ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โลก ดวงดาว และดาราศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #13 : กำเนิดระบบสุริยะ

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 14.42K
      5
      22 ก.พ. 50


    ระบบสุริยะ

    ระบบสุริยะ คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite) นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดกว่าแสนล้านดวงในกาแลกซี่ทางช้างเผือก ต้องมีระบบสุริยะที่เอื้ออำนวยชีวิตอย่าง ระบบสุริยะที่โลกของเราเป็นบริวารอยู่อย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าระยะทางไกลมากเกินกว่าความสามารถในการติดต่อจะทำได้ถึง

                 ที่โลกของเราอยู่เป็นระบบที่ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (The sun) เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (Planets) 9 ดวง ที่เราเรียกกันว่า ดาวนพเคราะห์ ( นพ แปลว่า เก้า) เรียงตามลำดับ จากในสุดคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต และยังมีดวงจันทร์บริวารของ ดวงเคราะห์แต่ละดวง (Moon of sattelites) ยกเว้นเพียง สองดวงคือ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ ที่ไม่มีบริวาร ดาวเคราะห์น้อย (Minor planets) ดาวหาง (Comets) อุกกาบาต (Meteorites) ตลอดจนกลุ่มฝุ่นและก๊าซ ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจร ภายใต้อิทธิพลแรงดึงดูด จากดวงอาทิตย์ ขนาดของระบบสุริยะ กว้างใหญ่ไพศาลมาก เมื่อเทียบระยะทาง ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 1au.(astronomy unit) หน่วยดาราศาสตร์ กล่าวคือ ระบบสุริยะมีระยะทางไกลไปจนถึงวงโคจร ของดาวพลูโต ดาว เคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ในระบบสุริยะ ซึ่งอยู่ไกล เป็นระยะทาง 40 เท่าของ 1 หน่วยดาราศาสตร์ และยังไกลห่างออก ไปอีกจนถึงดงดาวหางอ๊อต (Oort's Cloud) ซึ่งอาจอยู่ไกลถึง 500,000 เท่า ของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ด้วย ดวงอาทิตย์มีมวล มากกว่าร้อยละ 99 ของ มวลทั้งหมดในระบบสุริยะ ที่เหลือนอกนั้นจะเป็นมวลของ เทหวัตถุต่างๆ ซึ่ง ประกอบด้วยดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกกาบาต รวมไปถึงฝุ่นและก๊าซ ที่ล่องลอยระหว่าง ดาวเคราะห์ แต่ละดวง โดยมีแรงดึงดูด (Gravity) เป็นแรงควบคุมระบบสุริยะ ให้เทหวัตถุบนฟ้าทั้งหมด เคลื่อนที่เป็นไปตามกฎแรง แรงโน้มถ่วงของนิวตัน ดวงอาทิตย์แพร่พลังงาน ออกมา ด้วยอัตราประมาณ 90,000,000,000,000,000,000,000,000 แคลอรีต่อวินาที เป็นพลังงานที่เกิดจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ โดยการเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นฮีเลียม ซึ่งเป็นแหล่งความร้อนให้กับดาว ดาวเคราะห์ต่างๆ ถึงแม้ว่าดวงอาทิตย์ จะเสียไฮโดรเจนไปถึง 4,000,000 ตันต่อวินาทีก็ตาม แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังมีความเชื่อว่าดวงอาทิตย์ จะยังคงแพร่พลังงานออกมา ในอัตรา ที่เท่ากันนี้ได้อีกนานหลายพันล้านปี

               ชื่อของดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวงยกเว้นโลก ถูกตั้งชื่อตามเทพของชาวกรีก เพราะเชื่อว่าเทพเหล่านั้นอยู่บนสรวงสวรรค์ และเคารพบูชาแต่โบราณกาล ในสมัยโบราณจะรู้จักดาวเคราะห์เพียง 5 ดวงเท่านั้น(ไม่นับโลกของเรา) เพราะสามารถเห็นได้ ด้วยตาเปล่าคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ประกอบกับดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ รวมเป็น 7 ทำให้เกิดวันทั้ง 7 ในสัปดาห์นั่นเอง และดาวทั้ง 7 นี้จึงมีอิทธิกับดวงชะตาชีวิตของคนเราตามความเชื่อถือทางโหราศาสตร์ ส่วนดาวเคราะห์อีก 3 ดวงคือ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ถูกคนพบภายหลัง แต่นักดาราศาสตร์ก็ตั้งชื่อตามเทพของกรีก เพื่อให้สอดคล้องกันนั่นเอง

     

     

     

     

     

     

     

     

    ทฤษฎีการกำเนิดของระบบสุริยะ

                    หลักฐานที่สำคัญของการกำเนิดของระบบสุริยะก็คือ การเรียงตัว และการเคลื่อนที่อย่างเป็นระบบระเบียบของดาว เคราะห์ ดวงจันทร์บริวาร ของดาวเคราะห์ และดาวเคราะห์น้อย ที่แสดงให้เห็นว่าเทหวัตถุ ทั้งมวลบนฟ้า นั้นเป็นของ ระบบสุริยะ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย ที่เทหวัตถุท้องฟ้า หลายพันดวง จะมีระบบ โดยบังเอิญโดยมิได้มีจุดกำเนิด ร่วมกัน Piere Simon Laplace ได้เสนอทฤษฎีจุดกำเนิดของระบบสุริยะ ไว้เมื่อปี ค.ศ.1796 กล่าวว่า ในระบบสุริยะจะ มีมวลของก๊าซรูปร่างเป็นจานแบนๆ ขนาดมหึมาหมุนรอบ ตัวเองอยู่ ในขณะที่หมุนรอบตัวเองนั้นจะเกิดการหดตัวลง เพราะแรงดึงดูดของมวลก๊าซ ซึ่งจะทำให้ อัตราการหมุนรอบตัวเองนั้น จะเกิดการหดตัวลงเพราะแรงดึงดูดของก๊าซ ซึ่งจะทำให้อัตราการ หมุนรอบตังเอง มีความเร็วสูงขึ้นเพื่อรักษาโมเมนตัมเชิงมุม (Angular Momentum) ในที่สุด เมื่อความเร็ว มีอัตราสูงขึ้น จนกระทั่งแรงหนีศูนย์กลางที่ขอบของกลุ่มก๊าซมีมากกว่าแรงดึงดูด ก็จะทำให้เกิดมีวงแหวน ของกลุ่มก๊าซแยก ตัวออกไปจากศูนย์กลางของกลุ่มก๊าซเดิม และเมื่อเกิดการหดตัวอีกก็จะมีวงแหวนของกลุ่มก๊าซเพิ่มขึ้น ขึ้นต่อไปเรื่อยๆ วงแหวนที่แยกตัวไปจากศูนย์กลางของวงแหวนแต่ละวงจะมีความกว้างไม่เท่ากัน ตรงบริเวณ ที่มีความ หนาแน่นมากที่สุดของวง จะคอยดึงวัตถุทั้งหมดในวงแหวน มารวมกันแล้วกลั่นตัว เป็นดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ของดาว ดาวเคราะห์จะเกิดขึ้นจากการหดตัวของดาวเคราะห์ สำหรับดาวหาง และสะเก็ดดาวนั้น เกิดขึ้นจากเศษหลงเหลือระหว่าง การเกิดของดาวเคราะห์ดวงต่างๆ ดังนั้น ดวงอาทิตย์ในปัจจุบันก็คือ มวลก๊าซ ดั้งเดิมที่ทำให้เกิดระบบสุริยะขึ้นมานั่นเอง นอกจากนี้ยังมีอีกหลายทฤษฎีที่มีความเชื่อในการเกิดระบบสุริยะ แต่ในที่สุดก็มีความเห็นคล้ายๆ กับแนวทฤษฎีของ Laplace ตัวอย่างเช่น ทฤษฎีของ Coral Von Weizsacker นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ซึ่งกล่าวว่า มีวง กลมของกลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองหรือเนบิวลา ต้นกำเนิดดวงอาทิตย์ (Solar Nebular) ห้อมล้อมอยู่รอบดวงอาทิตย์ ขณะที่ดวงอาทิตย์เกิดใหม่ๆ และ ละอองสสารในกลุ่มก๊าซ เกิดการกระแทกซึ่งกันและกัน แล้วกลายเป็นกลุ่มก้อนสสาร ขนาดใหญ่ จนกลายเป็น เทหวัตถุแข็ง เกิดขั้นในวงโคจรของดวงอาทิตย์ ซึ่งเราเรียกว่า ดาวเคราะห์ และดวงจันทร์ของ ดาวเคราะห์นั่นเอง

              ระบบสุริยะของเรามีขนาดใหญ่โตมากเมื่อเทียบกับโลกที่เราอาศัยอยู่ แต่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับกาแล็กซีของเราหรือ กาแล็กซีทางช้างเผือก ระบบสุริยะตั้งอยู่ในบริเวณ วงแขนของกาแล็กซีทางช้างเผือก (Milky Way) ซึ่งเปรียบเสมือนวง ล้อยักษ์ที่หมุนอยู่ในอวกาศ โดยระบบสุริยะ จะอยู่ห่างจาก จุดศูนย์กลางของกาแล็กซีทางช้างเผือกประมาณ 30,000 ปีแสง ดวงอาทิตย์ จะใช้เวลาประมาณ 225 ล้านปี ในการเคลื่อน ครบรอบจุดศูนย์กลาง ของกาแล็กซี ทางช้างเผือกครบ 1 รอบ นักดาราศาสตร์จึงมี ความเห็นร่วมกันว่า เทหวัตถุทั้ง มวลในระบบสุริยะไม่ว่าจะเป็นดาวเคราะห์ทุกดวง ดวงจันทร์ของ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกกาบาต เกิดขึ้นมาพร้อมๆกัน มีอายุเท่ากันตามทฤษฎีจุดกำเนิดของระบบ สุริยะ และจาการนำ เอาหิน จากดวงจันทร์มา วิเคราะห์การสลายตัว ของสารกัมมันตภาพรังสี ทำให้ทราบว่าดวงจันทร์มี อายุประมาณ 4,600 ล้านปี ในขณะเดียวกัน นักธรณีวิทยาก็ได้คำนวณ หาอายุของหินบนผิวโลก จากการสลายตัว ของอตอม อะตอมยูเรเนียม และสารไอโซโทป ของธาตุตะกั่ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า โลก ดวงจันทร์ อุกกาบาต มีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี และอายุของ ระบบสุริยะ นับตั้งแต่เริ่มเกิดจากฝุ่นละอองก๊าซ ในอวกาศ จึงมีอายุไม่เกิน 5000 ล้านปี ในบรรดาสมาชิกของระบบสุริยะซึ่งประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดวงจันทร์ ของดาวเคราะห์ดาวหาง อุกกาบาต สะเก็ดดาว รวมทั้งฝุ่นละองก๊าซ อีกมากมาย นั้นดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ 9 ดวง จะได้รับความสนใจมากที่สุดจากนักดาราศาสตร์

     

     

        กำเนิดระบบสุริยะ

    1.     หมอกไฟต้นกำเนิด

     

    เมื่อประมาณ 5,000 ล้านปีก่อน กลุ่มหมอกเมฆของแก๊สและ

    ละอองธุลี หรือ เนบิวลา ก่อตัวขึ้นเป็นระบบสุริยะ การดึงของแรงโน้มถ่วงในบริเวณศูนย์กลางของกลุ่มหมอกเมฆได้ดึงเอาสสารต่าง ๆ เข้าสู่ด้านใน ทำให้กลุ่มหมอกเมฆ มีขนาดเล็กลงและหมุนไปรอบ ๆ

     

    2.      แผ่นจานที่กำลังหมุนตัว

     

    ขณะที่กลุ่มหมอกเมฆกำลังหมุนไปรอบ ๆ นั้นสสารที่อยู่ตรงกลางมี

    การอัดแน่นมากขึ้น และมีสภาพร้อนจัดเกิดเป็นสิ่งซึ่งต่อมากลายเป็นดวงอาทิตย์หรือดวงอาทิตย์ยุคแรก แก๊ส และ    ละอองธุลีที่ล้อมรอบส่วนนูนตรงกลางของกลุ่มหมอกเมฆได้แฟบลงจนกลายเป็นแผ่นจานขนาดใหญ่

