยามารยาทที่สุภาพเรียบร้อยขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับสถานยูยิตสู ซึ่งหมายความถึง "ศิลปะแห่งความสุภาพ" จากการที่มีการปรับปรุง และการวางระเบียบ
เกี่ยวกับบทบัญญัติทางศีลธรรมของนักรบให้รัดกุมนี้เอง ทำให้ช่วง 50 ปีของสมัยกาไน บันจิ และคันม่ง (Kanei Banji and Kanmon พ.ศ. 2167-2216) ได้มีผู้เชี่ยวชาญวิชายูยิตสูขึ้นมามากมาย เช่น ไทยยูซึ (Tai juisu) วายูซึ (Wajuisu) เอกิโนยูชิ (Oginaiuchi) โอ**อาชิ (Koguashi) เคนโป (Kinpo) เทนบาริ (Ten Bari) ไทโด (Taido) เป็นต้น ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ทำให้คู่ต่อสู้พ่ายแพ้โดยใช้มือเปล่า ทำให้วิชายูยิตสูเป็นที่นิยมมาตลอดสมัย
โต**กาวา ต่อมาในสมัยเมจิ (Meji ปี พ.ศ. 2411) อารยธรรมตะวันตกได้หลั่งไหล เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นมาก ทำให้วัฒนธรรมประเพณีของญี่ปุ่นหลายอย่างกลายมาเป็นสิ่งล้าสมัยของต่างชาติ และชาวญี่ปุ่นสมัยใหม่ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2414 จึงได้ออกกฎหมายห้ามนักรบใช้ซามูไรเป็นอาวุธ ห้ามพกหรือสะพายดาบซามูไร ยูยิตสูซึ่งเป็นวิชาที่นิยมเล่นกับซามูไร จึงถูกมองว่าเป็นสิ่งล้าสมัย เพราะทารุณ ป่าเถื่อน ฉะนั้นวิชายูยิตสูจึงได้รับการปรับปรุงและแก้ไขพร้อมกันหลายอย่างในสมัยเมจิ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ศิลปะการต่อสู้นานาชนิดรวมทั้งยูยิตสูต้องซบเซาลง สถาบันที่เปิดฝึกสอนยูยิตสู ซึ่งมีอยู่แพร่หลายได้รับกระทบกระเทือนถึงกับเลิกกิจการไปก็มีมาก
ฮับกิโด้ หรือ Hapkido **( ในเกมเขียนเพี้ยนๆ ว่า Hapgido แต่ที่ถูกต้องคือ Hapkido นะ ) เป็นศิลปะการต่อสู้ของชาติเกาหลี ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นศิลปะการต่อสู้ที่ได้รับการยอมรับและได้รับการฝึกสอนให้แก่กองทัพของสหรัฐและเจ้าหน้าที่ตำรวจ แม้จะไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้าง แต่ก็เป็นที่รู้จักกันดีถึงกิตติศัพย์ความร้ายกาจของศิลปะการต่อสู้แขนงนี้ ศิลปะการต่อสู้แขนงนี้ก่อตั้งขึ้นโดยปรมาจารย์ Choi, Yong Sul ซึ่งได้รับการฝึกฝนเป็นศิษย์สายตรงของสำนักไดโตริว ไอคิจูจุตซึ ซึ่งเป็นศิลปะการต่อสู้โบราณของประเทศญี่ปุ่นในต้นศตวรรษที่ 20 เป็นเวลาหลายปีก่อนที่จะกลับสู่ดินแดนมาตุภูมิของเขาในประเทศเกาหลี และได้เริ่มฝึกสอนโดยใช้ชื่อในช่วงแรกว่า Hap Ki Yoo Sul ซึ่งเป็นภาษาเกาหลีความหมายเดียวกับคำว่า ไอคิจูจิตซึ ซึ่งท่านเองก็ได้รับศิษย์ที่มีความหลากหลายในความสามารถ ซึ่งบางคนเป็นผู้มีความรู้ดีในศิลปะการต่อสู้โบราณของเกาหลีซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในด้านการเตะที่รุนแรง จึงได้มีการผสานความรู้ในศิลปะการต่อสู้ที่มีอยู่เดิมของเกาหลีเข้ากับไอคิจูจิตซึ จึงเกิดศิลปะการต่อสู้แบบใหม่เรียกว่า ฮับกิโด ( Hapkido) ฮับกิโดในปัจุบันได้มีความแพร่หลายไปสู่ประชาชนในวงกว้าง เป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างศิลปะการต่อสู้ในปัจจุบัน ซึ่งฮัพกิโดเป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีการเตะและการต่อยที่คล้ายคลึงเทควันโด้ แต่มีความรุนแรงกว่ามากและมีการทุ่มและการจับที่คล้ายคลึงในยูโดและมีเทคนิคพิเศษเฉพาะของไอคิจูจุตซึ ฮับกิโดจึงประกอบด้วยการเตะ การต่อย การหักและล็อคข้อต่อ การคว้าจับและการสกัดจุดและการฝึกอาวุธที่มีลักษณะเฉพาะของศิลปะการต่อสู้ของชาติเกาหลี
- Hapgido ชื่อนี้มีความหมายแต่มีใครๆ ที่พอจะรู้บ้างครับว่ามันหมายถึงอะไร
Hap คือ การสอดประสานอย่างกลมกลืนของท้องฟ้า โลกและมนุษย์
Ki คือจิตวิญญาณ ภายใน
Do แปลว่าทิศทาง แบบแผน
ฮับกิโด คืออะไร
ฮับกิโด เป็นเรื่องของการรวมเป็นหนึ่ง ของร่างกายและจิตใจ ฮับกิโดเน้นเรื่องการควบคุมแรง มีเทคนิคในการต่อสู้มากมายขยายไปจนถึงขั้นสูง คือ ไม่รู้จบ ฮับกิโดเน้นเรื่องการเคลื่อนไหวต่อเนื่องป็นวงกลม รู้จักการใช้แรงของคู่ต่อสู้ให้เป็นประโยชน์ สามารถดึงพลังภายในร่างกายออกมาใช้ได้ (เป็นเคล็ดของการต่อสู้ทั้งปวง) ทำให้สุขภาพร่างกายดีไปด้วย ในหลักปรัชญา ฮับกิโดเน้นเรื่องค้นหาความเป็นตัวตน จิต และสมาธิรวมทั้งก่อเกิดความมั่นใจ ตัดสินเหตุการณ์ได้อย่างถูกต้อง และเฉียบพลัน สามารถควบคุมจิตใจ ของตนเองและควบคุมร่างกายของคู่ต่อสู้ ฮับกิโดนอกจากจะเป็นศิลปะการต่อสู้แล้ว ผู้เรียนยังสามารถนำปรัชญาของฮับกิโดมาใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งการดำเนินชีวิต การโอนอ่อน หรือแก้ไขกับปัญหา ปัจจุบันแพร่หลายอย่างมากในวงการตำรวจ หรือหน่วยอารักขา ของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา และ ประเทศแถบยุโรป
SAMBO
เปนการต่อสู้ของทหารรัสเซีย ซึ่งลักษณะคล้ายยูโดผสมมวยปล้ำ เมืองนอกเป็นที่รู้จัก แต่ในไทยยังไม่ค่อยได้ยินนัก ปัจจุบันกำลังผลักดันให้บรรจุเข้าเอเชี่ยนเกมส์ด้วย
เป็นการป้องกันตัวจากอาวุธ ใน รัสเซีย เป็น ศิลปะการต่อสู้ และ การกีฬาต่อสู้
เป็นการ รวม ยูโด และ คาราเต้ บวกดั้งเดิม แบบพื้นบ้าน ของ มวยปล้ำ
ในปี 1938 จะได้รับการยอมรับเป็นกีฬาอย่างเป็นทางการจาก สหภาพโซเวียต
มวยปล้ำเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมเสมอมาตั้งแต่มีการบันทึกในประวัติศาสตร์ จุดกำเนิดของกีฬามวยปล้ำเกิดขึ้นเมื่อ 15,000 ปีในบริเวณที่ตั้งของประเทศฝรั่งเศส โดยมีหลักฐานเป็นรูปภาพเกี่ยวกับมวยปล้ำในถ้ำแห่งหนึ่ง ชาวบาบิโลนและชาวอียิปต์ได้เผยแพร่การแสดงของนักมวยปล้ำโดยการปล้ำและการเข้าล็อกซึ่งเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน ในยุคกรีกโบราณมวยปล้ำมีหลักฐานอย่างเด่นชัดผ่านทางตำนานและเรื่องเล่าต่าง ๆ เช่น การแข่งขันมวยปล้ำ และแง่มุมต่าง ๆ ในรูปแบบที่โหดร้าย ปัจจุบันมวยปล้ำถูกบรรจุเป็นหนึ่งในกีฬาโอลิมปิก
ช่วงสมัยของโรมันโบราณได้มีการหยิบยืมศิลปะมวยปล้ำเข้ามาจากกรีกแต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นวิธีการต่อสู้ที่ดุเดือดมากกว่า และในช่วงยุคกลางหรือที่เราเรียกว่าศตวรรษที่15 มวยปล้ำยังคงมีความนิยมที่แพร่หลายและเป็นสิ่งบันเทิงในหมู่ผู้สูงศักดิ์และครอบครัวของเชื้อพระวงศ์ซึ่งรวมถึงในประเทศฝรั่งเศส ประเทศญี่ปุ่น และประเทศอังกฤษ ชาวอเมริกันในช่วงเริ่มแรกได้นำวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งของมวยปล้ำเข้ามาหลังจากที่มวยปล้ำได้มีการเผยแพร่ในประเทศอังกฤษแล้ว และพบว่าชาวอเมริกันดั้งเดิมก็ชื่นชอบมวยปล้ำเป็นอย่างมาก มวยปล้ำสมัครเล่นรุ่งโรจน์ในช่วงต้นที่สหรัฐอเมริกาและเป็นกิจกรรมที่นิยมในช่วงงานรื่นเริง งานเลี้ยงฉลองวันหยุด และกีฬาของกองทัพ
