ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โลก ดวงดาว และดาราศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #9 : ดาวเคราะห์ (Planets)

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.58K
      4
      22 ก.พ. 50


                   ดาวเคราะห์
    หมายถึง ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง แต่สะท้อนแสงอาทิตย์ส่องเข้าไปตาเรา ดาวเคราะห์ แต่ละดวง มีขนาดและจำนวนดวงจันทร์บริวารไม่เท่ากัน อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็น ระยะทางต่างกัน และดวง ต่างก็อยู่ในระบบสุริยะ โดยหมุนรอบตัวเองโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ด้วย ความเร็วต่างกันไป จากการศึกษา เรื่องราว เกี่ยวกับดาวเคราะห์โดยใช้โลกเป็นหลักในการแบ่ง

         ดาวเคราะห์ เป็นดาวที่ไม่มีแสงในตัวเอง ไม่เหมือนกับดวงอาทิตย์ หรือดาวฤกษ์ ซึ่งสามารถส่องสว่างด้วยตนเองได้ แต่เราสามารถมองเห็นดาวเคราะห์ได้ เนื่องจากการที่ดาวเคราะห์ สะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ เข้าสู่ตาของเรานั่นเองแม้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลของเรา จะมีถึง 8 ดวง (ไม่รวมโลก) แต่เราสามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า เพียง 5 ดวงเท่านั้น คือ ดาวพุธ, ดาวศุกร์, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัส และดาวเสาร์ เท่านั้น ซึ่งชาวโบราณเรียก ดาวเคราะห์ทั้งห้านี้ว่า "The Wandering Stars" หรือ "Planetes" ในภาษากรีก และเรียกดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ ทั้งสองดวงว่า "The Two Great Lights" ซึ่งเมื่อรวมกันทั้งหมด 7 ดวง จะเป็นที่มาของชื่อวัน ใน 1 สัปดาห์ นั่นเอง

    ดาวเคราะห์ทั้ง 9 สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้

    1. แบ่งตามลักษณะทางกายภาพ

     

     

     

    ดาวเคราะห์ชั้นใน (Inner or Terrestrial Planets):

    จะเป็นกลุ่มดาวเคราะห์ ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าอีกกลุ่ม เป็นดาวเคราะห์ที่เย็นตัวแล้วมากกว่า ทำให้มีผิวนอกเป็นของแข็ง เหมือนผิวโลกของเรา จึงเรียกว่า Terrestrial Planets (หมายถึง "บนพื้นโลก") ได้แก่ ดาวพุธ (Mercury), ดาวศุกร์(Venus), โลก (Earth) และดาวอังคาร  (Mars)  ซึ่งจะใช้แถบของดาวเคราะห์น้อย

    (Asteroid Belt) เป็นแนวแบ่ง

     

    ลักษณะและรูปของดาวเคราะห์ชั้นในแต่ละดวง

    ดาวพุธ

    อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด โคจรรอบดวงอาทิตย์1รอบ ใช้เวลา88วัน เป็นดาวเคราะห์ที่หมุนเร็วที่สุด มีขนาดหนึ่งในสามของโลก ยานอวกาศที่ส่งขึ้นไปบนดาวพุธคือยานมารีเนอร์ 10 ของสหรัฐฯ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง1300 กิโลเมตรล้อมรอบด้วยภูเขา กลางวันจะร้อนมากและตอนกลางคืนก็หนาวมากเช่นกัน เนื่องจากแกนกลางของดาวพุธมีแกนเหล็ก จึงทำให้ดาวพุธมีสนามแม่เหล็ก

    ดาวศุกร์

    มีอีกชื่อหนึ่งว่าดาววีนัส เป็นดาวเคราะห์ดวงที่สองจากดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลก42ล้านกิโลเมตร ถือเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด  ยานอวกาศที่ขึ้นไปบนดาวศุกร์เป้นครั้งแรกคือยานมารีเนอร์ 2 ได้ส่งข้อมูลถึงอุณหภูมิของดาวศุกร์ บรรยากาศของดาวศุกร์มีคาร์บอนไดออกไซด์และกรดซัลฟิวริกเกือบทั้งหมดซึ่งปิดกั้นแสงของดวงอาทิตย์ทำให้พื้นผิวของดาวเคราะห์มีสีแดงสลัว

     

    โลก

    โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ150 ล้านกิโลเมตร เต็มไปด้วยหินขนาดเล็ก

