คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : ย่อความ 03
การย่อความ
การเขียนย่อความ
การย่อความคือการนำเอาเรื่องราวต่างๆมาเขียนใหม่
ด้วยสำนวนภาษาของผู้ย่อเองเมื่อเขียนแล้วเนื้อควาวมเดิมจะสั้นลง
แต่ยังมีใจความสำคัญครบถ้วนสมบูรณ์ การย่อนี้ไม่มีขอบเขตว่าย่อลงไป
เท่าใดจึงจะเหมาะเพราะบางเรื่องมีพลความมากก็ย่อลง
ไปมาก แต่บางเรื่องมีใจความมากก็จะย่อได้ 1ใน2,1ใน3หรือ1ใน4 ของเรื่องเดิม
ตามแต่ผู้ย่อจะเห็นสมควร
ใจความ
คือ ข้อความสำคัญในบทพูดและบทเขียน
พลความ
ทำหน้าที่ขยายใจความให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ถ้าตัดออกผู้ฟังหรือผู้อ่านก็ยังเข้าใจเรื่องนั้นได้
วิธีหาใจความ
คือพิจารนาบทพูดหรือบทเขียน ว่าถ้าตัดข้อความใดออกแล้ว ความตอนต้นเรื่องจะเสียหมด
ข้อความนั้นคือใจความ
ประโยชน์ของการย่อความ
1. ช่วยให้การอ่านการฟังได้ผลดียิ่งขึ้น ช่วยให้เข้าใจและจดจำข้อความที่สำคัญที่ได้อ่าน
หรือฟังได้สะดวกรวดเร็ว
2. ช่วยในการจดบันทึก เมื่อได้ฟังหรือศึกษาวิชาใด รู้จักจดข้อความที่สำคัญลงในสมุด
ได้ทันเวลาและได้เรื่องราว
3. ช่วยในการเขียนตอบแบบฝึกหัดหรือข้อสอบ
4. ช่วยเตือนความจำนักเรียนอ่านหนังสือแล้วทำบทย่อเป็นตอนๆ จะช่วยให้ไม่ต้องอ่าน
หนังสือซ้ำ
5. ช่วยประหยัดเงินในการเขียนข้อความในโทรเลขถ้ารู้จักย่อความ
หลักการย่อความ
1. เขียนคำนำตามประเภทของเรื่อง
2. อ่านเรื่องทั้งหมดอย่างละเอียด อ่านถึง2-3เที่ยว เพื่อให้เข้าใจเรื่องให้ตลอด
3. ทำความเข้าใจศัพท์สำนวน โวหารในเรื่อง
4. ถ้าเรื่องที่จะย่อเป็นร้อยกรองต้องถอดคำประพันธ์เป็นร้อยแก้วก่อนจึงย่อ
5. สังเกตใจความสำคัญแล้วแยกออกเป็นตอนๆ
6. สรรพนามบุรษที่1,2ต้องเปลี่ยนเป็นบุรุษที่3หรือเอ่ยชื่อ
7. ถ้าคำเดิมเป็นคำราชาศัพท์ให้คงไว้
8. ข้อความที่เป็นคำพูดในเครื่องหมายอัญประกาศต้องเขียนใหม่ซึ่งเรียกว่าเปลี่ยน
เลขในเป็นเลขนอก
9. เรื่องที่จะย่อถ้าไม่มีชื่อเรื่องผู้ย่อต้องตั้งชื่อเรื่องเอง
ความคิดเห็น