การดูแลรักษาเสื้อผ้า - การดูแลรักษาเสื้อผ้า นิยาย การดูแลรักษาเสื้อผ้า : Dek-D.com - Writer

    การดูแลรักษาเสื้อผ้า

    ผู้เข้าชมรวม

    11,838

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    9

    ผู้เข้าชมรวม


    11.83K

    ความคิดเห็น


    9

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  27 ม.ค. 50 / 17:00 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


      การดูแลรักษาเสื้อผ้า

      เสื้อผ้าของคุณจะมองดูสวยงามและทนทาน ควรดูแลรักษาดังนี้คือ แขวนเสื้อผ้าในไม้แขวนเสื้อให้ถูกวิธี ซักรีด รักษาให้สะอาดอยู่เสมอ ควรจะแขวนเสื้อชุด หรือเสื้อโค้ทในทันทีที่ถอดออกจากตัว ไม่ควรวางพาดไว้บนเก้าอี้เป็นเวลาหลายชั่วโมง ติดกระดุมหรือรูดซิปขึ้นเพื่อให้ได้รูปทรง ใช้แปรงขนสัตว์ปัดฝุ่นอย่างระมัดระวังหลังจากสวมใส่แล้ว เป็นการปัดฝุ่นอกกทันทีที่ใช้เสร็จดีกว่าปล่อยให้ฝุ่นเกาะฝังลึก ฝุ่นหรือคราบสกปรกต่าง ๆ ให้ขจัดออกทันที่ที่รอยเปื้อนยังใหม่อยู่ ให้ศึกษาถึงรอยเปื้อนและวิธีขจัดที่ถูกต้อง รีบทำอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าไม่ทราบวิธีการที่ถูกต้องรีบนำไปที่ร้านซักรีดให้ช่วยจัดการให้ เวลาถอดเสื้อผ้าควรทำอย่างระมัดระวัง อย่ากระชากหรือดึงอย่างรุนแรง ถ้าซิปติดต้องใจเย็น ค่อย ๆ รูด ใช้ขี้ผึ้งหรือเทียนไขทาจนทำให้ซิปรูดคล่อง ควรเย็บกระดุมให้แน่น อย่าปล่อยทิ้งไว้จนหลุดหายไป ซ่อมรอยตะเข็บที่ปริก่อนที่มันจะขยายกว้างขึ้น ควรนำเสื้อผ้าออกจากตู้มาผึ่งแดดบ้าง แล้วจึงเก็บไว้ในตู้เสื้อผ้าดังเดิม วิธีนี้จะทำให้เสื้อผ้าไม่มีกลิ่นอับ

      ห้องเก็บเสื้อผ้า ควรมีการจัดตู้เสื้อผ้าใหม่ และทิ้งเสื้อชุดที่ไม่ใช้เสียบ้าง นำเสื้อผ้าที่เป็นชุดมาปัดฝุ่นและผึ่งแดด ปัดฝุ่นกล่องต่าง ๆ กระเป๋าเดินทาง ที่แวนหมวก เช็ดผนังห้อง ชั้นวางของ และตะขอต่าง ๆ ใส่กระดาษหอมไว้ตามชั้น แล้ววางของไว้ให้เป็นที่เรียบร้อย

      ราวตากผ้า เช็ดถูราวตากผ้าด้วยผ้าชุบน้ำบิดพอหมาด เช็ดก่อนใช้ ถ้าทำราวตากผ้าใหม่เพื่อให้เชือกตากผ้าอ่อนนุ่มไม่แห้ง ให้นำเชือกมาต้มในน้ำเดือด หลาย ๆ นาทีก่อน แล้วจึงใช้น้ำร้อนราดอีกครั้งก่อนจะนำเชือกนั้นไปขึงเป็นราวตากผ้า

      ไม้หนีบผ้า ถ้าไม้หนีบผ้าสักหลาดสกปรกให้แช่ในน้ำสบู่อุ่น ๆ ถ้าเป็นไม้หนีบผ้าพลาสติคให้แช่ในน้ำสบู่อ่อน ๆ ผสมน้ำอุ่น วิธีง่าย ๆ ให้นำเอาไม้หนีบผ้าใส่ถุงตาข่ายไนล่อน แล้วแขวนเอาไว้ในน้ำสบู่ เมื่อเอาขึ้นจากน้ำสบู่ ใช้แปรงถูคราบราที่เกาะ ล้างน้ำให้สะอาด ผึ่งแดดให้แห้ง

