ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ภาวะโลกร้อน (Global Warming) เรื่องใกล้ตัวที่คุณควรรู้

    ลำดับตอนที่ #3 : มารู้จักก๊าซเรือนกระจกกัน

    • อัปเดตล่าสุด 14 มี.ค. 51


    ก๊าซเรือนกระจกประกอบด้วยก๊าซหลักๆ ดังนี้                               

     

    ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 )  : ปัจจุบันในชั้นบรรยากาศโลกมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึง 379 ppm (parts per million) คือ ในทุกๆ 1 ล้านโมเลกุลของมวลอากาศจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 379 โมเลกุล ในขณะที่เมื่อประมาณ 100 ปีก่อน มีระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนออกไซด์อยู่ประมาณ 280 ppm เท่านั้น ซึ่งสาเหตุที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ นั้นเนื่องจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล การตัดไม้ทำลายป่า และการเผาป่าเพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่การเกษตร

    ก๊าซมีเทน (CH4) : ปี พ.ศ.2548 ก๊าซมีเทนมีระดับความเข้มข้นอยู่ที่ 1,774 ppb (parts per billion) หรือมี 1,774 ส่วนในโมเลกุลของมวลอากาศพันล้านส่วน โดยเพิ่มขึ้นจากยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม เพิ่มจาก 715 ppb เป็น 1,774 ppb ก๊าซชนิดนี้เกิดจากการปลูกข้าว การเลี้ยงสัตว์ และการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล แม้ว่าก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศจะมีน้อยกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่โมเลกุลของก๊าซมีเทนสามารถดูดกลืนรังสีความร้อนได้มากกว่าถึง 25 เท่า1

    ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) : ปัจจุบันมีความเข้มข้นอยู่ที่ 319 ppb (319 ส่วนในพันล้านส่วน) ก๊าซชนิดนี้มีผลมาจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตเส้นใยไนลอน อุตสาหกรรมเคมีและพลาสติก ที่ใช้กรดไนตริกในกระบวนการผลิต รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ย ซึ่งมีผลอย่างมากต่อการเพิ่มปริมาณของก๊าซไนตรัสออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ

     

    ก๊าซซีเอฟซี (CFC) : หรือ คลอโรฟลูออโรคาร์บอน : ก๊าซชนิดนี้เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น (ไม่มีตามธรรมชาติ) เพื่อใช้ในอุสาหกรรมความเย็น และอุตสาหกรรมผลิตสี นอกจากที่มีคุณสมบัติดูดกลืนรังสีอินฟราเรดได้ดีแล้ว ซีเอฟซียังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดรูโหว่ของโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโตรเฟียร์ แม้ว่าปัจจุบันจะมีการยกเลิกการใช้ซีเอฟซี แต่ก๊าซที่นำมาใช้ทดแทนซีเอฟซีคือ ไฮโดรคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (HCFC) และไฮโดรฟลูโอโรคาร์บอน (HFC) ซึ่งแม้จะไม่ทำลายชั้นโอโซน แต่ก็เป็นก๊าซที่เก็บกักความร้อนได้ดี ถือเป็นเรือนกระจกเช่นกัน

     

    ก๊าซโอโซนระดับผิวโลก (O3) : ก๊าซชั้นโอโซนที่อยู่ในชั้นสตราโตรเฟียร์ (ชั้นบรรยากาศที่อยู่ห่างจากพื้นโลกประมาณ 50 กิโลเมตร) เป็นก๊าซที่มีประโยชน์ต่อการปกป้องโลกจากรังสีอัลตราไวโอเลต แต่โอโซนที่อยู่ในชั้นโทรโพสเฟียร์  (อยู่ห่างจากพื้นโลกประมาณ 10 กิโลเมตร) ถือเป็นก๊าซที่อันตรายต่อมนุษย์ ซึ่งจะทำลายเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต และก๊าซโอโซนที่อยู่ในระดับผิวโลกนี้ยังถือเป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ มีความสามารถในการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดทำให้โลกอบอุ่นขึ้น

     

    1รายงานการประเมินครั้งที่ 4 ของ IPCC ประเมินศักยภาพการทำให้เกิดโลกร้อน (Global Warming Potential) ของก๊าซมีเทนสูงขึ้นจากรายงานการประเมินครั้งที่ 3 สำหรับช่วงเวลา 100 ปี จาก 23 เท่า เพิ่มเป็น 25 เท่า โดลรวมผลกระทบทางอ้อมของก๊าซมีเทนเข้าไปด้วย

    แบบจำลองเรือนกระจกอย่างง่าย

                    ลองเข้าไปอยู่ในรถคันหนึ่งที่จอดไว้กลางแดดโดยปิดประตู และหน้าต่างทั้งหมด กระจกยอมให้แสงแดดผ่านเข้ามา แต่ความร้อนในรถไม่สามารถสะท้อนออกไปได้ ซึ่งกระจกก็ทำหน้าที่คล้ายกับก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศนั่นเอง

    อย่าลืมเมนเป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะ ^_^

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×