ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สิ่งเสพย์ติด

    ลำดับตอนที่ #1 : การหลีกเลี่ยงจากสิ่งเสพย์ติดทุกชนิด

    • อัปเดตล่าสุด 19 ม.ค. 51



    การหลีกเลี่ยงจากสิ่งเสพย์ติดทุกชนิด

    การจะให้ประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนสามารถหลีกเลี่ยงจากสิ่งเสพติดชนิดต่าง ๆ ได้นั้น จำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องมีบทบาทที่จะช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งเสพติด ดังนี้

    บทบาทของสถาบันสำคัญต่าง ๆ ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาสิ่งเสพติด

    สถาบันต่าง ๆ ทางสังคมที่ต้องมีบทบาทในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งเสพติมีดังนี้

    1. บทบาทของครอบครัว

    ครอบครัวเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดสำหรับทุกคน ครอบครัวที่อบอุ่นและมีระเบียบวินัย จะช่วยให้สมาชิกในครอบครัวมีความเป็นอยุ่อย่างปกติสุข พ่อแม่หรือผู้ปกครองเป็นบุคคลสำคัญ ที่จะทำให้ครอบครัวมีลักษณะดังกล่าวดังนั้น พ่อแม่หรือผู้ปกครองของแต่ละครอบครัว จึงควรเอาใจใส่ดูแลบุตรหลานให้ความรักความอบอุ่นอย่างทั่วถึง ก็จะทำให้เยาวชนห่างไกลจากสิ่งเสพติดชนิดต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้ ถ้าพบว่ามีสมาชิกในครอบครัวติดสิ่งเสพติด ต้องรีบพาไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลหรือสถาบันบำบัดรักษาต่าง ๆ

    1. บทบาทของโรงเรียน

    โรงเรียนเป็นสถาบันสำคัญรองลงมาจากครอบครัว จึงมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้เยาวชนปลอดภัยจากสิ่งเสพติด โดยโรงเรียนควรแสดงบทบาทดังนี้

      1. ให้ความรู้ในเรื่องสิ่งเสพติดแก่นักเรียน
      2. ครูอาจารย์ให้ความเอาใจใส่ดูแลนักเรียน และเป็นที่ปรึกษาที่ดีให้แก่นักเรียน
      3. เมื่อทราบว่ามีนักเรียนติดสิ่งเสพติด โรงเรียนต้องรบแจ้งให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองนักเรียนทราบ แล้วร่วมมือกันแก้ปัญหาให้กับเยาวชนต่อไป
      4. โรงเรียนควรจัดกิจกรรมต่าง ๆ และแหล่งนันทนาการให้แก่นักเรียนอย่างเพียงพอ
    1. บทบาทของรัฐบาล

    รัฐบาลมีบทบาทสูงและกว้างไกลสำหรับการแก้ไขปัญหาสิ่งเสพติดให้กับประชาชนทุกคน โดยการดำเนินการด้านต่าง ๆ ดังนี้

      1. พยายามแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นสาเหตุชักจูงหรือผลักดันให้ประชาชนไปสู่การติดสิ่งเสพติด เช่น ความยากจนของประชาชน ความไร้ระเบียบของสังคม เป็นต้น ให้น้อยลงหรือหมดไป
      2. ให้ความรู้ความเข้าใจถึงโทษและอันตรายของสิ่งเสพติดต่อประชาชน
      3. เผยแพร่สิ่งดีงามในดานวัฒนธรรม ประเพณี และศีลธรรมอันดีงามให้กับประชาชน จนทุกคนสามารถตระหนักถึงสิ่งดีงามดังกล่าวในการปฎิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
      4. ปราบปรามและจับกุมแหล่งผลิตและแหล่งค้าสิ่งเสพติดชนิดต่าง ๆ ไม่ให้สิ่งเสพติดตกไปถึงมือประชาชน
      5. ออกกฎหมายให้ลงโทษผุ้กระทำความผิดเกี่ยวกับสิ่งเสพติดให้รุนแรงขึ้นอย่างเหมาะสม

     

     

    บทบาทของตนเองที่จะปฏิบัติให้พ้นจากสิ่งเสพติด

     

    นอกจากสถาบันดังกล่าวซึ่งจำเป็นต้องช่วยกันต่อต้านสิ่งเสพติดแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกันเยาวชนติดสิ่งเสพติดก็คือตัวเยาวชนเอง ซึ่งจะมีวิธีป้องกันการติดสิ่งเสพติดได้ดังนี้ คือ

    1. เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ และผู้ใหญ่ที่หวังดี
    2. เมื่อมีปัญหาควรปรึกษาพ่อแม่ ผู้ปกครองหรือครูอาจารย์ ไม่เก็บปัญหาเอาไว้ แ ละไม่ควรคิดว่าการเสพสิ่งเสพติดจะช่วยให้ลืมปัญหาเหล่านั้นได้
    3. ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของสิ่งเสพติดชนิดต่าง ๆ
    4. ไม่มั่วสุมกับเด็กที่ติดสิ่งเสพติด
    5. ไม่ชักชวนเพื่อนฝูงทดลองเสพสิ่งเสพติด เมื่ออยู่ในกลุ่มเพื่อนควรจับกลุ่มกันทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์หรือเล่นกีฬา
    6. อย่าคิดว่าการดื่มสุรา การสูบบุหรี่ หรือการเสพสิ่งเสพติด เป็นสิ่งโก้เก๋
    7. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส และปรับตัวเข้ากับกลุ่มเพื่อน
    8. ไม่ทดลองสิ่งเสพติดทุกชนิดเพราะติดง่ายและรักษาให้หายได้ยาก
    9. ไม่ใช้ยาทุกชนิดโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือ เภสัชกร
    10. ยึดมั่นในหลักธรรมของศาสนา คำสอนของทุกศาสนามีจุดมุ่งหมาย ให้บุคคลประพฤติแต่สิ่งดีงามและละเว้นความชั่ว
    11. หากรู้สึกตัวเองหรือว่าสงสัยว่าถูกหลอกให้เสพสิ่งเสพติด ต้องรีบบอกพ่อแม่หรือผู้ปกครองทันที
    12. เมื่อพบผู้ใดติดหรือสงสัยว่าติดสิ่งเสพติด จงช่วยแนะนำให้ไปรับการรักษาโดยเร็ว

     

     

     

    สถานที่ให้บริการบำบัดรักษาผู้ติดสิ่งเสพติด

    สถานที่บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดเป็นสถานที่รักษาผู้ติดสิ่งเสพติดให้หายาขาดจากการติดสิ่งเสพติด ซึ่งแต่ละสถานที่มีวิธีการบำบัดรักษาแตกต่างกันออกไป สถานที่เหล่านี้มีทั้งที่เป็นของทางราชการและเอกชน


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×