การจัดการแข่งขันมวยปล้ำระดับชาติที่สหรัฐอเมริกาเริ่มต้นครั้งแรกในเมืองนิวยอร์กในปี ค.ศ. 1888 ขณะที่แชมป์กีฬามวยปล้ำในกีฬาโอลิมปิกยุคใหม่มีขึ้นในปี ค.ศ. 1904 ที่เมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี ในปี ค.ศ. 1912 ที่ประเทศเบลเยี่ยม แชมป์มวยปล้ำของ NCAA Wrestling มีขึ้นในปี ค.ศ. 1912 ณ รัฐไอโอว่า เมืองเอมส์ มวยปล้ำสหรัฐเริ่มเป็นพื้นฐานของกีฬามวยปล้ำสมัครเล่นในปี ค.ศ. 1983 และมีการจัดลำดับขั้นในแต่ละช่วงของอายุนักแข่งขัน มวยปล้ำยังเป็นกีฬาอันดับต้นในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงเอเธนส์ในปี ค.ศ. 1896 ซึ่งรวมถึงการแข่งขันรูปแบบ Greco-roman โดยไม่มีการจำกัดน้ำหนักผู้เข้าแข่งขันในระดับวิทยาลัย มวยปล้ำไม่ใช่เพียงแค่การต่อสู้ระหว่างกันบนเสื่อ แต่รวมถึงการต่อสู้ในแบบการหัก 45 องศา และรวมถึงการโจมทีทางด้านหลังหรือที่เรียกว่าล็อกเพื่อเก็บคะแนนในปี ค.ศ. 1908 มวยปล้ำแบบ Greco-roman ได้ถูกบรรจุใหม่ในกีฬาโอลิมปิก รูปแบบอิสระก็ได้ถูกบรรจุลงในกีฬาโอลิมปิกด้วยเช่นกันในปี ค.ศ. 1904เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2001 สมาคมกีฬาโอลิมปิกสากลได้นำประเภทกีฬามวยปล้ำเพิ่มขึ้นเป็นอีกสองแบบคือ1.มวยปล้ำหญิงถูกบรรจุในกีฬาโอลิมปิกเมื่อปี ค.ศ. 2004 แบ่งออกเป็น 4 ประเภทน้ำหนัก 2.ลดประเภทน้ำหนักในนักกีฬาชายลงจากอายุ 16 เป็นอายุ 14 ในประเภท Greco-roman และประเภทอิสระ
ประวัติ Dirty-X
Dirty-X อ่านว่า เดอร์ตี้-เอ็กคือ ศิลปะการโกง ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น จิ้ม ตา เตะกล่องดวงใจ ผายลมใส่ หรือ ตดนั้นเองบางคน คิดว่าเป็น มวยจีน หมัดเมา เพราะ ตั้งท่า เหมือน เกม Dragonballแต่ที่จริงไม่ใช่Dirty แปลว่า สกปรกX นี่ น่าจะ แปลว่า ลามก หรืออะไร ที่ มัน XXX แบบนี้ไม่มีระบุ อยู่ ใน ศิลปะการต่อสู้เพราะ เป็นศิลปะ ที่ทำทุกอย่าง เพื่อ ที่จะชนะหรือจะเรียก อีก อย่าง ว่า มวย ข้างถนน นั้น เองคิดเอง อะนะ
ประวัติของคาราเต้
คาราเต้ (「空手」, karate, คะระเตะ ?) หรือ คาราเต้โด (「空手道」, karatedo, คะระเตะโด , วิถีมือเปล่า) เป็นศิลปะการต่อสู้ถือกำเนิดที่โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น เป็นการผสมผสานระหว่างการต่อสู้ของชาวโอกินาวาและชาวจีน คาราเต้ได้เผยแพร่เข้าสู่ญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) เมื่อชาวโอกินาวาอพยพเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น คาราเต้มักถูกเข้าใจผิดว่า เป็นการต่อสู้ด้วยการฟันอิฐ แต่ที่จริงแล้ว คือการต่อสู้ด้วยการใช้อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น กำปั้น เท้า สันมือ นิ้ว ศอก เป็นต้น แต่เมื่อถูกดัดแปลงเป็นกีฬาแล้วเหลือเพียงมือและเท้าความหมายคำว่า คาราเต้คำว่า "คาราเต้" เดิมทีมาจากการออกเสียงแบบชาวโอกินาวา ตัว "คารา" 唐ในภาษาจีน หมายถึง "ประเทศจีน" หรือ "ราชวงศ์ถัง" ส่วน "เต้" 手หมายถึง มือ คาราเต้ หมายความว่า "ฝ่ามือจีน" หรือ "ฝ่ามือราชวงศ์ถัง" หรือ "กำปั้นจีน" หรือ "ทักษะการต่อสู้แบบจีน" ในรูปแบบการเขียนแบบนี้ "ฝ่ามือราชวงศ์ถัง" จึงหมายถึง การต่อยมวยแบบถัง หรือ "ฝ่ามือจีน" ก็บ่งบอกถึงอิทธิพลที่รับมาจากลักษณะการต่อสู้ของชาวจีน ในปีค.ศ. 1933 หลังจากสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นครั้งที่ 2 กิชิน ฟุนาโคชิ ( 船越義珍 Funakoshi Gichin, 1868-1957 ) ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะ บิดาแห่งคาราเต้สมัยใหม่ ได้เปลี่ยนตัวอักษร "คารา" ไปเป็นตัวอักษรที่มีเสียงเหมือนกันแต่มีความหมายว่า "ความว่างเปล่า" 空แทน
เมื่อปีค.ศ. 1936 หนังสือเล่มที่สองของฟุนาโคชิใช้ตัวอักษร "คารา" ที่มีความหมายว่าความว่างเปล่า และในการชุมนุมบรรดาอาจารย์ชาวโอกินาวาก็ใช้ตัวอักษรเดียวกัน ตั้งแต่นั้นมาคำว่า "คาราเต้" ( ซึ่งออกเสียงเหมือนเดิม แต่ใช้ตัวอักษรใหม่ ) จึงหมายถึง "มือเปล่า"คำว่า "มือเปล่า" ไม่เพียงแต่นักคาราเต้จะต่อสู้โดยปราศจากอาวุธแล้ว ยังซ่อนความหมายตามความเชื่อแบบเซ็นไว้ด้วย เพราะตามวิถีแห่งเซ็นการพัฒนาความสามารถ และศิลปะของแต่ละบุคคล จะต้องทำจิตใจให้ว่างเปล่า ละเว้นจากความปรารถนา ความมีทิฐิและกิเลสต่างๆ คาราเต้ แปลว่า วิถีแห่งการใช้มือ (ร่างกาย) ต่อสู้โดยปราศจากอาวุธ วิถีแห่งคาราเต้เป็นวิธีการดึงพลังจากทั้งร่างมารวมให้เป็นหนึ่งในการต่อสู้โจมตี ซึ่งความรุนแรงของการโจม**ั้นมีคำกล่าวถึงว่า "อิคเคน ฮิซัทสึ"( 一拳必殺 ) หรือ "พิชิตในหมัดเดียว" สิ่งที่สำคัญของคาราเต้คือการต่อสู้กับตนเอง เช่นการฝึกยั้งแรงการโจมตี โดยใช้ในการหยุดโจมตีเมื่อสัมผัสร่างกายคู่ต่อสู้แม้เพียงเล็กน้อย เพื่อให้เกิดความรู้สึกเจ็บไม่มากและป้องกันการบาดเจ็บ ซึ่งเป็นการฝึกการกำหนดความรุนแรงของการโจมตี เมื่อผู้ฝึกสามารถยั้งแรงได้ เขาก็จะเพิ่มความรุนแรงในการโจมตีได้จนถึงขีดความสามารถเช่นเดียวกันคำว่า โด แปลว่า วิถีทาง ลู่ทาง ศาสตร์ อีกทั้งยังหมายถึงปรัชญาเต๋าอีกด้วย โด เป็นคำต่อท้ายที่ใช้สำหรับศิลปะหลายชนิด ให้ความหมายว่า นอกจากจะศิลปะเหล่านั้นจะเป็นทักษะแล้ว ยังต้องมีพื้นฐานของจิตวิญญาณอยู่ด้วย สำหรับในความหมายที่เกี่ยวข้องกับศิลปะการต่อสู้ อาจจะแปลได้ว่า "วิถีแห่ง..." เช่น ใน ไอคิโด ยูโด เคนโด ดังนั้น "คาราเต้โด" จึงหมายถึง "วิถีแห่งมือเปล่า""โด" อาจมองได้ 2 แบบ คือ แบบปรัชญา และแบบกีฬา"โด" แบบปรัชญา ด้วยความหมายที่แปลว่า วิถีทาง และเป็นชื่อศาสนาเต๋าของศาสดาเหล่าจื๊อ ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในด้านปรัชญาพุทธศาสนานิกายเซนของญี่ปุ่น การตีความหมายคำนี้ จึงอาจมองได้ว่า วิถีทางการดำเนินชีวิต จิตวิญญาณของนักคาราเต้ เป็นต้น ซึ่งนักคาราเต้บางท่าน อาจใช้ คาราเต้ เป็นวิถีแห่งการเข้าถึง จิตวิญญาณแห่งธรรมชาติ(เต๋า เซน) ได้ ดังนั้น คำว่า "โด" ของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน เพราะแต่ละคนจำมีวิธีการในการเดินแตกต่างกัน "โด" แบบกีฬา จริง ๆ ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่ามีทั้งคำว่า คาราเต้ และ คาราเต้โด ทำไมต้องเพิ่มคำว่า โด คำว่า "โด" เริ่มใช้ครั้งแรกในศิลปะป้องกันตัว ยูโด โดยปรมาจารย์จิกาโร่ คาโน แห่งโคโดกันยูโด เพื่อเปี่ยนแปลง และแบ่งแยกวิชาใหม่ โดยแยกตัวออกจากวิชา ยูยิทสุ ซึ่งยูโดได้ตัดทอนกระบวนท่าที่อันตรายออกไป เพื่อการฝึกฝนได้อย่างเต็มที่ และสามารถจัดการแข่งขันได้คาราเต้ แต่เดิมไม่มีคำว่าโด เช่นกัน แต่ก่อนจะเรียกว่า คาราเต้จิทสุ หรือว่า คาราเต้ แต่เริ่มใช้คำว่า "โด" เมื่อมีการจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศ ซึ่งต้องรวมนักคาราเต้จากทั้ง 4 สำนักใหญ่เข้าไว้ จึงต้องบัญญัติกฏการแข่งขันใหม่ ลดทอนการจู่โจมที่อันตราย และสามารถแข่งขันกันได้อย่างเต็มที่ และเป็นกลางที่สุด คำว่า "โด" ในคาราเต้จึงเกิดขึ้น และมีความหมายว่า วิถีทางการต่อสู้ในรูปแบบของคาราเต้ ซึ่งคำว่าคาราเต้โด โดยมากจะใช้ในการแข่งขัน
มวยวัด !!
