ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สถานีต่อไป...คณะแพทยศาสตร์ (บทความแนะน้องสอบกสพท.จ้า)

    ลำดับตอนที่ #14 : ร่างแผนที่เดินทาง :: ว่าด้วยการทำตารางอ่านหนังสือ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 38.82K
      39
      25 พ.ค. 54

     อยู่ ๆ ก็อยากทำให้ชื่อตอนมันต่อจากตอนที่แล้ว 555 
    ส่วนวันนี้ (21 มี.ค.) เข้ามาอัพ..ฉลอง 1st official album ของ CNBlue ค่ะ 555 (เพ้อเจ้อ)
    ..
    (เข้าเรื่อง)

    น้อง ๆ เคยได้ยิน/รู้จัก/ทำ "ตารางอ่านหนังสือ" มั้ยคะ ??

    น้องที่เคยทำพี่ก็แสดงค.ยินดีด้วยนะ เพราะนั่นเท่ากับน้องมาถูกทางแล้ว : ))
    ส่วนน้องที่ไม่เคยก็รู้ไว้ซะตอนนี้ยังไม่สายค่ะ !! เพราะสำหรับพี่ พี่คิดว่ามันสำคัญกับพี่มากกก
    (หรือไม่ก็..เพราะพี่จะทำอะไรไม่ค่อยได้ตามเป้าหมายถ้าพี่ไม่เขียนวิธีให้ถึงเป้าหมายนั้น ๆ ให้ชัดด้วยมั้ง ?)


    ตารางอ่านหนังสือ :: มันคืออะไร มีไว้ทำไม??

    น้องบางคนอาจบ่น..แหมพี่เสียเวลา จะมานั่งทำทำไมตารางอ่านหนังสือ..
    พี่ว่า..ยอมเสียเวลาเพียงนิดหน่อย (นิดเดียวจริง ๆ นะ) เพื่อค.มั่นคงในการอ่านหนังสือก็ไม่ใช่เรื่องที่เลวร้ายนะคะ

    ตารางอ่านหนังสือ.. ก็ตามชื่อ มันก็จะบอกเราว่าเวลาไหนอ่านวิชาอะไร เหมือนตารางสอนบอกว่าเวลาไหนเรียนวิชาอะไร

    ส่วนมีไว้ทำไม..
    สำหรับพี่..มันคือไกด์ไลน์สำหรับการอ่านหนังสือชั้นเยี่ยม !
    เหมือนเราได้รู้ว่าอ้อ..มีหนังสือ/เนื้อหานี้ที่เราต้องอ่าน แล้วเราควรอ่านให้จบภายในเมื่อไหร่

    ในขณะเดียวกัน.. หากเราไม่ได้ทำตารางอ่านหนังสือไว้.. เราอ่านจะอ่านหนังสือแบบไร้จุดหมาย ล่องลอยสุด ๆ !!

    เพื่อนพี่คนนึงเคยพูดไว้(ประมาณ)ว่า.. ถึงแม้จะทำตามตารางได้ไม่หมด.. แต่อย่างน้อยเราก็ได้รู้ว่าควรทำอะไรบ้างมากกว่านั่งอ่านแบบชิว ๆ..

    ซึ่งสำหรับพี่..พี่ก็เห็นด้วยนะ : )
    (ยกเว้นประโยคแรก.. ต้องทำให้ได้หมดนะ !!,,)

    แล้วจะเริ่มทำยังไง :: แนะวิธีทำตารางอ่านหนังสือ

    1.) ลิสต์วันที่อ่านหนังสือได้

    เมื่อน้องมีพวก year book ต่าง ๆ แล้ว... สิ่งที่น้องต้องทำอย่างแรกคือ.. mark วันต่าง ๆ ที่น้องคงไม่ได้อ่านหนังสือสอบแน่ ๆ เช่น.. สอบมิดเทอม / ไฟนอล/ GATPAT/ สอบตรง/ กีฬาสี (อย่าวันเที่ยวเชียวละ ! เดี๋ยวกลายเป็นว่าเที่ยวทุกวันไม่ได้อ่านหนังสือ =w=)