     

     

     

     

    3.      การเกิดดาวเคราะห์ดวงน้อยยิ่ง

     

     

    ในขณะที่ส่วนตรงกลางของแผ่นจานร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนขอบนอกเย็นตัวลง แก๊สและละอองธุลีจับตัวแน่นเป็นอนุภาค เป็นกลุ่มก้อนกลายเป็นดาวเคราะห์ดวงน้อย ๆ ประกอบด้วย เหล็ก นิเกิล หิน และน้ำแข็ง

     

    4.      การชนกันของดาวเคราะห์ดวงน้อยยิ่ง

     

     

     

    เมื่อดาวเคราะห์ดวงน้อยยิ่งกระแทกเข้าหากัน ส่วนใหญ่จะแตกกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แต่ก็มีบ้างที่รวมเข้าเป็นก้อนเดียว โดยปกติแล้วดาวเคราะห์ดวงน้อยยิ่งขนาดใหญ่จะดึงเอาดาวเคราะห์ดวงน้อยยิ่งขนาดเล็กกว่าเข้ามารวมไว้กับตัวเองเสมอ ดังนั้นการชนกันในแต่ละครั้งจะทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ

     

     

    5.     การก่อตัวของดาวเคราะห์ยุคแรก

     

     

     

    ดาวเคราะห์ดวงน้อยยิ่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบางดวงสามารรวบรวมเอาสสารต่าง ๆ เข้าไว้จนเปลี่ยนเป็นดาวเคราะห์ยุคแรก ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นดาวเคราะห์ทั้ง 9  ดวงอาทิตย์ก็มีการรวบรวมสสารต่าง ๆ เข้าสู่แกนของมันเช่นกัน จนมีความหนาแน่นและร้อนมากขึ้น

     

    6.      การก่อตัวของดวงจันทร์

     

     

     

    ดาวเคราะห์ดวงน้อยยิ่งที่หลงเหลืออยู่บางส่วนลงเอยด้วยการโคจรไปรอบ ๆ ดาวเคราะห์ที่เกิดขึ้นมา และกลายเป็นดวงจันทร์ และแถบวงแหวนในที่สุดดวงอาทิตย์ยุคแรกเกิดการเผาไหม้ที่แกนส่วนในจนร้อนแดงขึ้น กำจัดเศษวัสดุที่ล่องลอยอยู่ส่วนบนออกไปกับการกรรโชกอย่างรุนแรงของลมสุริยะที่ยังคงปรากฏจนถึงทุกวันนี้

     

    ดวงอาทิตย์

                    ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกที่สุดเราพบเห็นบ่อยครั้งที่สุดบนท้องฟ้า  จัดเป็นดาวฤกษ์สีเหลืองชนิดสเปกตรัม G อุณหภูมิผิวประมาณ 6,000 เคลวิน  ดวงอาทิตย์เป็นบ่อเกิดพลังงานที่สำคัญยิ่งในระบบสุริยะของเราเป็นผู้พลังงานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และพืช  ถ้าเราสำรวจพลังงานต่างๆทุกชนิด  ทุกประเภทรอบๆตัวเราจะเห็นได้ว่า  พลังงานเกือบทั้งหมดได้มาจากดวงอาทิตย์ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม

     

    พลังงานและอนุภาคจากดวงอาทิตย์ที่โลกได้รับ

           

                    ดวงอาทิตย์เป็นสสารที่มีขนาดใหญ่ ดำรงอยู่ในสภาวะแก๊สร้อนจัดรวมตัวกันในลักษณะทรงกลม  มีอุณหภูมิสูง  ส่งพลังงานและอนุภาคต่างๆออกไปรอบตัวโดยการแผ่รังสีตลอดเวลา  พลังงานจากดวงอาทิตย์ทำให้โลกอบอุ่น  จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก  และก่อให้เกิดพลังงานต่างๆที่มีใช้อยู่บนโลก  นอกจากพลังงานนิวเคลียร์และความร้อนจากใต้พื้นโลกแล้ว   ยังมีพลังงานอื่นที่โลกได้รับโดยตรงหรือสืบเนื่องจากดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น   จึงกล่าวได้ว่า  ดวงอาทิตย์คือผู้ให้พลังงานชีวิตแก่โลก

     

     

     

     

     

    เราอาจจัดพลังงานที่ดวงอาทิตย์ส่งมายังโลกออกเป็น 2ประเภท คือ พลังงานที่มีผลกระทบต่อโลกทันทีและพลังงานที่มีผลกระทบต่อโลกในภายหลัง พลังงานที่มีผลกระทบต่อโลกทันทีเป็นพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งผ่านชั้นบรรยากาศมาถึงผิวโลกเร็ว ทำให้เกิดผลทันทีต่อโลกนั้น ประกอบด้วยพลังงานความร้อนและแสงสว่างเป็นส่วนใหญ่นอกจากนี้มีคลื่นวิทยุ ซึ่งสามารถรับได้โดยใช้กล้องโทรทัศน์วิทยุ และรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งผ่านชั้นบรรยากาศเข้ามายังพื้นผิวโลกเพียงเล็กน้อย

     

     

     

     

     

     

    ส่วนพลังงานที่มีผลกระทบต่อโลกในภายหลัง ได้แก่ อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าต่าง ๆ จากดวงอาทิตย์ซึ่งไม่สามารถผ่านชั้นบรรยากาศมาถึงผิวโลกได้เลย อนุภาคเหล่านี้จะทำให้เกิดผลต่อโลกในภายหลัง ได้แก่ อนุภาครังสีคอสมิก ซึ่งเป็นอนุภาคโปรตอน และ ลมสุริยะ (Solar Wind) ซึ่งเป็นอนุภาคโปรตอนและอิเล็กตรอนที่เกิดจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ ถ้าเกิดปรากฏการณ์ระเบิดจ้าบนดวงอาทิตย์ อนุภาคโปรตอนและอิเล็กตรอนจากดวงอาทิตย์มีมากขึ้น อนุภาคเหล่านี้มาถึงโลกภายในเวลา 20-40 ชั่วโมง ในขณะที่แสงใช้เวลาเพียง 8.3นาทีการระเบิดจ้ามักเกิด ณ บริเวณที่เป็นจุด ซึ่งแสงอาทิตย์จะเกิดจุดมารกที่สุดทุก ๆ ประมาณ 11 ปี ช่วงที่มีจุดมากจะมีการระเบิดจ้ามากด้วย ทำให้อนุภาคถูกปลดปล่อยจากดวงอาทิตย์เป็นจำนวนมากกว่าปกติ เรียกว่า พายุสุริยะ ซึ่งจะไปรบกวนสนามแม่เหล็กโลกทำให้เกิดพายุแม่เหล็ก ซึ่งมีผลกระทบต่อโลก ดังนี้

    §       ทำให้เกิดปรากฏการณ์แสงเหนือแสงใต้

    §       ทำให้เกิดไฟฟ้าแรงสูงดับในประเทศที่อยู่ใกล้ขั้วโลก

    §       เกิดการติดขัดทางการสื่อสารโดยวิทยุคลื่นสั้นทั่วโลก

    §       วงจรอิเล็กทรอนิกส์ในดาวเทียมอาจถูกทำลาย

     

     

     

     

     

     

     

     

              เนื่องจากโลกมีสนามแม่เหล็กห่อหุ้มโดยรอบ เส้นแรงแม่เหล็กโลกแถบเส้นศูนย์สูตรจะขนานกับผิวโลกและโค้งเข้าสู่ผิวโลกตรงใกล้ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ อนุภาคของลมสุริยะจะเคลื่อนที่ตามแนวเส้นแรงแม่เหล็ก แต่ไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็กโลกเข้ามาในแนวดิ่งแถบใกล้เส้นศูนย์สูตรได้ จึงเข้าสู่บรรยากาศโลกทางขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้และเมื่อไปชนกับอะตอมของแก๊สบางอย่างในระดับสูงจะทำให้เกิดการรับและคายพลังงานออกมาในรูปของแสงสีต่าง ๆ เรืองรองบนท้องฟ้า บริเวณขั้วโลกเหนือหรือขั้วโลกใต้ เรียกว่า แสงเหนือ-แสงใต้ หรือ แสงออโรรา (Aurora)

                แสงเหนือจะเห็นในเวลากลางคืนแถบชั้วโลกเหนือในขณะที่แสงใต้จะเห็นในเวลากลางคืนแถบขั้วโลกใต้แสงจะเห็นอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 100 ถึง 1,000 กิโลเมตรจากพื้นดิน เพราะบรรยากาศในช่วงนี้เบาบาง มีความกดดันน้อยมาก คนที่อยู่บริเวณละติจูดสูง ๆ ทั้งทางซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ จึงเห็นแสงวาบลักษณะคล้ายม่านย้อยเป็นสายมีสีต่าง ๆ ปรากฏอยู่บนท้องฟ้าในบางคืน

                ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญในระบบสุริยะ เป็น ดาวฤกษ์สีเหลือง มีอายุเกือบ 5,000 ล้านปี อยู่ห่าจากโลกของ เราประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร แสงจากดวงอาทิตย์ใช้เวลาเดินทางมายังโลกเพียง 8.3 นาที หรือ 499 วินาทีเท่านั้น พลังงานจำนวนมหาศาล ในดวงอาทิตย์ได้มา จากการ เปลี่ยนก๊าซไฮโดรเจนเป็น ฮีเลียมที่อุณหภูมิประมาณ 15 ล้านเคลวิน หรือประมาณ 27 ล้านองศาฟาเรนไฮต์  ดวงอาทิตย์มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่มากกว่าโลกของเรา109 เท่า มีปริมาตร 1,300,000 เท่าของโลก และมีมวล มากกว่าโลกของเรา 333,434 เท่า กาลิเลโอเป็นคนแรก ที่พิสูจน์ให้เห็นว่า ดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเอง และจากการศึกษาของนักดาราศาสตร์ทำให้ทราบว่า การหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์ ในบริเวณเส้นศูนย์สูตรจะมีความเร็วกว่าที่บริเวณขั้ว เหนือและขั้วใต้

                ดังนั้น นักดาราศาสตร์บางคนจึงมีความเห็นว่ารูปร่างของดวงอาทิตย์ มีลักษณะเป็นทรงรีรูปไข่ ทั้งนี้เพราะ เกิดแรงหนีศูนย์กลาง ที่มาจากการหมุน ซึ่งทำให้ดาวเคราะห์บริวารเป็นรูปทรงรีด้วย
              บริเวณผิวดวงอาทิตย์ จะมีความสว่าง สามารถมองเห็นได้ เราเรียกว่า บริเวณโฟโตสเฟียร์ (Photosphere) เป็นชั้นที่มีธาตุที่พบทั้งหมด แต่จะไม่อยู่ในสภาพของแข็ง ซึ่งอาจจะรวมกันเป็นกลุ่มอนุภาคของเหลว ชั้นโฟโตสเฟียร์จะเป็นชั้นที่แผ่พลังงานของดวงอาทิตย์สู่อวกาศ เป็นชั้นบางๆ แต่ค่อนข้างทึบแสง มีความหนาประมาณ
    400 กิโลเมตร เป็นชั้นที่มีอุณหภูมิแปรเปลี่ยนตั้งแต่ประมาณ 10,000 เคลวิน ที่บริเวณ ส่วนลึกที่สุดจนถึง 6,000 เคลวินที่บริเวณส่วนบนสุดถัดจากชั้น โฟโตสเฟียร์ขึ้นมา ประมาณ 19,200 กิโลเมตร จะเป็นชั้นโครโมสเฟียร์ (Chromosphere) ซึ่งเป็นชั้นค่อนข้างโปร่งแสงที่มีความหนาประมาณ 4,800 กิโลเมตร อุณหภูมิของชั้นโครโมสเฟียร์ จะเพิ่มมากขึ้นตามระยะทางที่ห่างออกไปข้างนอก คือจะมีอุณหภูมิตั้งแต่ประมาณ 4,500 เคลวิน จนถึง 1,000,000 เคลวิน ดังนั้นชั้นบนสุดของ ชั้นโครโมสเฟียร์ จะเป็นชั้นบริเวณที่มีปรากฏการณ์รุนแรงมาก ซึ่งจะมองเห็นแนวโค้ง เป็นสีสุกใสในขณะเกิดสุริยุปราคา เนื่องจากขณะที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงนั้น ชั้นของโฟโตสเฟียร์จะถูกดวงจันทร์บดบังอยู่ชั่วขณะหนึ่ง ทำให้มองเห็นชั้นของโครโมสเฟียร์เป็นแนวเว้า มีสีส้ม-แดง อยู่ในบริเวณของดวงจันทร์