    โลกใช้เวลาหนึ่งปีในการโคจรรอบดวงอาทิตย์
    ใช้เวลาหนึ่งวันหรือ 24 ชั่วโมงในการหมุนรอบ
    ตัวเอง

    ดาวอังคาร

    เป็นดาวดวงที่สี่จากดวงอาทิตย์ใช้เวลา 687 วันในการหมุนรอบดวงอาทิตย์ มีขนาดครึ่งหนึ่งของโลก มองเห็นได้ในเวลากลางคืน

    เพราะมีสีค่อนข้างแดงยานอวกาศลำแรกที่บินผ่านดาวอังคาร คือมารีเนอร์ 4 ทำให้แน่ใจได้ว่าดาวอังคารเป็นหลุมคบล้ายๆกับหลุมบนดวงจันทร์ ยานไวกิ้งได้พบว่าดาวอังคารมีอุณหภูมิแตกต่างกันมากมีบรรยากาศที่เบาบางประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจนเล็กน้อยดาวอังคารมีดวงจันทร์2ดวงคือ โฟบอสและไดมอส

     

     

    -         ดาวเคราะห์ชั้นนอก (Outer or Jovian Planets): จะเป็นกลุ่มดาวเคราะห์ ที่อยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่าอีกกลุ่ม เป็นดาวเคราะห์ที่เพิ่งเย็นตัว ทำให้มีผิวนอก ปกคลุมด้วยก๊าซ เป็นส่วนใหญ่ เหมือนพื้นผิวของดาวพฤหัส ทำให้มีชื่อเรียกว่า Jovian Planets (Jovian มาจากคำว่า Jupiter-like หมายถึง คล้ายดาวพฤหัส) ได้แก่ ดาวพฤหัส (Jupiter), ดาวเสาร์ (Saturn), ดาวยูเรนัส (Uranus), ดาวเนปจูน (Neptune) และดาวพลูโต (Pluto)

    ลักษณะและรูปของดาวเคราะห์ชั้นนอกแต่ละดวง

    ดาวพฤหัสบดี

    ใช้เวลาประมาณ 12 ปี ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดกาลิเลโอเป็นผู้ค้นพบดวงจันทร์ที่สว่างที่สุดของดาวพฤหัสดาวดวงนี้ประกอบด้วยก๊าซจำนวนมากส่วนใหญ่เป็นก๊าซไฮโดรเจน และฮีเลียม ภาพที่เห็นนั้นเป็นเพียงกลุ่มควันของก๊าซเท่านั้น สีขาวเป็นก๊าซแอมโมเนีย สีส้มเป็นก๊าซและสารประกอบของซัลเฟอร์ คาดกันว่าภายใต้กลุ่มควันเป็นชั้นโลหะเหลวหรือไม่ก็แกนหิน ยานอวกาศลำแรกที่ถูกส่งไปคือ ไพโอเนียร์ 10 และ 11 ได้ถ่ายภาพของดาวและให้รายละเอียดของดวงจันทร์ของมัน ค้นพบวงแหวน

    ดาวเสาร์

    เป็นดาวเคราะห์ที่มีวงแหวนล้อมรอบใช้เวลาในการหมุนรอบดวงอาทิตย์ 29 ปีเป็นดาวที่อยู่ห่างไกลที่สุดที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าประกอบด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียมมีดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดคือ ดาวไททัน วงแหวนของดาวเสาร์คืออนุภาคของหินและน้ำแข็งที่หมุนรอบดาวเสาร์ มีความหนา 30 เมตรมีรูปแบบการเคลื่อนไหวของอนุภาคที่ประกอบขึ้นเป็นวงแหวนมีความซับซ้อนมาก ยานอวกาศวอยาเจอร ์1 และ 2 พบว่าพื้นผิวของดาวเสาร์เป็นชั้นของกลุ่มควันแอมโมเนีย

    ดาวยูเรนัส

    ใช้เวลา 84 ปีในการหมุนรอบดวงอาทิตย์  วิลเลี่ยม เฮอรส์เชลเป็นผู้ค้นพบ ดาวยูเรนัสมีวงแหวนเช่นเดียวกับดาวเสาร์มีทั้งหมด11วงเป็นก้อนน้ำแข็งขนาดเท่าก้อนหิน ยานอวกาศที่เคยบินผ่านดาวดวงนี้เป็นลำแรกคือ ยานวอยาเจอร์ 2 มีดวงจันทร์ทั้งหมด15 ดวงบรรยากาศประกอบด้วยไฮโดรเจนเป็นส่วนใหญ่ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าลึกลงไปในกลุ่มควัน
    มีมหาสมุทรของน้ำและแอมโมเนีย

