ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โลก ดวงดาว และดาราศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #10 : ดาวฤกษ์ 02

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 4.08K
      4
      22 ก.พ. 50


                   
    ดาวฤกษ์ก็คือ ดวงอาทิตย์ ดวงหนึ่ง ที่อยู่ห่างไกล โลกของเราออกไปมาก จนมีแสงริบหรี่ ดาวฤกษ์ดวงที่อยู่ใกล้โลกที่สุด(ไม่นับดวงอาทิตย์) คือ ดาว
    Proxyma Centauri ซึ่งอยู่ห่างโลก เป็นระยะทางไกลมาก และไม่นิยมบอกระยะห่าง จากโลกเราเป็น กิโลเมตร หรือเป็นไมล์ เพราะจะมีตัวเลขมากมาย เกินไป แต่จะใช้หน่วย ปีแสง แทน ดาว Proxyma Centauri นั้นอยู่ห่างจากโลก ประมาณ 4.2 ปีแสง คือ ณ ขณะหนึ่งขณะใดที่เรามองดูดาวดวงนี้ หมายถึงว่า เรากำลังมองดูแสงและเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นบนดาวดวงนี้ เมื่อ 4.2 ปีมาแล้ว เนื่องจากดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ ดวงหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์ จึงสันนิษฐาน ว่าน่าจะมีดาวเคราะห์ เป็นบริวารของ ดาวฤกษ์ดวงอื่นๆ ด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งในขณะนี้ กำลังมีการศึกษา ค้นคว้าในเรื่องดังกล่าวกันมาก

                    ดาวฤกษ์มีพลังงานมหาศาลมากเนื่องจากพลังงานจากดาวฤกษ์นั้นเป็นพลังงานNuclear Fusion ซึ่งจะให้พลังงานออกมามากมาย มหาศาลซึ่งในโลกเรายังไม่มีการใช้พลังงานNuclearชนิดนี้เนื่องจาก ไม่สามารถที่จะควบคุมการปล่อยพลังงานออกมาได้ซึ่งอาจทำให้โลกเรานั้นถูกทำลายได้ ดาวฤกษ์ที่เกิดใหม่ๆนั้นจะมีสี น้ำเงิน ซึ่งจะมีพลังงานและอุณหภูมิสูงมาก ดาวฤกษ์มักมีบริวารเป็นดาวเคราะห์ต่างๆ อุกกาบาต ดาวหาง เป็นต้นซึ่งเมื่ออยู่รวมตัว กันกับดาวฤกษ์แล้วเราก็จะ เรียกว่า ระบบสุริยะ SolarSystem อย่างเช่นระบบสุริยะ ที่โลกเราอยู่

                                                    ชนิดของดาวฤกษ์ ( แบ่งตามสีและอุณหภูมิผิว )


    เมื่อนำแสงของดาวฤกษ์มาวิเคราะห์ สามารถแบ่งชนิดของดาวฤกษ์ตามสีและอุณหภูมิผิวได้เป็น 7 แบบหลัก ๆ คือแบบ O B A F G K และ M ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์แบบ G มีสีเหลือง อุณหภูมิผิวราว 6,000 เคลวิน แผนผังเฮิรตซ-รัสเซล(Hertzsprung-Russell Diagram) แต่ละจุด มาจากข้อมูล ของดาวฤกษ์แต่ละดวง ด้วยการนำสี ความสว่างและอุณหภูมิผิวของดาวมาสัมพันธ์กัน ดาวฤกษ์จะแยกชนิด และรวมกันเป็นกลุ่ม ตามขนาดและความสว่างของดาว ชนิดที่สำคัญได้แก่ ดาวยักษ์ใหญ่ (Super Giant stars) ดาวยักษ์ (Giant stars) ดาวสามัญ(Main sequence stars) และดาวแคระขาว(White dwarf stars) เป็นต้น ดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวสามัญ ตัวอย่างของดาวฤกษ์บางดวงในแผนผังเฮิรตซปรุง-รัสเซล ดาวที่อยู่ ในกลุ่ม ของดาวสามัญ คือดาวที่อยู่ในสภาพสมดุลย ซึ่งเป็นช่วงที่ ยาวนานที่สุด ของชีวิต ดาวฤกษ์ ที่กำลัง เข้าใกล้จุดจบของชีวิต

