ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โลก ดวงดาว และดาราศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #4 : ประเทศไทยกับปรากฏการณ์แผ่นดินไหว

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 10.83K
      3
      22 ก.พ. 50


    ประเทศไทยกับปรากฏการณ์แผ่นดินไหว

    แผ่นดินไหวคืออะไร

    แผ่นดินไหว  เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อชีวิต และทรัพย์สินของมนุษย์ได้เป็นบริเวณกว้าง เชื่อกันว่าทุกประเทศได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ปัจจุบันพบว่ามีความพยายามอย่างมากในหลายประเทศ ซึ่งได้รับอันตรายจากแผ่นดินไหว ศึกษา และทำความเข้าใจถึงกลไกของการเกิดแผ่นดินไหว เพื่อการพยากรณ์แผ่นดินไหว และทำนายเหตุการณ์ว่า จะเกิดขึ้นเมื่อใด? ที่ไหน? ขนาดเท่าใด? แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้น ขณะนี้จึงยังไม่มีผู้ใดสามารถ พยากรณ์แผ่นดินไหวได้อย่างถูกต้อง โดยทั่วไปสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเผชิญภัยแผ่นดินไหว คือการเตรียมพร้อมที่ดี แต่ละประเทศควรมีมาตรการในการป้องกัน และบรรเทาภัยแผ่นดินไหวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับธรรมชาติของแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว รอยเลื่อนต่าง ๆ ให้ความรู้ และข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหวต่อประชาชน ให้มีการแบ่งเขตแผ่นดินไหวตามความเหมาะสมของความเสี่ยงภัย ออกกฎหมายให้อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ สามารถรับแรงแผ่นดินไหวตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่เสี่ยงภัย มีการวางแผนการจัดการที่ดี หากเกิดความเสียหายร้ายแรงหลังการเกิดแผ่นดินไหว เป็นต้น ในกรณีของประเทศไทย แม้ว่าตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิประเทศ จะอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวต่ำ แต่เพื่อความไม่ประมาท กรมอุตุนิยมวิทยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเสริมมาตรการข้างต้นโดยมีภารกิจในการตรวจวัดแผ่นดินไหวตลอด 24 ชั่วโมง แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศเป็นประจำ ตลอดจนวางแผนจัดตั้งโครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสาธารณชนได้

                     แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดจากการเคลื่อนตัวโดยฉับพลันของเปลือกโลก ส่วนใหญ่ แผ่นดินไหวมักเกิดตรงบริเวณขอบ ของแผ่นเปลือกโลกเป็นแนวแผ่นดินไหวของโลก การเคลื่อนตัวดังกล่าว เกิดขึ้นเนื่องจากชั้นหินหลอมละลาย ที่อยู่ภายใต้เปลือกโลก ได้รับพลังงานความร้อนจากแกนโลก และลอยตัวผลักดันให้เปลือกโลกตอนบนตลอดเวลา ทำให้เปลือกโลกแต่ละชิ้นมีการเคลื่อนที่ในทิศทางต่าง ๆ กันพร้อมกับสะสมพลังงานไว้ภายใน บริเวณขอบของชิ้นเปลือกโลกจึงเป็นส่วนที่ชนกันเสียดสีกัน หรือแยกจากกัน หากบริเวณขอบของชิ้นเปลือกโลกใด ๆ ไม่ผ่านหรืออยู่ใกล้กับประเทศใดประเทศนั้น ก็จะมีความเสี่ยงต่อภัยแผ่นดินไหวสูง เช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอินโดนีเซีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น นอกจากนั้นพลังที่สะสมในเปลือกโลก ถูกส่งผ่านไปยังเปลือกโลกพื้นของทวีป ตรงบริเวณรอยร้าวของหินใต้พื้นโลกหรือที่เรียกว่า "รอยเลื่อน" เมื่อระนาบ รอยร้าวที่ประกบกันอยู่ได้รับแรงอัดมาก ๆ ก็จะทำ ให้รอยเลื่อนมีการเคลื่อนตัวอย่างฉับพลันเกิดเป็น แผ่นดินไหวเช่นเดียวกัน

    แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวหรือบริเวณตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะอยู่ตรงบริเวณ

    ¨     แนวแผ่นดินไหวของโลก ตรงบริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลก ในกรณีของประเทศไทย แนว แผ่นดินไหวโลกที่ใกล้ ๆ ได้แก่ แนวในมหาสมุทรอินเดีย สุมาตรา และ ประเทศพม่า

    ¨     แนวรอยเลื่อนต่าง ๆ ในกรณีประเทศไทย ได้แก่ แนวรอยเลื่อนในประเทศเพื่อนบ้าน พม่า จีนตอนใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

    ¨     บริเวณที่มนุษย์มีกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหว เช่น เหมือง เขื่อน บ่อน้ำมัน เป็นต้น

    แนวรอยเลื่อนภายในประเทศซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ และภาคตะวันตก แสดงดังรูป ที่น่าสังเกต คือ แนวรอยเลื่อนบางแห่งเท่านั้นมีความสัมพันธ์กับเกิดแผ่นดินไหว เช่น รอยเลื่อนแพร่ รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และ รอยเลื่อนระนอง เป็นต้น

    รอยเลื่อนมีพลังบริเวณประเทศไทย

     

    1. รอยเลื่อนเชียงแสน
         รอยเลื่อนนี้วางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบนสุดของประเทศ มีความยาวประมาณ 130 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นจากแนวร่องน้ำแม่จันไปทางทิศตะวันออก ผ่านอำเภอแม่จัน แล้วตัดข้ามด้านใต้ของอำเภอเชียงแสนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวลำน้ำเงิน ทางด้านเหนือของอำเภอเชียงของ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดที่วัดได้ตามแนวรอยเลื่อนนี้ เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2521 มี ขนาด 4.9 ริคเตอร์ ตั้งแต่ ปี พ.. 2521 มีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่กว่า 3 ริคเตอร์ เกิดตามแนว รอยเลื่อนนี้ 10 ครั้ง และ 3 ครั้งมีขนาดใหญ่กว่า 4.5 ริคเตอร์ แผ่นดินไหวทั้งหมดเป็นแผ่นดินไหว ที่เกิดในระดับตื้นกว่า 10 กิโลเมตร

    2. รอยเลื่อนแพร่
          รอยเลื่อนนี้อยู่ทางด้านตะวันออกของแอ่งแพร่ และวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเริ่มต้นจากด้านตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอ เด่นชัย ผ่านไปทางด้านตะวันออกของอำเภอสูงเม่น และจังหวัดแพร่ ไปจนถึงด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอร้องกวาง รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 115 กิโลเมตร มีแผ่นดินไหวขนาด 3-4 ริคเตอร์ เกิดตามแนวรอยเลื่อนนี้กว่า 20 ครั้ง ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ส่วนแผ่น ดินไหวขนาด 3 ริคเตอร์ ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2533 ที่ผ่านมา เกิดตามแนวรอยเลื่อน ซึ่งแยกจากรอยเลื่อนแพร่ไปทางทิศเหนือ