ปัจจุบันมักนำเอาคำว่า "มวยวัด"ไปใช้กับพฤติกรรมคนที่ชอบทำอะไรที่ไร้กฎเกณฑ์ ไม่มีระเบียบแบบแผน เป็นการเปรียบเปรยไปในทางลบจากการกระทำของคนมากกว่า ในสมัยก่อนเมื่อมีงานวัด งานประเพณีประจำปีในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ชาวบ้านตั้งแต่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าอาวาส มักมีส่วนร่วมในการคิดว่า จะทำ จะจัดอะไรในงานวัด หรืองานประเพณีประจำปีนั้น เช่น มีหนังกลางแปลง ลิเก ชิงช้าสวรรค์ รำวง มวย แล้วแบ่งหน้าที่กันไป พูดถึง "มวยวัด" ในสมัยที่ผู้เขียนเป็นเด็กชั้นประถม เมื่อมีงานวัด หรืองานประเพณีของจังหวัด ตาและยายหรือไม่ก็ป้าบ้าง อาบ้าง มักพาไปดูงานที่มีกิจกรรมที่กล่าวมาแล้ว อย่างครบครัน ก่อนการชกมวยจะเริ่มขึ้น โฆษกสนามมวยมักจะเชิญชวนให้ชาวบ้านที่เดินผ่านไปผ่านมาเข้าไปดู หรือเชิญชวนซื้อบัตรผ่านประตูเข้าไปดูมวยที่กำลังจะชก ซึ่งส่วนใหญ่จะชกประมาณ ๓ ทุ่มขึ้นไป มีหลายครั้งที่บางงานไม่เก็บค่าผ่านประตูมวย คือเปิดฟรีให้ดู จึงเห็นกระบวนการที่ชาวบ้าน(คนล้านนา) เรียกว่า "เปรียบมวย" ก่อนการชกมวย การเปรียบมวย จะมีผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้จัดงาน ซึ่งคนส่วนใหญ่ยอมรับกันว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องกีฬามวยในหมู่บ้าน และมักจะเป็นนักมวยเก่าที่ผ่านสังเวียนมาแล้ว เป็นผู้จัดการทำการเปรียบมวย และจะกระทำช่วงก่อนการชก หรือก่อนการชกอีกหนึ่งวัน หากมีกรณีคู่ชกที่เปรียบมวย ไว้แล้วไม่มาชกหรือเบี้ยว จึงเปรียบมวยแทน จึงเรียกว่า"มวยแทน" และหลายครั้งมวยแทนก็สามารถชกถูกใจชาวบ้าน ชนะก็มีมาก ก่อนการเปรียบมวยจะมีขึ้น โฆษกสนามมวย จะประกาศเชิญชวนให้ผู้ที่เดินผ่านไปผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่คนไปดูงานมักไม่สนใจที่จะเข้าไปเปรียบมวยกันมากนัก ส่วนมากที่เห็น มักจะเป็นนักชก ที่ตั้งใจมาจากหมู่บ้านหรือหมู่บ้านอื่น หรือต่างจังหวัด เห็นทั้งที่วัยใกล้เคียงกับผู้เขียนในขณะนั้น คือ ถ้ามีเด็กมาสมัครก็จะเป็นมวยเด็ก มักจะจัดให้ขึ้นชกก่อนเวลา เรียกว่า "มวยก่อนเวลา" หรือคู่ชกต้น ๆ รายการ หากเป็นวัยรุ่นหรือมีอายุมากกว่า ๒๐ ขึ้นไป หรือนักชกผู้นั้นมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอยู่บ้าง มักจัดไว้เป็นคู่เอกหรือรองคู่เอกเป็นต้น การเปรียบมวยวัด ผู้จัดการมักจะดูว่ารูปร่าง สรีระของนักมวยว่ามีความเท่ากันหรือใหญ่กว่ากัน ไม่มีการชั่งน้ำหนักของร่างกาย และตรวจร่างกายอย่างละเอียดเหมือนกับปัจจุบัน และจะถามทั้งคู่ที่จะสมัครชกกัน พอใจหรือกล้าที่จะชกหรือสู้กันหรือไม่ ถ้าตกลงก็จัดลำดับเป็นคู่ชกกันในคืนนั้น หรือคืนต่อ ๆ ไปของงาน ส่วนการชกต่อยกันเมื่ออยู่บนเวที "มวยวัด" มักไม่มีลีลา ท่าทาง แม่ไม้มวยไทยอะไรมากนัก เมื่อเสร็จจากการไหว้ครู เคาะระฆังเสร็จก็ปรี่เข้าชกกันอุตลุด โดยไม่ฟังหน้าอินทร์หน้าพรหม หลายครั้งที่ผู้เขียนเห็น นักชกบางคนเผลอ ไม่นึกว่าคู่ต่อสู้จะเข้าไปชกอย่างรวดเร็ว เลยถูกน็อคเอาท์ ทั้งที่ยังไม่ได้ออกแรงอะไรในยกที่หนึ่ง เป็นที่สนุกสนานกับผู้ชม แต่พี่เลี้ยงคงไม่สนุกด้วย และที่ผู้เขียนเห็นติดตา ก็คือแทบทุกคู่ที่ชกมักมีการเล่นการพนันของกองเชียร์ มีการต่อรองกัน ทั้งต่อสองหนึ่งบ้าง เสมอบ้าง สามสองบ้าง บังเอิญว่าผู้เขียนมีพี่ชาย และน้าที่เคยเป็นนักชกมวยวัดมาก่อน จึงรู้ว่าเมื่อชกแล้วเป็นอย่างไร ทั้งเห็นหน้าตาที่ถูกคู่ต่อสู้ชก รู้ว่าได้รับค่าตัวไม่กี่บาท หรือไม่ได้เลยก็มี และเห็นการถูกด่าจากป้า จากอาเมื่อมาถึงบ้านว่า **อยู่ดี ๆ แล้วไปให้เขาชก เจ็บตัวมาอย่างนี้ สมน้ำหน้า...คือไม่สนับสนุนให้ไปเป็นนักมวยนั่นเอง "มวยวัด" จึงเป็นกีฬา หรือการต่อสู้ ที่สอดแทรกเป็นวิถีชีวิตของสังคมชาวบ้านในชนบทไทยทุกภูมิภาค
"มวยวัด" คำนี้ หากมองในมิติของวิถีชีวิตในเชิงวัฒนธรรมแล้ว เป็นกิจกรรมที่ได้แก่นสารมากกว่าเพียงการต่อสู้ของคนวัยเด็ก หรือวัยรุ่นสมัยก่อนเท่านั้น สาระอยู่ที่ของความสามัคคี การแก้ปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างบุคคล กลุ่ม การอยู่ร่วมกัน การแก้ปัญหาร่วมกันในเรื่องต่าง ๆ ในหมู่บ้าน ตำบล เป็นคุณค่าที่ได้รับจาก "มวยวัด"
ในปัจจุบันแทบจะไม่มีให้เห็นแล้วในสังคมชนบท หากมี คงไม่ใช่กระบวนการการมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ จากชาวบ้านแล้ว เพราะงานวัดหลายแห่งมักมีเอกชนต่างถิ่นเข้าไปรับเหมาทำทุกอย่างในงานวัด จึงทำให้แก่นสาระของงานวัด งานประเพณีเปลี่ยนไป ปัจจุบันมักนำเอาคำว่า "มวยวัด"ไปใช้กับพฤติกรรมคนที่ชอบทำอะไรที่ไร้กฎเกณฑ์ ไม่มีระเบียบแบบแผน เป็นการเปรียบเปรยไปในทางลบจากการกระทำของคนมากกว่า แต่บางครั้ง บางเหตุการณ์ น่าจะแกล้งใช้ "มวยวัด" บ้างก็น่าจะดีครับ
ซูโม่ (ญี่ปุ่น: 相撲 sumō ซึโม ?) หรือมวยปล้ำญี่ปุ่นเป็นกีฬาประจำชาติที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น ประวัติของซูโม่สามารถย้อนกลับไปได้ไกลถึงศตวรรษที่ 8 โดยวังหลวงได้คัดเลือกนักมวยปล้ำจากกองทัพมาสู้กัน เพื่อสร้างความบันเทิงแก่ชาววังในเกียวโต และพัฒนาจนกลายเป็นกีฬาอาชีพในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมจากประเทศในยุโรป เช่น อังกฤษ เป็นต้น อีกด้วยประเพณีที่ยึดถือในกีฬาซูโม่นั้นมีความเก่าแก่มาก และยึดถือเป็นแบบปฏิบัติต่อเนื่องกันมาถึงปัจจุบัน เช่น การโปรยเกลืออันเป็นสัญลักษณ์แสดงความบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นประเพณีที่ซูโม่ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในศาสนาชินโต การใช้ชีวิตของนักปล้ำซูโม่นั้นเคร่งครัดเป็นอย่างยิ่ง และอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนดโดยสมาคมซูโม่ นักปล้ำซูโม่อาชีพจะใช้ชีวิตร่วมกันภายใต้ค่ายสังกัด (heya) ของตนเอง โดยแบบแผนการดำเนินชีวิตในทุกด้าน นับตั้งแต่อาหารการกิน ไปจนกระทั่งการแต่งกาย นั้น ถูกกำหนดด้วยประเพณีปฏิบัติอันเคร่งครัดลักษณะ