    ดาวเนปจูน 

    เออร์เบนน เลเวอริเออร์เป็นผู้ค้นพบดาวดวงนี้และตั้งชื่อตาม
    เทพเจ้าแห่งทะเลของโรมัน  ดาวเนปจูนห่างจากโลกประมาณ 4500 ล้านกิโลเมตร  ยานอวกาศที่ให้ข้อมูลมากที่สุดในการ
    ศึกษาดาวเคราะห์ดวงนี้คือ ยานอวกาศวอยาเจอร์ 2

    บรรยากาศของดาวดวงนี้ประกอบด้วยไฮโดรเจน ฮีเลียมและ
    มีเทน ก๊าซมีเทนเป็นก๊าซที่ทำให้ดาวดวงนี้มีสีน้ำเงิน ดาวเนปจูนเป็นดาวที่ให้ความร้อนมากกว่าความร้อนที่มันได้รัจากดวงอาทิตย์ ดาวเนปจูนเป็นดาวที่มีวงแหวนเช่นเดียวกับดาวเสาร์มีดวงจันทร์ 8 ดวง

     

    ดาวพลูโต

    อยู่ห่างไกลที่สุด ไวลด์ ทอมบัฟ เป็นผู้ค้นพบดาวดวงนี้และเด็กผู้หญิงอายุ11ปี เป็นผู้เสนอให้ตั้งชื่อว่าพลูโต

    พลูโตมีดวงจันทร์ซึ่งมีขนาดเป็นครึ่งหนึ่งของตัวมันเองชื่อ ชารอนดาวดวงนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3000 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม

    เนื่องจากระยะทางระหว่างโลกกับดาวดวงนี้ทำให้การศึกษาเกี่ยวกับดาวดวงนี้ยังไม่เป็นผลนัก นักวิทยาศาสตร์คาดคะเนว่าดาวดวงนี้อาจมีแกนเต็มไปด้วยหินปกคลุมด้วยน้ำของน้ำแข็ง และน้ำแข็งมีเทน  บรรยากาศส่วนใหญ่น่าจะปกคลุมด้วยมีเทน มีการเสนอว่าดาวพลูโตอาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่หลุดออกจากวงโคจรหรือเป็นดวงจันทร์ที่หลุดออกจากวงโคจรของดาวเนปจูน แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลยืนยันที่แน่นอน

     

    2. แบ่งตามวงทางโคจรดังนี้ คือ

         - ดาวเคราะห์วงใน (Interior planets) หมายถึงดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ดาวพุธ และดาวศุกร์

    -         ดาวเคราะห์วงนอก (Superior planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่อยู่ถัดจากโลกออกไป ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน และดาวพลูโต

    3. แบ่งตามลักษณะพื้นผิว ดังนี้

         - ดาวเคราะห์ก้อนหินได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ทั้ง 4 ดวงนี้มีพื้นผิวแข็งเป็นหิน มีชั้นบรรยากาศบางๆ ห่อหุ้ม ยกเว้นดาวพุธที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดไม่มีบรรยากาศ

         - ดาวเคราะห์ก๊าซ ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน จะเป็นก๊าซทั่วทั้งดวง อาจมีแกนหินขนาดเล็ก อยู่ภายใน พื้นผิวจึงเป็นบรรยากาศที่ปกคลุมด้วยก๊าซมีเทน แอมโมเนีย ไฮโดรเจน และฮีเลียม
    (สำหรับดาวพลูโตนั้นยังสรุปไม่ได้ว่าเป็นพวกใด เนื่องจากยังอยู่ห่างไกลจากโลกมาก)

    นอกจากที่เราทราบว่า ดาวเคราะห์จะหมุนรอบตัวเอง โคจรไปรอบๆดวงอาทิตย์แล้ว แกนของแต่ละดาวเคราะห์ ยังเอียง (จากแนวตั้งฉากของการเคลื่อนที่) ไม่เท่ากันอีกด้วย นอกจากนี้ เมื่อเทียบทิศทางของ การหมุนรอบตัวเอง กับการหมุนรอบดวงอาทิตย์ ของแต่ละดาวเคราะห์ พบว่า ดาวศุกร์ (Venus), ดาวยูเรนัส (Uranus), และดาวพลูโต (Pluto) จะหมุนรอบตัวเอง แตกต่างไปจากดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะจักรวาลของเรา

     

     

     

    ดาวเคราะห์น้อย (Asteroids)

              ดาวเคราะห์น้อย (Asteroids หรือ Minor planets) เกิดขึ้นในยุคที่เกิดระบบสุริยะเมื่อ 4,600 ล้านปีที่แล้ว ปัจจุบันมีวัตถุที่นักดาราศาสตร์ได้สังเกตพบและตั้งชื่อไว้อยู่ถึง 20,000 ดวง มีวัตถุที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 100 กิโลเมตร อยู่ประมาณ 200 ดวง ที่เหลือเป็นอุกกาบาตขนาดเล็กมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 กิโลเมตร ดาวเคราะห์น้อยโดยทั่วไปมีรูปร่างไม่แน่นอน และเต็มไปด้วยหลุมบ่อ แถบดาวเคราะห์น้อย (Asteroid Belt) พบอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี สันนิษฐานว่าเกิดมาพร้อมๆ กับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ มีทฤษฎีหนึ่งอธิบายว่า ดาวเคราะห์น้อยในบริเวณนี้ไม่สามารถรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ได้ เนื่องจากถูกรบกวนโดยแรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของดาวพฤหัสบดี

     

    ตลอดเวลา 30 ปีที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้ใช้สเปกโตรสโคปในการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและแร่ธาตุต่างๆ บนดาวเคราะห์น้อย โดยการวิเคราะห์แสงสะท้อนจากพื้นผิวดาว นอกจากนี้ยังตรวจสอบชิ้นอุกกาบาตที่ตกลงมาสู่พื้นโลก พบว่าประมาณ 1 ใน 3 ของบรรดาอุกกาบาตที่ศึกษาพบ มีสีเข้มและมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นคาร์บอน ให้ชื่อว่าเป็นอุกกาบาตประเภทคาร์บอนาเซียสคอนไดรท์ (carbonaceous chondrites: C-type) อีกประมาณ 1 ใน 6 พบว่า มีสีค่อนข้างแดงแสดงว่ามีส่วนประกอบที่เป็นเหล็ก จึงเรียกว่า ประเภทหินปนเหล็ก (stony-iron bodies: S-type)
              มีดาวเคราะห์น้อยบางดวงที่มีวงโคจรที่ไม่อยู่ในระนาบอิคลิปติกและมีวงโคจรอยู่ไม่ไกลกว่า 195 ล้านกิโลเมตร ซึ่งทำให้มันมีโอกาสที่จะโคจรมาพบกับโลกได้ในวันหนึ่งในอนาคต ดังนั้นนักดาราศาสตร์ไม่เพียงแต่ค้นหาดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่เท่านั้น แต่ต้องติดตามการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์น้อยเหล่านั้นที่มีวงโคจรอยู่ใกล้เคียงกับโลก ซึ่งจำแนกพวกนี้เป็นดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก (Near Earth Asteroids: NEAs)
              นอกจากนี้ยังมีวัตถุบางชิ้นที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่มีการก่อตัวของดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ นักวิทยาศาสตร์พบชิ้นส่วนอุกกาบาต ALH 84001 ที่พบบนพื้นโลกบริเวณขั้วโลก ที่น่าจะมีต้นกำเนิดจากดาวอังคาร อีกทั้งยังพบร่องรอยขององค์ประกอบของเซลล์สิ่งมีชีวิตที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นเซลล์สิ่งมีชีวิตจากนอกโลก หรือจากพื้นผิวโลกแทรกเข้าไปในรอยร้าวของอุกกาบาตนั้น

     

     