    3. รอยเลื่อนแม่ทา
         รอยเลื่อนนี้มีแนวเป็นรูปโค้งตามแนวลำน้ำแม่วอง และแนวลำน้ำแม่ทาในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 55 กิโลเมตร จากการศึกษาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (2523) พบว่า ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนของการศึกษาในปี พ.. 2521 มีแผ่นดินไหวขนาดเล็กเกิด ในระดับตื้นอยู่มากมายในบริเวณรอยเลื่อนนี้

    4. รอยเลื่อนเถิน
         รอยเลื่อนเถินอยู่ทางทิศตะตกของรอยเลื่อนแพร่ โดยตั้งต้นจากด้านตะวันตกของอำเภอเถินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ขนานกับรอยเลื่อนแพร่ไปทางด้านเหนือ ของอำเภอเถินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือขนานกับรอยเลื่อนแพร่ ไปทางด้านเหนือของอำเภอวังชื้น และอำเภอลอง รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 90 กิโลเมตร เคยมีรายงานการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.7 ริคเตอร์ บนรอยเลื่อนนี้ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2521

    5. รอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี
        
    รอยเลื่อนนี้วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ ตั้งต้นจากลำน้ำเมยชายเขตแดนพม่ามาต่อกับห้วยแม่ท้อ และลำน้ำปิงใต้จังหวัดตาก ต่อลงมาผ่านจังหวัดกำแพงเพชร และนครสวรรค์ จนถึงเขตจังหวัดอุทัยธานี รวมความยาวทั้งสิ้นกว่า 250 กิโลเมตร มีรายงานแผ่นดินไหวเกิดตามรอยเลื่อนนี้ 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2476 ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2518 ที่ อำเภอ ท่าสองยาง จังหวัดตาก แผ่นดินไหวครั้งหลังนี้มีขนาด 5.6 ริคเตอร์

    6. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์
         รอยเลื่อนนี้อยู่ทางด้านตะวันตก ของรอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี โดยมีทิศทางเกือบขนานกับแนวของรอยเลื่อน อยู่ในร่องน้ำแม่กลองและแควใหญ่ ตลอดขึ้นไปจนถึงเขตแดนพม่า รวมความยาวทั้งหมดกว่า 500 กิโลเมตร ในช่วงระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมามีรายงานแผ่นดินไหวขนาดเล็กหลายร้อยครั้ง ตามแนวรอยเลื่อนนี้ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดที่วัดได้ในระหว่างนี้ เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2526 มีขนาด 5.9 ริคเตอร์


    7. รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์

         รอยเลื่อนนี้อยู่ในลำน้ำแควน้อยตลอดสาย และต่อไปจนถึงรอยเลื่อนสะแกง (Sakaing Fault) ในประเทศพม่า ความยาวของรอยเลื่อนช่วงที่อยู่ในประเทศไทยยาวกว่า 250 กิโลเมตร มีรายงานแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนนี้มากมายหลายพันครั้ง

    8. รอยเลื่อนระนอง
         รอยเลื่อนระนองวางตัวตามแนวร่องน้ำของแม่น้ำกระบุรี มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 270 กิโลเมตร มีรายงานแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2521 มีขนาด 5.6 ริคเตอร์

    9. รอยเลื่อนคลองมะรุย
         รอยเลื่อนนี้ตัดผ่านด้านตะวันออกของเกาะภูเก็ต เข้าไปในอ่าวพังงา และตามแนวคลองมะรุย คลองชะอุน และคลองพุมดวงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนกระทั่งไปออกอ่าวบ้านดอน ระหว่างอำเภอพุนพินกับอำเภอท่าฉาง รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 150 กิโลเมตร แผ่นดินไหวตามแนวรอยเลื่อนนี้ มีรายงาน เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2476 ที่จังหวัดพังงา และทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ นอกฝั่งภูเก็ต เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2519, วันที่ 17 สิงหาคม 2542 และวันที่ 29 สิงหาคม 2542

     

    การตรวจวัดแผ่นดินไหว

         แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งสามารถส่งแรงสั่นสะเทือน หรือมีผลกระทบไปได้ไกล ไม่เฉพาะบริเวณประเทศที่เกิดเท่านั้นบางครั้งหากมีขนาดใหญ่ คลื่นแผ่นดินไหวสามารถส่งผ่านไปได้ บนผิวโลกหลายพันกิโลเมตรในหลายประเทศดังนั้น การตรวจวัดแผ่นดินไหว จึงใช้ทั้งระบบเครือข่าย สถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวในระดับแต่ละประเทศ และเครือข่ายในระดับโลก เพื่อการวิเคราะห์ตำแหน่ง ขนาดและเวลาเกิดของเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้อย่างรวดเร็ว ประเทศไทยเริ่มมีการตรวจแผ่นดินไหว เมื่อปี พ.. 2506 สถานีตรวจแผ่นดินไหวแห่งแรกของกรมอุตุนิยมวิทยา ติดตั้ง ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยเข้าร่วมอยู่ในเครือข่ายระบบมาตรฐานโลก Worldwide Standardized Seismograph Network : WWSSN และต่อมาปรับเปลี่ยนเป็นระบบเครือข่าย Incorporated Research Institution of Seismology : IRIS ซึ่งเป็นเครือข่ายโดยความร่วมมือของสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ในสหรัฐอเมริกา และบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันกรมอุตุนิยมวิทยาได้เพิ่มจำนวนสถานีตรวจแผ่นดินไหวในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศเป็นแบบระบบอะนา ล็อก จำนวน 13 แห่ง ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก เลย อุบลราชธานี นครราชสีมา นครสวรรค์ เขื่อนเขาแหลม และอำเภอจังหวัดเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา และภูเก็ตกับเป็นแบบ ระบบดิจิตอล จำนวน 11 แห่งได้แก่ จังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ขอนแก่น เลย ปากช่องจังหวัดนครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี และสงขลา นอกจากนั้น ยังมีหลายหน่วยงานที่ทำการตรวจวัดแผ่นดินไหวในหลายวัตถุประสงค์เช่น กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือมีระบบเครือข่ายแบบ Array เพื่อการตรวจจับการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้พื้นดิน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีการตรวจแผ่นดินไหวขนาดเล็ก เป็นเครือข่ายบริเวณเขื่อนทางภาคตะวันตก สำหรับกรมชลประทานมีเครือข่ายตรวจแผ่นดินไหว บริเวณ จังหวัดแพร่ เพื่อศึกษาลักษณะการเกิดแผ่นดินไหวก่อนการสร้างเขื่อน และกรมโยธาธิการ ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิจัยเรื่องการตอบสนองของอาคารจากความสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว

    ขนาดและความรุนแรง

    ขนาด (Magnitude) เป็นปริมาณที่มีความสัมพันธ์กับพลังงานที่พื้นโลก ปลดปล่อยออกมาในรูปของการสั่นสะเทือน คำนวณได้จากการตรวจวัดค่าความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัด ได้ด้วยเครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว โดยเป็นค่าปริมาณที่บ่งชี้ขนาด ณ บริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหว มีหน่วยเป็น " ริคเตอร์"