     

                                                          วิวัฒนาการของดาวฤกษ์


                    เมื่อเนบิวลาเกิดการยุบตัวจนศูนย์กลาง มีอุณหภูมิสูงมากเกิดปฏิกริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ ปล่อยพลังงานมหาศาล ออกมาต่อต้านการยุบตัว เมื่อแรงทั้งสองเท่ากัน ดาวฤกษ์อยู่ในสภาพสมดุลย เป็นดาวฤกษ์ ในกลุ่มของดาวสามัญ ซึ่งเป็นช่วงยาวนานที่สุดของชีวิต แต่จุดจบของดาวฤกษ์ จะแตกต่างกันขึ้นกับขนาดและมวลของดาวฤกษ์ดวงนั้น

                    ดาวฤกษ์ที่มีมวลพอ ๆ กับดวงอาทิตย์จะขยายตัวเป็นดาวยักษ์แดง เกิดระเบิดเป็นโนว่า มวลที่ศูนย์กลาง จะถูกอัดแน่น เป็นดาวแคระขาวค่อย ๆ มีแสงริบหรี่ลง... จนมองไม่เห็น จบชีวิตการเป็นดาวฤกษ์ไปอย่างสงบ ดาวฤกษ์ที่มีมวล มากกว่าดวงอาทิตย์จะขยายตัวเป็นดาวยักษ์ใหญ่ เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง เป็นซุปเปอร์โนว่า มวลที่ศูนย์กลาง ถูกแรงอัดมหาศาล เป็นดาวนิวตรอน (Neutron star) ซึ่งเป็นดาวที่มีขนาดเล็กมาก มีมวลและความหนาแน่น สูง มากหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็วปล่อยคลื่นวิทยุออกมาเป็นช่วง ๆ เรียกว่า พัลซ่าร์ (Pulsar) และถ้าดาวมีมวล มากกว่าดวงอาทิตย์มาก ๆ หลังการระเบิดรุนแรงเป็นซุปเปอร์โนว่า จะมีแรงอัดรุนแรง มหาศาลยิ่งอัดมวล ให้มี ขนาดเล็กลง ไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จึงมีแรงโน้มถ่วงมหาศาล ดูดได้ทุกอย่าง แม้กระทั่งแสง เรียกว่า หลุมดำ (Black Hole)