    แม้หมอจะไม่ใช้เกรด.. แต่เกรดก็ยังสำคัญนะน้อง.. ในกรณีหากน้องพลาดขึ้นมา (พี่ไม่ได้แช่งนะคะ TT TT" แต่อะไร ๆ มันก็ไม่แน่นอน หากน้องไม่ได้พลาดแต่วันสอบป่วยไม่สบายขึ้นมาละคะ ?) แอดกลางใช้เกรด 20% เชียว !! (ปีน้อง ๆ จะเปลี่ยนอีกรึเปล่าหว่า ? พี่ไม่ได้ติดตามแหะ)

    นอกจากนี้..เกรดยังมีผลต่อพวกรับตรงตามสถาบันต่าง ๆ อีกด้วยนาาา >_< !

    2.)  อ่านอะไรก่อนหลัง ?

    จากนั้นน้องก็ต้องดูว่าต้องอ่านวิชาไหนบ้าง !! แล้วก็ลองจัดเรียงลำดับค.สำคัญดูว่าควรอ่านอะไรก่อนหลัง
    ซึ่งสอบหมอ..มันก็ต้องสอบทุกวิชาแหละเนอะ = = เราก็มาเรียงลำดับค.สำคัญดีกว่า..

    (อ้างอิงจากหนังสือ..อ่านจบก็เก่งเอง-คุณครูสมศรี ธรรมสารโสภณ)

    1. วิชาที่รักมาก และทำได้ดี --(ขยันมากขึ้นคะแนนจะ..) --> ดีขึ้นมาก

    2. วิชาที่รักมาก แต่ทำได้ไม่ดีนัก --(ขยันมากขึ้นคะแนนจะ..) --> ดีขึ้น

    3. วิชาที่รักมาก ทำได้ปานกลาง --(ขยันมากขึ้นคะแนนจะ..) --> ดีขึ้น

    4. วิชาที่เฉย ๆ ทำได้ปานกลาง --(ขยันมากขึ้นคะแนนจะ..) --> พอจะดีขึ้น

    5. วิชาที่เฉย ๆ ทำได้ไม่ค่อยดี --(ขยันมากขึ้นคะแนนจะ..) --> ไม่ดีขึ้น

    6. วิชาที่ไม่ค่อยชอบ ทำได้ไม่ค่อยดี --(ขยันมากขึ้นคะแนนจะ..) --> ไม่ดีขึ้น


    โดยในหนังสือครูแนะนำไว้ว่าให้อ่านไล่จาก 1-6 เพราะจะได้ให้วิชาที่ 1,2,3 ฉุดคะแนนรวมขึ้น ชดเชยคะแนนส่วนที่น่าจะเสียไปของวิชาที่ 5-6
    ซึ่งพี่ว่าวิธีนี้ก็โอเคอยู่เลยทีเดียว

    แต่สำหรับตัวพี่.. พี่จะอ่านจาก 2-3-1 เพราะพี่มั่นใจว่ายังไงวิชา 1 พี่ก็ได้เปรียบคนอื่น ๆ นะคะ
    และในขณะเดียวกัน 2-3 พี่ถือว่าเสียเปรียบเลยก็ว่าได้ พี่เลยนั่งฟิต ๆๆๆ ให้มันได้ใกล้เคียงกับ 1 นี่แหละค่ะ


    3.) ลิสต์เนื้อหา / หนังสือที่เราต้องอ่าน

    ในแต่ละวิชา ก็จะมีเนื้อหาเป็นบท ๆ นั่นใช่มั้ย ?

    สำหรับพี่ พี่จะเขียนเนื้อหาแต่ละบทออกมาก่อนเลย

    เช่นเลข.. พี่ก็จะเขียนไว้
    เซต, ตรรกาศาสตร์, เรขาวิเคราะห์, จำนวนจริง, ตรีโกณ, log, calculus, บลา ๆ ...

