ธรรมะธรรมาสงคราม - ธรรมะธรรมาสงคราม นิยาย ธรรมะธรรมาสงคราม : Dek-D.com - Writer

    ธรรมะธรรมาสงคราม

    โดย ~MK~ Hogmeets

    เป็นเรื่องราวเนื้อหาเรียนในหนังสือภาษาไทย ของ ม.4 เป็นการสรุปอย่างย่อ ๆ ลองดูกันน่ะค่ะ

    ผู้เข้าชมรวม

    9,098

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    7

    ผู้เข้าชมรวม


    9.09K

    ความคิดเห็น


    5

    คนติดตาม


    2
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  8 ก.พ. 50 / 17:19 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้

    + +

    ผลงานชิ้นที่สี่ของเกี๊ยว  เป็นเรื่องเรียน  เนื้อหาก้อยู่ในหนังสือภาษาทไย 

    สามารถปริ้นท์ออกมาอ่านควบคู่กับกลอนได้นะเจ้าค่ะ

    แล้วเกี๊ยวจะพัฒนางานต่อไป



    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ธรรมาธรรมะสงคราม

      พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

       

      การเรียนการสอน โดย ภาควิชาภาษาไทย ชั้น ม.4

       

           เรื่องนี้เป็นบทพระราชนิพนธ์โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งประพันธ์เป็นบทพากย์  ทั้งกาพย์ยานี 11  และกาพย์ฉบัง 16  เมื่อครั้งที่ทรงประทับที่พระราชวังสนามจันทร์  จังหวัดนครปฐม  หลังจากได้ทรงฟังพระธรรมเทศนาธรรมชาดก  เรื่อง  เอกาทศนิบาต  โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ  40  ปี  วันที่  1  มกราคม  พ.ศ.  2463 

      เรื่องนี้กล่าวถึงเทวดา  2  องค์  คือ ธรรมเทวบุตร (เทพฝ่ายธรรม) มีสัมมาทิฐิ  และ อธรรมเทวบุตร (เทพฝ่ายอธรรม) มีมิจฉาทิฐิ

       

           เรื่องราวที่เปรียบเทียบรูปธรรมให้เข้าใจนามธรรม  เรื่องราวที่เป็นรูปธรรมมีบุคคล  สัตว์  สิ่งอื่น ๆ  มีตัวตนเกี่ยวข้องเสมอ  เรียกว่า  บุคลาธิษฐาน นามธรรม  เกี่ยวกับความดี  คุณธรรม  ความเมตตากรุณา  เรียกชื่อคู่กับบุคลาธิษฐานว่า  ธรรมาธิษฐาน

       

           เรื่องนี้เป็นการสอนให้คนรู้จักทำความดี

       

           ความพิเศษของบทประพันธ์เรื่องนี้อยู่ที่การรวบคำให้พอดีกับบังคับคำในฉันทลักษณ์  กรมหมื่นพิทยาลงกรณ (น.ม.ส.) ทรงเรียกว่า ลูกเก็บ  เป็นการสมาสศัพท์

       

      ******ข้อควรสังเกต  เราจะรู้ได้ไงว่าบทไหนแต่งแบบใด   คำตอบก็คือ  ดูที่เลขที่กำกับตรงต้นบทพากย์สิจ้า*****  

       

      ความหมายในคำพากย์

       