คู่ปล้ำจะมีรูปร่างอ้วนใหญ่ และจะต้องมีน้ำหนักตัวจะต้องไม่ต่ำกว่า 75 กก.ทั้งสองฝ่ายต้องพยายามทำให้อีกฝ่ายหนึ่งล้ม ทำให้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายนอกเหนือจากฝ่าเท้าแตะกับพื้น หรือดันคู่ต่อสู้ให้ออกจากวงกลมขนาดเล็ก การต่อสู้ใช้เวลาไม่นานและเริ่มต้นด้วยพิธีกรรมซึ่งรวมถึงการโปรยเกลือบนพื้นในกรอบวงกลม เป็นเครื่องหมายของความบริสุทธิ์ เนื่องจากซูโม่เป็นกีฬาที่มีเกียรติ ผู้ที่ก้าวไปถึงตำแหน่ง "โยโกสุนะ" ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของซูโม่ถือว่าเป็นผู้พิชิตอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดฤดูกาลแข่งขันซูโม่ของนักซูโม่อาชีพ เปิดการแข่งขันปีละ 6 ครั้ง คือในเดือนมกราคม มีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม กันยายน และพฤศจิกายน โดยแต่ละครั้งใช้เวลานาน 15 วัน
ความหมายของคำว่า"มวย"
อาจมีที่มาจากลักษณะการ ม้วนเชือกหรือผ้า เพื่อใช้หุ้มฝ่ามือและท่อนแขน เพื่อใช้ป้องกันอันตรายขณะต่อสู้ หรืออาจเพิ่มอันตรายในการ ชก กระแทกฟาดโดยการผสม กับ กาวแป้ง และ ผงทราย คล้ายลักษณะของ มวยผม ของ ผู้หญิงที่นิยมไว้ผมยาว(เกล้ามวย)ได้แก่ หญิงไทย/ลาวโซ่ง/หญิงล้านนาในสมัยโบราณ หรือนักมวยจีน(มุ่นผม)ซึ่งนิยม ถักเป็นเปีย แล้วม้วนพันรอบคอ ของตนซึ่งสามารถใช้ในการต่อสู้ในบางครั้ง
หรือ มาจากคำภาษาบาลี ว่า " มัลละ" หมายถึง การปล้ำรัด มวยปล้ำของชาวอินเดีย
มีการต่อสู้ในลักษณะเดียวกับ มวย ของ ชาวไทย มุสลิมในท้องถิ่นทาง ภาคใต้ ตลอดจนแหลม มลายู เรียกว่า ซีละ หรือ ปัญจสีลัต มีผู้บัญญัติศัพท์ว่า มวยไทยพาหุยุทธ์ โดยเปรียบว่า เป็นการต่อสู่แบบรวมเอาศิลปะการต่อสู้(Martial Art)ทุกแขนง โดยใช้อวัยวะทุกส่วนร่วมด้วยได้แก่ ...การใช้ ศีรษะ คาง เพื่อชน กระแทก โขก ยี ...ใช้ ท่อนแขน ฝ่ามือ และกำปั้น จับ ล็อก บล็อก บัง เหวี่ยง ฟัด ฟาด ปิด ปัด ป้อง ฟาด ผลัก ยัน ดัน ทุบ ชก ไล่แขน ศอก เฉือน ถอง กระทุ้ง พุ่ง เสย งัด ทั้งทำลายจังหวะเมื่อเสียเปรียบและหาโอกาศเข้ากระทำเมื่อได้เปรียบ ...ส่วนขา แข้ง เข่า ฝ่าเท้า ส้นเท้า ปลายเท้า ใช้ในการบัง ถีบ เตะ แตะ เกี่ยว ตวัด ฉัด ช้อน ปัด กวาด ฟาด กระแทก ทำให้บอบช้ำและเสียหลักและใช้ลำตัวในการการทุ่มทับจับหัก (มีคณะนักมวยดังในอดีตคือ ค่าย ส.ยกฟัด ใช้มาก)การประกอบรวมแม่แบบชุดต่อสู้รวมเรียกว่า แม่ไม้ และลูกไม้ ตามเชิงมวย หรือกลมวย
ประวัติศาสตร์ของมวยไทย
ประวัติศาสตร์อันยาวนานของมวยไทยเริ่มมีและใช้กันในการสงครามในสมัยก่อน ในปัจจุบันมีการดัดแปลงมวยไทยมาใช้ในกองทัพโดยเรียกว่า เลิศฤทธิ์ ซึ่งแตกต่างจากมวยไทยในปัจจุบันที่ใช้เป็นการกีฬา โดยมีการใช้นวมขึ้นเพื่อป้องกันการอันตรายที่เกิดขึ้น มวยไทยยังคงได้ชื่อว่า ศาสตร์การโจมตีทั้งแปด ซึ่งรวม สองมือ สองเท้า สองศอก และสองเข่า (บางตำราอาจเป็น นวอาวุธ ซึ่งรวมการใช้ศีรษะโจมตี หรือ ทศอาวุธ ซึ่งรวมการใช้บั้นท้ายกระแทกโจมตีด้วย)มวยไทยสืบทอดมาจากมวยโบราณ ซึ่งแบ่งออกเป็นแต่ละสายตามท้องที่นั้น ๆ โดยมีสายสำคัญหลัก ๆ เช่น มวยท่าเสา(ภาคเหนือ) มวยโคราช (ภาคอีสาน) มวยไชยา (ภาคใต้) มวยลพบุรีและมวยพระนคร (ภาคกลาง)มีคำกล่าวไว้ว่า "หมัดหนักโคราช ฉลาดลพบุรี ท่าดีไชยา ไวกว่าท่าเสา"
การศึกษาศิลปะมวยไทย
มวยไทยในสมัยโบราณจะมี สำนักเรียน (สำนักเรียนมวย แตกต่างจาก ค่ายมวย คือ สำนักเรียนจะมีเจ้าสำนัก หรือ ครูมวย ซึ่งมีฝีมือและชื่อเสียงเป็นที่เคารพรู้จัก มีความประสงค์ที่จะถ่ายทอดวิชาไม่ให้สูญหาย โดยมุ่งเน้นถ่ายทอดให้เฉพาะศิษย์ที่มีความเหมาะสม ส่วน ค่ายมวย เป็นที่รวมของผู้ที่ชื่นชอบในการชกมวย มีจุดประสงค์ที่จะแลกเปลี่ยนวิชาความรู้เพื่อนำไปใช้ในการแข่งขัน/ประลอง) โดยแยกเป็น สำนักหลวง และ สำนักราษฎร์ บ้างก็ฝึกเรียนร่วมกับเพลงดาบ กระบี่ กระบอง พลอง ทวน ง้าวและมีดหรือการต่อสู้อื่นๆ เพื่อใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัวและใช้ในการสงคราม มีทั้งพระมหากษัติย์และขุนนางแม่ทัพนายกองและชาวบ้านทั่วไป (ส่วนใหญ่เป็นชาย)และจะมีการแข่งขันต่อสู้/ประลองกันในงานวัดและงานเทศกาลโดยมีค่ายมวยและสำนักมวยต่างๆ ส่งนักมวยและครูมวยเข้าแข่งขันชิงรางวัล/เดิมพัน โดยยึดความเสมอภาค บางครั้งจึงมีตำนานพระมหากษัตริย์หรือขุนนางที่เชี่ยวชาญการต่อสู้ปลอมตนเข้าร่วมแข่งขันเพื่อทดสอบฝีมือที่เป็นที่ปรากฏได้แก่ พระเจ้าเสือ(ขุนหลวงสรศักดิ์) **สินมหาราช พระยาพิชัยดาบหัก ครูดอก แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ จนเมื่อไทยเสียกรุงแก่พม่า ปรากฏชื่อนายขนมต้ม ครูมวยชาวอยุธยา ซึ่งถูกกวาดต้อนเป็นเชลยศึกได้ชกมวยกับชาวพม่า ชนะหลายครั้งเป็นที่ปรากฏถึงความเก่งกาจเ**้ยมหาญของวิชามวยไทย ในสมัยอยุธยา ตอนปลายได้มีการจัดตั้งกรมทนายเลือกและกรมตำรวจหลวงขึ้นมีหน้าที่ในการให้การคุ้มครองกษัตริย์และราชวงศ์ ได้มีการฝึกหัดวิชาการต่อสู้ทั้งมวยไทยและมวยปล้ำตามแบบอย่างแขกเปอร์เซีย(อิห**)จึงมีครูมวยไทยและนักมวยที่มีฝีมือเข้ารับราชการจำนวนมากและได้แสดงฝีมือในการต่อสู้ในราชสำนักและหน้าพระที่นั่งในงานเทศกาลต่างๆสืบต่อกันมาเป็นประจำกีฬามวยไทยได้รับความนิยมมากในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ จนถึงรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 มีการชกมวยถวายหน้าพระที่นั่งเป็นประจำที่วังสวนกุหลาบทั้งการต่อสูประลองระหว่างนักมวย/ครูมวยชาวไทยด้วยกันและการต่อสู้ระหว่างนักมวย/ครูมวยต่างชาติ ในยุคแรกการแข่งขันมวยไทยใช้การพันมือด้วยเชือก จนกระทั่งนายแพ เลี้ยงประเสริฐ นักมวยจากท่าเสา จ.อุตรดิตถ์ ต่อยนายเจียร์ นักมวยเขมร ด้วยหมัดเหวี่ยงควายถึงแก่ความตาย จึงเปลี่ยนมาสวมนวมแทน ต่อมาเริ่มมีการกำหนดกติกาในการชก และมีเวทีมาตรฐานขึ้นแห่งคือเวทีมวยลุมพินีและเวทีมวยราชดำเนินจัดแข่งขันมวยไทยมาจนปัจจุบัน จากรูปประกอบทางขวามือ เป็นการแข่งขันชกมวยในสมัย ร.๖ คนซ้ายมือเป็นมวยเลี่ยะผะ(กังฟู)ชาวจีนโพ้นทะเล ชื่อนายจี่ฉ่าง ส่วนคนขวามือคือ นายยัง หาญทะเล จรดมวยแบบมวยโคราชซึ่งเน้นการยืดตัวตั้งตระหง่านพร้อมที่จะรุกและรับโดยเน้นการใช้เท้าและหมัดเหวี่ยง และต่อมาได้เป็นแบบอย่างในการฝึกหัดมวยไทยในสถาบันพลศึกษาส่วนใหญ่