    ข้อมูลจำเพาะของดาวอาทิตย์

    ห่างจากจุดศูนย์กลางกาแลกซี่

    25,000 ปีแสง

    Eccentricity

    0.047

    คาบการหมุนรอบตัวเอง

    25.38 วันบนโลก

    คาบการหมุนรอบศูนย์กลางกาแลกซี่

    225ล้าน ปีบนโลก(1 comic year) ด้วยความเร็ว 220 กิโลเมตรต่อวินาที

    ระนาบโคจร (Inclination)

    0:773 องศา

    แกนเอียงกับระนาบโคจร

    98 องศา

    มวล

    2 x 1027 ตัน หรือ 332,946  เท่าของโลก (99%ของมวลของระบบสุริยะ)

    เส้นผ่านศูนย์กลาง

    1,391,980  กิโลเมตร (โลก 12,756 กิโลเมตร ที่เส้นศูนย์สูตร)

    แรงโน้มถ่วง

    27.90 เท่าของโลก

    ความเร็วหลุดพ้น

    617.5 กิโลเมตรต่อวินาที

    ความหนาแน่น

    1 ต่อ 1.409 เมื่อเทียบกับน้ำ

    ความสว่างสูงสุด

    -26.8 (600,000 เท่าของความสว่างของดวงจันทร์)

     

    ข้อมูลจำเพาะของดวงอาทิตย์

    สมบัติทางกายภาพต่าง ๆ   (ค่าจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์)

                    ความดันที่ศูนย์กลาง   (บาร์)  :        2,477  ´ 1011  (ความดันที่ผิวโลกประมาณ  1.014  บาร์)

                    อุณหภูมิที่ศูนย์กลาง  (เคลวิน)  :   1.571 ´  107

                    ความหนาแน่นที่ศูนย์กลาง  (กิโลกรัม/เมตร)  :   1.622 ´  105

    ค่าที่วัดได้จากการสังเกต

                    ระยะห่างจากโลกเฉลี่ย  (กิโลเมตร)   :   149.6 ´  106

                    ระยะห่างจากโลกน้อยที่สุด  (กิโลเมตร)  :   147.1  ´ 106

                    ระยะห่างจากโลกมากที่สุด  (กิโลเมตร)  : 152.1 ´ 106

    สมบัติของพื้นผิวและบรรยากาศของดวงอาทิตย์

                    ความดันของแก๊สที่ผิวดวงอาทิตย์  (มิลลิบาร์)   :  0.868

                    อุณหภูมิที่ผิว  (เคลวิน)   :  5,778

                    อุณหภูมิที่ส่วนล่างของบรรยากาศชั้นโฟเตสเฟียร์ (เคลวิน)   :  6,600

                    อุณหภูมิที่ส่วนบนของบรรยากาศชั้นโฟโตสเฟียร์  (เคลวิน) :  4,400

    อุณหภูมิที่ส่วนล่างของบรรยากาศชั้นโครโมสเฟียร์  (เคลวิน) :  4,400

    ความหนาของบรรยากาศชั้นโฟเตโสเฟียร์ (ค่าประมาณ ; กิโลเมตร) : 400

    ความหนาของบรรยากาศชั้นโคเมสเฟียร์ (ค่าประมาณ ; กิโลเมตร)   :  2,500

    ธาตุองค์ประกอบของบรรยากาศ  (สำหรับชั้นโฟโตสเฟียร์)

                    องค์ประกอบหลัก :  ไฮโดรเจน – 90.965%,  ฮีเลียม * 8.889%\

                    องค์ประกอบย่อย (ส่วนในล้านส่วน  ; ppm)   :  ออกซิเจน – 774,  คาร์บอน –330, 

                นีออน    112  -  102,   เหล็ก  -43,   แม็กนีเซี่ยม – 35,  ซิลิคอน –32,  กำมะถัน –15

    ข้อมูลจาก :  Solar  Data  Analysis  Center  (SDAC),   NASA  Goddard  Space  Flight  Center  (GSFC), NASA  National  Space  Science  Data  Center  (NSSDC)  (2003)

     

    ส่วนประกอบของดวงอาทิตย์

         ดวงอาทิตย์เป็นกลุ่มแก๊สขนาดใหญ่ เนื่องจากมวลของแก๊สมีขนาดมหาศาล ทำให้มีความดันที่แกนกลางสูง มาก ทำให้สามารถเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบรวมตัว (นิวเคลียร์ฟิวชัน) ได้อย่างต่อเนื่อง พลังงานที่ได้ทำให้บริเวณแกนกลางของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิกว่า ๑๕ ล้านเคลวิน พลังงานความร้อนที่ได้ทำให้เกิดกระบวนการต่อเนื่องต่าง ๆ มากมาย โดยส่วนใหญ่จะถูกดูดกลืนโดยแก๊สซในดวงอาทิตย์เอง ส่งผลให้ บริเวณผิวนอกของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิเหลือเพียงประมาณ ๖๐๐๐ เคลวิน และทำให้แสงแดด มีการกระจายความเข้มใกล้เคียงกับการแผ่รังสีของวัตถุดำที่ ๖๐๐๐ เคลวินนั่นเอง

    ดาวเคราะห์ (Planets)

                ดาวเคราะห์ หมายถึง ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง แต่สะท้อนแสงอาทิตย์ส่องเข้าไปตาเรา ดาวเคราะห์ แต่ละดวง มีขนาดและจำนวนดวงจันทร์บริวารไม่เท่ากัน อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็น ระยะทางต่างกัน และดวง ต่างก็อยู่ในระบบสุริยะ โดยหมุนรอบตัวเองโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ด้วย ความเร็วต่างกันไป จากการศึกษา เรื่องราว เกี่ยวกับดาวเคราะห์โดยใช้โลกเป็นหลักในการแบ่ง

               ดาวเคราะห์ เป็นดาวที่ไม่มีแสงในตัวเอง ไม่เหมือนกับดวงอาทิตย์ หรือดาวฤกษ์ ซึ่งสามารถส่องสว่างด้วยตนเองได้ แต่เราสามารถมองเห็นดาวเคราะห์ได้ เนื่องจากการที่ดาวเคราะห์ สะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ เข้าสู่ตาของเรานั่นเองแม้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลของเรา จะมีถึง 8 ดวง (ไม่รวมโลก) แต่เราสามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า เพียง 5 ดวงเท่านั้น คือ ดาวพุธ, ดาวศุกร์, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัส และดาวเสาร์ เท่านั้น ซึ่งชาวโบราณเรียก ดาวเคราะห์ทั้งห้านี้ว่า "The Wandering Stars" หรือ "Planetes" ในภาษากรีก และเรียกดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ ทั้งสองดวงว่า "The Two Great Lights" ซึ่งเมื่อรวมกันทั้งหมด 7 ดวง จะเป็นที่มาของชื่อวัน ใน 1 สัปดาห์ นั่นเอง

    ดาวเคราะห์ทั้ง 9 สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้

    - ดาวเคราะห์ชั้นใน (Inner or Terrestrial Planets): จะเป็นกลุ่มดาวเคราะห์ ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าอีกกลุ่ม เป็นดาวเคราะห์ที่เย็นตัวแล้วมากกว่า ทำให้มีผิวนอกเป็นของแข็ง เหมือนผิวโลกของเรา จึงเรียกว่า Terrestrial Planets (หมายถึง "บนพื้นโลก") ได้แก่ ดาวพุธ (Mercury), ดาวศุกร์(Venus), โลก (Earth) และดาวอังคาร (Mars) ซึ่งจะใช้แถบของ ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid Belt) เป็นแนวแบ่ง

    - ดาวเคราะห์ชั้นนอก (Outer or Jovian Planets): จะเป็นกลุ่มดาวเคราะห์ ที่อยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่าอีกกลุ่ม เป็นดาวเคราะห์ที่เพิ่งเย็นตัว ทำให้มีผิวนอก ปกคลุมด้วยก๊าซ เป็นส่วนใหญ่ เหมือนพื้นผิวของดาวพฤหัส ทำให้มีชื่อเรียกว่า Jovian Planets (Jovian มาจากคำว่า Jupiter-like หมายถึง คล้ายดาวพฤหัส) ได้แก่ ดาวพฤหัส (Jupiter), ดาวเสาร์ (Saturn), ดาวยูเรนัส (Uranus), ดาวเนปจูน (Neptune) และดาวพลูโต (Pluto)

    ดาวพุธ

              ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ชื่อของดาวเคราะห์ คือ Mercury เป็นชื่อในภาษาโรมัน โดยเป็นชื่อของผู้ส่งสารของพระเจ้า ซึ่งมีความรวดเร็ว เนื่องจากดาวพุธ ปรากฏและหายไปอย่างรวดเร็ว ในช่วงเช้า หรือช่วงค่ำนั่นเอง

                 ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ดวงที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด จึงเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์เร็วที่สุด โดยใช้เวลาเพียง 87.969 วันในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ดาวพุธหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดียว กับการเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ คือ จากทิศตะวันตกไป ทิศตะวันออก หมุนรอบตัวเองรอบละ 58.6461 วัน เมื่อพิจารณาจากคาบของการหมุนรอบตัวเอง และการคาบการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ จะพบว่าระยะเวลากลางวัน ถึงกลางคืนบนดาวพุธยาวนานถึง 176 วัน ซึ่งยาวนานที่สุดในระบบสุริยะ

             ดาวพุธ ดาวเคราะห์ชั้นในสุด มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เกือบจะกลม (ค่า Ecc) และมีคาบการโคจร รอบดวงอาทิตย์ ที่สั้นที่สุด จึงทำให้ดาวพุธเคลื่อนที่บนท้องฟ้าเร็วมาก คนกรีกโบราณจึงยกให้ดาวพุธเป็น ดาวตัวแทนของ เทพเมอร์คิวรี่ (Mercury) เทพแห่งการสื่อสาร เมื่อมองด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็น ลักษณะของดาวพุธ เว้าแว่งเป็นเสี้ยวคล้ายกับดวงจันทร์

               การสังเกตดาวพุธ เราสามารถเห็นดาวพุธได้เป็นบางช่วง หากดาวพุธไม่โคจรมาอยู่หน้าดวงอาทิตย์หรือหลัง ดวงอาทิตย์ เราจะเห็นดาวพุธอยู่ทางซีกตะวันตกหลังดวงอาทิตย์ตกไปเล็กน้อย และทิศตะวันออกก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น เล็กน้อย อยู่สูงจากขอบฟ้าไม่เกิน 25 องศา และเห็นได้เพียงช่วงเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 20 นาที ก็จะลับขอบฟ้าไปหรือ แสงอาทิตย์ขึ้นมาบัง (ดูข้อมูลได้จาก: ตำแหน่งของดาวเคราะห์)