         ความรุนแรงแผ่นดินไหว (Intensity) แสดงถึงความรุนแรงของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น วัด ได้จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเกิด และหลังเกิดแผ่นดินไหว เช่น ความรู้สึกของผู้คน ลักษณะที่วัตถุหรือ อาคารเสียหายหรือสภาพภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น ในกรณีของประเทศไทยใช้ มาตราเมอร์แคลลี่ สำหรับเปรียบเทียบอันดับ ซึ่งมีทั้งหมด 12 อันดับ เรียงลำดับความรุนแรงแผ่นดินไหวจากน้อยไปมาก

    การพยากรณ์แผ่นดินไหว

         ภัยแผ่นดินไหวยังคงเป็นภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำ ทั้งเรื่องตำแหน่ง ขนาด และเวลาเกิด ด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์เครื่องมือตรวจวัดที่มีอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ ได้มี ความพยายามอย่างยิ่งในการศึกษาวิเคราะห์ถึงคุณลักษณะต่าง ๆ ของบริเวณแหล่ง กำเนิดแผ่นดินไหว เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการพยากรณ์แผ่นดินไหว โดยอาศัยทั้งที่เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับ

    คุณลักษณะทางกายภาพของเปลือกโลก ที่เปลี่ยนแปลงจากปกติก่อนเกิดแผ่นดินไหว

    - แรงเครียดในเปลือกโลกเพิ่มขึ้น
    - การเปลี่ยนแปลงสนามไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก สนามโน้มถ่วง
    - การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก
    - น้ำใต้ดิน (ชาวจีน สังเกต การเปลี่ยนแปลง ของน้ำในบ่อน้ำ 5 ประการ ก่อนเกิดแผ่นดินไหว  ได้แก่ น้ำขุ่นขึ้น มีการหมุนวนของน้ำ ระดับน้ำเปลี่ยนแปลง มีฟองอากาศ และรสขม)
    -
    ปริมาณก๊าซเรดอน เพิ่มขึ้น
    - การส่งคลื่นวิทยุความยาวคลื่น สูงๆ

    การสังเกตพฤติกรรมของสัตว์หลายชนิดที่มีการรับรู้ถึงภัยก่อนเกิดแผ่นดินไหว

    -
    แมลงสาบจำนวนมากวิ่งเพ่นพ่าน
    -
    สุนัข เป็ด ไก่ หมู หมี ตื่นตกใจ
    - หนู งู
    วิ่งออกมาจากรู
    - ปลา กระโดดขึ้นจากผิวน้ำ ฯลฯ

     

     

     

    เหตุการณ์แผ่นดินไหว

         เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กๆ ในบริเวณเดียวกัน หลายสิบครั้งหรือหลาย ร้อยครั้งในระยะเวลาสั้นๆ เป็นวันหรือในสัปดาห์ อาจเป็นสิ่งบอกเหตุล่วงหน้า ว่าจะเกิดแผ่นดิน ไหวที่มีขนาดใหญ่กว่าตามมาได้ หรือในบางบริเวณที่เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอดีต สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าว่าอาจเกิด แผ่นดินไหวใหญ่ที่มีขนาดเท่าเทียมกัน หากบริเวณนั้นว่าง เว้นช่วงเวลา การเกิดแผ่นดินไหวเป็นระยะเวลา ยาวนานหลายสิบปีหรือหลายร้อยปี ยิ่งมีการ สะสมพลังงานที่เปลือกโลกในระยะเวลายาวนานเท่าใด การเคลื่อน ตัวโดยฉับพลันเป็นแผ่นดิน ไหวรุนแรงก็เพิ่มมากขึ้น

         โดยสรุปการพยากรณ์แผ่นดินไหวในภาวะปัจจุบัน ยังอยู่ในช่วงของการ ศึกษาวิจัยและพัฒนา เพื่อการคาดหมายที่แม่นยำและแน่นอนขึ้น อย่างไรก็ตามการมีมาตรการ ป้องกัน และบรรเทาภัยแผ่นดินไหว เช่น การก่อสร้างอาคารให้มีความมั่นคงแข็งแรงในพื้นที่ เสี่ยงภัย รวมถึงการเตรียมพร้อมที่ดีของประชาชน จะช่วยลดการสูญเสียได้มาก

    การปฏิบัติและป้องกันการเกิดแผ่นดินไหว

    ก่อนการเกิดแผ่นดินไหว

    1.
    ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และให้ทุกคน      ทราบว่าอยู่ที่ไหน
    2.
    ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    3. ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น
    เครื่องดับเพลิง ถุงทราย เป็นต้น
    4. ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ
    สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า
    5. อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูง ๆ
    เมื่อแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตรายได้
    6. ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ
    ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
    7. ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมาย
    ในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกัน เพื่อมารวมกันอีกครั้ง ในภายหลัง
    8. สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด
    สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว

     

    ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว

    1. อย่าตื่นตกใจ
    พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบ ถ้าท่านอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าท่านอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน
    2.
    ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนัก ได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง
    3.
    หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้
    4.
    ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง
    5.
    อย่าใช้ เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น
    6.
    ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด
    7.
    ห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว
    8.
    หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง

     

    หลังเกิดแผ่นดินไหว

    1.
    ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน
    2.
    ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้
    3.
    ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังแทง
    4.
    ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ
    หรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว
    5.
    ตรวจสอบว่า แก๊สรั่ว ด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน
    6.
    ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง
    7.
    เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ
    8.
    สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้
    9.
    อย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคารพัง
    10.
    อย่าแพร่ข่าวลือ

    RRRRRRR

     

    ปรากฏการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ

    นับตั้งแต่เริ่มกำเนิดโลกมา โลกเราได้ประสบกับวิกฤติการณ์ความรุนแรงและการเปลี่ยนแปลงมากมายในปัจจุบันโลกก็ยังคงเปลี่ยนแปลงอยู่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จัดเป็นกระบวนการธรรมชาติซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหลของพลังงาน โดยเกิดขึ้นทั้งใน บรรยากาศบนผิวโลก พื้นโลก พื้นสมุทร รวมถึงในชีวมณฑล (Biosphere) ด้วย มีตั้งแต่ปรากฏการณ์ที่ไม่รุนแรงและเกิดขึ้นเสมอๆ ไปจนถึงเหตุการณ์ที่เป็นภัยพิบัติร้ายแรงและเป็น ที่ทราบกันอยู่แล้วว่าภัยธรรมชาติต่างๆ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาล ทั้งในด้านชีวิตและทรัพย์สินภัยธรรมชาติส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติแต่มนุษย์ก็มี ส่วนร่วมทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยภัยธรรมชาติครั้งล่าสุด ที่เป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก ในเดือนกรกฎาคม 2541ที่ผ่านมานี้คือเกิด คลื่นยักษ์ใต้น้ำถล่มปาปัวนิวกินีและก็ยังเป็นกระแสข่าวที่สั่นสะเทือนถึงขวัญของชาวไทยภาคใต้ ในช่วงเดือนสิงหาคม 2541 ที่ผ่านมาซึ่งส่งผลกระทบไปถึงภาวะการท่องเที่ยวในปี Amazing Thailand อีกด้วย

    เหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่มปาปัวนิวกินี เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2541 ที่ผ่านมา โดยหมู่บ้านกว่า 10 แห่งถูกคลื่นซัดเสียหาย ตั้งแต่คืนวันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม 2541 ที่ผ่านมา มีประชาชนเสียชีวิตประมาณ 3,000 คน และกว่า 6,000 คนไร้ที่อยู่อาศัย โดยคลื่นมีความสูงระหว่าง 23 -33 ฟุต เมื่อพุ่งเข้า ปะทะชายฝั่งปาปัวนิวกินี ทางตะวันตกเฉียงเหนือ โดยเกิดจากผลของ แผ่นดินไหวใต้น้ำที่มีค่า 7.0 ตามมาตราวัดริกเตอร์สเกล ทำให้เกิด ความเสียหายตาม พื้นที่ชายฝั่งยาวประมาณ 60 ไมล์ (90 กิโลเมตร)

     

    สึนามิ คืออะไร

              สึนามิ เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลว่า Harbour Wave คำแรก สึ แปลว่า harbour คำที่สอง นามิ แปลว่า คลื่น ปัจจุบันใช้เป็นคำเรียก กลุ่มคลื่นที่มีความยาวคลื่นมากๆขนาดหลายร้อยไมล์ นับจากยอดคลื่นที่ไล่ตามกันไป เกิดขึ้นจากการที่น้ำทะเลในปริมาตรเป็นจำนวนมากมายมหาศาล ถูกผลักดันให้เคลื่อนที่ในแนวดิ่ง ด้วยเหตุมาจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกส่วนที่อยู่ใต้ทะเลลึก บางครั้งก็เรียกว่า seismic wave เพราะส่วนใหญ่เกิดจากการเคลื่อนไหวดังกล่าว เรามักจะสับสนกับคำว่า สึนามิ กับ tidal wave ซึ่งเกิดจากน้ำขึ้นน้ำลง แต่ สึนามิ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับการขึ้นลงของน้ำเลย

              สึนามิ ส่วนใหญ่ เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกใต้ทะเลอย่างฉับพลัน อาจจะเป็นการเกิดแผ่นดินถล่มยุบตัวลง หรือเปลือกโลกถูกดันขึ้นหรือยุบตัวลง ทำให้มีน้ำทะเลปริมาตรมหาศาลถูกดันขึ้นหรือทรุดตัวลงอย่างฉับพลัน พลังงานจำนวนมหาศาลก็ถ่ายเทไปให้เกิดการเคลื่อนตัวของน้ำทะเลเป็น คลื่นสึนามิ ที่เหนือทะเลลึก จะดูไม่ต่างไปจากคลื่นทั่วๆไปเลย จึงไม่สามารถสังเกตได้ด้วยวิธีปกติ แม้แต่คนบนเรือเหนือทะเลลึกที่ คลื่นสึนามิ เคลื่อนผ่านใต้ท้องเรือไป ก็จะไม่รู้สึกอะไร เพราะเหนือทะเลลึก คลื่นนี้ สูงจากระดับน้ำทะเลปกติเพียงไม่กี่ฟุตเท่านั้น จึงไม่สามารถแม้แต่จะบอกได้ด้วยภาพถ่ายจากเครื่องบิน หรือยานอวกาศ

              นอกจากนี้แล้ว สึนามิ ยังเกิดได้จากการเกิดแผ่นดินถล่มใต้ทะเล หรือใกล้ฝั่งที่ทำให้มวลของดินและหิน ไปเคลื่อนย้ายแทนที่มวลน้ำทะเล หรือภูเขาไฟระเบิดใกล้ทะเล ส่งผลให้เกิดการโยนสาดดินหินลงน้ำ จนเกิดเป็นคลื่น สึนามิ ได้ ดังเช่น การระเบิดของภูเขาไฟ คระคะตัว ในปี ค.. ๑๘๘๓ ซึ่งส่งคลื่น สึนามิ ออกไปทำลายล้างชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนในเอเชีย มีจำนวนผู้ตายถึงประมาณ ๓๖,๐๐๐ ชีวิต

              นอกเหนือไปจากนั้น ในกรณีที่มีความเป็นไปได้ไม่สูงมากนัก คือการที่เกิดอุกกาบาตตกใส่โลก ดังเช่นที่เกิดขึ้นเมื่อ ๖๕ ล้านปีมาแล้ว ทำลายล้างชีวิตบนโลกเป็นส่วนใหญ่ สรุปแล้วก็คือ สึนามิ จะเกิดขึ้นเมื่อ น้ำทะเลในปริมาตรมหาศาล ถูกผลักดันให้เคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิมในแนวดิ่ง อย่างฉับพลันกระทันหันชั่วพริบตา ด้วยพลังงานมหาศาล น้ำทะเลก็จะกระจายตัวออกเป็นคลื่น สึนามิ ที่เมื่อไปถึงฝั่งใด ความพินาศสูญเสียก็จะตามมาอย่างตั้งตัวไม่ติด

    ลักษณะทางกายภาพของคลื่นสึนามิ

     ความยาวคลื่น คือระยะห่างจากยอดคลื่นหนึ่งไปยังยอดคลื่นถัดไป
    P คือคาบเวลาระหว่างยอดคลื่นหนึ่งเดินทางมาถึงที่ที่ยอดคลื่นก่อนหน้าเพิ่งผ่านไป
    Amplitude ของคลื่น คือความสูงของยอดคลื่นนับจากระดับน้ำทะเล

    ความเร็วของคลื่น (velocity - V) คลื่นทะเลทั่วๆไปมีความเร็วประมาณ ๙๐ กม./ชั่วโมง แต่ คลื่น สึนามิ อาจจะมีความเร็วได้ถึง ๙๕๐ กม./ชั่วโมง ซึ่งก็พอๆกับความเร็วของเครื่องบินพาณิชย์ทีเดียว โดยจะขึ้นอยู่กับความลึกที่เกิดแผ่นดินถล่มใต้ทะเล ถ้าแผ่นดินไหวยิ่งเกิดที่ก้นทะเลลึกเท่าไหร่ ความเร็วของ สึนามิ ก็จะสูงขึ้นมากเท่านั้น เพราะปริมาตรน้ำที่ถูกเคลื่อนออกจากที่เดิม จะมีมากขึ้นไปตามความลึก คลื่น สึนามิ จึงสามารถเคลื่อนที่ผ่านท้องทะเลอันกว้างใหญ่ได้ภายในเวลาไม่นาน

    คลื่น สึนามิ ต่างจากคลื่นทะเลทั่วๆไป   คลื่นทะเลทั่วไปเกิดจากลมพัดผลักดันน้ำส่วนที่อยู่ติดผิว จะมีคาบการเดินทางเพียง ๒๐-๓๐ วินาทีจากยอดคลื่นหนึ่งไปยังอีกยอดหนึ่ง และระยะห่างระหว่างยอดคลื่น หรือความยาวคลื่น มีเพียง ๑๐๐-๒๐๐ เมตร

    แต่คลื่น สึนามิ มีคาบตั้งแต่ สิบนาทีไปจนถึงสองชั่วโมง และ ความยาวคลื่นมากกว่า ๕๐๐ กิโลเมตรขึ้นไป คลื่น สึนามิ ถูกจัดว่า เป็นคลื่นน้ำตื้น คลื่นที่ถูกจัดว่าเป็น คลื่นน้ำตื้น คือ คลื่นที่ ค่าอัตราส่วนระหว่าง ความลึกของน้ำ และ ความยาวคลื่น ต่ำมาก

