กลุ่มคำ (ขั้นสูง) - กลุ่มคำ (ขั้นสูง) นิยาย กลุ่มคำ (ขั้นสูง) : Dek-D.com - Writer

กลุ่มคำ (ขั้นสูง)

ผู้เข้าชมรวม

3,376

ผู้เข้าชมเดือนนี้

14

ผู้เข้าชมรวม


3.37K

ความคิดเห็น


0

คนติดตาม


0
เรื่องสั้น
อัปเดตล่าสุด :  27 ม.ค. 50 / 21:48 น.


ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ

    กริยาวลี

    กริยาวลี หมายถึง คำกริยาคำเดียว หรือคำกริยากับส่วนขยาย ซึ่งทำหน้าที่เป็น ส่วนของประโยค ชนิดใดชนิดหนึ่งใน 3 ชนิดนี้ คือ หน่วยอกรรม หน่วยสกรรม และหน่วยทวิกรรม

     

    องค์ประกอบของกริยาวลี 

    1. หน่วยแก่น ()

    􀂃 คำกริยา                                                           เขียน บอก ทำ ให้ แจก เดิน ว่ายน้ำ ร้องไห้

    􀂃 คำกริยา+คำกริยา                                          เดินหา วิ่งชน นั่งคอย นอนคิด

    􀂃 คำกริยา+คำกริยา+คำกริยา                         พยายามศึกษาค้นคว้า, เริ่มสนใจฝึก, ต้องการนั่งทำงาน

    􀂃 คำกริยา+คำกริยา+คำกริยา+คำกริยา        ต้องการฝึกอบรมทำ, พยายามศึกษาค้นคว้าหา

    􀂃 คำหน้ากริยา+คำกริยา - - ไป มา                ไปเที่ยว ไปรับ ไปถาม ไปยืน มาเที่ยว มารับ มาถาม มาคอย

    􀂃 คำกริยา+คำหลังกริยา - - ไป มา ขึ้น ลง ให้ ไว้ เสีย เอา         ย้ายไป อ้วนขึ้น ผอมลง ซ่อมให้ เลือกเอา ลองดู

    􀂃 คำหน้ากริยา+คำกริยา+คำหลังกริยา        ไปเที่ยวมา มาดูเสีย ไปเก็บไว้

    2. หน่วยช่วยกริยาหน้าหน่วยแก่น (1)

    คำช่วยหน้ากริยา คำปฏิเสธ

    􀂃 คำช่วยหน้ากริยา                           กำลัง คง เพิ่ง จะ

    􀂃 คำช่วยหน้ากริยา x 2                    กำลังจะ คงเพิ่ง น่าจะ

    􀂃 คำช่วยหน้ากริยา x 3                    ยังอยากจะ อาจจะต้อง

    􀂃 คำช่วยหน้ากริยา x 4                    คงจะเพิ่งเคย

    􀂃 คำปฏิเสธ ไม่                             ไม่เห็น ไม่ชอบ ไม่สวย

    􀂃 คำช่วยหน้ากริยา+ไม่             คงไม่ ไม่เคย อาจจะไม่

     

    3. หน่วยช่วยกริยาหลังหน่วยแก่น (2)

    คำช่วยหลังกริยา

    􀂃 แล้ว                 เห็นแล้ว เดือดแล้ว พูดแล้ว

    􀂃 อยู่                    ทำอยู่ นั่งอยู่ ยืนอยู่

    􀂃 อยู่แล้ว             ดีอยู่แล้ว คอยอยู่แล้ว

     

    4. หน่วยขยาย ()

                    คำกริยาวิเศษณ์ สถานวลีลดฐานะ กาลวลีลดฐานะ

    􀂃 กริยาวิเศษณ์                                                                                 ชอบจัง ป่วยบ่อย ง่วงเหลือเกิน

    􀂃 กริยาวิเศษณ์ x 2                                                                            คุยกันอีก ป่วยบ่อยจัง

    􀂃 กริยาวิเศษณ์ x 3                                                                            กินจุจังเลย

    􀂃 สถานวลีลดฐานะ                                                                         กำลังนั่งอยู่ในบ้าน จะมาทานข้าวที่นี่

    􀂃 กาลวลีลดฐานะ                                                                             มักจะตื่นแต่เช้า, เพิ่งมาถึงเมื่อวานนี้

    􀂃 สถานวลีลดฐานะ+ กาลวลีลดฐานะ                                         ลุกจากที่นอน แต่เช้า

    􀂃 กริยาวิเศษณ์+ สถานวลีลดฐานะ                                              มาคุยกัน ที่นี่, อยากนั่งตรงนั้น จัง

    􀂃 กริยาวิเศษณ์+ กาลวลีลดฐานะ                                 คงเจอกัน ทุกวัน, เพิ่งมาเมื่อกี้ เอง

    􀂃 สถานวลีลดฐานะ+ กาลวลีลดฐานะ+ กริยาวิเศษณ์              เจอกัน ที่ที่ทำงาน ทุกวัน, เจอกัน ทุกวัน ที่ที่ทำงาน

     

     

    โครงสร้างของกริยาวลี (10 แบบ)

    1.                         สวย, เดินหา, ไปเที่ยว, ชอบเดินดู, มากินเสีย

    2. ก ช2                   นั่ง/อยู่, เดือด/แล้ว, ดี/อยู่แล้ว

    3. ก ข                     ชอบ/จัง, มา/บ่อยทีเดียว, ทำงาน/นอกบ้าน, เจอ/กันทุกวัน, เข้าไป/ในครัวอีก, ออกไป/เมื่อกี้กระมัง

    4. ก ช2               รู้/อยู่/ก่อน, เดือด/อยู่/บนเตา, ทาน/แล้ว/เมื่อสักครู่นี้, นั่งคอย/อยู่/ที่นี่ก่อน

    5. ก ข ช2               ปรึกษา/กัน/อยู่, วาง/บนโต๊ะ/แล้ว, คบ/กัน/ตั้ง 7 ปีแล้ว

    6. 1                   คง/สวย, กำลัง/เดินหา

    7. 1 ก ช2             กำลัง/คิด/อยู่, อาจจะ/รู้/อยู่แล้ว

    8. 1 ก ข               คง/มา/บ่อยทีเดียว, ไม่อยาก/ทำงาน/นอกบ้าน, เพิ่ง/มา/ถึงเมื่อวานนี้, ไม่ควรจะ/เข้าไป/ในนั้นอีก

    9. 1 ก ช2         น่าจะ/เจ็บ/อยู่/ก่อน, กำลัง/เดือด/อยู่/บนเตา, คงต้อง/นั่งคอย/อยู่/ที่นี่ก่อน, อาจจะต้อง/เฝ้า/อยู่/ทั้งวัน

    10. 1 ก ข ช2       ยัง/ปรึกษา/กัน/อยู่, จวนจะ/พบ/กันอีก/แล้ว, เคย/เจอ/กันที่บ้าน/แล้ว, คงจะ/ใส่ไว้/ในลิ้นชักตามเคย/อีกแล้ว

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    คำนิยมล่าสุด

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    ความคิดเห็น

    ×