           เทพฝ่ายธรรมสถิตอยู่ที่สวรรค์ชั้น กามาพจร  ทรงครองในธรรม  มีความเมตตา  จะลงมายังโลกมนุษย์ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ หรือวันพระ (วันอุโบสถ) ก่อนจะมานั้น  ก็สรงน้ำ (อาบน้ำ) ลูบกายด้วยเครื่องหอม แต่งกายสีขาว  ถือพระขรรค์แล้วยืนบนที่ประทับ (เกย)  ราชรถสีทอง ล้อรถมีเครื่องประดับเพชรมากมาย เป็นลายเทพประนมตรงที่นั่งของเทวดา  มีเหล่ากินนร (ชาย) คอยร่ายรำ มีธงโบกในท้องฟ้า มีเทพตามขบวนถือทวน ซึ่งปลายทวนเป็นรูปจามรี  ถือหอก  ดาบ  และที่ธงมีฉัตรเบญจรงค์ (เครื่องหมายของกษัตริย์) มีเสียงปี่ กลองดังทั่วฟ้า มีเหล่านางฟ้าโปรยดอกไม้ไปตามทาง  เมื่อถึงชมพูทวีป (โลกมนุษย์ : ปัจจุบันคืออินเดีย) ทรงหยุดรถกลางเมฆแล้วยิ้มกับประชาชน 4 วรรณะ (ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร) และทรงเทศธรรม อกุศลบถกรรม (สิ่งไม่ดี 10 ประการ ไม่ควรทำ) ได้แก่

      1. การฆ่าสัตว์
      2. การลักทรัพย์
      3. การประพฤติผิดในกาม
      4. พูดโกหก
      5. การพูดไม่ดี (เพ้อเจ้อ  หยาบ  ส่อเสียด)
      6. มีความพยาบาท
      7. มีความโลภ
      8. เห็นผิดเป็นชอบ
      9. ไม่ทำชั่ว
      10. ดูแลบิดามารดา

      ถ้าละเว้นได้ก็จะมีความสุข  มียศ  เมื่อเทศน์จบประชาชนก็พนมมือ  เทพฝ่ายธรรมก็อวยพร  แล้วเดินขบวนวนขวา (ประทักษิณวน)

       

           ส่วนเทพฝ่ายอธรรมก็อยู่สวรรค์ชั้นกามาพจรเหมือนกัน  ปกครองแต่บริวารหน้าตาดุดัน  (ดูจาก โทโส และ โมหันธ์ ซึ่งแปลว่าโกรธ โมโห) เห็นใครใจดี  ซื่อสัตย์ก็รู้สึกริษยา  เมื่อถึงวันพระก็ลงมายังโลกมนุษย์เหมือนกัน  ทรงแต่งกายสีดำ (ดูจาก พัสตระดำ) ถือขวา ทรงราชรถสีดำ ทำด้วยไม้ดำดง  ที่บัลลังก์มียักษ์สลับกับมังกร  มีลายเสือ  สิงโต  หมาใน  จระเข้  มีธงสีดำ  หมู่กองทัพกองหน้าเป็นต้นไม้ (อารักขะไพรสัณฑ์)  ปีกซ้ายคือยักษ์ (กุมภัณฑ์) และปีกขวาคนธรรพ์  กองหลังคือเหล่านาค (นาคา นาคะ) ถืออาวุธทั้ง 4 เหล่า  เมื่อถึงโลกมนุษย์ก็ว่ามนุษย์นั้นแพ้ปีศาจ  แพ้สัตว์ในป่า  เพราะคนขี้ขลาด  จะต้องมีความกล้าจึงจะเป็นใหญ่  และสอนเกี่ยวกับความชั่ว

      1. ลักขโมย
      2. พรากลูกเมียชาวบ้าน
      3. พูดโกหก
      4. พูดส่อเสียด
      5. พูดหยาบ
      6. พูดเล่นไม่มีสาระ
      7. ไม่ฟังคำสอนของอาจารย์
      8. ไม่เลี้ยงดูบิดามารดา (เพราะแก่แล้ว เปลือง)
      9. ไม่กลัวบาป
      10. กลั่นแกล้งผู้อื่น (เอาชนะผู้อื่นด้วยกำลัง)

      เมื่อพูดเสร็จก็เดินขบวนเวียนซ้าย

       

           เมื่อสองขบวนเดินขบวนเวียนมาพบกันต่างฝ่ายต่างให้อีกฝ่ายหลีกให้  เทวดาฝ่ายธรรมมีเหตุผลว่า

