คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : ย่อความ 01
ย่อความ
ในชีวิตประจำวัน เรานิยมใช้การสื่อสารด้วยการเล่าเรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับตนเอง หรือพบเห็นจากที่อื่น ๆ เช่น จากการดูโทรทัศน์ การฟัง หรือการอ่านเรื่องจากหนังสือ การเล่าในลักษณะนี้ ผู้เล่าจะเล่าย่อ ๆ พอให้ทราบสาระสำคัญ วิธีการเล่าดังกล่าว คือ การย่อความ
1. แนวทางในการเขียนย่อความ
1. อ่านเนื้อเรื่องที่จะย่อให้เข้าใจ
2. จับใจความสำคัญทีละย่อหน้า
3. นำใจความสำคัญของแต่ละย่อหน้ามาเขียนใหม่ด้วยภาษาของตนเอง
โดยคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
- ต้องมีคำนำย่อความตามรูปแบบของข้อเขียน โดยไม่ต้องมีคำว่า “ย่อ”
- เปลี่ยนสรรพนามบุรุษที่ 1 และ 2 ให้เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3
- ไม่ใช้อักษรย่อ
- ถ้ามีคำราชาศัพท์ ให้คงไว้ ไม่ต้องแปลเป็นคำสามัญ
- ไม่ใช้เครื่องหมายต่าง ๆ ในข้อความที่ย่อ
- เขียนเนื้อเรื่องที่ย่อแล้วเป็นย่อหน้าเดียว ความยาวประมาณ 1 ใน 4 ของเนื้อเรื่องเดิม
- รูปแบบของย่อความ
การเขียนย่อความมีรูปแบบสำคัญที่ส่วนของคำนำย่อความ คำนำจะต่างกันตามประเภทของเนื้อเรื่องที่ย่อ แต่มีจุดมุ่งหมายตรงกัน โดยแบ่งตามประเภทเนื้อเรื่องได้ดังนี้
1) การย่อเรื่องประเภทร้อยแก้ว ได้แก่ ความเรียง นิทาน นิยาย ตำนาน บทความ สารคดี ประวัติบุคคล เป็นต้น ต้องบอกประเภทของร้อยแก้วที่จะย่อ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ที่มาของเรื่อง ถ้าเรื่องเดิมไม่มีชื่อเรื่องต้องตั้งชื่อเรื่องด้วย
2) การย่อเรื่องประเภทร้อยกรอง ได้แก่ ดอกสร้อย สักวา บทเสภา และบทร้อยกรองทั่ว ๆ ไป ต้องบอกชื่อเรื่อง (ถ้าเป็นเรื่องยาวให้บอกชื่อตอน) ชื่อผู้แต่ง ที่มาของเรื่อง ถ้าบทร้อยกรองไม่มีชื่อต้องตั้งชื่อด้วย
ย่อนิทานเรื่อง
.. .ของ
.จาก
..ความว่า
..
ย่อตำนานเรื่อง
.. ของ
.จาก
.ความว่า
..
ย่อบทความเรื่อง
.ของ
จาก
..ความว่า
..
ย่อสารคดีเรื่อง
.. ของ
จาก
..ความว่า
..
ย่อบทละครเรื่อง
.ตอน
..ของ
.จาก
ความว่า
..
ย่อดอกสร้อยเรื่อง
ของ
จาก
ความว่า
.
ย่อสักวาเรื่อง
ของ
จาก
ความว่า............
ความคิดเห็น