termed"หุบเขา tudo"หรืออะไร"ไป"เป็นที่นิยมในบราซิล circuses ในช่วงปี ค.ศ. 1920[3] ตัวอย่างเช่น bouts ได้อธิบายไว้ใน Courier ญี่ปุ่นอเมริกัน ที่ 4 ตุลาคม 1928 :[4]
"หนึ่งรายงานจากเซาเปาโลประกาศว่า Jiu Jitsu เป็นศิลปะอย่างแท้จริงและที่จัดนิทรรศการที่น่าสนใจในเต็นท์ด้านข้างที่วงเวียนใหญ่ของชาวนิโกร Bahian ขนาดมหึมาพบ Waterloo ของเขาที่มือของนักมวยปล้ำญี่ปุ่นเล็ก . เกี่ยวกับชาวนิโกรได้ ผู้เชี่ยวชาญที่คาโปเอร่า, เก่าสไตล์อเมริกันใต้การต่อสู้ แต่หลังจากวางญี่ปุ่นที่ด้านหลังของเขาและพยายามเตะหัว ... เล็กน้อยตะวันออกโดยใช้ถือ Jiu Jitsu เขาโยน Bahian และหลังจากการต่อสู้อันสั้นเขา พบนั่งอยู่บนกรอบของฝ่ายตรงข้ามเงียบมาก.แต่ระยะวงเวียนนี้ไม่ได้เข้าใช้นิยมจน 1959-1960 เมื่อมันถูกใช้เพื่ออธิบาย bouts แบบกับสไตล์ที่โดดเด่นในโทรทัศน์ Rio แสดงเรียกว่า Heróis ทำ Ringue (Ring Heroes) matchmakers และไพร่พลของการแสดงที่รวมสมาชิกของ ครอบครัว Gracieและผู้เข้าร่วมทั้งหมดได้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายของรูปแบบของ คืนหนึ่ง Alberto João Barreto (ภายหลังกรรมการการ UFC 1) มีการแข่งขันกับคนผ่านการฝึกอบรมใน ตะลุมบอนBarreto จับคู่ต่อสู้ของเขาใน armbar คนปฏิเสธที่จะแตะออก Barreto ภายหลังหักแขนมนุษย์ ดังนั้นการแสดงนี้ถูกแทนที่ทันทีโดยการแสดงอื่น Telecatchที่แนะนำละครมากกว่าการแข่งขัน Heroes ของ Telecatch รวมอิตาลี Marino Boy Ted.[5]จาก 1960 เป็นต้นไป tudo หุบเขาจะยังคงวัฒนธรรมย่อยใต้ดิน, กับที่สุดของการต่อสู้ที่ใน dojos ศิลปะการต่อสู้หรือโรงยิมเล็ก[อ้างจำเป็น] tudo sub หุบเขาวัฒนธรรมเป็นไปตามหลักใน Rio de Janeiroแต่ยังต่อสู้มากขึ้นที่ภาคเหนือเป็นภาคใต้และ Bahia รัฐที่ คาโปเอร่า เป็นที่แพร่หลาย ฉากใน Rio de Janeiro มุ่งเน้นในการแข่งขันที่รุนแรงระหว่าง Jiu jitsu - บราซิล และ Luta Livre, ต่อสู้ในขณะที่ในพื้นที่อื่น ๆ แนะนำศิลปะการต่อสู้หลากหลายมากขึ้นแข่งขันในเหตุการณ์[อ้างจำเป็น]Gracie Rorion ของครอบครัวที่มีชื่อเสียงที่สุด Gracie จะย้ายถิ่นไปสหรัฐอเมริกาและแนะนำ tudo หุบไปตลาดใหม่เมื่อเขาก่อตั้ง UFC ในปี 1993 ความสำเร็จมหาศาลของ UFC ที่สร้างระเบิด tudo หุบทั่วโลกโดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นเป็นฟื้นตัวและความนิยม newfound หลังในบราซิล นี้จะทำให้การสร้างสองโปรโมชั่น tudo หุบเขาที่ WVC และ IVCซึ่งมีคุณลักษณะเด่นชัดในปี 1990 และยังมีโทรทัศน์ในบราซิล TV และ Pay - Per - View[อ้างจำเป็น]โปรโมชั่นทั้งสองมีพื้นฐานจากทุนการเงินของบราซิล เซาเปาโล และเปิดตัวอาชีพของหลายวันนี้ MMA stars แต่หลังจากที่รัฐของ เซาเปาโล ห้ามต่อสู้ tudo หุบเขาจากการกีฬาอนุมัติโปรโมชั่นทั้งลดลงและเป็นไปไม่ได้ส่งเสริมการแสดงตั้งแต่ปี 2002[อ้างจำเป็น] กับโปรโมชั่นใหม่ละทิ้งกฎ tudo หุบเขาแก่ปลอดภัย ศิลปะการต่อสู้ผสม กฎระเบียบที่ได้รับการอนุมัติกีฬาในสหรัฐอเมริกา, tudo หุบเขามีประสิทธิภาพกลับไปรากใต้ดินของ Vale tudo กิจกรรมยังสถานที่ในการจำนวนมากรอบบราซิล เนื่องจากลักษณะที่รุนแรงและนองเลือดของ fights tudo หุบเขาเหล่านี้กิจกรรมใต้ดินบางครั้งทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทในสื่อ[อ้างจำเป็น]วิจารณ์โต้แย้งที่แสดง tudo หุบเขาควรรับรองปลอดภัยมาก ศิลปะการต่อสู้ผสม กฎระเบียบที่ได้พัฒนาและได้รับการอนุมัติกีฬาในสหรัฐอเมริกา[อ้างจำเป็น] สนับสนุนของหุบเขา tudo counter ที่อนุมัติ ศิลปะการต่อสู้ผสม ลักษณะที่พัฒนาในประเทศสหรัฐอเมริกาขณะนี้จึงแตกต่างกันอย่างมากมายจากหุบเขา tudo จริงที่ควรถือเป็นกีฬาที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเช่นเดียวกับ kickboxing, อนุมัติใน ประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากกฎของความปลอดภัยถือว่าแตกต่างจาก มวยไทยตัวอย่างเช่น[อ้างจำเป็น]Pancak Silat ได้รับเลือกใน 1948 เป็นระยะการรวมสำหรับรูปแบบการต่อสู้ของอินโดนีเซีย เป็นสารประกอบของทั้งสองคำใช้กันมากที่สุดสำหรับศิลปะการต่อสู้ในอินโดนีเซีย Pencak เป็นคำที่ใช้ในภาคกลางและตะวันออก ชวาในขณะที่ silat โดยใช้ เกาะสุมาตราในการใช้ที่ทันสมัย Pencak และ silat จะเห็นว่าเป็นสองด้านของการปฏิบัติเดียวกัน Pencak คือด้านประสิทธิภาพของศิลปะการป้องกันตัวในขณะที่ silat เป็นสาระสำคัญของการต่อสู้และป้องกันตัวที่มาของคำว่า Pencak และ silat ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ บางคนเชื่อว่า Pencak มาจาก ภาษาสันสกฤต คำ ปัญ หมายถึงห้าหรือจาก จีน pencha หลีกเลี่ยงความหมายหรือเบนเข็ม ทฤษฎีการกำเนิดโดดเด่นที่สุดของคำว่า silat คือมันมาจาก sekilat ซึ่งหมายถึง"เป็น (เร็วฟ้าผ่า)" นี้อาจถูกใช้เพื่ออธิบายการเคลื่อนไหวของนักรบก่อนในที่สุดจะสั้นลงไป silatบางคนเชื่อว่าอาจมาจากคำว่า elat ซึ่งหมายถึงคนโง่หรือหลอกลวง คำยังใช้ใน ประเทศมาเลเซีย และคำว่า Pencak ปรากฏในภาษามาเลย์ให้เร็วเป็น มลายูราชา ADAT ข้อความ : 1,779 ต้นฉบับ; : ราก 1817, 1873 : ข้อความและต้นฉบับ : มะละกา
อาวุธของปันจัคสิลัต
Kris: กริช, มักมีใบหยักโดยชนิดพับโลหะกันแล้วล้างในกรด
Kujang: ใบซุนดา
ผ้าซิ่น/ Sampingชิ้น : ของ ไหม ผ้าใส่รอบเอวหรือไหล่ที่ใช้ในการล็อคเทคนิคและการป้องกันประเทศต่อใบ
Batang Galah /: Rod หรือพนักงานที่ทำจากไม้เหล็กหรือ ไม้ไผ่.
Tongkat Toya /: เดิน - stick ดำเนินการโดยผู้สูงอายุและเดินทาง
ไม้: ติดไม้ทุกขนาด
Kipas: พัดลมพับแผนทำเด่นกว่าไม้เนื้อแข็งหรือเหล็ก
KerambitMachan ** /: ใบมีรูปร่างเหมือนกรงเล็บเสือที่ผู้หญิงได้เสมอในผมของพวกเขา
Sabit/ Clurit: เคียว, ใช้ในการทำฟาร์ม, เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวพืช
Pisau: ดาบ/มีดทั้งคู่หรือเดียวขอบ
Badik: ใบ Bugis หรือ Makassar
Sundang: ดาบ Bugis มักหยัก - bladed
ลดา Tumbuk: โค้งเล็กน้อย Minang กริช, แท้จริงความหมายบดพริกไทย"
Gedak: กระบอง / ชมรมมักจะเกี่ยวข้องกับ หนุมาน.
Seligi: รุนแรงขึ้น ไม้ไผ่ shaft ใช้หอกหรือ หอก.