    อย่างเล่มแรกที่พี่ทำของเลขคือ hi-ed แยกบท พี่ก็จะเขียน
    ent - เซต, ent-ตรรกาศาสตร์

    จากนั้นก็จะเป็นพวก ent ที่เป็นพ.ศ. พี่ก็จะเขียนไว้ว่าเป็น ent เลข'41, ent เลข'42, บลา ๆ..

    คือพอเราลิสต์มาทั้งหมด แน่นอนตกใจใช่เล่นว่าเห้ย เยอะขนาดนี้เลย TTOTT"
    แต่มันจะเริ่มทำให้เรากระตือรือร้นทางอ้อมนะว่าต้อง 'เริ่ม' อ่านได้แล้ว !

    แต่ถ้ามันเยอะเกินไป ก็อาจลิสต์ไว้สั้น ๆ ว่าต้องอ่านหนังสือเล่มไหนบ้างก็พอนะจ๊ะ : )

    และสาเหตุที่พี่ลิสต์.. เพราะเมื่อพี่ทำเสร็จ พี่จะขีดฆ่าออก(ว่าฉันทำเสร็จแล้ว)ได้อย่างสะใจ วะฮ่ะฮ่า ๆๆ >_<


    4.) ลงปฏิทิน

    ต่อเนื่องจากข้อ 1 ซึ่งการลงปฏิทินนี่มีสองแบบนะจ๊ะ ซึ่งก็แล้วแต่ค.ถนัดของน้อง ๆ อีกเช่นกัน
    ซึ่งพี่จะเปรียบเทียบให้คร่าว ๆ จากการที่พี่เคยลองมาทั้งสองแบบนะคะ =w=b

    1. ลงให้อ่านจบทีละวิชา
    ส่วนใหญ่อันนี้จะเป็นแพลนระยะยาว เช่นน้องเริ่มเดือนพ.ค. น้องอาจจะแพลนว่า..
    พ.ค.- มิ.ย. : เลข
    ก.ค.- ส.ค. : ฟิสิกส์
    บลา ๆ

    ข้อดี
    - เก็บเนื้อหาทีเดียวจบ ละเอียด ครบถ้วน ไม่ค้างคา
    - เนื้อหาไม่ปนกัน จบเป็นเรื่อง ๆ บท ๆ
    - แบกหนักสือไปอ่านที่ไหนก็สบายย หยิบไปแค่วิชาเดียว วิชาที่จะอ่าน : )

    ข้อเสีย
    - อาจลืมเนื้อหาได้... แล้วก็ต้องมาอ่านทวนใหม่..
    แต่ค.จริงมันก็ไม่ใช่ข้อเสียมากเท่าไรนะ เพราะก็ทำให้เนื้อหาเราแน่นขึ้น.. แต่อาจเสียเวลาเล็กน้อย
    - สมมุติเราอ่านชีวะจนปึ้ก แต่เพื่อนมันอ่านเคมีมา แล้วมาคุยโฟ่ว ๆๆ เคมีกันฉอด ๆ ... อาจเกิดอาการจิตตกได้ = = (อันนี้ของพี่เป็นตอนที่พี่ยังไม่อ่านไทยกะสังคม ฮาาา)

    2. ลงให้อ่านทีละหลายวิชา
    ส่วนใหญ่อันนี้จะเป็นแพลนระยะสั้น เช่น ในหนึ่งสัปดาห์ น้องอาจจะแพลนว่า
    วันจันทร์ : เลข
    วันอังคาร : ฟิสิกส์
    บลา ๆ

    หรือ แพลนเป็นเวลาในแต่ละวัน (อันนี้พี่ว่าเวิร์คตอนปิดเทอม ตอนเปิดเทอมกว่าจะกลับบ้าน..เพราะพี่เชื่อว่ายังมีน้องหลายคนเรียนพิเศษอยู่ชัวร์ !)
    9.00-11.00 : เลข
    11.00- 13.00 : ฟิสิกส์
     
