คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #11 : เตรียมสอบวิชาสามัญ --> สังคม (100%) by พี่ยุ้ย
คราวนี้..ก็มีเกสพิเศษมาให้น้อง ๆ อีกแล้ว >___<//
คนนี้คือ พี่ยุ้ย ! เพื่อนสนิทพี่เอง ซึ่งเมพสังคมมากกก ถึงมากที่สุด (น้องสามารถพิสูจน์ค.เมพพี่เค้าได้จากป.ล.ด้านล่าง) ไม่พูดพร่ำทำเพลง ไปตามอ่านเลยจ้า : ))
สวัสดีจ้า น้องๆที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ : )
พี่ชื่อพี่ยุ้ยนะคะ ชื่อจริงไม่ต้องบอกแล้วกันเนอะ...ตอนนี้พี่อยู่ชั้นปีที่ 1 ที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจ๊ะ พี่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ส่วนคะแนนตอนสอบเข้าหมอ...........แหะๆ พี่ไม่อยากบอกนะ.....เอาเป็นว่าคะแนนมันก็ไปวัดไปวาได้และทำให้พี่ติดศิริราชอย่างค่อนข้างสบายแหละจ้า
สำหรับตัวพี่เอง...วิชาที่พี่ตั้งความหวังว่าจะช่วยฉุดคะแนนขึ้นเลยนั้นก็คือไทย สังคม อังกฤษ.. อาจเป็นเพราะพี่โชคดีที่พี่ค่อนข้างชอบวิชาพวกนี้ในขณะที่หลายๆคนไม่ค่อยชอบก็ได้เนอะ.. เพราะฉะนั้นสำหรับตัวพี่เอง...คะแนนสามวิชานี้ถือว่าน่าพอใจทีเดียว.... เพราะงั้น ในวันนี้พี่เลยอยากจะมาแนะนำน้องๆเกี่ยวกับหนึ่งในวิชาที่พี่ถนัดจ๊ะ... นั่นก็คือวิชาสังคมนั่นเอง : )
วิชาสังคม...... ถือเป็นหนึ่งในวิชาที่น้องๆหลายคนอาจจะไม่ได้ให้ความสนใจมากนักเป็นลำดับต้นๆ เพราะคิดว่ามันค่อนข้างเป็นเรื่องใกล้ตัว.. ไม่ถนัด..หรืออะไรก็แล้วแต่... แต่ว่าจริงๆแล้ว วิชานี้ถือเป็นอีกวิชานึงที่สำคัญมากๆ เลยนะโดยเฉพาะกับน้องๆที่จะสอบกสพท. เพราะว่าถือเป็นวิชาที่มีสอบและมีการคิดคะแนนตั้ง 7 % แหนะ...
7 % นี้...จะว่ามาก..ก็มาก..เพราะอย่างที่รู้กันว่าในสนามสอบแข่งขันกันจริงๆนั้น..คะแนนแค่เพียงจุดทศนิยมก็สามารถเปลี่ยนแปลงอนาคตของคนเราได้เลย...
จะว่าน้อย..ก็น้อย.. เพราะว่าถ้าเทียบกับวิทย์หรือเลขและอังกฤษแล้ว..มันก็น้อยกว่าจริงล่ะนะ..
เอาเป็นว่าวันนี้พี่เลยมีคำแนะนำสำหรับน้องๆที่อยากจะเก็บคะแนน 7% สักเล็กน้อยจ้า.....ไม่รับประกันผลสำเร็จ...แต่พี่ก็เชื่อว่ามันน่าจะดีกว่าน้องทิ้งไปเลยนะ : )
เข้าใจตัววิชากันก่อน...