Tombak / Lembing: หอกโตมร / ทำจากไม้ไผ่, เหล็กหรือไม้ที่บางครั้งผมม้าได้แนบใกล้ใบมีด
Parang/Golok: ดแมเชเทดาบใบกว้าง / ใช้ในงานประจำวันเช่นแปรงตัดผ่านป่า
Trisula/ Serampang: ตรีศูลเดิมที่ใช้สำหรับการประมง
ฉบัง/ Cabang: Short - จัดการตรีศูล, แท้จริงความหมายสาขา"
ไอคิโด (ญี่ปุ่น: 合気道 Aikidō ?) คือศิลปะการต่อสู้สมัยใหม่ประเภทหนึ่ง ของประเทศญี่ปุ่น พัฒนาขึ้นโดย อุเอะชิบะ โมริเฮ (植芝盛平) ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930-1960 ลักษณะของไอคิโดที่แตกต่างจากศิลปะการต่อสู้แบบอื่น โดยมีลักษณะการรับการโจมตีและควบคุมการโจมตีของคู่ต่อสู้กลับ รวมถึงการหักข้อต่อโดยวิชามากของวิชาไอคิโดพัฒนามาจากสำนักไดโตริว ยูยิสสู ซึ่งอุเอะชิบะได้ศิกษามา นอกจากนั้นยังผสมด้วยวิชาการต่อสู้จากสำนักอื่น ๆ โดยช่วงแรกอุเอะชิบะเคยใช้ชื่ออื่น ๆ หลายชื่อ เพื่อเรียกวิชาของตนเอง เช่น ไอคิ บูโด, ไอคิจุสสุ และ ไอคิบูจิสสุหลังจากที่อุเอะชิบะเสียชีวิตก็ได้มีการเปิดสำนักย่อย ๆ ของวิชาไอคิโด โดยลูกศิษย์หลายคนของอุเอะชิบะ ปัจจุบันสำนักไอคิโดที่ใหญ่ที่สุดคือสำนักไอคิไค นอกจากนั้นยังมีอีกหลายสำนักที่โด่งดัง เช่น โยชินกัน, โชโดกัน ไอคิโด และ โยเซกันไอคิโดมีลักษณะคล้ายกับ ฮัปคิโด ศิลปะการต่อสู้เกาหลีที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
นินจาคืออะไร..เราเรียกคนที่ฝึกวิชานินจุทสุว่า นินจา ผู้หญิงที่ฝึกนินจา เราเรียกว่า คุโนอิชิ แล้ว "นินโป" ล่ะคืออะไร นินโป ก็คือ แก่นวิชาของนินจุทสุเดิมทีนั้นนินจุทสุเป็นวิชาการต่อสู้และป้องกันตัว เพื่อการอยู่รอดและการดำรงอยู่ของเผ่าพันธ์ มีการศึกษาเส้นทางโคจรของดวงดาว, การใช้สมุนไพรรักษาโรค และศึกษาการทำสมาธิเพื่อให้จิตใจผ่อนคลาย นินจาในสมัยแรกๆ นั้นจึงไม่ข้องเกี่ยวกับใครเมื่อประวัติศาสตร์มีการเปลี่ยนแปลงไป นินจาถูกเรียกใช้เพื่อการลอบสังหารในการต่อสู้และสืบราชการลับ ไม่ต่างไปจากนักฆ่าและจารชน ในสงครามระหว่างเจ้าผู้ครองเมืองผู้มีอำนาจด้วยกันเอง นินจาได้ถูกฝึกพิเศษในแวลาอันสั้นเพื่อเน้นการทำลายศัตรูทุกวิถีทาง นินจาที่ถูกฝึกพิเศษนั้นต้องเรียนรู้การใช้อาวุธทุกประเภท รวมทั้งการสอดแนม การใช้วัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด และการใช้เทคนิคพรางตัวต่างๆ จากจุดนี้ทำให้ภาพลักษณ์ของนินจาเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ประกอบกับผู้สร้างภาพยนตร์ได้สร้างบุคลิกของนินจาเกินจากความเป็นจริงไปมาก ยิ่งทำให้นินจาถูกเข้าใจผิดไปจากเดิมมากขึ้นทุกวันนี้การฝึกนินจุ ทสุได้เปลี่ยนไปมาก แต่เนื่องจากเนื้อหาของตัวววิชานั้นเป็นศิลปะการต่อสู้ ดังนั้นนินจุทสุจึงไม่มีการทำแต้มหรือการแข่งขันเพื่อชิงชนะเลิศกันเหมือน ศิลปะการต่อสู้แขนงอื่น
องค์การที่มือชื่อเสียงในปัจจุบันที่สอนวิชา นินจุทสุคือ สมาพันธ์นินโปโลกเกนบูกัน มีท่านอาจารย์ใหญ่ทาเนมูระ โชโต้เป็นเจ้าสำนัก, สำนักบูจินกันมีท่านอาจารย์ใหญ่มาซากิ ฮัทสุมิเป็นเจ้าสำนัก, สำนักจิเนนกันมีท่านอาจารย์ใหญ่อันซุยเป็นเจ้าสำนัก นอกจากนี้แล้วยังมีอีกหลายองค์กรที่ขอไม่นำมากล่าวถึงในที่นี่ที่ให้การฝึก นินจุทสุ
การฝึกนินจุทสุทุกวันนี้ประกอบด้วย การวอร์มอัพให้ร่างกายตื่นตัว, การฝึกเทคนิคต่างๆ เช่น การล๊อค การทุ่ม การโจมตี การบิดหักข้อมือ การต่อสู้แบบต่างๆ เช่นการป้องกันตัวเมื่อถูกจู่โจมจากผู้ประสงค์ร้ายมากกว่า 2 คนขึ้นไป การป้องกันตัวจากมีดหรือของมีคมต่างๆก่อนการฝึกทุกครั้งจะต้องมีการ เคารพครูบาอาจารย์ก่อน โดยการทำสมาธิเป็นเวลา 3-5 นาที ตรงนี้คือความเชื่อที่ว่า เหล่าปรมาจารย์ที่ล่สงลับไปแล้วยังคงทิ้ง "กระแส" ของท่านไว้ในทุกๆ โรงฝึกที่ฝึกวิชาของท่าน ผุ้ฝึกที่มีจิตใจดีงามไม่เร่าร้อนจะสัมผัสกระแสจิตของท่านเหล่านั้นได้เสมออาจกล่าว ได้อีกนัยหนึ่งว่า การฝึกนินจุทสุเป็นการฝึกการต่อสู้และป้องกันตัวที่สอนให้ผู้ฝึกรู้จักกับ ทั้งการตั้งรับและการจู่โจม ซึ่งเหมาะสมมากกับชีวิตที่เป็นไปในปัจจุบันสังเกต ได้ว่า ผู้ฝึกนินจุทสุที่ไม่เข้าใจแก่นแท้ของวิชาจะแบ่งพรรคแบ่งพวกกันเสมอ คิดว่าตนฝึกจากที่นี่ ต้องเก่งกว่าคนที่ฝึกมาจากที่อื่น โดยไม่ได้มองให้ลึกลงไปว่า แก่นแท้ของนินจุทสุก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะฝึกมาจากที่ไหนก็ตามปรมาจารย์ ที่มีชื่อเสียงมากของวิชานินจุทสุ (ไม่ว่าจะสำนักใดก็ตาม) คือ ท่านปรมาจารย์ทากามัทสุ โทชิสุกุ ท่านได้ชื่อว่า เป็นนินจาที่แท้จริงคนสุดท้าย ท่านเสียชีวิตเมื่อปี 1972 และได้ทิ้งความรู้ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาอย่างมากมาย เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้สอนผู้ที่มีโอกาสฝึกกับท่านเสมอว่า ให้เป็นคนดี มีจิตใจกว้างขวาง ซื้อสัตย์ และตั้งใจที่จะทำความดีเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นที่ด้อยโอกาสกว่าตน
นินจา คืออะไร
นินจุทสุ หนึ่งในวิชาการต่อสู้ของญี่ปุ่นที่มีประวัติศาสตร์ย้อนไปกว่าพันปี ความลับในศาสตร์แห่งนินจานั้นสืบทอดกันต่อมาภายในตระ**ลเป็นเวลาหลายศตวรรษ แต่ในปัจจุบันมีการฝึกฝนวิชานินจุทสุหรือนินจาตามแบบการฝึกศิลปะป้องกันตัว ต่างๆ ในโรงฝึก หรือที่เรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า โดโจ ซึ่งไม่เพียงเฉพาะสอนในญี่ปุ่นเท่านั้น แต่มีสอนในระดับสากลทั่วโลกในฐานะวิชาการต่อสู้เก่าแก่ ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลามากนักในโลกตะวันตก นินจุทสุเริ่มเป็นที่สนใจมากขึ้นและมากขึ้น ซึ่งน่าจะเกิดจากลักษณะเฉพาะตัวของวิชาที่แตกต่างจากศิลปะป้องกันตัวอื่น อย่างชัดเจน โดยไม่จัดเป็นกีฬาหากเป็นการต่อสู้ป้องกันตัวอย่างแท้จริงตัว วิชามีปรัชญาพื้นฐานมาจาก 5 ธาตุ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และจิต วิญญาณ โดยทุกสถาบันนินจาในประเทศต่างๆ ล้วนมุ่งให้ผู้ฝึกเข้าสู่ความรู้ ปัญญา และหลักปรัชญาของวิชานี้ก็คือ ความรักและสันติความเท่าเทียมกัน ระหว่างหญิงชายเป็นอีกหลักการหนึ่งที่ทำให้คนนิยมฝึกนินจุทสุ ซึ่งเน้นที่ความตั้งใจที่จะพัฒนาร่างกายและจิตใจให้ประสานกันผ่านศิลปะการ ป้องกันตัว ไม่ว่าบุคคลที่ฝึกจะแข็งแรงหรืออ่อนแอการฝึกฝนวรวุธใน ศาสตร์แห่งนักรบเงามืดอย่างนินจานั้น เป็นความเด่นที่เพิ่มความน่าสนใจให้กับวิชานี้ เช่น การฝึกพลองสั้น-ยาว ดาบ มีด หอก ง้าว อาวุธขว้างเช่น ดาวกระจาย เป็นตน การฝึกอาวุธจะเพิ่มความรู้และประสบการณ์ในการต่อสู้ แต่การฝึกอาวุธเหล่านี้มีอันตราย จึงจ้องใช้อาวุธไม้แทน ในการฝึกฝนก็จำเป็นต้องควบให้ถูกต้องทั้งการถืออาวุธและการใช้โดยอาจารย์ผู้ สอนเพื่อให้ความ ปลอดภัยกับนักเรียนทุกคน อีกทั้งข้อบังคับที่เข้มงวดในการฝึกอาวุธแบบนินจุทสุนั้นทำให้มีโอกาสในการ บาดเจ็บ หรืออุบัติเหตุในการฝึกน้อยมาก ซึ่งในจำนวนนั้นมักจะมาจากการไม่ระมัดระวังและการไม่เข้าใจวิธีการอย่างถ่อง แท้ของนักเรียน