    มีการค้นพบดาวเคราะห์น้อย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1801ที่ชื่อเซเรส มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1000 กิโลเมตร ที่ระยะห่าง 2 เท่าของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์(AU.) ดาวเคราะห์น้อยเกือบทั้งหมดจะอยู่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี ซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่มีดาวเคราะห์ขนาดใหญ่อยู่ เซเรสเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ค้นพบตามกฏของ Bode จากนั้นมีการค้นพบ Pallas, Juno และ Vesta ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ด้วยเทคนิคใหม่ๆ ทำให้เราค้นพบดาวเคราะห์น้อยแล้วมากกว่า 1000 ดวง แต่มวลทั้งหมดยังประมาณ 2 เท่าของเซเรสเท่านั้น องค์ประกอบของวงโคจร (Orbital Parameters) ของดาวเคราะห์ ครอบคลุมช่วงกว้างมาก อาจมี Inclination มากถึง 300 ส่วนใหญ่มี Semi-Major Axis ประมาณ 2-4 AU. แต่ไม่มีดาวเคราะห์น้อยที่มีคาบที่เป็นตัวเลขที่เป็นเศษส่วนง่ายๆ กับวงโคจรของดวพฤหัสบดี เช่น 3/1, 5/2, 7/3 บริเวณวงโคจรนี้จะไม่เสถียร เรียกว่า Kirkwood Gaps ยังมีดาวเคราะห์น้อยอีกหลายร้อยดาวที่มีวงโคจรตัดหรือเข้าใกล้วงโคจรของโลก เรียกว่า Apollo-Amos ซึ่งมาจากแถบหลัก หรือช่วง Kirkwood เพราะถูกรบกวนจากแรงดึงดูดของดาวพฤหัสบดีและอาจมีบางดวงที่เป็นดาวหางคาบสั้นด้ว

     

    โครงการอวกาศใหม่ของนาซา

    โครงการ Dawn

    โครงการ Dawn (อรุณรุ่ง) เป็นโครงการส่งยานอวกาศ ไปสำรวจดาวเคราะห์น้อยสองดวงที่ชื่อ เซเรส(Ceres) และ เวสตา (Vesta) ซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ โคจรอยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อย ระหว่างดาวอังคารกับโลก ดาวเคราะห์น้อยเซเรส เป็นดาวเคราะห์น้อย มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์น้อยทั้งหมด ซึ่งโคจรอยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อย ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี และครองตำแหน่งดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะมานาน ตั้งแต่ถูกค้นพบเมื่อปี ค.ศ.1801 โดย Giuseppe Piazzi จนกระทั่งถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ.2001 ดาวเคราะห์น้อยเซเรส จึงเสียตำแหน่งดาวเคราะห์น้อยมีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะไป เพราะมีการค้นพบวัตถุขนาดใหญ่ในระดับเป็นดาวเคราะห์น้อย แต่มีขนาดใหญ่กว่าเซเรส ได้รับการตั้งชื่อเป็น 2001 KX 76 อยู่ที่แถบคอยเปอร์ (Kuiper Belt) ซึ่งอยู่ระหว่างดาวพลูโตกับแถบถิ่นที่อยู่ของดาวหางเรียก เมฆออร์ต (Oort Cloud)

    เวสตา เป็นดาวเคราะห์น้อยมีขนาดใหญ่ อันดับที่สามของบรรดาดาวเคราะห์น้อยในแถบดาวเคราะห์น้อยเดียวกับเซเรส โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์เป็นระยะทางเฉลี่ย 2.36 เอยู. (1 เอยู. = 1 AU. = ระยะห่างเฉลี่ยระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก) ถูกค้นพบเป็นอันดับสี่ในปี ค.ศ.1807 โดย H. W. M. Olbers (ถัดจากเซเรส ตามด้วยพอลสาส ปี ค.ศ.1802 และ จูโน ปี ค.ศ.1804) ถึงแม้ดาวเคราะห์น้อยเวสตา จะมีขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์น้อยเซเรส (เวสตามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 501 กิโลเมตร เซเรส มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 933 กิโลเมตร)

                          แต่ เวสตา เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงเดียวในบรรดาดาวเคราะห์น้อยทั้งหมด ที่มนุษย์บนโลก สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในบางครั้ง ทั้งนี้ เป็นเพราะ เวสตา โคจรอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ (และโลก) มากกว่า เซเรส (เซเรสโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นระยะทางเฉลี่ย 2.76 เอยู) และที่สำคัญ เวสตา มีสภาพพื้นผิวที่สะท้อนแสงดวงอาทิตย์ได้ดีกว่าดาวเคราะห์น้อยดวงอื่นๆ รวมทั้งเซเรสด้วย ซึ่งในเชิงดาราศาสตร์ จะแสดงจากค่าของ อัลบีโด (Albedo) กล่าวคือ เวสตา มีค่า อัลบีโด เป็น 0.23 ในขณะที่เซเรส มีค่าอัลบีโด น้อยกว่า คือ 0.10
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×