วิชาสังคมจะมีแย่งเป็น 5 พาร์ทย่อยๆ ซึ่งแต่ละพาร์ทก็จะต้องมีออกข้อสอบทุกปีเป็นปกติ (สังเกตได้จากโอเน็ตและข้อสอบเก่าๆ) จำนวนข้อมากน้อยอาจเปลี่ยนไปบ้างแต่ว่ายังไงทุกปีต้องมีแน่นอนนั่นคือ
1. พระพุทธศาสนา และศาสนาอื่นๆ
ตรงๆเลยนั่นก็คือเรื่องของศาสนา...ส่วนใหญ่ข้อสอบในส่วนนี้มักออกแนวถามเรื่องความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างศาสนา หลักคำสอนหลักๆของแต่ละศาสนา มักจะออกแต่เรื่องๆหลักๆนะ.. แต่ถ้าพระพุทธศาสนาอาจมีเรื่องพุทธศาสนสุภาษิตหรือประวัติพุทธสาวกสาวิกาด้วย... เพราะงั้นจริงๆแล้วถ้าเข้าใจและจำ main idea หลักๆของแต่ละศาสนาได้ก็น่าจะทำข้อสอบได้จ๊ะ
2. หน้าที่พลเมือง
เป็นเรื่องของสองส่วนหลักๆนั่นก็คือรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์จ๊ะ... ในส่วนของรัฐศาสตร์จะเป็นเรื่องของรัฐ ลักษณะการเมืองการปกครอง ส่วนของนิติศาสตร์ก็จะเป็นเรื่องของกฎหมายล้วนๆเลย.. มีตั้งแต่ลำดับชั้นของกฎหมาย ประเภทของกฎหมาย และเหตุการณ์สมมติที่ถามบทลงโทษหรืออะไรประมาณนี้.... ในส่วนนี้พี่ว่าที่น่าจะเก็บคะแนนได้ง่ายหน่อยน่าจะเป็นรัฐศาสตร์ ในส่วนของนิติศาสตร์ที่เป็นเรื่องของกฎหมายกับสถานการณ์สมมติพี่ว่าบางทีก็แอบแล้วแต่ดวงนะ... เราไม่ใช่นักกฎหมายสักหน่อยนี่นะที่จะรู้ทุกมาตรา..จริงมั้ย? : )
3. เศรษฐศาสตร์
หลักก็เรื่องประเภทของระบบเศรษฐกิจ ข้อแตกต่าง เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น demand supply บัญชี การคลัง อะไรประมาณนี้.... รายละเอียดค่อนข้างมีเยอะ และเวลาออกข้อสอบก็มักจะวนๆไปในแต่ละเรื่อง..แต่เรื่องที่ออกมากสุดก็น่าจะเป็นถามเรื่อง demand supply เช่นถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นอะไรจะเกิดขึ้นและอาจจะมีช้อยส์บอกว่าอุปทานส่วนเกินเพิ่มขึ้น อุปสงค์ต่อสินค้าลดลงเป็นต้น
4. ประวัติศาสตร์
เป็นเรื่องที่มีเนื้อหารายละเอียดเยอะที่สุดสำหรับวิชาสังคมนะถ้าถามพี่... หลักๆก็จะมีแยกประวัติศาสตร์ไทยกับสากล.. แล้วแต่ข้อสอบว่าจะแบ่งจำนวนข้อสอบของทั้งสองส่วนยังไง... มักไม่ตายตัว เช่นในข้อสอบปีพี่ (เท่าที่จำได้และไม่แน่ใจว่าโอเน็ตหรือกสพท.) รู้สึกว่าออกประวัติศาสตร์ไทยเยอะกว่าสากล อย่างน้อยในเรื่องนี้น้องควรจะจำเรื่องหลักๆ เหตุการณ์หลักๆไล่ลงไปได้.. เช่นถ้าประวัติศาสตร์ไทยก็ในสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ เป็นยังไงบ้าง มีอะไรใหม่เกิดขึ้นและอะไรที่สำคัญในแต่ละยุค.. ลองลิสต์ลงมาก็จะช่วยให้เราเห็นเนื้อหาหลักๆของเรื่องได้มากขึ้นนะ ส่วนถ้าเป็นประวัติศาสตร์สากลก็เหมือนกัน..ไล่ไปทีละยุค ยุคหิน โลหะ ประวัติศาสตร์ กรีก โรมัน ยุคกลาง renaissance , พวกปฏิวัติต่างๆ ไล่ลำดับก่อนหลังให้ดีว่าอันไหนเกิดก่อนอันไหนเกิดหลังจะทำให้ไม่สับสนจ๊ะ
ข้อสอบในเรื่องนี้ออกได้ครอบจักรวาล... เพราะงั้นก็พยายามแล้วกันนะ แต่ถ้าจำก่อนหลังและจุดเด่นๆของแต่ละอันได้ก็น่าจะช่วยได้เยอะเลยจ๊ะ
5. ภูมิศาสตร์
ก็เริ่มต้นที่แผนที่ ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สนธิสัญญาข้อตกลงระหว่างประเทศ วันสำคัญ เนื้อหาออกค่อนข้าง...บอกไม่ถูกแหะ.. แต่ว่าก็ออกตามเรื่องหลักๆนี้แหละจ้า (พี่ขอโทษทีจำไม่ค่อยได้เหมือนกัน)
สำหรับวิธีการเตรียมตัว............................
