ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    จุดกำเนิด...

    ลำดับตอนที่ #2 : กำเนิดไฟเขียวไฟแดง

    • อัปเดตล่าสุด 29 ม.ค. 51


    กำเนิดไฟเขียวไฟแดง

     

     

    ปัจจุบันคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักไฟเขียวไฟแดงหรอกนะค่ะ  ก็เห็นกันอยู่ทุกวันอ่ะเนาะ  ไปซื้อของก็เห็น  ไปโรงเรียนก็เห็น  ไปที่ไหนก็เห็นกันทั้งนั้น จะไม่รู้จักได้ยังไงถามแปลก???

    แต่พวกคุณที่ใช้ถนนกันไม่หยุดไม่หย่อนเนี่ย  เคยสงสัยกันไหมค่ะ  ว่า  ไฟเขียวไฟแดงที่เห็นกันจนเบื่อนี่  มันเกิดขึ้นได้ยัง  และไฟเขียวไฟแดงแห่งแรกอยู่ที่ไหน  ที่นี่มีคำตอบค่ะ

     

    สมัยก่อนการคุมจราจร  ทำโดยมีตำรวจเป็นคนให้สัญญาณมือแก่ผู้ขับขี่   ต่อมา  เจ.พี.  ไนท์  วิศวะกรการทางรถไฟได้ทำสัญญาณไฟเขียวไฟแดงที่หน้าตึกอาคารรัฐสภาในลอนดอน  เมื่อวันที่ 10  ธันวาคม  ค.ศ.1868 โดยใช้แสงไฟจากการเผาถ่านหินเป็นตัวนำสัญญาณ  มีกระจกสีแดงเขียวกั้นเหมือนโคมไฟ  และให้คนคอยควบคุม  ซึ่งตอนนั้นสีเขียวหมายถึงหยุด  และสีแดงหมายถึงให้ออกตัว

     

    แต่สัญญาณไฟนี้ทำงานไม่ได้เรื่อง  ไม่ถึงเดือนมันก็ระเบิดปุ๊ง! จนตำรวจได้รับบาดเจ็บ  สัญญาณไฟแบบนี้จึงไม่นิยมใช้กันอีก

     

    ปี ค.ศ.1912 เลสเตอร์  ไวร์  ตำรวจของรัฐยูทาห์  ในสหรัฐอเมริกาได้คิดค้นและติดตั้งไฟจราจรแบบใหม่ที่ใช้ไฟฟ้าทำงานแทนถ่าน  ขึ้นที่เมืองซอลต์เลกซิตี  มีสีเขียวกะแดงเช่นเคย  และได้พัฒนาให้มีเสียงเตือนเวลาจะไฟเปลี่ยนสี  โดยนายเจมส์  โฮค   ชาวเมืองเคลฟแลนด์

     

    เมื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่และสำคัญม๊ากกก (พูดเหมือนใครจะตายอย่างนั้นแหละ) มาถึง   วิลเลียม  พอตส์  ชาวเมืองดีทรอยส์  เขาคิดและทำให้ไฟจราจรมี  3 สี  สัญญาณไฟแบบนี้ได้ติดตั้งที่มุมถนนวูดเวิร์ด  และได้ติดตั้งอีก 15 แห่ง  ทั่วเมืองดีทรอยส์

     

    เมื่อสัญญาณไฟจราจรแบบนี้ได้ไปติดตั้งตามแยกต่างในอเมริกา  อังกฤษก็นำแบบสัญญาณไฟอย่างนี้ไปปรับใช้อีกครั้ง  แล้วครั้งแรก (อีกแล้ว) ที่สี่แยกไฟแดงปรินซ์ สแควร์  ในเมืองวูลฟ์เวอร์แฮมตัน   ต่อมาก็ได้ขยายวงกว้างจนได้เห็นกันเป็นที่หนาตาในทั้งประเทศไทยและนอกประเทศทั่วโลกเลยค่ะ

     

     

     

    -----------------------------The  End----------------------------

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×