    อัตราการสูญเสียพลังงานของคลื่น จะผกผันกับความยาวคลื่น(ระยะห่างระหว่างยอดคลื่น)ยกกำลังสอง เนื่องจาก สึนามี มีความยาวคลื่นมากๆ ยิ่งยกกำลังสองเข้าไปอีก จึงสูญเสียพลังงานไปน้อยมากๆในขณะที่มันเคลื่อนตัวผ่านผืนสมุทร  และเนื่องจาก สึนามิ เป็น คลื่นน้ำตื้น  จะมีความเร็วเท่ากับ V = g * d

    g คืออัตราเร่งของแรงโน้มถ่วงโลก ซึ่งมีค่า 9.8 เมตร/วินาที2 และ d คือความลึกของพื้นทะเล

    สมมติว่า แผ่นดินไหวเกิดที่ท้องทะเลลึก ๖,๑๐๐ เมตร สึนามิจะเดินทางด้วยความเร็วประมาณ ๘๘๐ กม./ชม. จะสามารถเดินทางข้ามฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิคด้วยเวลาน้อยกว่า ๒๔ ชั่วโมงเสียอีก

    เมื่อ สึนามิ เดินทางมาถึงชายฝั่ง ก้นทะเลที่ตื้นขึ้นก็จะทำให้ความเร็วของคลื่นลดลง เพราะความเร็วของคลื่นสัมพันธ์กับค่าความลึกโดยตรง แต่คาบยังคงที่ พลังงานรวมที่มีค่าคงที่ ก็ถูกถ่ายเทไปดันตัวให้คลื่นสูงขึ้น

    จาก ค่าความเร็ว V = /P

    ค่า V ลดลง, P คงที่ ค่าก็ต้องลดลง ผลก็คือ น้ำทะเลถูกอัดเข้ามาทำให้คลื่นสูงขึ้น ขึ้นอยู่กับสภาพชายฝั่งว่าเป็นอ่าวแคบหรือกว้าง ในชายฝั่งที่แคบ คลื่นสึนามิ จะมีความสูงได้หลายๆเมตรทีเดียว

    ถ้ายอดคลื่นเข้าถึงฝั่งก่อน ก็จะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า dragdown คือดูเหมือนระดับน้ำจะลดลงอย่างกะทันหัน ขอบน้ำทะเลจะหดตัวออกจากฝั่งไปเป็นร้อยๆเมตรอย่างฉับพลัน และในทันที่ที่ยอดคลื่นต่อมาไล่มาถึง ก็จะเป็นกำแพงคลื่นสูงมาก ขึ้นอยู่กับโครงร่างของชายหาด จะมีความสูงของคลื่นต่างกัน ดังนั้น คลื่นสึนามิ จากแหล่งเดียวกัน จะเกิดผลที่ต่างกันกับชายหาดที่ไม่เหมือนกันได้ น้ำที่ท่วมเข้าฝั่งกะทันหัน อาจไปไกลได้ถึง ๓๐๐ เมตร แต่คลื่น สึนามิ สามารถเดินทางขึ้นไปตามปากแม่น้ำหรือลำคลองที่ไหลลงทะเลตรงนั้นได้ด้วย หากรู้ตัวว่าจะมีคลื่นสึนามิ ผู้คนเพียงแต่อพยพออกไปจากฝั่งเพียงแค่เดิน ๑๕ นาที และให้อยู่ห่างจากแหล่งน้ำที่ไหลลงทะเลเข้าไว้ ก็จะปลอดภัยแล้ว

    การเกิดแผ่นดินถล่มใต้ท้องทะเลลึก มักจะมาจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นที่ดันเข้าหากัน แรงเสียดทานจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเมื่อถึงจุดที่แรงปะทะจากแผ่นเปลือกโลกมีเหนือค่าแรงเสียดทานแล้ว ก็จะเกิดการเคลื่อนตัวอย่างฉับพลัน การเคลื่อนตัวที่แผ่นหนึ่งมุดเข้าใต้อีกแผ่น เรียกว่า Subduction ทำให้เปลือกโลกตรงรอยต่อ ถูกหนุนสูงขึ้นหรือทรุดฮวบยวบตัวลง น้ำทะเลเหนือส่วนนั้นก็ถูกดันหรือดูดเข้ามาแทนที่อย่างฉับพลัน การเคลื่อนตัวของน้ำในปริมาตรหลายๆล้านตัน ทำให้เกิดคลื่นสะท้อนออกไปทุกทิศ เป็นแหล่งกำเนิดของ คลื่นสึนามิ นั่นเอง             
    การตรวจจับคลื่นคลื่นสึนามินั้นกระทำได้ยากมาก เมื่อคลื่นเริ่มเกิดในมหาสมุทรบริเวณที่น้ำลึก คลื่นอาจจะมีความสูงเพียง 10-20 นิ้วเอง ซึ่งดูเหมือน ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมากกว่าการกระเพิ่มขึ้นลงของน้ำในมหาสมุทรเอง

    กล่าวโดยรวมแล้วสาเหตุการเกิดคลื่นสึนามินั้น มีสาเหตุการเกิดหลายประการ เช่น

    • เกิดจากการระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟ เช่นเหตุการณ์ที่การากาตัว เมื่อปีค.. 1883
    • เกิดจากแผ่นดินถล่ม เช่นเหตุการณ์ที่อ่าวซากามิ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปีคศ. 1933
    • เกิดจากการที่ก้อนหินตกลงในอ่าวหรือมหาสมุทร เช่นเหตุการณ์ที่อ่าวลิทูยาอลาสกาเมื่อปีค..1933
    • เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกด้วยแรงเทคโทนิคจากแผ่นดินไหว เช่นเหตุการณ์ อลาสกันซูนาม บริเวณอลาสกาในปีค..1964
    • การเกิดระเบิดใต้น้ำจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์

    สึนามิต่างจากคลื่นในท้องทะเลอย่างไร ?
              สึนามินั้นไม่เหมือนกับคลื่นที่เกิดจากลม ซึ่งเรามักจะสังเกตเห็นคลื่นได้จากในทะเลสาปหรือในท้องทะเลซึ่งคลื่นเหล่านั้นมัก เป็นคลื่นที่ไม่สูงนัก หรือคลื่นที่มีลูกคลื่นตื้น ๆ ประกอบกับมีระลอกและความยาวของคลื่นที่ค่อนข้างยาวต่อเนื่องลมเป็นตัวที่ก่อให้เกิด คลื่นซึ่งเราจะเห็นได้อยู่ทั่ว ๆไป ตามชายหาด อย่างเช่น หาดบริเวณแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีคลื่นม้วนตัวกลิ้งอยู่เป็นจังหวะต่อเนื่องจากลูก หนึ่งไปสู่อีกลูกหนึ่งซึ่งบางคราวกินเวลาต่อเนื่อง กว่า
    10 วินาทีและมีความยาวของลูกคลื่นกว่า 150 เมตรในทางตรงกันข้ามคลื่นสึนามิ มีความยาวคลื่นเกินกว่า100 กม.และช่วงระยะเวลาของระลอกคลื่น ยาวนานกว่า 1 ชั่วโมงซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากความยาวของคลื่น ที่มีความยาวมากนั่นเอง