      1. มีอายุมากกว่า
      2. เป็นคนดี  มีบุญกุศลมากกว่า

      แต่ฝ่ายอธรรมก็ไม่ยอมหลีกให้  อ้างว่าตนมีกำลังมากกว่าให้ทำสงครามกัน  แล้วบอกว่าอธรรมต้องชนะธรรมะ (เหล็กตีทอง : เหล็ก = ฝ่ายชั่ว  ทอง = ฝ่ายดี)

       

      เมื่อทั้งสองฝ่ายเข้าทำสงครามกันนั้น  ฝ่ายอธรรมเพลี้ยงพล้ำมาก  จนฝ่ายธรรมะนั้นต้องสลดใจ  ว่าตนไม่ชนะแน่  ต้องทนดูถูก  ต้องยอมทุกอย่างให้อธรรม  แต่ด้วยผลบุญของฝ่ายธรรมะ  ฝ่ายอธรรมเกิดหน้ามืดพลัดตกลงบนพื้นโลกและโดนแผ่นดินสูบลงไป  เทวดาฝ่ายธรรมะจึงลงมาฆ่าฝ่ายอธรรมแล้วให้บริวารฝังศพของฝ่ายอธรรมบนโลกมนุษย์  แล้วทรงตรัสสอนชาวโลกให้ทำความดีเพื่อจะได้มีความสุขและขึ้นสวรรค์

      คำศัพท์

      1. กามาพจรภพ

      ภพซึ่งยังท่องเที่ยวอยู่ในกาม  อันได้แก่  รูป  รส  กลิ่น  เสียง  เป็นต้น  เช่นโลกของมนุษย์และสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ก็ถือเป็นกามาพจรภพ

      2. กุศลบถกรรม

      การกระทำในทางดีงาม  อกุศลบถกรรม  การกระทำในทางไม่ดี

      3. เก็จ

      แก้ว

      4. นิรยาบาย

      ทางเสื่อม คือนรก  นิรย  หมายถึง  นรก  อบาย  หมายถึง  ทางเสื่อม  หรือทุกข์

      5. ประทักษิณ

      การเวียนขวา

      6. มาตุปิตุปัฏฐาน

      การบำรุงเลี้ยงบิดา มารดา (มาตา+ปิตุ+อุปัฏฐาน)

      7. ระยอบ

      ย่อลง  หมอบ

      8. วันอุโบสถ

      วันที่พุทธศาสนิกชนฟังธรรม  มีวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เป็นต้น

      9. วิเลปนารม

      เครื่องลูบไล้

      10. สดำ

      ขวา

      11. สวิภูษณาสม

        เป็นคำประกอบหน้าคำอื่นที่มาจากภาษบาลี  บ่งความว่า  กอปรด้วย  พร้อมด้วย  มี  วิภูษณา  แปลว่า  เครื่องแต่ง  เครื่องประดับ  สม  ในที่นี้เป็นคำไทยหมายความว่า  เหมาะ  สวิภูษณาสม  หมายความว่า  พร้อมด้วยเครื่องแต่งอันเหมาะสม 

      12. สุรกานต์

      ชื่อแก้วมีค่าชนิดหนึ่ง

      13. เหรา

      สัตว์ในนิยาย  รูปร่างครึ่งนาคครึ่งมังกร  แต่ที่ใช้กันเป็นสามัญหมายถึง  แมงดาทะเล  มีพิษ  อาจเรียกแมงดาไฟก็ได้

      14. เกย

      ที่ประทับ

      15. กง

      ล้อรถ ส่วนโค้ง

      16. กำ

      เส้น  ซี่ตามล้อ

      17. ดุม

      ตรงกลางล้อ

      18. กง กำ ดุม

      เครื่องประดับ

      19. เทวินทร์

      เทวดา

      20. ธวัช

      ธง

      21. คัคนานต์

      ท้องฟ้า

      22. เวหน

      ท้องฟ้า

      23. นฤมล

      นางฟ้า

      24. ชมพู

      ชมพูทวีป โลกมนุษย์ (ปัจจุบันอยู่ที่อินเดีย)

      25. เมฆี

      เมฆ

      ****26. อุตราวรรษ

      เวียนซ้าย

       

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×