                ดาวพุธจึงโคจรอยู่ท่ามกลาง ความร้อนจัด ของดวงอาทิตย์ในระยะห่าง เฉลี่ย ประมาณ 58,000,000 กิโลเมตร ในขณะที่อยู่ห่างจากโลกของเราประมาณ 15,000,000 กิโลเมตร ด้วยเหตุนี้เมื่อเรามองดาวพุธจากโลก จึงเห็นดาวพุธอยู่ใกล้ ดวงอาทิตย์ ตลอดเวลา แต่เนื่องจากความสว่างของเวลากลางวัน ทำให้เราไม่สามารถเห็น ดาวพุธด้วย ตาเปล่า จนกว่าดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า หรือก่อนดวงอาทิตย์จะปรากฏในวันใหม่ กล่าวคือ ถ้าอยู่ทางทิศตะวันออกของดวงอาทิตย์ จะลับขอบฟ้าหลังดวงอาทิตย์ จึงมีโอกาส เห็นอยู่ทางทิศตะวันตก ในเวลาหัวค่ำ แต่ถ้าอยู่ทางทิศตะวันตก ของดวงอาทิตย์ จะลับ ขอบฟ้า ก่อนดวงอาทิตย์ และจะขึ้นก่อนดวงอาทิตย์ ในเวลารุ่งเช้า จึงมีโอกาสเห็นอยู่ทาง ทิศตะวันออกในเวลาใกล้รุ่ง

                ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4,878 กิโลเมตร มีมวลประมาณ 0.054 เท่าของโลก ใช้เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์รอบหนึ่งเป็นเวลาประมาณ 87.97 วัน หรือ 88 วัน ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร ซึ่งก่อนปี ค.ศ. 1965 นักดาราศาสตร์มีความเชื่อว่าดาวพุธใช้เวลาโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ เท่ากับเวลาที่ใช้ใน การหมุน รอบตัวเอง นั่นหมายถึงว่า ดาวพุธจะหันด้านเดียวในการรับแสง จากดวงอาทิตย์ตลอดเวลา แต่เมื่อ Roef Dyee และ Gordon Effect นักวิทยาศาสตร์คอร์เนล์ ประเทศสหรัฐอเมริกา นำเทคนิคของเรดาร์มาวัดการหมุนรอบตัวเอง ของดาวพุธ พบว่าใช้เวลาเพียง 58.65 วัน หรือประมาณ 59 วันเท่านั้น แต่ 1 วันบนดาวพุธจะยาวถึง 176 วันของโลก

     

     

     

     

     

     

     

     

    ดาวศุกร์

              เป็นชื่อเทพธิดาแห่งความงาม (Venus) เนื่องจาก เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุด เมื่อมองจากโลก และสังเกตเห็นได้ง่าย แม้ว่า ความเป็นจริงแล้ว ดาวดวงนี้ จะไม่สามารถมีสิ่งมีชีวิต อาศัยอยู่ได้ เนื่องจากอุณหภูมิเฉลี่ยสูงมากก็ตาม แต่ครั้งหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์เคยเชื่อว่า ดาวศุกร์ มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

              ดาวศุกร์ ดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สอง มีขนาดใกล้เคียงกับโลก จึงชื่อว่าเป็น "ฝาแฝดโลก" ดาวศุกร์มีวงโคจรอยู่ชั้นในเช่นเดียวกับดาวพุธ จึงทำให้เราสามารถมองเห็นดาวศุกร์ได้เช่นเดียวกับดาวพุธคือ ทางด้านทิศตะวันตกหลังอาทิตย์ลับของฟ้าไปแล้วสูงประมาณ 45 องศา เรียกว่าดาวศุกร์นี้ว่า "ดาวประจำเมือง" และด้านทิศตะวันออกก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น เรียกว่า "ดาวรุ่ง" หรือ "ดาวประกายพรึก" ซึ่งเราสามารถมองเห็น เป็นดาวเด่นอยู่บนท้องฟ้าสวยงามมาก ชาวกรีกโบราณจึงยกให้ดาวศุกร์แทน เทพวีนัส เทพแห่งความงาม เมื่อมองด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นลักษณะของดาวศุกร์เว้าแหว่งเป็นเสี้ยวคล้าย กับดวงจันทร์เช่นกัน

              ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์มีขนาดเล็กกว่าโลกเล็กน้อย จึงได้ชื่อว่าเป็นดาวฝาแฝดกับโลก เป็นดาวเคราะห์ที่ปรากฏสว่างที่สุด สว่างรองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ถ้าเห็นทางทิศตะวันตกในเวลาค่ำเรียกว่า ดาวประจำเมือง และถ้าเห็นทางทิศตะวันออกในเวลาก่อนรุ่งอรุณ เรียกว่า ดาวประกายพรึก ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกอย่างรุนแรง เพราะมีบรรยากาศหนาทึบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ ดาวศุกร์จึงร้อนมาก อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยสูงกว่าดาวพุธ ดาวศุกร์มีโอกาสเข้ามาใกล้โลกที่สุด ใกล้กว่าดาวพุธ ซึ่งนักดาราศาสตร์ยุคโบราณเข้าใจผิดคิดว่าอยู่ใกล้โลกที่สุด ลักษณะพิเศษของดาวศุกร์คือ หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลานานกว่าการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ และถ้าเราอยู่บนดาวศุกร์เวลา 1 วัน จะไม่ยาวเท่ากับเวลาที่ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ นี่คือลักษณะพิเศษที่ดาวศุกร์ไม่เหมือนดาวเคราะห์ดวงใดๆ นอกจากนี้ดาวศุกร์ยังหมุนตามเข็มนาฬิกาหรือหมุนจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ในขณะที่เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ดาวศุกร์จึงหมุนสวนทางกับดาวเคราะห์ดวงอื่น และหมุนสวนทางกับการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองรอบละ 243 วัน แต่ 1 วันของดาวศุกร์ยาวนานเท่ากับ 117 วันของโลก เพราะตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกยาวนาน 58.5 วันของโลก ดาวศุกร์เคลื่อนรอบดวงอาทิตย์รอบละ 225 วัน 1 ปีของดาวศุกร์จึงยาวนาน 225 วันของโลก

     

    โลก

              โลก เป็นดาวเคราะห์สีน้ำเงิน ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของมวลมนุษย์ และสรรพสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3 ในจำนวนดาวเคราะห์ทั้งหมด ในระบบสุริยะ มีพื้นผิวส่วนใหญ่ปกคลุมไปด้วยน้ำถึง 2 ใน 3 ของพื้นโลก จึงได้ชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์แห่งพื้นน้ำ 
               โลก เป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งโลก ชื่อ "จีอา" (Gaea) เป็นดาวเคราะห์ที่มนุษย์เราอาศัยอยู่ มีพื้นผิวที่ปกคลุมด้วยน้ำกว่า 70% มีชั้นบรรยากาศ และอุณหภูมิที่เหมาะสม ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตเช่นเรา อาศัยอยู่ได้ และเนื่องจาก เรายังไม่เคยพบสิ่งมีชีวิตอื่นใดนอกโลก และมนุษย์เรายังไม่เคยอาศัยดาวดวงอื่นนอกโลก นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามศึกษาโลก เพื่อเป็นแบบอย่างในการศึกษาดาวเคราะห์ต่อไป

            โลกมีแถบรังสี ที่ชื่อว่า แวนอัลเลน ลักษณะเป็น เข็มรัด รูปขนมโดนัต ห่อหุ้มโดยรอบ 2 ชั้น เรียกว่า เข็มขัดแวนอัลเลน ซึ่งค้นพบโดยดาวเทียมเอกซ์พลอเรอร์ 1 และ 3 ในปี ค.ศ.1958 และยังมีสนามแม่เหล็กโลก ทำหน้าที่คล้ายเกราะป้องกันโลก โดยจะกันอนุภาคที่มี ประจุไฟฟ้าพลังงานสูง จากดวงอาทิตย์ ไว้ในวงแหวนรังสีนั้น ไม่ให้ผ่านมาถึงโลกได้ง่าย แต่อาจมีอิเลคตรอนบางส่วน เล็ดลอดผ่าน แถบรังสีเข้ามาสู่ บรรยากาศโลกได้ และไปทำปฏิกริยากับอะตอมของออกซิเจน และไนโตรเจน ทำให้เกิดเป็น แสงเรืองขึ้นในท้องฟ้า แถบขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ที่เรียกว่า แสงเหนือและแสงใต้

                    โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงโคจรซึ่งใช้เวลา 365 1/4 วัน เพื่อให้ครบ 1 รอบ ปฏิทินแต่ละปีมี 365 วัน ซึ่งหมายความว่าจะมี 1/4 ของวันที่เหลือในแต่ละปี ซึ่งทุกๆปีสี่ปีจะมีวันพิเศษ คือจะมี 366 วัน กล่าวคือเดือนกุมภาพันธ์จะมี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วันเหมือนปกติ ตามที่เคปเลอร์ค้นพบวงโคจรของโลกไม่เป็นวงกลม ในเดือนธันวาคมมันจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าเดือนมิถุนายน ซึ่งมันจะอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด โลกจะเอียงไปตามเส้นแกน ในเดือนมิถุนายน ซีกโลกเหนือจะเอียงไปทางดวงอาทิตย์ดังนั้น ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูร้อนและซีกโลกใต้จะเป็นฤดูหนาว ในเดือนธันวาคมจะเอียงจากดวงอาทิตย์ ทำให้ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาวและซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อน ในเดือนมีนาคมและกันยายน ซีกโลกทั้งสองไม่เอียงไปยังดวงอาทิตย์ กลางวันและกลางคืนจึงมีความยาวเท่ากัน ในเดือนมีนาคม ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูใบไม้ผลิ และซีกโลกใต้เป็นฤดูใบไม้ร่วง ในเดือนกันยายน สถานการณ์จะกลับกัน

    ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ จะมีฤดูกาลเป็นของตนเองและระยะของการโคจร ความยาวของปีดาวเคราะห์เป็นเวลาที่มันหมุนรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบ ถ้าคุณอยู่บนดาวพุธ ปีของคุณจะมีเพียง 88 วันของโลก บนดาวพลูโต ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่นอกสุดหนึ่งปีจะเท่ากับ 248 วันบนโลก

    ข้อมูลเกี่ยวกับโลก
                     โลกมีอายุประมาณ 4,700 ปี   โลกไม่ได้มีรูปร่างกลมโดยสิ้นเชิง เส้นรอบวงที่เส้นศูนย์สูตรยาว 40,077 กิโลเมตร (24,903 ไมล์)และที่ขั่วโลกยาว 40,009 กิโลเมตร (24,861 ไมล์)

                    การโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกในลักษณะที่แกนเอียง ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆขึ้นบนโลก ซึ่งสามารถสังเกตได้ โดยพิจารณา ณ ตำแหน่งใด ตำแหน่งหนึ่งบนโลก จะพบว่าพลังงานความร้อน ที่ซีกโลกเหนือได้รับจากดวงอาทิตย์ จะไม่เท่ากันตลอดปี ดังนั้นจึงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ เช่นในเดือนมิถุนายน ขั้วโลกเหนือจะหันเข้าหาดวงอาทิตย์ ซีกโลกเหนือจะได้รับความร้อนมากกว่าเดือนอื่นๆ และจะเป็น ฤดูร้อน ตรงข้ามกับเดือนธันวาคม ซึ่งขั้วโลกเหนือหันออก จากดวงอาทิตย์ แสงอาทิตย์ที่ตกลงมาบนโลกจะเฉมาก ซึ่งจะไม่ร้อนมากเหมือนที่แสงตกลงมาตรงๆ ดังนั้นในช่วงนี้ จะเป็น ฤดูหนาว ส่วนในเดือนกันยายนและมีนาคม โลกหันด้านข้างเข้าหาดวงอาทิตย์จะไม่ร้อนหรือหนาว เหมือน เดือนมิถุนายนหรือธันวาคม ในช่วงเดือนกันยายนจึงเป็น ฤดูใบไม้ร่วง และเดือนมีนาคมโลกอบอุ่นขึ้น จึงเป็น ฤดูใบไม้ผลิ

    สำหรับประเทศ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศ ใกล้เส้นศูนย์สูตรของโลก ปกติจะเป็นเขตร้อนแต่เนื่องจาก ลมมรสุม พัดผ่าน เป็นประจำฤดูกาล จึงเปลี่ยนไปจากบริเวณอื่น ๆ ของโลก กล่าวคือ จะไม่มีฤดูใบไม้ร่วง และฤดูใบไม้ผลิ แต่จะมีฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน โดยจะเกิดขึ้นในช่วงประมาณดังนี้
          
    ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม

            
    ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม
            
    ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์

     

    ความลับของสนามแม่เหล็กโลก

    ตามที่ทราบกันแล้วว่า แกน(core)ของโลกนั้นร้อนมาก (อุณหภูมิประมาณ 5000 องศา F) สารประกอบภายในแกนโลกจึงกลายเป็นของเหลว แกนโลก แบ่งได้เป็นสองส่วน ส่วนนอกหรือ แกนนอก(outer core) กับส่วนใน หรือ แกนใน(inner core) ซึ่งมีรัศมีประมาณ ๒๒๐๐ กิโลเมตร แกนในสุดนั้น แม้จะร้อนมาก แต่เนื่องจากความกดดันภายในโลกเพิ่มขึ้น เมื่อเข้าไปภายในลึกขึ้นตามส่วน แกนใน จึงได้รับความกดดันสูงมากๆ โลหะร้อนเหลวนั้นจึงกลับกลายเป็นของแข็ง โดยแกนในนี้ประกอบด้วยธาตุเหล็กผสมอยู่อย่างน้อยๆ 90% ส่วนแกนนอกมีสภาพเป็นของเหลวที่ยังไหลไปไหลมาได้ แต่เชื่อว่ามันไหลไม่สม่ำเสมอ เพราะมีองค์ประกอบที่ต่างกันไปบ้าง และจากหลักฐานข้อมูลทางธรณีฟิสิกส์ที่วัดได้มา ก็ยืนยันว่าส่วนประกอบและอัตราการไหลนั้นไม่สม่ำเสมอจริง

    การหมุนตัวของโลก ก็มีส่วนส่งผลให้เกิดการเคลื่อนของของเหลวภายในแกนนอก โดยมีผลให้มันพยายามเคลื่อนไปรอบๆแกนในที่เป็นของแข็ง แต่สภาพบางส่วนก็มีการไหลวนเป็นกะเปาะเฉพาะที่ เนื่องจาก ส่วนบนๆของแกนนอกที่ติดกับเปลือกโลกเย็นตัวลงด้วยการถ่ายเทความร้อนให้เปลือกโลก จึงมีน้ำหนักมากขึ้น เลยจมลงทำให้เกิดกระแสวนตามลง ของเหลวส่วนล่างของแกนนอกที่ติดกับแกนในเสียแร่ธาตุหนักๆ ซึ่งถูกดึงดูดให้ไปเกาะติดกับแกนใน จึงพลอยโดนแรงอัดที่เพิ่มมากขึ้น จากการเคลื่อนตัวเข้าลึกขึ้นจนถูกอัดให้แข็งตัวขึ้น ส่วนที่เหลืออยู่หลังจากเสียธาตุหนักไปแล้ว ก็เบาลงลอยตัวขึ้นมา เกิดเป็นกระแสวนขึ้น การไหลที่ไม่สม่ำเสมอเท่ากันตลอดนี้ทำให้กระแสวนบางแห่งแยกเป็นอิสระจากกัน

    เนื่องจากโลกมีสนามแม่เหล็กห่อหุ้มโดยรอบ   เส้นแรงแม่เหล็กโลกแถบเส้นศูนย์สูตรจะขนานกับผิวโลกและโค้งเข้าสู่ผิวโลกตรงใกล้ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้   อนุภาคของลมสุริยะจะเคลื่อนที่ตามเส้นแรงแม่เหล็ก  แต่ไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็กโลกเข้ามาในแนวดิ่งแถบใกล้เส้นศูนย์สูตรได้   จึงเข้าสู่บรรยากาศของโลกทางขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้และเมื่อไปชนกับอะตอมของแก๊สบางอย่างในระดับสูงจะทำให้เกิดการรับและคายพลังงานออกมาในรูปของแสงสีต่าง ๆ   เรืองรองบนท้องฟ้า   บริเวณขั้วโลกเหนือหรือขั้วโลกใต้  ซึ่งเรียกว่า  แสงเหนือ-แสงใต้  หรือแสงออโรรา   (Aurora)

     

     

     

     

     

    แสงเหนือ

                    ภาพปรากฏการณ์แสงเหนือ  หรือ  Aurora  Borealis  เหนือน่านฟ้าประเทศแคนาดา  โดยนักบินอวกาศประจำสถานีอวกาศนานาชาติ   (The  International  Space  Station)   เมื่อเดือนมกราคม  .. 2003

     

                    ถานีอวกาศนานาชาติโคจรอยู่ที่ความสูงประมาณ 400 กิโลเมตร เหนือผิวโลกซึ่งสูงกว่าแนวการเกิดปรากฎการณ์แสงเหนือ แสงใต้เล็กน้อย  นักบินอวกาศจึงมีโอกาสได้สังเกตปรากฏการณ์นี้จากเบื้องบน    (ภาพอนุเคราะห์โดย  NASA)

                    แสงเหนือจะเห็นในเวลากลางคืนแถบขั้วโลกเหนือในขณะที่แสงใต้จะเห็นในเวลากลางคืนแถบขั้วโลกใต้เช่นกัน  แสงจะเห็นอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 100  ถึง  1,000  กิโลเมตรจากพื้นดิน  เพราะบรรยากาศในช่วงนี้เบาบาง  มีความกดดันน้อยมาก   คนที่อยู่บริเวณละจิจูงสูง ๆ  ทั้งทางซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้  จึงเห็นแสงวาบลักษณะคล้ายม่านย้อยเป็นสายมีสีต่าง ๆ   ปรากฏอยู่บนท้องฟ้าในบางคืน

                    ผลกระทบของพายุสุริยะต่อโลก   นอกจากทำให้เกิดแสงเหนือ แสงใต้แล้ว   ยังอาจทำให้เกิดไฟฟ้าแรงสูงดับในประเทศที่อยู่ใกล้ขั้วโลก   เกิดการติดขัดทางการสื่อสารโดยวิทยุคลื่นสั้นทั่วโลก   และวงอิเล็กทรอนิกส์ในดาวเทียมอาจถูกทำลาย

                    กล่าวโดยสรุป   ดวงอาทิตย์ส่งแรงโน้มถ่วงไปยังดาวเคราะห์ทำให้ดาวเคราะห์เคลื่อนที่ไปรอบ ๆ   ดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วต่าง ๆ  กัน  กลายเป็นส่วนสำคัญของระบบสุริยะ  หากดาวเคราะห์ไม่เคลื่อนที่หรือเคลื่อนที่ช้าลง   ดวงอาทิตย์ก็จะดึงดาวเคราะห์นั้นเข้าหาดวงอาทิตย์ด้วยแรงโน้มถ่วง   ตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะเป็นตำแหน่งที่ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์พอเหมาะไม่ร้อนมาก   และไม่หนาวเย็นเกินไป   จึงเอื้ออำนวยต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนโลกเป็นอย่างยิ่ง   ในขณะที่ดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ  ที่อยู่ในตำแหน่งที่ไม่น่าจะมีสิ่งมีชีวิตที่เหมือนกับสิ่งมีชีวิตบนโลกเกิดขึ้นได้   แต่อาจจะมีสิ่งมีชีวิตรูปแบบอื่นที่ทนต่อความร้อนหรือความหนาวเย็น   ดวงดาวต่าง ๆ  ในระบบสุริยะ  มีลักษณะเด่นเฉพาะเป็นที่น่าพอใจ  ของนักดาราศาสตร์   ที่จะสนใจศึกษาและทำการสำรวจต่อไป

    ดวงจันทร์

     

    ข้อมูลทั่วไป
         - เส้นผ่าศูนย์กลาง 3,476 กิโลเมตร
         -
    มวล (โลก = 1)     0.0123 เท่าของโลก
         -
    ความหนาแน่นเฉลี่ย   3,340   กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร
         -
    คาบการหมุนรอบตัวเอง 27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 12 วินาที
         -
    คาบโคจรรอบโลกเทียบกับดวงอาทิตย์  29.5  วัน
         -
    ระยะห่างจากโลกเฉลี่ย  384,400  กิโลเมตร
         -
    อุณหภูมิด้านกลางวัน 130 องศา เซลเซียส
         -
    อุณหภูมิด้านกลางคืน -170 องศา เซลเซียส

                 

              พื้นผิวดวงจันทร์มีลักษณะสำคัญ 2 แบบ คือพื้นที่สูง ขรุขระ อายุเก่าแก่ กับพื้นที่ต่ำค่อนข้าง ราบเรียบ อายุน้อย ที่เรียกกันต่อมาว่า ทะเล (maria) ทั้ง ๆ ที่บนดวงจันทร์ไม่มีทะเลอยู่จริง เข้าใจว่าเดิมคงเป็นหลุมขนาดใหญ่ที่ลาวาไหลท่วมในภายหลัง พื้นผิวส่วนใหญ่ปกคลุมด้วย ผงฝุ่นละเอียด และซากหินที่เกิดจากอุกกาบาตพุ่งชน แต่ที่น่าแปลกคือเหตุใดจึงมีพื้นที่ "ทะเล" อยู่แต่ทางด้านที่หันหาโลก    

     

    กำเนิดดวงจันทร์
                มีสมมติฐานเกี่ยวกับกำเนิดดวงจันทร์หลายอย่าง คือ
         - โลกกับดวงจันทร์เกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กันจากกลุ่มก้อนก๊าซ ขนาดมหึมาของเนบิวลาต้นกำเนิดของระบบสุริยะ
         - ดวงจันทร์แตกตัวออกจากโลก ขณะที่โลกเริ่มก่อกำเนิดเป็นรูปเป็นร่างขึ้นนั้น โลกมีการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ทำให้มวลสารบางส่วนหลุดออกมากลายเป็นดวงจันทร์
         - โลกดึงดูดจับดวงจันทร์เป็นบริวาร ดวงจันทร์เกิดขึ้นอยู่แล้วในระบบสุริยะ ต่อมาโคจรเข้าใกล้โลก และถูกโลกดูดจับไว้เป็นบริวารในภายหลัง
         - โลกถูกวัตถุขนาดใหญ่พุ่งชน ทำให้มวลสารบางส่วนของโลกหลุดกระจายออก และรวมตัวกันเกิดเป็นดวงจันทร์ในภายหลัง

     

     

     

     

    ดาวอังคาร

                    ดาวอังคาร ดาวเคราะห์อันดับที่ 4 ในระบบสุริยะ เมื่อมองด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นเป็นดวงสีแดง ชาวกรีกและโรมันจะยกให้เป็นเทพแห่งสงคราม ดาวอังคารมีลักษณะหลายอย่างคล้ายโลกมากคือ 1 วันบนดาวอังคารมี 24 ชั่วโมงใกล้เคียงกัน มีแกนเอียงทำมุม 24 องศาใกล้เคียงกับโลก ทำให้มีฤดูกาล 4 ฤดูคล้ายกัน แต่ 1 ปีของ ดาวอังคาร ยาวนานกว่าโลกเกือบสองเท่า จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ สนใจดาวอังคารเป็นพิเศษ และเชื่อว่าต้องมี สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

     

    ดาวพฤหัสบดี

                    ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นอันดับที่ 5 และเป็นดาวเคราะห์ดวงใหญ่ที่สุด ในระบบสุริยะ มีมวลมากกว่าโลกกว่า 317 เท่าแต่มีขนาดใหญ่กว่าโลก 1,400 เท่า หากดาวพฤหัสมีมวลมากกว่าอีก 100 เท่า ดาวพฤหัสก็จะกลายเป็นดาวฤกษ์ขนาดเล็กๆได้เลย

                    ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ เป็น ดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์โคจรห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 ถัดจากดาวอังคาร มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 142,984 กิโลเมตร มีเนื้อสารมากที่สุด และมากกว่า ดาวเคราะห์ ทุกดวงรวมกัน มีมวลราว 318.1 เท่าของโลก ใช้เวลาในการหมุนรอบ ตัวเอง เร็วมากประมาณ 9 ชั่วโมง 55 นาที หรือ 10 ชั่วโมงต่อ 1 รอบ แต่ใช้เวลา โคจรรอบ ดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลานานถึง 12 ปีของโลก ด้วยความเร็ว 13.06 กิโลเมตรต่อวินาที ดาวพฤหัสจะเคลื่อนที่ช้าๆ ผ่านกลุ่มดาวจักรราศีได้ ประมาณ ปีละ 1 กลุ่ม

