ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โลก ดวงดาว และดาราศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #17 : คำถามท้ายบทที่ 3 เรื่อง ธรณีประวัติ

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 54.3K
      101
      22 ก.พ. 50


    1. นักวิทยาศาสตร์ทราบได้อย่างไรว่า ครั้งหนึ่งบนโลกมีไดโนเสาร์อาศัยอยู่

    ตอบ            เพราะมีการพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ในชั้นของหิน เช่น ในประเทศไทยมีการพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ ประเภทเดินสี่เท้า กินพืชเป็นอาหาร คอและหางยาว ชื่อว่า ภูเวียงโกซอรัสสิรินทรเน พบครั้งแรกที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น

     

    2. เพราะเหตุใดเราจึงไม่ค่อยพบซากดึกดำบรรพ์ในกลุ่มหินอัคนี และหินแปร

    ตอบ          เพราะ หินอัคนี เกิดจากการเย็นตัวของแมกมา ซึ่งได้จากการระเบิดของภูเขาไฟ จึงไม่สามารถพบซากดึกดำบรรพ์ได้

                       หินแปร เกิดจากการแปรสภาพจากหินอัคนี หินตะกอนหรือหินแปรด้วยกันเอง ภายใต้อุณหภูมิ ความดันและสิ่งแวดล้อมทางแร่ ซึ่งหินที่ถูกทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างทันทีทันใดแล้วอุณหภูมิค่อยๆ ลดลง การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมินี้มีผลทำให้หินแตกหักได้ จึ่งไม่สามารถพบซากดึกดำบรรพ์ในหินแปร

     

    3. ซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบสามารถบอกอะไรแก่เราได้บ้าง

    ตอบ          ซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบสามารถบอกให้ทราบถึงอายุของหิน และสภาวะแวดล้อมในอดีต และทำให้สามารถหาความสัมพันธ์ของชั้นหินในบริเวณต่างๆ ได้

     

    4. ซากดึกดำบรรพ์ที่ดีและบ่งชี้อายุหินได้ชัดเจนควรเป็นอย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างเท่าที่ทราบ

    ตอบ            ซากดึกดำบรรพ์ที่ดี และบ่งชี้อายุหินได้ชัดเจน ได้แก่ ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี (index fossil) เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีวิวัฒนาการทางโครงสร้าง และรูปร่างอย่างรวดเร็ว มีความแตกต่างในแต่ละช่วงอายุอย่างเห็นเด่นชัด และปรากฏให้เห็นเพียงช่วงอายุหนึ่งแล้วก็สูญพันธุ์ไป ได้แก่ ไตรโลไบท์ แกรพโตไลท์ ฟิวซิลินิด เป็นต้น การพบซากดึกดำบรรพ์ไตรโลไบท์ในหินทรายแดงที่เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล ทำให้นักธรณีวิทยาบอกได้ว่า หินทรายแดงนั้นเป็นหินที่มีอายุประมาณ 570 - 505 ล้านปี หรือการพบซากดึกดำบรรพ์ฟิวซิลินิดในหินปูนที่บริเวณจังหวัดสระบุรี ทำให้นักธรณีวิทยาบอกได้ว่า หินปูนนั้นเป็นหินที่มีอายุประมาณ 286 - 245 ล้านปี เป็นต้น

     

    5. การลำดับชั้นหินและซากดึกดำบรรพ์ที่พบ มีความสำคัญอย่างไรกับการศึกษาความเป็นมาของโลก

    ตอบ            การลำดับชั้นหินและซากดึกดำบรรพ์ที่พบ มีความสำคัญในการศึกษาความเป็นมาของโลก คือ อาศัยอายุเทียบสัมพัทธ์ (relative age) เป็นอายุหินเปรียบเทียบซึ่งบอกได้ว่า หินชุดใดมีอายุมากหรือน้อยกว่ากัน โดยอาศัยข้อมูลจากซากดึกดำบรรพ์ที่ทราบอายุ ลักษณะการลำดับชั้นของหินชนิดต่างๆ และลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของหิน แล้วนำมาเทียบสัมพัทธ์กับช่วงเวลาทางธรณีวิทยาที่เรียกว่า ธรณีกาล (geologic time) ก็จะสามารถบอกอายุของหินว่า เป็นหินยุคไหนหรือมีช่วงอายุเป็นเท่าใด

    การลำดับชั้นหินเป็นการรวบรวมข้อมูลทางธรณีวิทยาเกือบทุกทางมาใช้ศึกษา วิเคราะห์ และประเมินศักยภาพของพื้นที่ ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ซึ่งทำให้ทราบถึงความเป็นมาของโลก

     

    6. ถ้านักเรียนสำรวจพบซากดึกดำบรรพ์ของปะการังบนยอดเขาแห่งหนึ่ง นักเรียนมีความเห็นเกี่ยวกับการกำเนิดของภูเขานั้นอย่างไร จงอธิบาย

    ตอบ            ถ้าพบซากดึกดำบรรพ์ของปะการังบนยอดเขาแห่งหนึ่ง แสดงว่า ในอดีตบริเวณนี้เป็นทะเลน้ำตื้นในช่วงแรกแล้วแผ่ไปสู่ทะเลลึก และเปลี่ยนเป็นทะเลตื้นใกล้ชายฝั่งอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่มีการสะสมตะกอนจากทะเล มีการแข็งตัวของตะกอน ทำให้บริเวณนี้ตื้นขึ้น ต่อจากนั้นเปลือกโลกบริเวณนี้มีการเคลื่อนที่ และมีการระเบิดของภูเขาไฟ ทำให้พื้นที่นี้มีการยกตัวสูงขึ้นเป็นภูเขาในปัจจุบัน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×