      หมวก ที่วางหมวกควรเช็ดถูให้สะอาด เมื่อใช้หมวกแล้วควรปัดฝุ่นออกให้หมด วางลงบนที่แขวนหมวก หรือเก็บใส่กล่องให้เรียบร้อย ใช้กระดาษทิชชู่สอดไว้ภายในเพื่อรักษารูปให้คงรูปทรง ควรใส่ยาป้องกันแมลงกินผ้าไว้ในกล่องด้วย

      ซักผ้า ผ้าสีและผ้าขาวควรซักแยกออกจากกัน ถ้าเป็นผ้าลินินควรซักในน้ำร้อนซึ่งผสมน้ำยาซักแห้งหรือน้ำยาทำความสะอาด น้ำร้อนจะช่วยทำให้ผ้าสะอาดขึ้น เมื่ออบผ้าให้แห้งแล้วผ้าจะคงรูปทรงยิ่งขึ้น ถ้าไม่แน่ใจว่าสีจะตกหรือไม่ ให้ทดลองซักเศษผ้าหรือมุมผ้าดูประมาณ 2-3 นาที ถ้าน้ำมีสีคือสีผ้าตก ไม่ควรนำผ้ามาอบ ควรใช้วิธีนำผ้าผึ่งตาก ถ้าผ้าตกสี ให้แยกออกมาซักด้วยมือ อย่าใช้เครื่องซักผ้า ใช้สบู่อ่อน ๆ หรือน้ำยาซักผ้าผสมน้ำอุ่นค่อนข้างเย็นแล้วซักออกด้วยน้ำเย็น จากนั้นนำผ้าที่ซักแล้วห่อผ้าขนหนูม้วน เพื่อให้ซับน้ำออกมากที่สุด แล้วจึงเอาผ้าออกจากผ้าขนนหนูตากในที่ร่ม นำมารีดในขณะที่ผ้ายังชื้นอยู่นิด ๆ ใช้เต้ารีดที่ไม่ร้อนจัด
      รอยเปื้อนบนผ้าฝ้าย บางอย่างสามารถขจัดออกก่อนซักได้ โดยใช้ฟองน้ำชุบน้ำยาขจัดรอยเปื้อน เช็ดออกตามคำแนะนำในฉลากที่ติดอยู่ที่ขวด

      ที่ใส่ทำงาน ชุดกีฬา ชุดชั้นในหรือผ้าม่าน นำมาแช่ทิ้งไว้ 10-20 นาที ในน้ำผสมน้ำยาซักผ้า ถ้าผ้ามีคราบสกปรกมากให้ผสมแอมโมเนีย 1/2 ถ้วยลงไปในน้ำที่แช่ผ้า

      เสื้อผ้าฝ้ายสีขาว ถ้าต้องการให้ขาวยิ่งขึ้น ให้ใช้น้ำยากัดสีผ้าพวกคลอไรด์หรือเปอร์อ๊อกซี่ ใช้ตามคำแนะนำที่บอกไว้ที่ฉลากข้างขวด การลงแป้งอ่อน ๆ จะทำให้ผ้าขาวเรียบขึ้น

       

       เคล็ดลับดูแลชุดสวย
      เสื้อผ้า..จะหญิงหรือชายก็ชอบซื้อกันจริง ขนซื้อกันชนิดที่ว่าบางคน ตู้เสื้อผ้าใบเดียวไม่พอใส่ ทั้ง แบรนด์เนมแบรนด์ไทยเต็มตู้ไปหมด แต่ละชิ้นแต่ละตัวราคาไม่ใช่ถูกๆ (ถึงแม้จะซื้อตอน sale ก็เถอะ) ซื้อมาแล้วก็ต้องใส่ให้คุ้มกันหน่อย

      แต่คุ้มในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าให้ใส่เสียจนเยินไปทั้งตัวนะคะ อยากให้คุ้มค่า คือใส่ไปได้นานๆ ต่างหากล่ะ