          เมื่อคลื่นสึนามิขึ้นฝั่ง ..... เกิดอะไรขึ้น ?
          คลื่นสึนามิจะเคลื่อนตัวด้วยความเร็ว จากบริเวณน้ำ            ลึกเข้าสู่บริเวณฝั่ง เมื่อใกล้ฝั่งความเร็วของ
    คลื่นสึนามิจะลดลง ความสูงของคลื่นจะก่อตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคลื่นสึนามิ
    ขึ้นฝั่ง คลื่นสึนามิจะโถมขึ้นสู่ฝั่งอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้ความสูงของยอดคลื่นสูงมาก
    ยิ่งขึ้น เมื่อคลื่นสึนามิเข้าปะทะแผ่นดินพลังงานของมันจะสูญเสียไปเนื่องจากการสะท้อน
    กลับของคลื่นที่ปะทะชายฝั่งในขณะที่พลังงานของคลื่นที่แผ่เข้าสู่ฝั่งจะถูกทำให้กระจาย พลังงานสู่ด้านล่างและเกิดกระแสหมุนวน ทั้งนี้ทั้งนั้นการสูญเสียพลังงานนี้มิได้ทำให้ คลื่นสึนามิลดความรุนแรงลงมันยังคงเคลื่อนเข้าปะทะฝั่งด้วยพลังงานอย่างมหาศาล คลื่นสึนามิมีพลังงานมหาศาลในการกัดเซาะ พังทลายโดยเฉพาะชายฝั่งหาดทรายที่ปกคลุมด้วยต้นไม้และพืชพันธ์จะถูกน้ำท่วมปกคลุม ระดับน้ำจะสูงขึ้นและการเคลื่อนตัวของน้ำที่รวดเร็วจะปะทะกับบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างต่างๆ คลื่นสึนามินั้นบางครั้งสามารถปะทะฝั่งที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่10 เมตร 20 เมตร และบางครั้งอาจสูงถึง 30 เมตรได้

    เหตุการณ์ที่เกิดคลื่นสึนามิครั้งใหญ่
    จากบันทึกประวัติศาสตร์ของคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อชุมชนชายฝั่งทะเลนั้น มีเหตุการณ์สำคัญๆ ดังนี้

    • 1500 ปีก่อนพุทธศักราช Santorin Crete (แถบเมดิเตอร์เรเนียน)
    • 1.. 1755 แอตแลนติกตะวันออก
    • 21.. 1812 ซานตาบาบาร่า แคลิฟอร์เนีย
    • 7.. 1837 ชิลี
    • 17.. 1841 คาบสมุทรคามชัทกา รัสเซีย
    • 2 เม.. 1868 ฮาวาย สหรัฐอเมริกา
    • 13.. 1868 เปรู และ ชิลี
    • 10.. 1877 ชิลี
    • 27.. 1883 การากาตัว (มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 30,000 คน)
    • 15 มิ.. 1896 ฮอนชู ญี่ปุ่น (มีผู้จมน้ำเสียชีวิต 20,000 คน)
    • 31.. 1906 เอควาดอร์
    • 28.. 1908 Messine
    • 7.. 1918 คูริล
    • 11.. 1922 ชิลี
    • 3.. 1923 คาบสมุทรคามชัทกา รัสเซีย
    • 18..1929 บริเวณ Grand Banks แคนาดา
    • 2 มี.. 1933 ฮอนชู ญี่ปุ่น
    • 1 เม.. 1946 บริเวณเกาะเอลูเทียน (Aleutian) อลาสกา สหรัฐอเมริกา
    • 4.. 1952 คาบสมุทรคามชัทกา รัสเซีย
    • 9 มี.. 1957 บริเวณเกาะเอลูเทียน (Aleutian) อลาสกา สหรัฐอเมริกา
    • 23.. 1960 บริเวณชายฝั่งชิลี แล้วเดินทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกระยะทางกว่า 17,000 กิโลเมตร ไปสู่ญี่ปุ่นมีผู้สูญหายกว่า 200 คน
    • 28 มี.. 1964 Prince William Sound อลาสกา สหรัฐอเมริกา (มีผู้เสียชีวิต 109 คน)
    • 4.. 1965 บริเวณเกาะเอลูเทียน (Aleutian) อลาสกา สหรัฐอเมริกา
    • 29.. 1975 ฮาวาย สหรัฐอเมริกา
    • 3 มิ..1994 บริเวณเกาะชวาตะวันตก อินโดนีเซีย เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดเมื่อเวลา ตี 1.18 นาที (เวลาท้องถิ่นชวา) วันที่ 3 มิถุนายน แผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิดขึ้นทางตะวันออกเฉียงใต้ของฝั่งชวา ใกล้กับทางด้านตะวันออกของร่องลึกชวาในมหาสมุทรอินเดีย แผ่นดินไหวครั้งนี้มีขนาด 7.2 - 7.8 ตามมาตราวัดริกเตอร์ ซึ่งก่อให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ สร้างความเสียหายให้กับชีวิตมากกว่า 200 ชีวิต และที่พักอาศัยบริเวณชายฝั่งจำนวนมาก โดยทีมสำรวจสึนามิระหว่างชาติ ประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาด้านซุนามิและวิศวกร ซึ่งมาจากอินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น ไทย และสหรัฐอเมริกา ได้เข้าสำรวจพื้นที่ของบาหลีและชวา ช่วงวันที่ 20-25 มิถุนายน 1994 ทีมสำรวจชุดนี้ได้พบว่า คลื่นสึนามิที่เข้าสู่ฝั่งชวา มีความสูงตั้งแต่ 1 -14 เมตร ในขณะที่บาหลีมีความสูงตั้งแต่ 1-5 เมตร
    • 21..1996 บริเวณเปรู เป็นผลจากแผ่นดินไหวใต้น้ำ
    • 17..1998 บริเวณเกาะปาปัวนิวกินี (มีผู้เสียชีวิต 3,000 คน)

    บริเวณที่มักเกิดคลื่นสึนามิและเหตุการณ์ที่เกิดคลื่นสึนามิครั้งใหญ่
              คลื่นสึนามินั้นสามารถเกิดขึ้นในภูมิภาคหรือในบริเวณมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาล ขึ้นอยู่กับขนาดของคลื่นและบริเวณ ที่เกิด ซึ่งคลื่นสึนามิเป็น ปรากฏการณ์ที่มักเกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเนื่องจากในย่านมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นเขตที่มีแนวของการเกิด แผ่นดินไหวและภูเขาไฟใต้มหาสมุทรอยู่มาก จุดกำเนิดสำคัญของคลื่นสึนามิในแปซิฟิกก็คือบริเวณร่องลึกก้นสมุทร นอกชายฝั่งอลาสกา หมู่เกาะคูริล รัสเซียและทวีปอเมริกาใต้โดยเฉพาะในเขตแปซิฟิค ตอนกลาง (mid-pacific) บริเวณหมู่เกาะฮาวายมักจะประสบกับคลื่น สึนามิบ่อยครั้ง ร้อยละ 80 ของคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นทั้งหมดจะอยู่ในบริเวณ Pacific Seismic Belt ซึ่งเป็นแหล่งต้นกำเนิดคลื่น ซึ่งในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกมีโอกาสเสี่ยงที่มากกว่าในบริเวณอื่นๆ มหาสมุทรแปซิฟิกกินพื้นที่ถึงกว่า 1 ใน 3 ของผิวโลกแล้วล้อม รอบด้วยร่องน้ำลึก ก้นสมุทร อันเกิดจากแผ่นดินโลกมุดตัว บวกกับถูกกระหนาบด้วยแนวโค้งของหมู่เกาะภูเขาไฟอีก

