คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #6 : เตรียมสอบวิชาสามัญ --> ฟิสิกส์
มาแล้ว ๆ กับวิชาฟิสิกส์ : D !
LET'S TALK
มาถึงวิชาฟิสิกส์บ้าง : ))
ฟิสิกส์เนี่ย มันก็เป็นวิชาที่คำนวนเยอะเหมือนกันแหละนะ (น้องที่ไม่ชอบคำนวนต้องสู้หน่อยละ !)
แต่เอาจริง ๆ ฟิสิกส์ (และวิทย์อื่น ๆ) มันก็เรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวเราเนี่ยแหละน้าา
การเรียนวิชาวิทย์ จึงทำให้เราเข้าใจสาเหตุต่าง ๆ ของธรรมชาติได้ไงละ : )
โดยสำหรับวิชาฟิสิกส์เนี่ย.. เมื่อเทียบกับชีวะ และเคมี เนื้อหาการจำนั้นน้อยกว่ามากก
หลายคนอาจแบบว่า.. "โหยพี่ จำสูตรก็ทำได้ละ"
แต่สำหรับพี่.. เราก็ควรเข้าใจ concept และที่มาของสูตรนั้น ๆ ด้วย... มิฉะนั้นอาจโดนหลอกไม่รู้ตัว : P
(เพราะฟิสิกส์สูตรยิบย่อยเยอะมากกกกก)
PREPARATION !!
สำหรับพี่ พี่เริ่มอ่านฟิสิกส์ถัดจากเลขนี่แหละ เพราะมันต้องอาศัยทำโจทย์ฝึกฝนไปเรื่อย ๆ คล้าย ๆ กับเลข
และพี่ก็ขอแบ่งเป็น 3 step เหมือนเดิมน้า : ))
> อย่างที่พี่เน้นไปตอนต้น.. วิชาฟิสิกส์เนี่ย เน้นเข้าใจ concept
ฉะนั้น ถ้าเวลาเราอ่านเนื้อหา/ทฤษฏีต่าง ๆ ขอให้อ่านด้วยความเข้าใจที่มาของสูตรนั้น ๆ
รวมถึง... รู้ที่มาของสูตรลัด (ซึ่งมีเยอะแยะยิบย่อย =*=) และพิสูจน์ได้ว่ามันมายังไง เพราะไม่งั้นน้องอาจโดนหลอกด้วยเรื่องเล็ก ๆ
เช่น..
สูตรลัดของการคิดรถวิ่งบนพื้นเอียง
(รูปสวยมั้ยย?? 555)
ซึ่งจากรูปเนี้ย..จะได้สูตรลัดว่า.. tanϴ = v^2 / Rg (v - อัตราเร็ว, R- รัศมีค.โค้งถนน)
(พี่ทำสูตรใน word แล้วอะ แต่พอก๊อปมาวาง มันไม่ขึ้น แงแง T_T)
แต่ถ้าสมมุติเราจำแค่สูตรไป ลืมจำว่ามุม ϴ ต้องเป็นดังรูป แล้วเกิดโจทย์หลอกขึ้นมา เช่น ให้มุม ϴ ตรงด้านบนมา และเราเข้าใจมันว่ามันคือมุม ϴ ที่แทนในสูตรได้... ผลลัพธ์น่ะเหรอ... เสียคะแนนแล้วไงค่ะ =w=
เราก็ต้องรู้ที่มาสูตรลัดนี้ว่า มาจากสองสมการคือ..
1.) F = mv^2 / R (การเคลื่อนที่เป็นวงกลม)
2.) F = 0 (สมดุล)
จะได้..
1.) Nsinϴ = mv^2 / R
2.) Ncosϴ = mg
เอา 1.) หารด้วย 2.)
จะได้ tanϴ = v^2 / Rg นี่แหละค่า : ))
> เมื่อเราอ่านจนเข้าใจทุกบทแล้ว.. สังเกตดี ๆ ว่าแต่ละบท สูตรมันจะเชื่อมกันอยู่นะ !!