    ความสว่าง  สีความสว่างและโชติมาตรของดาว

                    โดยทั่วไปดาวจะปรากฏสว่างมากหรือน้อยไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสว่างจริงเพียงอย่างเดียวแต่ขึ้นอยู่กับระยะทางของดาว  จึงนิยามความสว่างจริงของดาวเป็น  โชติมาตรสัมบูรณ์สีของดาวฤกษ์ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของดาวแต่ละดวง  ดาวฤกษ์เป็นก้อนก๊าซสว่างที่มีอุณหภูมิสูง  พลังงานที่เกิดขึ้นภายในดวงจะส่งผ่านออกทางบรรยากาศที่เรามองเห็นได้  เรียกบรรยากาศชั้นนี้ว่า    ชั้นโฟโตสเฟียร์พร้อมทั้งการแผ่รังสีอินฟราเรด  รังสีอุลตราไวโอเลต  เอกซเรย์  รวมทั้งคลื่นวิทยุ  คลื่นแสงที่ตามองเห็น  การพิจารณาอุณหภูมิของดาวฤกษ์กับสี  พบว่า  อุณหภูมิต่ำ  จะปรากฏเป็นสีแดงและถ้าอุณหภูมิสูง จะปรากฏเป็นสีน้ำเงินและกลายเป็น  สีขาว  โดยมีการกำหนด  ดาวสีน้ำเงิน  อุณหภูมิสูงเป็นพวกดาว  O ดาวสีแดงเป็นพวก M  และเมื่อเรียงลำดับอุณหภูมิสูงลงไปหาต่ำ  สเปคตรัมของดาวได้แก่  O - B - A - F - G - K - M ดวงอาทิตย์จัดเป็นพวก  G  ซึ่งมีอุณหภูมิปานกลาง4.3 วิวัฒนาการของดาวฤกษ์  ดาวเกิดจากกลุ่มก๊าซและฝุ่นที่หดตัวลงเนื่องจากโน้มถ่วงของตัวเอง  ขณะที่กลุ่มก๊าซและฝุ่นนี้หดตัว  พลังงานศักย์โน้มถ่วงบางส่วนจะกลายเป็นพลังงานจลน์หรือพลังงานความร้อน  และบางส่วนคายออกมาสู่ภายนอก  จากการคำนวณพบว่า  ใจกลางจะสะสมมวลและโตขึ้นจนกลายเป็นดาวในเวลาประมาณ  1 ล้านปี  อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างรวดเร็วพร้อมกับที่ใจกลางของดาวเริ่มเกิดขึ้น  และอนุภาคตรงใจกลางจะกลายเป็นไอ  โมเลกุล (โดยเฉพาะไฮโดรเจน) จะแตกตัวเป็นอะตอม  และในที่สุดจะแตกตัวเป็นอิออน  ฝุ่นจากภายนอกใจกลางจะบดบังแสงจากใจกลางดาวจนมองไม่เห็น  ต่อมาอนุภาคและฝุ่นจะดูดกลืนรังสีจากใจกลางและคายพลังงานกลับออกมาเป็นรังสีอินฟาเรด  ทำให้กลุ่มก๊าซมีความทึบแสงจนในที่สุดกลุ่มก๊าซและฝุ่นจะตกลงในใจกลางจนหมดสิ้น  ดังนั้นดาวที่เกิดใหม่จึงส่องรังสีอินฟาเรด  ต่อมาเมื่อกลุ่มฝุ่นที่บดบังดาวเจือจางลง  ดาวจะเริ่มส่องแสงออกมาให้เห็นโดยมีอุณหภูมิตั้งแต่  4,000 – 7,000  องศาเซลเซียส  ขึ้นอยู่กับมวลและการหดตัวจะดำเนินต่อไป  จนอุณหภูมิที่ใจกลางสูงพอที่ไฮโดรเจนจะติดไฟได้  จึงเริ่มนับกลุ่มก๊าซและฝุ่นมีสภาพเป็นดาวอายุ 0 ปี  เมื่อไฮโดรเจนติดไฟ หรือปฏิกิริยานิวเคลียร์เริ่มต้น  ความดันภายในดวงดาวจะสูงขึ้นจนเกิดแรงสมดุลกับแรงโน้มถ่วง  ดาวจะไม่ยืดและหดต่อไปช่วงนี้ดาวยังไม่เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์  เราเรียก  ดาว   โปรตรอน  (Proton  Stars) ดาวจะวิวัฒนาการต่อไปในขณะที่ไฮโดรเจนกำลังรวมตัวเป็นฮีเลี่ยม ในที่สุดไฮโดรเจนในใจกลางดาวเผาไหม้หมด  จะมีการยุบตัวอย่างรวดเร็ว  มวลใจกลางจะเพิ่มมากขึ้น  จะเหลือไฮโดรเจนเผาไหม้อยู่ชั้นนอกๆ  ผิวนอกจึงขยายตัวและอุณหภูมิลดลงในสภาพนี้  เรียกว่า  ดาวยักษ์แดง  การหดตัวของใจกลางดาวทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น  ในขณะนี้ไฮโดรเจนชั้นนอกๆจะดับผิวดาวจะร้อนและสว่างขึ้น  ผิวดาวชั้นนอกอยู่ในลักษณะไม่เสถียรอาจมีการยืดหดตัวเป็นจังหวะ  ทำให้ความสว่างเปลี่ยนไปเป็นจังหวะ  กลายเป็นดาวแปรแสง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×