    ระบบเตือนภัยสึนามิ (TSUNAMI WARNING SYSTEM : TWS)
              โครงการระบบเตือนภัยกับสึนามิ ประกอบไปด้วย สมาชิกจาก 26 ชาติซึ่งมีภารกิจในการติดตามตรวจสอบคลื่นแผ่นดิน ไหวและสถานีวัดระดับน้ำทะเลในบริเวณเขตแปซิฟิก เพื่อใช้ประเมินศักยภาพการเกิดคลื่นสึนามิและใช้สำหรับให้ข้อมูลข่าวสาร เตือนภัยเรื่องสึนามิ โดยมีศูนย์เตือนภัยสึนามิภาคพื้นแปซิฟิก (PTWC) เป็นศูนย์ปฏิบัติงานด้านสึนามิในเขตแปซิฟิกตั้งอยู่ใกล้ ฮอนโนลูลู ฮาวาย

    - ศูนย์เตือนภัยสึนามิ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการความช่วยเหลือระหว่างชาติในการช่วยรักษาชีวิตและปกป้องทรัพย์สินซึ่งหน่วยงาน NOAA และหน่วยงาน ให้บริการข้อมูลอากาศระหว่างชาติดำเนินการรับผิดชอบ 2 ศูนย์ คือ
    - ศูนย์เตือนภัยสึนามิอลาสกา (ATWC) ใน PALMER, อลาสกา ครอบคลุมเขตรับผิดชอบแถบอลาสกา บริติช โคลัมเบีย วอชิงตัน โอเรกอนและแคลิฟอร์เนีย
    - ศูนย์เตือนภัยสึนามิเขตแปซิฟิก ใน EWA BEACH, ฮาวาย ครอบคลุมบริเวณฮาวายและแปซิฟิก
             เนื่องจากความสูงของคลื่นสึนามิเพียงเล็กน้อยในขณะที่เคลื่อนตัวในน้ำลึก ระบบที่ใช้ตรวจจับคลื่นยักษ์นี้ยังไม่ได้ถูกพัฒนา เท่าที่ควรศูนย์เตือนภัยสึนามิแปซิฟิกในฮาวายเป็นศูนย์ที่ให้ข้อมูลข่าวสารในยานแปซิฟิก ซึ่งจะมีแถลงการณ์ที่ออกประกาศถึงการเกิด คลื่นสึนามิ 2 แบบคือ การเฝ้าระวังและการเตือนภัย การแถลงข่าวการเฝ้าระวังเรื่องสึนามิจะออกอากาศเมื่อแผ่นดินไหวเกิดขึ้นขนาด 6.75 ตามมาตราวัดริคเตอร์ หรือมากกว่านั้น ส่วนการแถลงการณ์ เตือนภัยนั้นจะกระทำต่อเมื่อได้ข้อมูลจากสถานีวัดระดับน้ำ ซึ่งบ่งชี้ ถึงศักยภาพที่สามารถก่อให้เกิดสึนามิได้ สถานีวัดระดับน้ำจะทำการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ น้ำรอบ ๆ สถานี และจะประกาศเตือนเมื่อ คุณสมบัติของข้อมูลตรงกับศักยภาพของการเกิดคลื่นสึนามิ แต่ช่างโชคไม่ดีที่ระบบนั้นไม่เป็นที่น่าเชื่อถือ จากสถิติ ร้อยละ 75ของการ เตือนภัยทั้งหมดตั้งแต่ปี 1948 เป็นต้นมานั้นผิดพลาด ดังตัวอย่างเหตุการณ์ปี 1948 ที่ฮอนโนลูลูซึ่งมีประกาศเตือนภัยทำให้ต้องอพยพผู้คนซึ่งเป็นการเตือนภัยที่ผิดพลาด เนื่องจากเหตุการณ์นั้นไม่เกิดขึ้น ทำให้สิ้นค่าใช้จ่ายกว่า 30 ล้านดอลล่าร์

    การบรรเทาภัยคลื่นสึนามิ
    โดยทั่วไปแล้ว เมื่อคลื่นสึนามิจะพุ่งเข้าสู่ฝั่งมาหาคุณ พื้นแผ่นดินจะสั่นสะเทือนโดยรู้สึกได้ใต้เท้าของคุณหรือคุณอาจได้รับ คำเตือน แจ้งให้ผู้คนวิ่งหา พื้นที่ๆ สูง เพื่อที่ให้ทราบถึงวิธีการปกป้องตัวเองจากคลื่นสึนามินั้น หัวข้อต่าง ๆ ที่พึงทราบมีดังต่อไปนี้
    - ต้องทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคลื่นสึนามิ
    - หากเกิดคลื่นสึนามิขึ้น จะมีวิธีการบรรเทาภัยอย่างไร กรณีที่อยู่บนพื้นดินและอยู่บนเรือ


    ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสึนามิ  สรุปได้ดังต่อไปนี้
    - คลื่นสึนามิจะเข้าปะทะฝั่ง ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกและมักจะเกิดจากแผ่นดินไหวโดยที่แผ่นดินไหวบางครั้งเกิดไกลหรือใกล้ จากบริเวณที่ผู้คนพักอาศัย
    - คลื่นสึนามิบางครั้งจะใหญ่มาก ในบริเวณชายฝั่ง คลื่นอาจมีความสูงถึง 30 ฟุตหรือมากกว่า (บางครั้งอาจเกินกว่า 100 ฟุต) และเคลื่อนตัวเข้าสู่ฝั่งได้ไกลหลายร้อยฟุต
    - ชายฝั่งที่มีพื้นลาดต่ำสามารถถูกคลื่นสึนามิพัดถล่มได้ง่าย
    - คลื่นสึนามิประกอบด้วยคลื่นหลายๆ คลื่น รวมเป็นชุดของคลื่น ซึ่งคลื่นลูกแรกนั้น มีบ่อยครั้งที่มักจะไม่ใช่ลูกที่ใหญ่ที่สุด
    - คลื่นสึนามิสามารถเคลื่อนตัวได้เร็วกว่าคนวิ่ง
    - บางครั้งคลื่นสึนามิเป็นสาเหตุให้กระแสน้ำบริเวณชายฝั่งถดถอยหรือถอยร่นไป แล้วไปโผล่ที่พื้นสมุทร
    - แรงกระทำที่คลื่นสึนามิกระทำนั้นค่อนข้างรุนแรง หินก้อนใหญ่ๆ อาจถูกคลื่นสึนามิหอบขึ้นมาทับเรือหรือแม้แต่เศษซากปรักหักพังอื่นๆ สามารถเคลื่อนย้ายเข้าสู่ฝั่งไปได้เป็นระยะหลายร้อยฟุตโดยการกระทำของคลื่นสึนามิ บ้านเรือนหรือตึกรามบ้านช่องอาจถูกทำลาย ซึ่งเศษวัตถุต่างๆ และมวลน้ำเคลื่อนตัวด้วยแรงมหาศาล และสามารถทำให้ผู้คนบาดเจ็บและเสียชีวิตได้
    - คลื่นสึนามิเกิดได้ทุกเวลา ทั้งกลางวันและกลางคืน
    - คลื่นสึนามิสามารถเคลื่อนตัวสู่แม่น้ำที่เชื่อมต่อทะเลและมหาสมุทรได้
    หากคุณอยู่บนแผ่นดิน
    - ให้ตระหนักถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคลื่นสึนามิที่กล่าวมาข้างต้น สิ่งนี้จะสามารถช่วยชีวิตได้และบอกกล่าวเรื่องราวนี้ต่อไปถึงญาติมิตรหรือเพื่อนพ้องของคุณ ซึ่งจะช่วยชีวิตพวกเขาได้
    - หากได้รับสัญญาณเตือนภัยข่าวการเกิดคลื่นสึนามิ ควรเคลื่อนย้ายครอบครัวและตัวคุณออกจากพื้นที่ที่เสี่ยงภัย และปฏิบัติตามคำ แนะนำของเจ้าหน้าที่
    - หากอยู่บริเวณชายหาด และรู้สึกได้ถึงแผ่นดินไหว ให้รีบหนีไปอยู่บริเวณที่สูงเพื่อหลบภัยทันทีและให้อยู่ห่างจากแม่น้ำหรือคลองที่ ต่อเชื่อมลงสู่ทะเลหรือมหาสมุทร
    - หากเกิดคลื่นสึนามิในบริเวณมหาสมุทรที่ห่างไกล ก็มีเวลาเพียงพอที่จะหาบริเวณที่สูงสำหรับหลบภัยได้ แต่สำหรับคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นประจำในท้องถิ่น เมื่อรู้สึกถึงแผ่นดินไหว ก็จะมีเวลาเพียง 2 -3 นาทีเท่านั้นสำหรับหาที่หลบภัยได้
    - สำหรับตึกสูง หลายชั้นและ มีโครงสร้างเสริมความแข็งแรง ชั้นบนของตึกสามารถใช้เป็นที่หลบภัยคลื่นสึนามิได้ในกรณีที่ไม่มีเวลาพอในการหาที่สูงหลบภัย

     

    หากอยู่บนเรือ
    - หากคลื่นสึนามิกำลังโถมเข้าปะทะฝั่ง ควรจะถอยเรือห่างจากฝั่งไปยังบริเวณพื้นที่น้ำลึกเนื่องจากคลื่นสึนามิจะทำให้ระดับน้ำบริเวณ ใกล้ฝั่งหรือท่าเรือเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง

    บทส่งท้าย
    ภัยธรรมชาติต่างๆ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติโดยความเป็นจริงแล้วภัยพิบัติจำนวนมากมีสาเหตุมาจาก สภาพลมฟ้าอากาศที่แปรปรวนซึ่งยังความเสียหายต่อชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินอย่างมหาศาล ภัยที่เกิด จากธรรมชาติเหล่านี้ได้แก่วาตภัย อุทกภัย แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม คลื่นพายุซัดฝั่ง เป็นต้น แต่มนุษย์เราก็มี ส่วนร่วมมีบทบาทเกี่ยวข้องอยู่ด้วยถึงกระนั้นก็ตามภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นแล้วได้นำความสูญเสียทั้งแก่ชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน และของประเทศเป็นอันมาก จึงควรที่ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมกันช่วยเหลือในการ หาความรู้และระดมความคิดเพื่อวางแผนป้องกัน แก้ไขและหลีกเลี่ยงภัยพิบัติ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ให้ส่งผลกระทบน้อยลง ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นแต่ละปีทั่วโลก มีผู้เสียชีวิตอย่างมากมาย ทั้งๆที่วิทยาการสมัยใหม่ในยุคปัจจุบัน ได้เจริญก้าวหน้าไปมากแล้ว แต่มนุษย์ก็ยังไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติได้และมักเชื่อกันว่า ภัยธรรมชาติเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ในขณะที่มนุษย์ไม่อาจยับยั้งภัยพิบัติธรรมชาติได้ แต่สิ่งที่เราสามารถกระทำได้คือ การบรรเทาความสูญเสียให้น้อยที่สุดอันเนื่องมาจากธรรมชาติเหล่านี้ ซึ่งต้องอาศัยการพยากรณ์ที่แม่นยำและการเตือนภัยที่มีประสิทธิ ภาพเพียงพอ มาตรการการป้องกันและเตรียมพร้อม พร้อมทั้งความร่วมมือจากทุกฝ่าย แม้มนุษย์จะไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดคลื่นสึนามิได้ แต่ก็สามารถบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้หากมีการเตรียมพร้อมกับ มือที่ดีดังนั้นความไม่ประมาทและการเตรียมพร้อมจึงเป็นเรื่องดีและไม่ก่อให้เกิดผลเสียด้านการท่องเที่ยวหากมีการไห้ความรู้แก่ประชาชน อย่างถูกต้องมิใช่ให้ข้อมูลแต่เพียงบางด้านหรือให้ไม่ครบถ้วนซึ่งอาจก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่สาธารณชนได้ สำหรับคลื่นสึนามินั้นการเตือนภัยคลื่นสึนามิล่วงหน้านั้นทำได้ยากกว่าการตรวจจับแผ่นดินไหวซึ่งเป็นสาเหตุของมันนักวิทยาศาสตร์มักทำได้แค่ชี้ว่าตรงไหนมีโอกาสจะเกิดคลื่นสึนามิได้บ้าง โดยดูตามประวัติที่มีบันทึกไว้ และกว่าจะระบุได้ว่าเจ้าคลื่นยักษ์ใต้ สมุทรนี้ มีความเร็วสักเท่าไร ก็ต้องรอตรวจจับแผ่นดินไหวได้ก่อนเป็นลำดับแรก ฉะนั้นหากเกิดแผ่นดินไหวใกล้แผ่นดินอย่างในกรณีที่ เพิ่งอุบัติขึ้นที่นิวกินี คลื่นสึนามิก็จะพุ่งเข้าถล่มชายฝั่งในเวลาแค่ไม่กี่วินาทีให้หลังจึงเป็นไปไม่ได้ที่ใครจะหนีทันวิธีสังเกตขณะคลื่นสึนามิ กำลังจะเข้าสู่ฝั่งคือเมื่อระดับน้ำที่ชายหาดลดต่ำกว่าระดับน้ำลงต่ำสุดตามปกติเป็นอย่างมากจนมองเห็นแนวชายฝั่งออกไปได้ไกล ผิดหูผิดตา หากรู้สึกว่าแผ่นดินไหวหรือพื้นดินสั่น สะเทือนขณะอยู่ใกล้ชายหาด จงวิ่งสุดฝีเท้าย้อนขึ้นไปให้ไกลจากน้ำทะเลที่สุดเท่าที่จะ ไปไหว

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×