ตัวอย่างที่เจอบ่อย คือ..เรื่องของฟิสิกส์อะตอม
ก่อนหน้านี้เราเคยเจอสูตร F=mv^2/R แล้วเนอะ (แรงสู่ศูนย์กลางการเคลื่อนที่วงกลม)
พอมาฟิสิกส์อะตอม.. เวลาอนุภาคเคลื่อนเข้าสนามแม่เหล็กไฟฟ้า จะมีแรงกระทำ F=qvB
เอ๊ะ ๆ มันก็ F เหมือนกัน !! แปลว่า สองสูตรนี้มันเข้ากันได้ค่ะ
ก็จะได้ว่า qvB=mv^2/R นี่แหละค่าา (เจอบ่อยม้ากกมาก > <)
> step สุดท้าย ที่ขาดไม่ได้คือ.. ฝึกฝนวิทยายุทธนี่แหละค่ะ
ถึงน้องจะแม่นทฤษฏีแค่ไหน แต่..หากไม่ได้ฝึกฝนการประยุกต์มาใช้กับโจทย์ปัญหา
มันก็เหมือนกับไร้ผลนั่นแหละค่ะ
ฉะนั้นน้องก็ต้องฝึกทำโจทย์เยอะ ๆ (ไม่แพ้วิชาเลข) เลยน้า !!
RECOMMENDED BOOKS !!
สำหรับน้องที่เวลาว่างงงงงงเยอะมาก (อยู่ม.4/5)
หรือไม่ก็น้องที่ถึกฝึกฝนวิทยายุทธ..(คือขยันมวาากกก)
- ตะลุยโจทย์ ฟิสิกส์ ม.4-5-6 entrance PAT2 - นิรันดร์ สุวรัตน์ : พ.ศ.พัฒนา
(เป็นโจทย์แยกบทจ๊ะ เพื่อนพี่หลายคนแนะนำอยู่ ^^)
หรือว่า.. ถ้าไม่ทันจริง ๆ (เพราะมันเยอะมากก เล่มหนาแอ้ก ฟาดหัวตายได้อะ = =)
- ตะลุยคลังข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ฟิสิกส์ : Hi-ed (ประมาณ 25-40 ข้อ/บทจ๊ะ)
(พี่ทำเล่มนี้ละ มรดกตกทอดอีกเช่นเคย เลยไม่ได้ซื้อใหม่ = =)
แล้วก็สำหรับฝึกวิทยายุทธทำข้อสอบ... ก็ใช้ของสำนักพิมพ์ไหนก็ได้จ๊ะ แล้วแต่ชอบเลย : )
แต่ของพี่ พี่ใช้พ.ศ.พัฒนา ของ จักรินทร์..
เหตุผลคือ... หนังสือสืบทอดมาจากพี่ชายของพี่ค่ะ =w=b (ไม่ต้องซื้อใหม่นั่นเอง ฮาา)
สำหรับหนังสืออ้างอิง เวลาน้องลืมเนื้อหา / สูตรใด ๆ
ที่พี่แนะนำก็คือ..
- หนังสือเล่มเล็ก ๆ ของ neo physics center นี่แหละจ๊ะ
ถ้าน้องคนไหนที่ไม่ได้เรียน.. ก็ลองติดต่อซื้อได้นะ : ) (น่าจะประมาณ 200 บาท..ปะ..พี่อาศัยยืมเพื่อนอ่านประจำ ฮา)
หรือไม่ก็.. อาจจะเป็นเล่มสรุปเล็ก ๆ ของสนพ.ไหนก็ได้แหละ : D
อย่างพี่.. พี่ได้
- MINI คัมภีร์ฟิสิกส์ a-net entrance ม.4-5-6 - นิรันดร์ สุวรัตน์ : พ.ศ.พัฒนา
ตกทอดมา ก็เลยใช้เล่มนี้
ก็..นอกจากเล่มนี้จะมีอธิบายทฤษฏี ก็มีโจทย์แทรก ๆ บ้าง ทำให้ได้ฝึกบ้างจ้า : )
(ทำไมรู้สึกฟิสิกส์ที่พี่ใช้มีแต่ของพศ. ? 555)
ย้ำอีกรอบคือ..
ต้องฝึกฝนคำนวนอยู่บ่อย ๆ น้าาา > <"
วิชาคำนวน มันเป็นวิชาเก็บสะสม ยิ่งทำก็ยิ่งแม่น ยิ่งรู้แนว วิธีคิดที่เร็ว และถูกต้อง
เพราะการทำข้อสอบเนี่ย.. นอกจากตัดกันที่ความถูกต้องแล้ว.. ยังตัดกันที่เวลาอีกด้วยนะคะ !!
สู้ ๆ ค่าา : ))
ป.ล.มานั่งดูไปดูมา รู้สึกตัวเองทำโจทย์ฟิสิกส์น้อยมาก ๆ T T สมควรกับตอนสอบวิทย์ละ แง..
ป.ล.ล. จะให้เพิ่มเนื้อหาอะไรบอกได้นะค้าาา : ))
ความคิดเห็น