    ข้อดี
    - ไม่เบื่อ
    - ไม่ค่อยลืมเนื้อหา (ฟีลว่าไม่ใช่อ่านจบนานแล้ว..แต่ดันลืมแบบนี้อ่าค่ะ)
    - ถ้าเวลาอ่านหนังสือกับเพื่อน ก็จะไม่ดาวน์มาก แบบอย่างน้อยฉันก็มีค.รู้ตรงนี้นะ ๆๆ (แต่อาจจะยังไม่ละเอียด เพราะอ่านยังไม่จบ)

    ข้อเสีย
    - เนื้อหาอาจปนกันด้วยความเมาส่วนตัว และหลากหลายเหตุผล
    - แบกหนังสือไปอ่านหนักมากกก 555 (แต่ยังไงพี่ก็ใช้วิธีนี้..สุดท้ายพี่เลยยอมตัดหนังสืออ่าค่ะ = =)

    ซึ่งระหว่างนี้.. พี่ว่าน้องก็อาจลองใช้เวลาดูว่าตัวเองถนัดแบบไหน แล้วเลือกอ่านให้เหมาะสมกับตัวเองที่สุดดีกว่าค่ะ : D
    บางที..น้อง ๆ อาจมีวิธีการอ่านอื่น ๆ ที่ดีกว่านี้ และดีที่สุดต่อตัวน้องด้วยก็ได้ ^ ^ เพราะทุกสิ่งที่พี่เขียนลงบทความ เป็นการเล่าประสบการณ์ของพี่ เผื่อเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ให้น้องได้ค่ะ : D

    และแล้วก็มาถึงขั้นตอนสุดท้าย.. สำคัญที่สุดแล้วค่ะน้อง ๆ =w=

    5.) อ่านหนังสือตามแพลนนั้น !!

    ถึงทำตารางมาซะดิบดี แต่ถ้าไม่ทำตามก็ไร้ความหมายนะคะ =_= อันนี้พี่ขอออ !!

    ทิ้งท้ายย : )

    พี่แนะนำว่า..ควรเผื่อวันไว้ด้วยนะ อย่างพี่พี่จะเผื่อไว้สัก 2-3 วัน เผื่อวันไหนไม่ได้อ่าน ไม่สบาย บลา ๆ

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับน้อง ๆ ทุกคนค่า ^ ^

    ปอริ่ง โทษนะจ๊ะ นานไปหน่อย =____="

    โปโปริ่ง มาแปะเพิ่ม.. ตารางอ่านหนังสือของพี่เองจ้า : D

    อันนี้แพลนระยะยาวทั้งปีเลย พี่มาร์คไว้ว่ามีสอบอะไรตอนไหน แล้วก็กะคร่าว ๆ ว่าตั้งใจจะอ่านเนื้อหานี้ให้จบภายในเดือนนี้ ๆ
     

    ต่อมาก็แพลนต่อ 1 เดือน (ส่วนใหญ่พี่ใช้อันนี้นี่แหละ ขีดฆ่าสะใจมาก ฮ่า ๆ)
    เป็นตอนโค้งสุดท้ายก่อนค.ถนัด และวิชาสามัญ

      


    ส่วนอันสุดท้าย..ก็ตารางเวลานั่นเอง.. อย่างของพี่พี่แค่ใช้แบ่งว่า พี่อ่าน 2 ชม. พัก 10 นาที
    และแต่ละ 2 ชม.นั้นอ่านวิชาอะไร

    จากนั้นพี่ก็จะลงว่า วันนี้อ่านอันไหนไปบ้าง/ทำแบบฝึกหัดไหนไปบ้าง ในหน้าที่เป็นแพลนเดือน แล้วก็..เมื่อทำเสร็จ
    ขีดฆ่าอย่างสะใจค่ะ ฮ่า ๆๆๆ >___< (ต้องขีดออกมันมีค.สุขจริง ๆ นะ !)

    น่าจะพอเป็นแนวทางได้แหละ....มั้งเนอะ ? : ))

    (อันนี้เป็นตอนโค้งสุดท้ายก่อนค.ถนัดแพทย์ค่ะ)
     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×