สมาพันธ์นินโปโลกเกนบูกัน เป็นองค์กรนินจุทสุที่มีโครงสร้างแบบครอบครัว หัวหน้าครอบครัวคือ ท่านอาจารย์ทาเนมูระ โชโต้ ซึ่งท่านจะเน้นหลักการของสันติและรักใคร่ปองดองกัน เคารพกันอย่างศิษย์พี่ศิษย์น้อง สิ่งละอันพันละน้อยเหล่านี้น่าจะทำให้ศิลปะการต่อสู้นินจุทสุเข้าถึงผู้สนใจ ชาวไทย เพราะสังคมไทยเป็นสังคมที่ช่วยเหลือเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ซึ่งสอดคล้องกับแก่นของนินจาศิลปะการต่อสู้ส่วนใหญ่ถูกดัดแปลงให้ สอดคล้องกับความต้องการของคนรุ่นแล้วรุ่นเล่า แต่นินจุทสุไม่เปลี่ยนไปจากเดิมที่เป็นวิชาการต่อสู้ในสนามรบมากนัก ดังนั้นเมื่อมาเป็นวิชาที่ต้องสอนในโรงฝึก จึงเป็นต้องมีระเบียบที่ชัดเจนและไม่กดดันผู้เรียนจนเกินไป อาจารย์ผู้สอน หรือภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า เซนเซ จะเป็นผู้ดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด และคอยช่วยเหลือแนะนำสิ่งต่างๆ ให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมบุคคล ที่ร่างกายสมบูรณ์ประกอบกับจิตใจที่ดีและมีความมุ่งมั่น ย่อมสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางที่ดีขึ้น โดยการช่วยผู้อื่นทำสิ่งที่ดีและคิดในสิ่งที่ดี ความเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดมาจากจิตใจก่อนแล้วจึงพัฒนาสิ่งรอบตัวได้ สิ่งเหล่านี้คือจุดหมายสูงสุดของนินโปเมื่อฝึกนินจุทสุยิ่งนานก็จะยิ่ง พบว่า มีสิ่งอีกมากที่จะเรียนรู้ได้เพื่อพัฒนาตนเองทั้งร่างกายและจิตใจ มิใช่เพียงเพื่อคนๆ เดียวหากแต่เพื่อสังคมของเราซึ่งนั่นคือรางวัลสำหรับผู้ทุ่มเทในการฝึก ศาสตร์นี้อย่างจริงจังก่อนจบก็อยากจะฝากข้อความไว้หน่อยน่ะฮ่ะ" A true Ninja is not a killer, but a very gentle man who i**perienced in a lovely true Martial Arts and above all else, he is humanist. It is my wish that people understand this well...""นินจาที่แท้จริง นั้นไม่ใช่นักฆ่า หากแต่เป็นสุภาพบุรุษซึ่ง เชี่ยวชาญอย่างแท้จริงในศาสตร์แห่งการต่อสู้และป้องกันตัว อีกทั้งเป็นนักมนุษยธรรมอันมีความกรุณาปราณีเปี่ยมล้น นี่คือความปรารถนาของผมที่อยากให้ ผู้คนเข้าใจ"
หย่งซุน หรือ หวิงชุน (wing chun)
กว่า 250 ปีมาแล้วรัชสมัยของกษัตริย์ หยวนเซ็ง แห่งราชวงศ์ ชิง วัดเส้าหลินได้ถูกวางเพลิงโดยทหารมองโกลการวางเพลิงครั้งนี้จึงส่งผลให้ 5 ปรมาจารย์ อาวุโสของ วัดเส้าหลินพร้อมลูกศิษย์ต้องฝ่าทหารมองโกล ลงทางใต้ของเมืองจีน ปรมาจารย์ทั้ง 5 ได้แก่ หลวงจีนจี้ส่าน, แม่ชีไบ๋เหมย, แม่ชีหวู่เหมย, หลวงจีนฟองโตตั๊ก, หลวงจีนเมียงหิ่น รวมทั้งศิษย์ ฆราวาส ได้แก่ หงซีกวน ฟางซื่อยี่, ลกอาซาม, ถงเชียนจิน, หวูเว่ยฉวน, ชายหมี่จิ้ว และอื่นๆปรมาจารย์ จี้ส่าน สอนศิษย์ ฆราวาสมากมายและได้นำศิษย์หล่านี้ต่อต้านแมนจู ในบรรดาศิษย์เหล่านี้นำโดยศิษย์พี่ชื่อหงซีกวน, ตงซินทุน, ฉอยอาฟุก พวกเขา ปฏิบัติการในเรือแดง โดย จี้ส่านได้ปลอมตัวเป็น พ่อครัวของคณะงิ้วเรือแดงส่วนปรมาจารย์ แม่ชีหวู่เหมย ได้หนีความวุ่นวายทั้งปวงไปยัง วัดกระเรียนขาวบนเขาไท่ซาน ในขณะเดียวกันได้คิดค้นวิทยายุทธ์แขนงใหม่ ซึ่งแตกต่างและมีประสิทธิภาพดีกว่าวิชาที่ได้เรียนจากวัดเส้าหลิน วิชานี้ แม่ชีได้ พบจุดเริ่มต้นโดยบังเอิญเมื่อเธอได้เห็น จิ้งจอกต่อสู้กับนกกระเรียน ซึ่งจิ้งจอกวิ่งวนไปรอบๆนกกระเรียนเป็นวงกลมหวังหาจังหวะจู่โจมนกกระเรียน แต่ นกกระเรียนอยู่ในศูนย์กลางวงกลม หันหน้าเข้าหาจิ้งจอกตลอดเมื่อจิ้งจอกโจม**กกระเรียนก็ปัดและจิกโดยไม่วิ่งออกจากวงกลมอาศัยการป้องกันและโจมตีในเวลาเดียวกัน จากจุดนี้คือการค้นพบพื้นฐานของมวยชนิดใหม่การต่อสู้ของมวยชนิดนี้คืออาศัยหลักการต่อสู้อันแยบยลตามหลักธรรมชาติของการหลบหลีก การเคลื่อนไหวด้วยการปะทะแบบสลายแรงอย่างรวดเร็วพร้อมโจมตีเป็นเส้นตรงในเวลาเดียวกันทั้งรุกและรับในจังหวะเดียวกัน โดยการใช้โครงสร้างและสรีระของร่างกายแทนกำลังของมือและเท้าในการทำลายคู่ต่อสู้ต่อมา แม่ชีหวู่เหมยได้รับลูกศิษย์ ซึ่งเป็นผู้หญิงชื่อ เหยิ่น หย่งชุน ได้ถ่ายทอดวิชายุทธย์แขนงใหม่นี้ให้และฝึกฝนจนสามารถป้องกันตนเองได้แล้ว หย่งชุนจึงลงเขา ไท่ซ่านกลับไปหาบิดา จากนั้นหย่งชุนได้เอาวิชานี้สู้กับพวกอันธพาลที่มารังควานและรังแกประชาชนในมลฑลนั้นจนชนะทั้งหมดจึงสร้างชื่อเสียงขึ้นมาหลังจากนั้นหย่งชุนได้แต่งงานกับ เหลือง ปอกเชา และพยายามจะสอนวิชานี้ให้กับสามีแต่สามีไม่ยอมฝึกเพราะตัวสามีนั้นได้ฝึกฝนมวยเส้าหลินมาอย่างช่ำชองแล้วแต่หย่งชุนก็ได้แสดงฝีมือและได้เอาชนะสามีทุกครั้ง สุดท้ายสามีจึงยอมเรียนวิชานี้กับภรรยา และจากจุดนี้จึงได้ตั้งชื่อมวยแขนงใหม่นี้ว่า หย่งชุน ตามชื่อภรรยาผู้หญิงทั้งๆมีรูปร่างเล็กและบอบบางกว่าผู้ชายแต่แรงของผู้หญิงจะไปสู้กับแรงผู้ชายไดอย่างไรกัน มวยหย่งชุนเป็นมวยผู้หญิง หลักวิชาต่างๆที่ถูดคิดค้นขึ้นในวิชานี้ เน้นสำหรับผู้หญิง หย่งชุน ใช้สรีระที่ถูกต้องบวกกับความเข้าใจแรงที่แตกฉานและการฝึกฝนที่ถูกหลักวิชา มีทั้งอ่ออนและแข็ง (ไม่ใช่มวยอ่อนอย่างเดียว)และขอเน้นว่าไม่ได้เน้นกำลังภายในอะไรทำนองนั้นแต่ใช้ความเข้าใจทางสรีระและวิทยาศาสตร์หว่องว่าโป๋ว และเหลียงหยี่ไท่วิทยายุทธ์หย่งชุนคงจะไม่มีในวันนี้หากเหลี่ยงหล่านไกวไม่สอนใครเลย แต่ว่าเขาได้สอน หว่องว่าโป๋ว นักแสดงงิ้วแห่งคณะงิ้วเรือแดงเป็นการบังเอิญที่ปรมาจารย์ จี้ส่านก็ได้ปลอมตัวเป็นพ่อครัวในคณะงิ้วเช่นกัน จี้ส่านในเวลานั้นได้สอนลูกศิษย์อยู่จำนวนหนึ่ง เหลียงหยี่ไท นายคัดท้ายเรือคือหนึ่งนจำนวนศิษย์ซึ่งสนใจและได้รับการถ่ายทอดกระบองหกแต้มครึ่งหว่องว่าโป๋วและเหลี่ยงยี่ไท่ได้รู้จักชอบพอกันและแลกเปลี่ยนวิชากันหลังจากนั้นทั้งสองได้ดัดแปลงกระบองหกแต้มครึ่งโดยประยุกต์หลักการฟังด้วยการสัมผัสจากมวยหย่งชุนหรือชี้เสาและเรียกการฝึกฝนด้วยกระบองสัมผัสนี้ว่าชี้กวันการชี้เสามีวิธีการฝึกโดยคู่ฝึกใช้แขนสัมผัสตลอดการฝึกฝนโดยต่างฝ่ายต่างฟังการเคลื่อนไหวของอีกฝ่ายจากการสัมผัสในขณะที่พยายามปิดป้องและโจมตีในเวลาเดียวกันโดยใช้แม่ไม้มวยหย่งชุนระหว่างการฝึกแขนทั้งสองฝ่ายต้องไม่หลุดสัมผัสหรือแยกจากกันเลยเหลียงจั่นเหลี่ยงยี่ไท่ได้สอนเหลียงจั่นศิษยืคนเดียวเมื่อเขาเกือบเขาสู่วัยชรา เหลียงจั่นเป็นหมอแผนโบราณชื่อดังแห่งฝอซานแห่งมลฑลกวางตุ้ง