                    ดาวพฤหัสบดีอยู่ห่างจากโลก 5.2 หน่วยดาราศาสตร์หรือประมาณ 780 ล้านกิโลเมตร แรงดึงดูดที่ผิว ของ ดาวพฤหัสบดีสูงกว่าโลก 2.64 เท่า นั่นหมายถึงว่าถ้าอยู่บนโลกเราหนัก 50 กิโลกรัม แต่ถ้าไปอยู่บนดาวพฤหัสบดี จะมีน้ำหนักถึง 132 กิโลกรัม ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์เป็นบริวาร ขณะนี้ถึง 16 ดวง แต่ถ้าใช้กล้องโทรทัศน์ส่อง ดูแล้ว จะเห็นดวงจันทร์บริวารขนาดใหญ่ 4 ดวง แต่ละดวงจะโตกว่าดวงจันทร์ของโลกเรา ดวงจันทร์ทั้ง 4 ดวง ส่องกล้องพบโดย กาลิเลโอ บิดาวิชาดาราศาสตร์ภาคสังเกตการณ์ ชาวอิตาลี เมื่อปี พ.ศ. 2153 (ค.ศ.1610) จึงได้ชื่อว่า ดวงจันทร์กาลิเลียน เรียงตามลำดับ ระยะห่างจากดาวพฤหัสบดี คือ ไอโอ (lo) ยุโรปา (Europa) แกนิมีด (Ganymede) และ คัลลิสโต (Callisto) ดวงที่ใหญ่ที่สุดคือแกนิมีด (Ganymedq aze)

              รรยากาศของดาวพฤหัสบดีมีลักษณะเป็นแถบกว้างหลายแถบ ระหว่างแถบเป็นรอยมืด เรียกว่า เข็มขัด ขนานไป กับแนวเส้นศูนย์สูตร ซึ่งแถบกว้างนี้แท้ที่จริงแล้วคือ แถบเมฆที่หนาทึบทอดตัวยาวออกไป เคลื่อนที่หมุนวนไป รอบตัวดวง มีองค์ประกอบ เป็นธาตุไฮโดรเจนและฮีเลียม ไม่มีพื้นผิวแข็ง แต่มีแกนใจกลางขนาดเล็กเป็นหินแข็ง บรรยากาศมีอัตราส่วนเหมือนกันมาก กับบรรยากาศของดวงอาทิตย์ ใต้เส้นศูนย์สูตรไปทางซีกใต้ จุดนี้คือพายุหมุนวน ด้วยความเร็วสูงเป็นลักษณะเด่นที่ปรากฏเห็นมานานแล้ว

              บรรยากาศของดาวพฤหัสบดีมีอุณหภูมิและความกดดันไม่แตกต่างไปจากที่มีอยู่ตามบริเวณผิวของโลก ซึ่งจะ คอยทำหน้าที่เสมือนเป็น เรือนกระจกในการเก็บพลังงานจากดวงอาทิตย์ไว้ โดยจะปล่อยพลังงานออกไป ในอากาศเพียง เล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้นักดาราศาสตร์ยังได้พบโมเลกุลอินทรีย์ที่ซับซ้อนมากในบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี การเคลื่อนตัวของระบบเมฆ ที่ก่อให้เกิดการคายของประจุไฟฟ้า และการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีในบรรยากาศ ซึ่งเป็น แนวทางในการค้นหากระบวนการทำให้เกิดอินทรียชีวิต ในสภาพที่เป็นอยู่ในดาวพฤหัสบดี เพื่อหาหลักฐานให้แน่ชัดว่า ชีวิตเกิดขึ้นมาได้อย่างไรในจักรวาล เหมือนกับที่เกิดขึ้นมาแล้วในโลกของเรา การค้นพบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับ ดาวพฤหัสบดีก็คือ เมื่อยานวอยเอเจอร์ 1 ถ่ายภาพส่งมา พบว่า มีวงแหวนบางมาก 1 ชั้นล้อมรอบดาวพฤหัสบดีอยู่ ซึ่งสันนิษฐานว่าวงแหวนนี้คือก้อนน้ำแข็งและก้อนวัตถุใหญ่น้อยขนาดต่างๆกันล่องลอยอยู่รอบๆ ดาวพฤหัสบดี นอกจากนี้ภาพถ่ายจากยานวอยเอเจอร์ 1 และ 2 ก็พบว่า มีภูเขาไฟกำลังระเบิดอยู่บนดวงจันทร์บริวารที่ชื่อ ไอโอ

    ดาวเสาร์

                    ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่เป็นที่ 2 รองจากดาวพฤหัสบดี ่โคจรห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 6 ถัดจากดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่สวยงามที่สุด เพราะปรากฏมีวงแหวนล้อมรอบตัวดวง เมื่อส่องดูด้วยกล้องโทรทรรศน์ มีสีค่อนข้างเหลือง จะเคลื่อนตัวช้าๆ ผ่านไปยังกลุ่มดาวจักรราศี
                    าวเสาร์มีเส้นผ่านศูนย์กลางโดยเฉลี่ยประมาณ
    119,871 กิโลเมตร หรือประมาณ 9 เท่าของโลก โคจรอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นระยะทางเฉลี่ย 9.54 หน่วยดาราศาสตร์ แสงจากดวงอาทิตย์ต้องใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 15 นาที จึงจะถึงดาวเสาร์ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์นานถึง 29.46 ปีของโลก ด้วยอัตรา ความเร็ว 9.64 กิโลเมตรต่อวินาที และหมุนรอบตัวเอง 1 รอบกินเวลา 10 ชั่วโมง 40 นาที ซึ่งเร็วมากทำให้ดาวเสาร์มีลักษณะป่องในแนวเส้นศูนย์สูตร และสามารถเห็นได้ชัดเจนเมื่อมองด้วยกล้องโทรทรรศน์จากโลก

    ดาวยูเรนัส

                    าวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่ถูกค้นพบ เมื่อปี พ.ศ. 2324 (ค.ศ.1781) โดย William Herschel ชาวอังกฤษ เป็นดาวเคราะห์ ที่มีวงแหวนคล้ายดาวเสาร์ แต่ค่อนข้างจางมาก และเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียว ในระบบสุริยะจักรวาล ที่หมุนรอบตัวเอง โดยทิศตั้งฉาก กับแนวการเคลื่อนที่ รอบดวงอาทิตย์

                    าวเคราะห์ชั้นนอกดวงต่อไปถัดจากดาวเสาร์ได้แก่ดาวยูเรนัส ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นที่สามในระบบสุริยะ มันมีลักษณะเรือนลาง จะต้องมองดูด้วยกล้องโทรทัศน์เท่านั้นจึงสามารถมองเห็น เราเคยคิดว่ามันเป็นดาวฤกษ์ ในปี 1781 William Herschel ได้ใช้กล้องโทรทัศน์ค้นพบว่า ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ เขาเห็นแผ่นกลมสีเขียวที่ไม่มีรอย ต่อมา นักดาราศาสตร์ได้พบดาวบริวารห้าดวง ในปี 1977 ได้มีการพบวงแหวนของดาวยูเรนัส ถึงแม้ว่านักดาราศาสตร์จะใช้กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุด แต่เขาก็ยังไม่สามารถค้นหาอะไรได้มากมายนักเกี่ยวกับดาวยูเรนัสเอง ในปี 1986 ยานอวกาศวอยเอเจอร์ 2 ได้บินผ่านดาวยูเรนัสและได้ส่งภาพที่ชัดเจนของดาวยูเรนัส และวงแหวนตลอดจนดาวบริวารของมันกลับมายังพื้นโลก ในที่สุดเราก็ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับดาวยูเรนัส

    โลกของน้ำ
                    ภาพของดาวยูเรนัสจากยานอวกาศได้อธิบายว่า ทำไมนักดาราศาสตร์จึงไม่สามารถมองเห็นดาวยูเรนัสได้มากนัก ดาวยูเรนัสทั้งดวงปกคลุมด้วยหมอกสีเขียวแก่ ยานวอยาเจอร์ได้พบกลุ่มควันสองสามกลุ่มใต้หมอก แสดงให้เห็นว่าลมกำลังพัดรอบๆดาวยูเรนัสในอัตราความเร็วถึง 440 ไมล์ต่อชั่วโมง บรรยากาศประกอบด้วยแก๊สไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน นักดาราศาสตร์บางคนคิดว่าพื้นผิวของดาวยูเรนัสปกคลุมด้วยมหาสมุทรที่ร้อน เหมือนกับดาวจูปิเตอร์และดาวเสาร์ แต่ประกอบด้วยน้ำร้อนแทนที่จะเป็นแก๊ส ที่ใจกลางของดาวยูเรนัสจะมีแกนก้อนหินเล็กๆ

    ด้านในของดาวยูเรนัส
                    ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถมองเห็นได้มากนักบนดาวยูเรนัส แต่นักดาราศาสตร์ได้พบสิ่งประหลาดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับดาวยูเรนัส คือดาวยูเรนัสจะเอียงข้าง แกนของมันจะเอียงเพื่อว่าขั้วของมันจะตั้งเกือบอยู่ในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนไหวของดาวยูเรนัส ไม่มีดาวเคราะห์ดวงใดที่มีลักษณะดังกล่าว เหตุผลที่ดาวยูเรนัสมีการเอียงมากอาจเห็นเพราะว่าครั้งหนึ่งเคยถูกกระแทกโดยดาวเคราะห์น้อย ในขณะที่ดาวยูเรนัสหมุนรอบดวงอาทิตย์ ขั้วข้างหนึ่งจะชี้ไปทางดวงอาทิตย์ ขั้วที่ชี้ไปทางดวงอาทิตย์จะเห็นแสงสว่างของเวลากลางวันเป็นเวลา 22 ปี แล้วด้านนี้จะหมุนไปด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์อยู่ในความมืดอีก 22 ปี ยานวอยาเจอร์พบว่าขั้วมืดจะอบอุ่นกว่าขั้วที่มีแสงสว่างเล็กน้อยไม่มีใครรู้ว่าเป็นเพราะเหตุใด

    ดาวบริวารที่ประหลาด
                    ยานวอยาเจอร์ยังพบดาวบริวารขนาดเล็กสิบดวงที่อยู่รอบดาวยูเรนัสซึ่งไม่เคยพบมาก่อน ทั้งหมดหมุนรอบๆระหว่างวงแหวนและดาวมิแรนดา มิแรนดาเป็นดาวที่อยู่ใกล้ที่สุดของบรรดาดาวทั้งห้าดวงซึ่งเป็นที่รู้จักกันมาก่อนแล้ว ดาวบริวารเหล่านี้ประกอบด้วยน้ำแข็งและหิน เป็นดาวบริวารที่แปลกประหลาดที่สุดในระบบสุริยะ ดาวบริวารของดาวยูเรนัสมีหย่อมขนาดใหญ่สีขาวและสีดำ ซึ่งอาจเกิดจากการผสมกันระหว่างน้ำแข็งและแก๊สแข็ง มีหุบเขาลึกและภูเขาสูงด้วยเช่นเดียวกัน บนดาวมิแรนดาจะมีหน้าผาสูงสิบสองไมล์ นักดาราศาสตร์คิดว่าครั้งหนึ่งมิแรนดาอาจแตกเป็นส่วนๆต่อมา ชิ้นส่วนเหล่านี้กลับเข้ามาประกบอีกเหมือนก่อน

     

    ดาวบริวาร
    1. Cordelia
    2. Ophelia
    3. Bianca
    4. Cressida
    5. Desdemona
    6. Juliet
    7. Portia
    8. Rosalind
    9. Belinda
    10. Puck
    11. Miranda
    12. Ariel
    13. Umbriel
    14. Titania
    15. Oberon
    16. Caliban (97U1)
    17. Sycorax (97U2)
    18. 1986 U10
    19. S/1999 U1
    20. S/1999 U2
    21. S/1999 U3


