คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : ดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์
พลังงานจากดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์ปล่อยพลังงานออกมาจำนวน 386,000,000,000,000,000,000,000,000 วัตต์ พลังงานที่ ดวงอาทิตย์ปล่อยมา ได้แก่ อนุภาคพลังงานสูง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทุกช่วงคลื่นได้แก่ รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ รังสีอัลตร้าไวโอเลต แสงสว่าง รังสีอินฟราเรด และคลื่นวิทยุ ดวงอาทิตย์ปล่อยพลังงานออกมา รอบตัวทุกทิศทาง มีพลังงานเพียงส่วนน้อย ที่พุ่งตรงมายังโลกของเรา
บรรยากาศช่วยป้องกันโลก
บรรยากาศโลกช่วยกักกั้น และดูดกลืนพลังงานที่มา จากอวกาศส่วนใหญ่ไว้ มีแสงสว่าง รังสีอัลตร้าไวโอเลต บางส่วน รังสีอินฟราเรดบางส่วนและคลื่นวิทยุรวมทั้งอุกกาบาตบางส่วน ที่ผ่านบรรยากาศเคลื่อนที่มาถึงพื้นโลก
โครงสร้างของดวงอาทิตย์
1.ใจกลางดวง(Core)อุณหภูมิประมาณ 15,000,000 เคลวิน เกิดปฏิกิริยายาเทอร์โมนิวเคลียร์ เป็นแหล่งสร้าง พลังงานของดวงอาทิตย์
2.ชั้นแผ่รังสี (Radiation Zone) พลังงานจากใจกลางดวงแผ่รังสีออกสู่ด้านนอก
3.ชั้นพาพลังงาน (Convection Zone) เป็นชั้นที่มวลสาร ของดวงอาทิตย์รับพลังงาน จากชั้นแผ่รังสีพาออก สู่ผิวดวงปรากฏสว่างจ้าในบรรยากาศชั้นโฟโตสเฟียร์
บรรยากาศของดวงอาทิตย์
1.โฟโตสเฟียร์(Photosphere) ชั้นแสงจ้าผิวของดวงอาทิตย์อุณหภูมิราว 6,000 เคลวิน เป็นชั้นบาง ๆ ทึบแสง ลึกลงไป คือ ตัวดวงอาทิตย์ไม่สามารถมองเห็นได้พลังงาน จากภายในดวงเคลื่อนออกสู่ภายนอกที่บรรยากาศชั้นนี้
2.โครโมสเฟียร์ (Chromosphere) ชั้นแสงสี เป็นชั้นบาง ๆ สูงจากชั้นแสงจ้า เกิดพวยก๊าซปรากฏ ที่ขอบดวงเห็นได้ ขณะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง
3.โคโรน่า(Corona) บรรยากาศชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์มีรูปร่างเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา สัมพันธ์กับ ปรากฏการณ์ ที่ผิวดวง
วิวัฒนาการของดวงอาทิตย์
ปัจจุบัน ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์สีเหลือง (Type G) อุณหภูมิผิวราว 6000 เคลวิน มีอายุราว 5000ล้านปี อยู่ในช่วงกึ่งกลางชีวิต ประมาณว่าดวงอาทิตย์คงมีอายุราว 10000 ล้านปี ซึ่งเป็นชีวิตโดยเฉลี่ยของดาวฤกษ์ เมื่อราว 5000 ล้านปีมาแล้วกลุ่มฝุ่นก๊าซ ขนาดใหญ่ (เนบิวลา) ได้ยุบตัว เกิดเป็นดาวฤกษ์มีการเปลี่ยนแปลง ในช่วงเวลาไม่มากนักจนดาวฤกษ์อยู่ในสภาพสมดุลยเป็นดวงอาทิตย์ ซึ่งจะอยู่ในสมดุลย์ นานกว่า 8000 ล้านปี คือเกือบตลอดชีวิตของ ดวงอาทิตย์ ช่วงปลายชีวิต ดวงอาทิตย์จะขยายตัว มีขนาดใหญ่กลายเป็น ดาวยักษ์แดง ใช้พลังงานหมดเปลืองอย่างรวดเร็ว จากนั้นเกิดการระเบิดเป็นโนวา(Nova) มวลด้านนอก กระจายออกเป็น เนบิวลา (ซึ่งจะไปรวมตัวกัน เพื่อเกิดเป็นดาวฤกษ์รุ่นต่อไป) มวลที่ศูนย์กลาง จะถูกแรงอัดกลายเป็น ดาวแคระขาว (White Dwarf) ซึ่งจะเย็นลงช้า ๆ มีแสง ริบหรี่ลง ตามลำดับจนมองไม่เห็นในที่สุด จบชีวิต การเป็นดาวฤกษ์ ของดวงอาทิตย์
ชนิดของดาวฤกษ์ ( แบ่งตามสีและอุณหภูมิผิว )
วิวัฒนาการของดาวฤกษ์
เมื่อเนบิวลาเกิดการยุบตัวจนศูนย์กลาง มีอุณหภูมิสูงมากเกิดปฏิกริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ ปล่อยพลังงานมหาศาล ออกมาต่อต้านการยุบตัว เมื่อแรงทั้งสองเท่ากัน ดาวฤกษ์อยู่ในสภาพสมดุลย เป็นดาวฤกษ์ ในกลุ่มของดาวสามัญ ซึ่งเป็นช่วงยาวนานที่สุดของชีวิต แต่จุดจบของดาวฤกษ์ จะแตกต่างกันขึ้นกับขนาดและมวลของดาวฤกษ์ดวงนั้น
ดาวฤกษ์ที่มีมวลพอ ๆ กับดวงอาทิตย์จะขยายตัวเป็นดาวยักษ์แดง เกิดระเบิดเป็นโนว่า มวลที่ศูนย์กลาง จะถูกอัดแน่น เป็นดาวแคระขาวค่อย ๆ มีแสงริบหรี่ลง... จนมองไม่เห็น จบชีวิตการเป็นดาวฤกษ์ไปอย่างสงบ ดาวฤกษ์ที่มีมวล มากกว่าดวงอาทิตย์จะขยายตัวเป็นดาวยักษ์ใหญ่ เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง เป็นซุปเปอร์โนว่า มวลที่ศูนย์กลาง ถูกแรงอัดมหาศาล เป็นดาวนิวตรอน (Neutron star) ซึ่งเป็นดาวที่มีขนาดเล็กมาก มีมวลและความหนาแน่น สูง มากหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็วปล่อยคลื่นวิทยุออกมาเป็นช่วง ๆ เรียกว่า พัลซ่าร์ (Pulsar) และถ้าดาวมีมวล มากกว่าดวงอาทิตย์มาก ๆ หลังการระเบิดรุนแรงเป็นซุปเปอร์โนว่า จะมีแรงอัดรุนแรง มหาศาลยิ่งอัดมวล ให้มี ขนาดเล็กลง ไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จึงมีแรงโน้มถ่วงมหาศาล ดูดได้ทุกอย่าง แม้กระทั่งแสง เรียกว่า หลุมดำ (Black Hole)
ความคิดเห็น