ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คำประพันธ์

    ลำดับตอนที่ #1 : กลอนสุภาพ

    • อัปเดตล่าสุด 25 ก.พ. 50



    กลอนสุภาพ

     

    ตัวอย่าง

              คืนยังผันวันผ่านให้กาลเปลี่ยน                      โลกยังเวียนหมุนวนจนดับสิ้น
    ฟ้าทอรุ้งคุ้งน้ำยังฉ่ำริน                                      ใจไม่สิ้นศรัทธาจะฝ่าไป

               หญ้ายังยืนหยัดทอดเป็นยอดหญ้า                   ดินยังชุ่มฉ่ำคราฝนซาใหม่
    ใจที่ยังยึดมั่นมิหวั่นใด                                       จะเพาะพันธุ์หวังไว้ในแผ่นดิน

    กลวิธีในการแต่งกลอนสุภาพ

    .คณะ  กลอนสุภาพแต่ละบท จะมี ๒ บาท แต่ละบาทจะมี ๒ วรรค แต่ละวรรค จะมี ๘ คำ (ตามปกติ ให้ใช้คำได้ ระหว่าง ๗ - ๙ คำ)

         บาทที่ ๑ เรียกว่า บาทเอก มี ๒ วรรค คือ วรรคสดับ(วรรคสลับ) และวรรครับ
         บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท  มี ๒ วรรค คือ วรรครอง และวรรคส่ง

    .สัมผัส มี ๒ อย่างคือสัมผัสนอก และสัมผัสใน  สัมผัสนอกนั้น เป็นข้อบังคับที่ต้องใช้  ส่วนสัมผัสในใช้เพื่อให้กลอนนั้นมีความไพเราะมากขึ้น                                                                                   .เสียง  คำสุดท้ายในแต่ละวรรคของกลอนมีข้อกำหนดในเรื่องเสียงของวรรณยุกต์เป็นตัวกำหนดด้วย การกำหนดเรื่องเสียงนี้ถือว่าเป็นข้อบังคับทางฉันทลักษณ์อย่างหนึ่งของกลอนสุภาพอันมีข้อกำหนดดังต่อไปนี้                                                                                                                         ๑.คำสุดท้ายวรรคที่ (วรรคสดับ)ใช้ได้ทุกเสียง แต่ไม่ค่อยนิยมใช้เสียงสามัญ
    ๒.คำสุดท้ายวรรคที่ ๒ (วรรครับ)ต้องใช้เสียงเอก โท หรือจัตวา นิยมใช้เสียงจัตวาห้ามใช้เสียงสามัญและตรี
    ๓.คำสุดท้ายวรรคที่ ๓ (วรรครอง)ต้องใช้เสียงสามัญ หรือเสียงตรี ที่นิยมที่สุดคือเสียงสามัญ ห้ามใช้เสียง เอก โท และจัตวา
    ๔. คำสุดท้ายวรรคที่ ๔ (วรรคส่ง)ต้องใช้เสียงสามัญหรือตรี ที่นิยมมากที่สุดคือเสียงสามัญห้ามใช้เสียงเอก โท และจัตวา

    .จังหวะ  ในกลอนสุภาพมักจะแบ่งกลุ่มคำออกเป็น ๓ ช่วงจังหวะ คือ                          ooo oo ooo เป็นกลุ่มแบบ ๓-๒-๓                          
                             oo  oo  ooo เป็นกลุมแบบ ๒-๒-๓                           
                             
    oo ooo ooo เป็นกลุ่มแบบ ๒-๓-๓ 
                             
    ooo ooo oo เป็นกลุ่มแบบ ๓-๓-๒                                                                 

    หรือใช้หลายๆแบบที่กล่าวมานี้ผสมกัน แต่รูปแบบ ๓-๒-๓ เป็นมาตรฐานที่นิยมกันมากที่สุด ใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะในกลอนของ สุนทรภู่

     

    ข้อมูลนี้ได้มาจาก  อินเตอร์เน็ต

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×