    ดาวเนปจูน

                    ดาวเนปจูนเป็นดาวเคราะห์ที่ถูกค้นพบ เมื่อปี พ.ศ. 2389 (ค.ศ.1846) โดย Johann Galle และ Heinrich D'Arrest เป็นดาวเคราะห์ ที่ไกลที่สุด ที่มีการส่งยานไปสำรวจ (โดย Voyager) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่า อาจมีมหาสมุทร ขนาดมหึมา ปกคลุมผิวดาวดวงนี้อยู่

                     เมื่อดาวเนปจูนถูกค้นพบ คนได้วันเส้นทางของมันผ่านอวกาศ การหมุนรอบของดาวเนปจูนมีลักษณะผิดปกติบางคนคิดว่าจะต้องมีดาวเคราะห์ดวงใหญ่อีกดวงหนึ่ง ดาวเคราะห์ที่ไม่เป็นที่รู้จักอาจอยู่ถัดจากดาวเนปจูน แรงโน้มถ่วงของมันอาจจะดึงไปที่ดาวเนปจูนจึงทำให้การหมุนของมันเปลี่ยนแปลง ในปี 1845 นักดาราศาสตร์สองคนที่ทำงานคนละที่ในอังกฤษและฝรั่งเศสรู้ว่าดาวเคราะห์ดวงใหม่อยู่ที่ไหน ทั้งสองมีความเห็นตรงกัน คนอื่นๆก็เริ่มลงมือศึกษาดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้ ในปี 1846 ชาวเยอรมันชื่อ Johann Galle ได้พบโลกใหม่ด้วยกล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ มันอยู่ในตำแหน่งที่นักดาราศาสตร์คนอื่นได้ระบุไว้ก่อนแล้ว ดาวเคราะห์ดวงใหม่มีสีน้ำเงินมีชื่อว่าดาวเนปจูนตามชื่อเทพเจ้าแห่งทะเลโรมัน

                     ดาวเนปจูนโตเกือบเท่าดาวยูเรนัส มันเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ในระบบสุริยะ มันอยู่ห่างไกลจากโลกมาก จึงทำให้มองเห็นสลัวมาก ดาวเนปจูนสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องสองตา มันดูคล้ายกับดาวฤกษ์ ยังไม่มียานอวกาศที่เคยไปยังดาวเนปจูน สิ่งที่เรารู้ทั้งหมดก็คือ ดาวเคราะห์ดวงนี้มองเห็นจากโลก ก็เหมือนกับดาวยูเรนัส มีมหาสมุทร น้ำที่ลึกล้อมรอบแกนหินซึ่งอยู่ใจกลางของดาวเนปจูน บรรยากาศของดาวเนปจูนไม่เต็มไปด้วยหมอกเหมือนกับดาวยูเรนัส กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่แสดงให้เห็นแถบกลุ่มควันขาวที่หมุนรอบดาวเนปจูน บรรยากาศจะเย็นมาก กลุ่มควันประกอบด้วยมีเทนที่แข็ง บางครั้งกลุ่มควันเหล่านี้จะกระจายออกและปกคลุมดาวเนปจูนทั้งดวง อาจมีลมพัดจัดบนดาวเนปจูน ลมเกิดจากอากาศร้อนที่ลอยขึ้น ลมเย็นพัดเข้าไปแทนที่ บนดาวเนปจูน ความร้อนต้องมาจากภายในเพื่อทำให้ลมพัด ในเดือนสิงหาคม ปี 1989 ยานวอเยเจอร์ 2 ได้ไปถึงดาวเนปจูน มันบินผ่านและส่งภาพและการวัดกลับมายังพื้นโลกเราคงมีความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับดาวเนปจูน ต่อจากนั้น ยานวอเยเจอร์ 2 จะบินออกจากระบบสุริยะตั้งแต่ได้ออกจากโลกไปในปี 1977 ยานอวกาศจะบินผ่านดาวเคราะห์ชั้นนอกสี่ดวง ยังไม่มียานลำใดที่ได้ไปยังดาวเคราะห์ต่างๆมากเหมือนยานวอยาเจอร์

    ส่วนโค้งและดาวบริวารของดาวเนปจูน
                    หลังจากที่ได้มีการค้นพบว่า ดาวยูเรนัสมีวงแหวน คนเริ่มมองหาวงแหวนรอบๆดาวเนปจูนเขาใช้กล้องโทรทัศน์มองดูดาวเนปจูนเมื่อมันเคลื่อนใกล้ดาวฤกษ์ ถ้าดาวเนปจูนมีวงแหวนมันก็จะผ่านด้านหน้าของดาวฤกษ์ วงแหวนแต่ละวงจะตัดแสงของดาวฤกษ์ชั่วขณะหนึ่ง ในปี 1981 นักคณิตศาสตร์คนหนึ่งได้เห็นการริบหรี่ของดาวฤกษ์ ตั้งแต่นั้น คนบางคนได้เห็นการริบหรี่แต่บางคนไม่เห็นอะไรเลย บางมีดาวเนปจูนอาจมีวงแหวนที่เป็นชิ้นส่วนที่แตกออกเป็นชิ้นๆมันอาจมีส่วนโค้งสั้นๆ แทนที่จะเห็นวงแหวนทั้งวง ส่วนโค้งจะหมุนรอบดาวเนปจูน

    ดาวบริวาร
                    นักดาราศาสตร์ได้พบดาวบริวารสองดวงที่หมุนรอบดาวเนปจูน ดาวดวงหนึ่งมีขนาดเล็กชื่อว่า Neried ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 300 ไมล์ และหมุนรอบห่างจากดาวเนปจูน 3,475,000 ไมล์ ดาวบริวารดวงอื่นๆของดาวเนปจูนคือดาว Triton มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,100 ไมล์เป็นดาวบริวารที่ใหญ่เป็นที่สี่ ดาว Triton อาจมีบรรยากาศ มันอาจมีมหาสมุทรมีเทนและไนโตรเจนมันหมุนรอบดาวเนปจูนโดยห่างจากดาวเนปจูนเป็นระยะทาง 220,625 ไมล์ ดาว Triton หมุนรอบดาวเนปจูนในทิศทางตรงกันข้ามจากดาวบริวารส่วนใหญ่ มันยังเคลื่อนไหวเข้าใกล้ดาวเนปจูนในเวลา 10 ล้าน ถึง 100 ล้านปี มันอาจปะทะกับดาวเนปจูนหรือมันอาจแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆและก่อตัวเป็นรูปวงแหวนขนาดกว้างล้อมรอบดาวเนปจูน

     

    ดาวบริวาร
    1. Naiad
    2. Thalassa
    3. Despina
    4. Galatea
    5. Larissa
    6. Proteus
    7. Triton
    8. Nereid

     ดาวพลูโต

                    ดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์ที่ไกลที่สุด ในระบบสุริยะจักรวาล มีขนาดเล็กมาก และวงโคจร ก็ต่างไปจาก ดาวดวงอื่นๆ จนเมื่อปี พ.ศ.2542 (ค.ศ.1999) มีนักวิทยาศาสตร์บางกลุ่ม เสนอให้ดาวพลูโต เป็นเพียงแค่ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid) เท่านั้น

                     ดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์ทีอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไกลที่สุดเป็นลำดับที่ 9 ส่องกล้องค้นพบดาวพลูโตโดย ไคลด์ ทอมบอห์ (Clyde Tombaugh) เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2473 (ค.ศ.1930) เป็นดาวเคราะห์ที่มี ขนาดเล็กที่สุด ในระบบสุริยะ ความรู้เรื่องต่างๆ ของดวงดาวนี้ยังมีความชัดเจนไม่มากนัก เพราะเป็นดาวที่อยู่ห่างจากโลกถึง 38.46 หน่วยดาราศาสตร์ หรือประมาณ 7,400,000,000 กิโลเมตร ซึ่งหากจะส่งยานอวกาศขึ้นไปสำรวจดาวพลูโต จะต้องใช้เวลาเดินทางอย่างน้อย 10-15 ปีทีเดียว

     

               ดาวพลูโตมีบรรยากาศหรือไม่ยังเป็นเรื่องที่ไม่แน่ชัด สมบัติทั่วๆ ไปของดาวพลูโต แตกต่างไปจากดาวเคราะห์ ดวงอื่น ๆ ในระบบสุริยะ แต่ในความคล้ายคลึงกับสมบัติทางกายภาพ ของดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ โดยเฉพาะคล้าย ดวงจันทร์ไตรตัน (Triton) ของดาวเนปจูนอยู่มาก จึงอาจเป็นไปได้ว่าดาวพลูโต เคยเป็นดวงจันทร์ของ ดาวเนปจูน มาก่อน แต่ได้หลุดออกไปอยู่ในวงโคจรของดวงอาทิตย์แทนที่จะโคจรรอบดาวเนปจูน

    หมายเหตุ:
    Eccentricity
    เป็นค่าคงทีของวงโคจร ที่บอกว่าวงโคจรนั้นรีมากหรือน้อย หาได้จาก ระยะห่างของจุด โฟกัสทั้งสอง หารด้วย ความยาวของแกนหลัก ซึ่งวงกลมจะมีค่า Ecc=0 และพาลาโบล่าจะมีค่า Ecc=1
    Inclination
    มุมเอียงที่ระนาบการโคจรของดาวเคราะห์หรือดาวหาง ทำกับระนานอิคลิปติค มีหน่วยเป็น องศา

    อุกกาบาต

                 ในบางคืนที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใส เราอาจเห็นแสงวูบวาบตกลงมาจากฟากฟ้า เรียกกันว่า ดาวตก หรือ ผีพุ่งไต้ แต่ความจริงดาวตกเป็นวัตถุแข็งจำพวกหินหรือเหล็ก ตกเข้าสู่เขต บรรยากาศโลกด้วยความเร็วหลายร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมง แรงเสียดสีกับบรรยากาศทำให้ร้อนจัด หลอมตัวเป็นลูกไฟสว่าง มีควันเป็นทางยาว หากวัตถุชิ้นเล็กจะลุกไหม้สว่างกลายเป็นไอสลายไป หมด แต่บางก้อนที่มีขนาดใหญ่จะมีเสียงดังคล้ายเสียงยิงปืนหรือเสียงฟ้าผ่าเมื่อวิ่งผ่านอากาศตกลงมา และหากสลายตัวไม่หมด มักเหลือซากตกลงถึงพื้นโลก เรียกว่า ลูกอุกกาบาต มีขนาด เล็กใหญ่แตกต่างกัน ตั้งแต่น้ำหนักเพียงไม่กี่กรัมจนถึงก้อนหนึ่งหนักหลาย ๆ ตัน

    วัตถุน้ำแข็งไคเปอร์ (Kuiper Belt)

     

           วัตถุน้ำแข็งเหล่านี้มีวิถีโคจรอยู่ในระนาบใกล้เคียงกับระนาบสุริยวิถีที่เหล่าดาวเคราะห์โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะ นั่นหมายความว่าระบบสุริยะของเรามีวงแหวนของก้อนน้ำแข็งล้อมรอบอยู่ ก้อนน้ำแข็งแต่ละก้อนโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบรอบทุก 200-300 ปี พบว่ามีลักษณะอยู่กันเป็นคู่


    ประวัติความเป็นมา
         
    ในปี พ.ศ.2493 นักดาราศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ แจน ออร์ด ( Jan Oort ) เป็นผู้เสนอทฤษฎีว่า ต้องมีแหล่งที่อยู่ของดาวหางจำนวนหลาย ๆ ล้านดวงอยู่ไกลเลยจากดาวเคราะห์ดวงนอก ของระบบสุริยะออกไป โดยห่างจากดวงอาทิตย์ราว 30,000 หน่วยดาราศาสตร์ จนถึง 1 ปีแสง หรือไกลกว่านั้น จึงเรียกถิ่นที่อยู่ของดาวหางตามความคิดนี้ว่า ดงดาวหางของออร์ด เป็นแหล่งที่อยู่ ของ ดาวหางคาบยาว ส่วน ดาวหางคาบสั้น มีวงโคจรเล็กกว่าและเคลื่อนเข้ามาอยู่ในเขต อาณาจักรของระบบสุริยะ น่าจะมาจากแหล่งหนึ่งที่อยู่ใกล้กว่าดงดาวหางของออร์ด