      จริงๆ แล้วการดูแลรักษาเสื้อผ้า ไม่ต้องใช้พรสวรรค์การเป็นแม่บ้านแม่เรือนก็ได้ เพราะมีปัจจัย อยู่ไม่กี่อย่างที่เราต้องเอาใจใส่ อย่างเช่น ผ้าชนิดนี้ต้องซักอย่างไร ต้องรีดความร้อนระดับไหน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ไม่ยากเลย เวลาซื้อเสื้อผ้ามาจะสังเกตเห็นว่า บริเวณคอเสื้อ
      หรือด้านในของขากางเกงหรือกระโปรง มีป้ายเล็กๆ เขียนสัญลักษณ์ 2-3 ตัว เย็บติดอยู่ (ชุดชั้นในหรือชุดว่ายน้ำ ก็มีเหมือนกัน) ตรงป้ายนี้ล่ะเขาจะบอกไว้หมดว่า เราควรดูแลผ้าชิ้นนี้อย่างไร
        
      ไม่ว่าคุณจะซื้อเสื้อผ้าจากประเทศไหนในโลก หน้าตาสัญลักษณ์ก็เหมือนกันหมด ลองมาดูกันว่า สัญลักษณ์แต่ละตัวบอกอะไรเราบ้าง ถึงอยู่บ้านจะเป็นคุณหนูคุณนายก็ควรรู้ไว้ จะได้เก็บไปถ่ายทอดให้สมศรีที่บ้านปฏิบัติตาม

      WASHING
      ถ้าเห็นเครื่องหมายนี้ ก็แปลว่า ใช้เครื่องซักผ้าซักได้ แต่บางครั้งคุณอาจเห็นสัญลักษณ์แบบเดียวกันนี้ แต่มีตัวเลข 30 40 50 90 กำกับอยู่ในนั้นด้วย ตัวเลขนี้บอกให้รู้ว่า อุณหภูมิของน้ำที่ควรใช้ซักผ้าชิ้นนี้เท่าไร แต่ไม่จำเป็นต้องซีเรียสตาม สำหรับบ้านเราใช้น้ำที่ออกมาจากก๊อกปกติก็พอแล้ว เวลาซักก็ควรแยกซักระหว่างผ้าขาวกับผ้าสี โดยเฉพาะสีดำ เพื่อป้องกันการตกสี จากนั้นควรกลับเอาผ้าด้านในออกซัก โดยเฉพาะกางเกงยีน จะได้ไม่ดูเก่าและซีดเร็ว

      เห็นภาพนี้เป็นอันรู้เลยว่า ควรใช้มือซักค่ะ เพราะผ้าบางชนิดไม่เหมาะจะซักด้วยเครื่อง ทีนี้การซักมือ ก็ต้องระวังเช่นกัน หนึ่ง แช่ผ้าในน้ำผงซักฟอกสักระยะเพื่อให้คราบสกปรกต่างๆ หลุดออกไป แต่อย่าแช่นานเกินไป เดี๋ยวผ้าสีตก สอง ใช้มือขยี้เบาๆ อย่าใช้แปรงเด็ดขาด สาม เวลาล้างน้ำสะอาด ต้องล้างผงซักฟอก

      เครื่องหมายนี้บ่งบอกว่า ซักแห้ง เท่านั้น ซึ่งการซักแห้งเป็นงานละเอียดอ่อน และยุ่งยากต่อการทำเองที่บ้าน แนะนำว่าส่งร้านซักรีดจะสะดวกและปลอดภัยกว่า เพราะผ้าที่ต้องซักแห้งจะเป็น ผ้าไหม ไหมพรมและพวกขนสัตว์ ซึ่งราคาค่อนข้างแพงทั้งนั้น

      นี่ก็ซักแห้ง แต่ตัว P กำหนดว่า ควรใช้น้ำยาซักแห้งที่มีส่วนผสมของสาร Perchlorethylene ซึ่งปลอดภัยทั้งคนและผ้า
      ซักแห้งเช่นเดียวกัน แต่ตัว A หมายความว่าใช้น้ำยาซักแห้งชนิดใดก็ได้

      DRYING
      จริงๆแล้ว วิธีที่ดีที่สุดในการตากผ้าคือ ตากแดดตากลมให้แห้งตามธรรมชาติ ยกเว้นในยามที่ฟ้าฝนไม่เป็นใจ ก็คงต้องพึ่งเครื่องซักผ้าช่วยปั่นแห้ง การปั่นด้วยเครื่องซักผ้าดีตรงที่สะดวก แต่ผลเสียของการปั่นบ่อยๆ จะทำให้ผ้าหดตัว