กรณีที่ 1 : หนูยังมีเวลาเตรียมตัวอีกเยอะ! : )
เคสนี้นี่พี่ขอแนะนำให้อ่านเก็บไปเรื่อยๆนะ... เพราะว่าจริงๆแล้วคนที่ทำวิชาสังคมได้คะแนนดีๆส่วนใหญ่จะเป็นคนประเภทที่ว่าสนใจข่าวสารรอบตัว ชอบอ่าน...โดยเฉพาะอย่างประวัติศาสตร์นี้ถ้าน้องอ่านเก็บมาเรื่อยๆจะรู้สึกว่าจำเนื้อหาได้เยอะขึ้นมากเลยจ๊ะ รวมถึงสรุปในพาร์ทอื่นๆ ด้วย แนะนำให้ฟังข่าวเยอะๆ เพราะบางทีคนออกข้อสอบเค้าก็เอามาจากข่าวแหละ (โดยเฉพาะข้อสอบสมาร์ทวันพาร์ทความรู้รอบตัว..เอามาจากข่าวเยอะมาก!) ถ้ามีเวลามากหน่อยก็ลองไล่ทำแบบฝึกหัดไปทีละบทเลยก็ได้จ๊ะ..เนื้อหาจะได้แน่นๆ อย่าลืมนั่งทำสรุปความรู้ของแต่ละเรื่องนะ...มันจะทำให้เราได้ทบทวนด้วยว่าตกลงเราเข้าใจเรื่องนี้จริงๆรึเปล่าและยังมีเรื่องไหนอีกมั้ยที่ตกหล่นไปจ๊ะ และที่สำคัญ..อย่างลืมทำข้อสอบเก่า.. ข้อสอบเอนท์เก่า 15 พ.ศ. จะช่วยทบทวนเราได้เยอะและทำให้เราพอจะรู้แนวข้อสอบ (ที่ตอนนี้น่าจะเป็นโอเน็ต) ด้วยจ๊ะ
กรณีที่ 2 :หนูอ่านหมดไม่ทันแล้ว ไฟลนก้น! : )
อันนี้ถ้าให้พี่แนะนำก็..อาจจะต้องหาที่เรียนพิเศษที่สรุปๆสักคอร์สนึง.. หรือไม่งั้นก็หาหนังสือสรุปมาอ่านและพยายามทำ short note ของตัวเองออกมาที่มี main idea ของแต่ละเรื่อง.. และที่ขาดไม่ได้ก็คือการทำข้อสอบเก่าจ๊ะ....
ลักษณะข้อสอบ.. (เท่าที่พี่จำได้ละกันนะ)
หมายเหตุ : ออกตัวไว้ก่อนว่าทั้งหมดมาจากเศษความทรงจำที่เหลืออยู่น้อยนิดของพี่..เพราะงั้น..มันอาจจะจริงบ้างไม่จริงบ้างก็ขอโทษไว้ก่อนนะจ๊ะ : )
กสพท. : ออกลึกมาก! สำหรับปีพี่นะ... มีข้อสอบทั้งหมดประมาณ 50 ข้อ choice หมด คะแนนเต็ม 100 คะแนน ออกหมดทั้ง 5 เรื่องหลักแต่เท่าที่จำได้มักจะออกเรื่องที่....อยู่ในซอกลืบพอสมควร (โดยเฉพาะประวัติศาสตร์เท่าที่จำได้นะ) แต่ก็ไม่ได้ขนาดนั้นทุกข้อ..บางข้อก็เป็นความเข้าใจ...ระดับความยากนี่พี่ว่ายากกว่าข้อสอบเอนท์ 15 พ.ศ. ที่เคยทำมาและแน่นอน..พี่ว่ายากกว่าโอเน็ต!