     ปัจจุบัน ทฤษฎีเรื่องวงแหวนหรือแถบวัตถุน้ำแข็งไคเปอร์ ได้รับการยืนยันว่ามีจริง เนื่องจาก ค้นพบวัตถุน้ำแข็งจำนวนมากมายในบริเวณนี้ ดวงแรกที่ค้นพบคือ 1992 QB1 พบเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ.1992 หรือปี พ.ศ.2535 มีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ราว 37-59 หน่วยดาราศาสตร์ มีการค้นพบวัตถุน้ำแข็งไคเปอร์เพิ่มขึ้นทุกปี นับถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2545 ค้นพบวัตถุดังกล่าว จำนวนมากกว่า 500 ดวงแล้ว เชื่อว่ามีวัตถุน้ำแข็งขนาดใหญ่กว่า 100 กิโลเมตร อยู่ในแถบวงแหวน ไคเปอร์อย่างน้อย ประมาณ 35,000 ดวง และยังมีขนาดเล็ก ๆ อีกจำนวนมากมาย วัตถุก้อนใหญ่ ที่สุดที่พบในวงแหวนแถบนี้คือ 2000 WR106 มีขนาดราว 900 กิโลเมตร

     

     

     

     

     

    ดาวหาง (Comets)

           กำเนิดและลักษณะทั่วไปของดาวหาง
    นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าดาวหางเป็นซากวัตถุดั้งเดิมที่หลงเหลืออยู่จากสมัยเมื่อระบบสุริยะ ก่อกำเนิดขึ้นเมื่อหลายพันล้านปีมาแล้ว และเป็นบริวารอย่างหนึ่งในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เช่นเดียวกับดาวเคราะห์

     

    ประวัติความเป็นมา
         
         ในปี พ.ศ.2493 นักดาราศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ แจน ออร์ด ( Jan Oort)เป็นผู้เสนอทฤษฎีว่า ต้องมีแหล่งที่อยู่ของดาวหางจำนวนหลาย ๆ ล้านดวงอยู่ไกลเลยจากดาวเคราะห์ดวงนอก ของระบบสุริยะออกไป โดยห่างจากดวงอาทิตย์ราว 30,000 หน่วยดาราศาสตร์ จนถึง 1 ปีแสง หรือไกลกว่านั้น จึงเรียกถิ่นที่อยู่ของดาวหางตามความคิดนี้ว่า ดงดาวหางออร์ด(The Oort Cloud)

    ลักษณะทั่วไปของดาวหาง
         
           ขณะเมื่ออยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ ดาวหางคล้ายก้อนน้ำแข็งสกปรกของหินและฝุ่นเกาะกัน อยู่ด้วยก๊าซและน้ำที่แข็งตัว โดยทั่วไปแล้วดาวหางมีขนาดใหญ่ไม่กี่กิโลเมตรเท่านั้น เมื่อดาวหางเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ในระยะวงโคจรของดาวพฤหัสบดี ดาวหางเริ่มอุ่นขึ้น น้ำแข็งรอบนอกระเหิดกลายเป็นก๊าซและฝุ่น เกิดกลุ่มเมฆก๊าซ เป็นบรรยากาศห่อหุ้มขนาดใหญ่ มากจนสามารถครอบคลุมโลกทั้งดวงได้ เรียกว่า โคมา หรือ หัวดาวหาง ล้อมรอบ นิวเคลียส หรือ ใจกลางหัวดาวหาง ซึ่งเป็นก้อนน้ำแข็งในใจกลางและมีขนาดเล็กเพียงไม่กี่กิโลเมตรเท่านั้น

    ดงดาวหางออร์ด

            นอกจากลมสุริยะและรังสีจากดวงอาทิตย์จะทำให้เกิดโคมาขนาดใหญ่แล้วยังทำให้หางดาวหาง พัดกระพือออกไปเป็นลำยาวดวงหางบางดวงอาจมีหางยาวเป็นหลายล้านกิโลเมตร และแม้ว่าดาวหางจะมีทิศทาเคลื่อนที่ไปอย่างไรก็ตาม แต่หางของดาวหางจะหันหนีออกจากดวงอาทิตย์เสมอ เราเห็นดาวหางสว่างขึ้นได้เพราะส่วนที่เป็นอนุภาคของแข็งและฝุ่นสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ กับทั้งอนุภาคก๊าซที่มีประจุไฟฟ้าในหางดาวหาง ดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์เรืองแสงขึ้น

    โครงสร้างของดาวหาง
         -
    นิวเคลียส เป็นใจกลางหัวดาวหาง ประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ จำพวก คาร์บอน ( C )ไฮโดรเจน (H) อ๊อกซิเจน (O ) และ ไนโตรเจน (N ) รวมตัวกัน โดยมีน้ำ เป็นองค์ประกอบสำคัญ นอกจากนั้น ยังมีฝุ่นของซิลิกอน แมกนีเซียม และธาตุหนักอื่น ๆ ฝุ่นเหล่านี้รวมตัวกับน้ำแข็งอัดแน่นอยู่ด้วยกัน ทำให้เกิดเป็นนิวเคลียสสีดำเหมือนถ่าน

         
    - โคมา เมื่อดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ รังสีความร้อนทำให้น้ำแข็งบริเวณผิวของนิวเคลียส ระเหิดเป็นไอ ก๊าซและฝุ่นผงจึงขยายตัวเป็นบรรยากาศห่อหุ้มนิวเคลียสไว้กลายเป็นหัวดาวหาง เรียกว่า โคมา

        
     - หางฝุ่น เป็นก๊าซและฝุ่นพัดกระพือออกจากหัวดาวหาง สะท้อนแสงให้เห็นเป็นหางชนิดสั้นและ มีลักษณะโค้ง มีความเป็นกลางทางประจุไฟฟ้า แรงดันจากรังสีความร้อนของดวงอาทิตย์ผลัก ให้หางลู่ไปในแนวตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เสมอ

         
    - หางก๊าซ ก๊าซในหางดาวหางทำปฏิกิริยากับลมสุริยะจากดวงอาทิตย์ ทำให้ก๊าซต่าง ๆ แตกตัว เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า หรือ ไอออน เช่น อนุภาคประจุคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO+) เปล่งแสง สีน้ำเงินในหางก๊าซเคลื่อนที่หนีออกจากดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วหลายร้อยกิโลเมตรต่อวินาที หางก๊าซ มีลักษณะเหยียดตรง และยืดยาวออกไปหลายล้านกิโลเมตร

     

     

     

     

     

     

     

     

    คำถาม

    บทที่ 6 กำเนิดระบบสุริยะ

    1.  การเกิดของระบบสุริยะจากเนบิวลา มวลสารส่วน    มากจะกลายเป็นสิ่งใด

          1. โลก                     2. ดาวเคราะห์

          3. ดวงอาทิตย์             4. ดาวเคราะห์น้อย

       2. บริเวณที่เป็นระบบสุริยะในปัจจุบันเคยเป็น     เนบิวลาที่มีแก๊สใด

          1.คาร์บอน                 3.ไนโตรเจน

          2.ออกซิเจน                4.ไฮโดรเจน

       3. เขตนอกสุดของเขตพื้นที่รอบดวงอาทิตย์     ได้แก่วัตถุข้อใด

          1.ดาวหาง

          2.อุกกาบาต

          3.ดาวเคราะห์

          4.ข้อ 1 และ ข้อ 2 ถูกต้อง

    4.    เหตุใดดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวงจึงต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์

    1.เพราะดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่กว่ามาก

    2.เพราะดวงอาทิตย์มีแรงโน้มถ่วงมาก

    3.เพราะดวงอาทิตย์มีแสงสว่างในตัวเอง

    4.เพราะดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ

    5.    ดาวเคราะห์ชั้นใน ได้แก่ข้อใด

    1.โลกกับดาวอังคาร

    2.ดาวศุกร์กับโลก

    3.ดาวพุธกับดาวศุกร์

    4.ถูกทุกข้อ

    6. ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์จัดอยู่ในสเปกตรัมใด

          1. O                  3. G

          2. A                   4. F

    7.   โลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ในรูปของ

    1.แสงและความร้อน

    2.อนุภาคและแสง

    3.ความร้อนและพายุแม่เหล็ก

    4.คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและอนุภาค

    8. ข้อความใดต่อไปนี้ผิด

         1. พลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์มี 2 ประเภท คือ  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและอนุภาคมีประจุ

     2. ทั้งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและอนุภาคมีประจุใช้เวลา         เดินทางถึงบรรยากาศโลกพร้อมกัน

     3. อนุภาคมีประจุจะถูกกั้นโดยสนามแม่เหล็กโลก ทำให้     เข้าสู่ผิวโลกได้น้อย

    4. รังสีอัลตราไวโอเลตจะถูกดูดกลืนในบรรยากาศ           เบื้องบนเป็นส่วนมาก

     

    9. ถ้าโลกไม่มีบรรยากาศห่อหุ้ม สิ่งมีชีวิตจะได้รับ                  อันตรายมากที่สุดจากชนิดของพลังงานที่ดวงอาทิตย์ส่งมายังโลก คือ

           1. แสงธรรมดา             2. รังสีเอกซ์

           3. รังสีอัลตราไวโอเลต   4. อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า

    10.อนุภาคโปรตอน และอิเล็กตรอน ที่หลุดออกจากดวงอาทิตย์มาสู่โลก ทำให้เกิดสิ่งใด

    1.คลื่นแม่เหล็ก            2.คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

    3.ลมสุริยะ                  4.แสงเหนือ-แสงใต้

    11.ข้อใดเป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์แสงเหนือ-แสงใต้

    1.รังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ ทำปฏิกิริยากับบรรยากาศชั้นบนขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้

    2.คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์ ทำปฏิกิริยากับบรรยากาศชั้นบนขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้

    3.อนุภาคโปรตอนพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ตามแนวเส้นแรงแม่เหล็กมาชนกับอะตอมของแก๊สที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้

    4.อนุภาคอิเล็กตรอนและไอออนจากดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ตามแนวเส้นแรงแม่เหล็กมาชนกับอะตอมของแก๊สที่ขั้วโลกเหนือ

     

     

     

    12.  ข้อใดเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์แสงเหนือ-แสงใต้

    ก. ลมสุริยะ                

    ข. สนามแม่เหล็กโลก

    ค. แสงจากดวงอาทิตย์ 

    ง. รังสี UV จากดวงอาทิตย์

    1. ข้อ ก และ ข              2. ข้อ ข และ ค

    3. ข้อ ค และ ง               4. ข้อ ง และ ก

    13. ข้อใดเป็นผลกระทบของพายุสุริยะที่มีต่อโลก

    ก.ลมสุริยะ                     

    ข.แสงเหนือ-แสงใต้

    ค.การสื่อสารโดยวิทยุคลื่นสั้นติดขัด

    ง.เกิดความร้อนจำนวนมาก

          1.ข้อ ก และ ข      2.ข้อ ข และ ค

          3.ข้อ ค และ ง       4.ข้อ ก และ ง

    14. การเกิดจุดบนดวงอาทิตย์มากที่สุด ระยะห่าง    ประมาณกี่ปี

          1. 10 ปี              2. 11 ปี

          3. 12 ปี              4. 13 ปี

    15. ระบบต่อไปนี้ระบบใดมีขนาดใหญ่ที่สุด

          1. เอกภพ            2. กาแล็กซี

          3. ระบบสุริยะ        4. ทางช้างเผือก

     

     

     

    เฉลย

    1. 3      2. 4       3. 4       4. 2       5. 4

    6. 3       7. 1       8. 2       9. 3     10. 3

    11. 4   12. 1       13. 2      14. 2     15. 1

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×