      สัญลักษณ์นี้มักเห็นกันบ่อยๆ คือ ห้ามใช้น้ำยาซักผ้าขาว

      ปั่นจนแห้งสนิทด้วยเครื่องซักผ้าได้ โดยไม่จำเป็นต้องตากแดด และเสียทรงได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสื้อผ้าที่ซื้อมาใหม่ๆ ลองเช็คดูว่าเสื้อผ้าที่ใส่มีสัญลักษณ์แบบนี้บ้างหรือเปล่า

      IRONING
      เสื้อผ้าแห้งแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือ การรีดผ้า จากประสบการณ์ขอบอกค่ะว่า เป็นงานที่ยากและน่าเบื่อที่สุด แต่ก็จำเป็น เพราะการรีดนอกจะช่วยให้ทั้งเสื้อผ้าและคนใส่ดูดีแล้ว ยังทำให้ทรงของเสื้อผ้าเข้ารูปเข้ารอยอยู่ได้นาน ซึ่งปัจจัย

      จะปั่นหรือบิดด้วยมือก็ได้ แค่พอให้แห้งหมาดๆ ก็พอ แล้วนำไปตากแดด สำคัญของการรีดผ้าอยู่ที่ ความร้อน ร้อนมากไปผ้าอาจจะไหม้ ร้อนน้อยไปผ้าก็ไม่เรียบ เพราะฉะนั้นก่อนรีด พลิกป้ายคำ

      ให้ใส่ไม้แขวนแล้วตากแนวตรงตามทรงของเสื้อผ้า มักจะใช้กับเสื้อผ้าที่น้ำหนักไม่มาก แนะนำขึ้นมาดูสักนิดหนึ่ง ว่าเสื้อหรือกางเกงตัวนี้ ควรใช้ความร้อนมากประมาณไหน

      ถ้าเป็นประเภทเสื้อขนสัตว์ เสื้อสเวตเตอร์ไหมพรม หรือแจ็คเก็ตนวมตัวใหญ่ๆ จะต้องเห็นสัญลักษณ์นี้ วิธีตากคือ ตากเสื้อลงบนพื้นแนวราบ (ถ้ากลัวเสื้อเลอะ ให้ปูผ้าเช็ดตัวก่อน แล้วค่อยวางเสื้อตากลงไป) วิธีเพื่อเป็นการรักษาทรงของเสื้อ

      จุดเดียวแบบนี้ แปลว่า ไม่ร้อนเลย เหมาะสำหรับผ้าใยสังเคราะห์จำพวกโพลีเอสเตอร์ ไนลอน และ ผ้าไหมด้วย

      2 จุด คือ ใช้ความร้อนปานกลาง พออุ่นๆ เหมาะสำหรับพวกขนสัตว์ และผ้าคอตตอน

      3 จุด คือ ต้องเร่งความร้อนเตารีดสูงมาก (แต่ระวังอย่านาบเตารีดบนผ้านานๆ

      กากบาทแบบนี้ ไม่ต้องบอกก็รู้ว่า ห้ามรีด ค่ะ
      แถมท้ายเรื่องรีดผ้าอีกนิด ไม่ว่าจะรีดอะไรควรใช้ที่รองรีดทุกครั้ง ถ้ารีดเสื้อผ้าสีดำ ให้กลับเอาด้านในออกมารีด ป้องกันผ้าเป็นรอยเงาด่างๆ และให้ระวังพวกป้ายยี่ห้อ หรือ โลโก้ ที่ติดบนตัวเสื้อหรือกางเกง ที่ทำจากพลาสติก เพราะอาจละลายไหม้ติดเตารีด แต่ถ้าไม่อยากปวดหัวเรื่องรีดอีกต่อไป แนะนำว่าหาซื้อเสื้อผ้าที่ใส่แล้วไม่ยับง่ายดีกว่า

      เป็นอันว่าสำเร็จเสร็จสิ้นทุกขั้นตอน รู้อย่างนี้แล้วซื้อเสื้อผ้าคราวหน้า จะมีป้ายหรือไม่มี ก็คงไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป และถ้าเป็นไปได้ควรหมั่นทำให้ติดเป็นนิสัย ชุดใหม่ๆ จะได้ไม่เก่าเร็ว

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×