(กสพท. ปีแรก (2553) รุ่นพี่บอกว่าลักษณะข้อสอบค่อนข้างเหมือนข้อสอบเอนท์เก่านะ... เพราะงั้นปีนั้นไม่ยากมากจ๊ะ)
โอเน็ต : ลักษณะข้อสอบมีรูปแบบคล้ายข้อสอบ 15 พ.ศ. แต่ว่ามีแยกเป็นสองพาร์ทย่อยๆคือพาร์ทแรกมีคำตอบเดียว ส่วนอีกพาร์ทนึงมีสองคำตอบ ถ้าตอบถูก 1 ข้อก็ได้ ครึ่งนึงจ๊ะ และแต่ละพาร์ทก็มีเนื้อหาทั้ง 5 ส่วนครบเลยล่ะ : ) โดยส่วนตัวคิดว่าพาร์ทตัวเลือกเดียวแอบยากนะ.. สองตัวเลือกโอเคกว่าจ๊ะ แต่ว่า...ก็นั่นแหละ...ข้อสอบโดยรวม “ลักษณะ” คล้ายข้อสอบเก่าคือแยกให้เห็นเลยว่าตอนนี้กำลังพูดถึงศาสนาอยู่ จะไม่เอามาปนระหว่างเรื่องเหมือนของกสพท.
ทิ้งท้ายสักเล็กน้อย.............
ถ้าเกิดว่าน้องกำลังจะสอบกสพท. และน้องรู้สึกอยากจะทิ้งวิชาใดวิชาหนึ่ง...พี่ไม่อยากให้น้องทิ้งนะ.. อ่านผ่านๆก็ยังดี...เพราะว่าเราไมม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าปีนี้ข้อสอบจะเป็นยังไง เพราะงั้น ทำให้เต็มที่ดีกว่านะ : ) ทุกคะแนนมีความหมายจริงๆ จ๊ะ
สุดท้าย..ขอให้น้องๆทุกคนโชคดี สมหวังสอบติดคณะที่อยากเข้าจ๊ะ
ปล. พี่ได้คะแนนสังคมตอนกสพท. 82.00 และตอนโอเน็ต 81.50 จ๊ะ : ) และพี่เชื่อว่าน้องๆก็ทำได้เหมือนกัน เย้! : )
พี่แอบเพิ่มเติมนะ : )
สำหรับน้องที่อยู่ในกรณี 2 ที่พี่ยุ้ยยกตัวอย่างมา (แบบพี่นั่นเอง =v=)
สำหรับกสพท.ที่ผ่านมา คะแนนสังคมพี่ถือว่าเกินคาดพี่มาก ๆ เพราะพี่ได้ตัวช่วย..
หนึ่งคือชีทจากพี่ยุ้ยนี่แหละ และจากเพื่อนพี่อีกคน.. ซึ่งมันจะมีหนังสือเล่มเล็ก ๆ ของครูป๊อป กับชีทที่เค้าแจกในสักคอร์สซึ่งมัน ‘เมพ’ มากกกกกกกกกกกกกกกกกก
และที่พี่บอกว่ามันเมพไม่ใช่อะไร... เพราะพี่อ่านเล่มแดง กับ ชินคันเซงจบแบบมึน ๆ จำได้ไม่หมด จำได้แค่บางอย่าง อย่างประวัติศาสตร์นี่..โอ้ยยย อย่าพูดถึง ไม่มีในสมองเล้ย 5555
แต่คือหลายจุดที่ครูป๊อปเค้าเน้นไว้ในนั้นมันออกในข้อสอบกสพท.แบบ เด๊ะ เด๊ะ เด๊ะ !! จนพี่ออกมาจากห้องสอบแล้วเช็คว่ามันมีอยู่มั้ย แล้วก็มีจริง ๆ จนกรี๊ดลั่น 555
เลยแอบกระซิบ(?) ว่าถ้าอ่านทวนทั้งหมดแล้ว หาพวกนี้มาอ่านเพิ่มได้จะดีมากจ๊ะ : ))
ป.ล. สังคมกสพท.พี่ได้ 62 o-net 67
ไทยกสพท. พี่ 58 o-net 76 (งง ๆ อยู่..สูงเกินระดับค.สามารถพี่ 555)
คงเป็นเหตุผลเพียงพอว่าทำไมพี่ไม่ยอมอัพสองบทนี้สักทีเนอะ T T” ?? ค.สามารถพี่ง่อยเกินไป 555
ป.ล.ล. ..
เตรียมพบกับ งานที่อลังที่สุด @ ศาลายา เร็ว ๆ นี้..
H A I L N I G H T * 2 0 1 2
(ตอนนี้อยู่ในช่วงโปรโมชั่นค่ะ 555)
ความคิดเห็น