เหลียงจั่นต่อมาได้ชื่อว่าเป็นราชาแห่งมวยหมัดหยงชุน หรือ ราชามวยประลองเนื่องจากนักมวยทั่วสารทิศได้มาประลองกับเหลี่ยงจั่น แต่ทุกคนก็ได้แพ้ไปในที่สุดเหลี่ยงชุนและเหลี่ยง**ก รวมทั้งหมกหยั่นหว่า (หว่าหุ่นไม้)ผู้มีแขนทังสองอันแข็งแกร่ง ลูกศิษย์ที่สำคัญของเหลียงจั่นคือฉันหว่าซุนหรือผู้แลกเงินเจ๋าฉิ่นหว่าผู้ซึ่งได้แอบฝึกมวยหย่งชุนโดยมองผ่านเข้ามาตามซอกประตู จนกระทั่งเหลียงจั่นจับได้หลังจากที่เหลี่ยงซุ่นและฉานหว่าซุ่นได้ทำเก้าอี้ตัวโปรดหักระหว่างประลองกันและรับเป็นศิษย์ในที่สุดฉานหว่าซุนและศิษย์ฉานหว่าซุนรับลูกศิษย์ทั้งหมดสิบหกคน มีศิษย์คนโตชื่อว่าหงึงชงโซวและศิษย์คนสุดท้ายคืออาจารย์หยิบมั่น อาจารย์หยิบมั่นสะสมเงินเพื่อมาขอเป็นศิษย์อาจารย์ฉานหว่านซุนเมื่อเขาอายุได้ประมาณ 11 ปี อาจารย์ฉานหว่าซุนจึงรับยิบมั่นเป็นลูกศิษย์คนสุกท้ายและสอนหยิบมั่นเป็นเวลา 6 ปีก่อนจะเสียชีวิตหลังจากนั้นยิบมั่นฝึกฝนต่อภายใต้การชีนำของศิษย์พี่ใหญ่หงึงชงโซว ยิบมั่นได้เข้าศึกษาต่อที่ฮ่องกง ด้วยความคะนองได้ท้าประลองไปทั่วฮ่องกงและความหึกเฮิมมีมากขึ้นเมื่อเขาชนะเสมอ จนกระทั่งวันหนึ่งเขาได้พบคนแก่คนหนึ่งซึ่งผู้คนรู้จักกันดีว่ามีความสามารถยิบมั่นแพ้ครั้งแล้วครั้งเล่าให้กับชายแก่คนนนั้นซึ่งแท้จริงแล้วชายแก่ผู้นั้นคือ เหลียง**ก อาจารย์อา บุตรเหลียงจั่น หรือศษย์น้องของฉานหว่าซุนนั้นเองยิบมั่นหลังจากเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายจึงลาอาจารย์กลับเมืองจีนยิบหมั่น และ ศิษยหลังจากที่คอมมิวนิสต์เข้าปฎิวัติประเทศจีน ยิบมั่นจึงอพยบมาที่ฮ่องกงอีกครั้ง และจึงเริ่มรับลูกศิษย์ทั่วไปมากมายมี ฮอกกิ่นเชียง และอื่นๆ อาจารย์เหล่านี้ได้เผยแพร่มวยหย่งชุนจนมีผู้ฝึกฝนทั่วโลกในบัจจุบันเป็นจำนวนมากมายบรู๊ซลีได้ไปอมเริกาและได้นำหมัดช่วงสั้นหนึ่งนิ้วและสามนิ้วไปสาธิตที่การแข่งขันศิลปป้องกันตัวของ ed parker ครูมวยคาราเต้รับบอเมริกัน**โบ้ (American kempo) จนเป็นที่ตื่นเต้นแก่ผู้สนใจเป็นจำนวนมากและเป็นที่รู้จักกันดีในนามของ เคโต้ และอ้ายหนุ่มซินตึ้ง ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์กับอาจารย์ยิบมั่นเป็นไปอย่างไม่ราบรื่นนักเมื่อยิบมั่นไม่ยอมถ่ายทอดวิชาทั้งหมดให้กับบรู๊ซได้ในเวลาอันสั้นด้วยความผิดหวัง บรู๊ซจึงได้คิดค้นมวยของตนเองขึ้นมาแล้วตัวชื่อว่า จิ๊ตคุนโด หรือวิชาหยุดหมัดสำหรับผู้ที่รู้จักมวยทั้งสองแล้วย่อมรู้ว่าบรู๊ซได้คงไว้ซึ่งหลักวิชาหย่งชุนไว้อย่างมากยิบมั่นเสียชีวิตลงในปี ค.ศ 1972 และถูกยกย่องให้เป็นปรมาจารย์ในยุคบัจุบันของหย่งชุน เคียงข้าง เซ็งหม่านชิง(แต้หมั่งแช-แต้จิ๋ว) แห่งสำนักไทเก็ก ยูอิชิบ้าแห่งสำนักไอคิโด ส่วนบรู๊ซลีเสียชีวิตอีกหนึ่งปีถัดมาเจี้ยงฮกกิ่น จูเสาไหล่ และอนันต์ ทินะพงศ์บรู๊ซลีมีเพื่อนสนิทในโรงเรียนและสำรักมวย ชื่อเจี๊ยงฮกกิ่น ทั้งคู่เรียนหนังสือและวิชาป้องกันตัวและออกประลองด้วยกัน ทั้งคู่ฝึกมวยหย่งชุนภายใต้การชี้แนะของยิบมั่นและศิษย์พี่จอมราวีหว่องซัมเหลียงและเจียงจกเฮง เจียงฮกกิ่นนอกจากการศึกษาวิชามวยหย่งชุนแลวยังได้ศึกษามวยไทเก็กตระ**ลวู และบัจุบันได้สอนมวยทั้งสองชนิดนี้เป็นการส่วนตัวที่ รํฐลอสแองเจิลลิส อเมริกาและได้รับศิษย์เอกในวิชาหย่งชุนคือจูเสาไหล่อาจารย์จูเสาไหล่ศึกษาศิลปป้องกันตัวตั้งแต่เล็กๆในวิชาคาราเต้โชชินริว ต่อมาได้ฝึกมวยตระ**ลหงทั้งหมดในฐานะศิษย์เอกจากยี่จีเหว่ย ศิษย์อาจารย์ต๋องฟ้งศิษย์อาจารย์หวองเฟยหง อาจารย์จูเสาไหล่ได้ให้ความสนใจหมัดหย่งชุนมาเป็นเวลานานจึงได้เริ่มหัดมวยหยงชุนกับ อากว้าน ศิษย์หย่งชุนสำนักซีมเซียวซาน หลีหมุ่ยซาน ศิษย์อาจารย์หมุ่ยยัดศิษย์อาจารย์หยิบมั่น อาจารย์จูเสาไหล่ยังได้พัฒนาตัวเองเพิ่มเติมจากอาจารย์หลุ่ยหยันซัน ราชากระบองแดนใต้และมวยซิ่งยี่หมัดจากใจและไทเก็ก อาจารย์จูเสาไหล่ยังศึกษาเพิ่มเติมจากอาจารย์ฮอกกิ่นเป็นครั้งคราวเมื่ออาจารย์อยู่ลอสแองเจิลลิส อเมริกา จึงได้กราบเป็นศิษย์อาจารย์ฮอกกิ่นจนถึงทุกวันนี้อาจารย์อนันต์ได้เรียนรู้วิชาป้องกันตัวตั้งแต่อายุ 11 ปี ในวิชาเทควันดด้และมวยเสี้ยวลิ้มใต้จากอาจารย์คันศรเป็นเวลา 6-7 ปี และมวยไทยเมื่อคุณพ่อได้เปิดค่ายมวยไทยหลังจากนั้นจึงเดินทางไปเรียนต่อที่อมเริกาขณะที่อยู่อมเริกาอาจารย์อนันต์ได้คลุกลีกับศิลปป้องกันตัวโดยตลอดโดยได้เป็นผู้จัดการฝ่ายขายอุปกรณ์กีฬาป้องกันตัวเป็นเวลา10ปีที่นี่เองอาจารย์อนันต์ได้พบกับอาจารย์จูเสาไหล่จนเป็นมิตรที่สนิทและได้แลกเปลี่ยนวิชากันถ้าใครแพ้ก็ต้องเรียนวิชาอีกฝ่ายหนึ่งและก็ต้องถ่ายทอดสื่งที่ตนเรียนมาให้โดยไม่มีเงื่อนไขอาจารย์อนันต์ได้เรียนรู้วิชาหย่งชุนกับอาจารย์จูเสาไหล่เป็นเวลาหลายปีก่อนจะกลับเมืองไทยในปี คศ 1988จากนั้นจึงเริ่มสอนวิชามวยหย่งชุนเนต้นมา
ประวัติของเพลงเตะ Savate :
Savate นั้นเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 เมื่อลูกเรือจากท่าเรือเมือง Marseilles ฝึกฝนกีฬาชื่อ " Chausson " เป็นวิชาที่มีการเตะเป็นหลัก ว่ากันว่าวิชานี้ได้มาจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของศิลปะการต่อสู้ของตะวันออกขณะแล่นเรือไปยังแถบนั้น ในยุค 1820 กีฬานี้เริ่มได้รับความนิยม และมีการเปิดกว้างและแข่งขันกันอย่างแพร่หลายตั้งแต่ยุค 1830Charles Lecour หลังจากพ่ายแก่นักชกมวยสากลชาวอังกฤษ Owen Swift เขาได้รับเทคนิคการใช้หมัด ซึ่งเป็นแบบมวยสากลของอังกฤษเข้ามา ทำให้เกิดเทคนิคใหม่เรียกว่า Modern Savate ที่เป็นการผสมผสานของตะวันออกและตะวันตกอย่างแท้จริงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นช่วงที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และได้ถูกบรรจุลงในโอลิมปิกตั้งแต่ปี 1924 ที่ปารีส ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แชมป์มากมายต้องสูญเสีย นักกีฬาจำนวนมากบาดเจ็บอย่างรุนแรง Count Pierre Baruzy ผู้เป็นแชมป์ถึง 11 สมัย ได้พยายามสนับสนุนและรักษากีฬานี้ไว้โดยตั้งเป็นสมาคมเล็กๆ 1 ในสมาชิกนั้นคือ Baron J. Shortt ซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์สมาคม Savate แห่งอังกฤษ ในปี 1992 พวกเขาได้รวม 6 ชาติเข้าเป็นสหพันธ์เดียวกัน และตอนนี้ Savate ได้เริ่มกลับมานิยมอีกครั้งใน 42 ชาติ ในฝรั่งเศสมีผู้ได้รับอนญาตให้เปิดสำนักฝึกสอนถึง 3 แสนคน ประโยชน์ที่ได้รับของการฝึก Savate คือความแข็งแรงของร่างกาย ความยืดหยุ่น การควบคุม ความมั่นใจและความสมดุล
2.คิกบ็อกซิ่ง
คิก บ๊อกซิ่งเป็นกีฬาที่ใช้ศิลปะการป้องกันตัวแบบการชกมวยทั่วไปแต่สามารถ ใช้เท้าเตะได้ด้วย คิกบ
ความคิดเห็น