ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องทดลองธีม+เก็บของ

    ลำดับตอนที่ #1 : โรมานอฟ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 136
      0
      11 ก.ย. 54

     ก่อนสละราชบัลลังก์ พระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ 2 แห่งรัสเซีย ได้แต่งตั้งองค์รัชทายาทให้ขึ้นมาเป็นประมุขรัสเซียเมื่อ 15 มีนาคม 1917 แต่พระเจ้าซาร์พระองค์ใหม่ ถูกขนามพระนามว่า "พระเจ้าซาร์ไร้บังลังก์ " หรือไม่ก็ "พระเจ้าซาร์ที่ประวัติศาสตร์หลงลืม " ขณะที่ประวัติศาสตร์หลายสำนักก็ไม่นับว่าพระองค์เป็นพระเจ้าซาร์ ตำแหน่งพระเจ้าซาร์องค์สุดท้ายของรัสเซีย จึงยังคงเป็นของพระเจ้าซาร์ นิโคลาสที่ 2 อย่างที่เราท่านหลายคนคงจะได้รับทราบกันอยู่แล้ว

    องค์ประมุขผู้อาภัพพระองค์นี้ ทรงพระนามอย่างเป็นทางการ อย่างที่เรียกขานกันทั่วโลกว่า " แกรนด์ดยุคไมเคิล อเล็กซานโดรวิช แห่งรัสเซีย " หรือพระนามจริงในทะเบียนราษฎร์ ก็คือ มิคาอิล อเล็กซานโดรวิช รามานอฟ ( คนไทยเรียก โรมานอฟ ) แต่ในที่นี้ผมขอเรียกว่าเจ้าชายมิคาอิลก็แล้วกัน เพราะว่าง่ายดี

    เจ้านายพระองค์นี้ ประสูติเมื่อ 22 พฤศจิกายน 1878 ที่กรุงเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศในยุคนั้น พระองค์เป็นพระโอรสของพระเจ้าซาร์ อเล็กซานเดอร์ ที่ 3 แห่งรัสเซีย และพระนางดักมาร์ แห่งเดนมาร์ก ต้นตระกูลสายพระราชบิดาลำดับถัดขึ้นไปของพระองค์ หรือสมเด็จปู่สมเด็จย่า ก็คือพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ ที่ 2 แห่งรัสเซีย กับพระมเหสีพระองค์แรก พระนางแมรี่แห่งเฮสส์และไรน์ ส่วนต้นตระกูลสายพระมารดาลำดับถัดไป หรือสมเด็จตาสมเด็จยาย ก็คือพระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก และพระนางหลุยส์ แห่งเฮสเส - คาสเซิ่ล

    เจ้าชายมิคาอิลเป็นพระอนุชาพระเจ้าซาร์ นิโคลาสที่ 2 แห่งรัสเซีย , แกรนด์ดยุค อเล็กซานเดอร์ อเล็กซานโดรวิช , แกรนด์ดยุค จอร์จ ( หรือกิออร์กี้ ) อเล็กซานโดรวิช และแกรนด์ ดัชเชช เซเนีย อเล็กซานดรอฟนา พระองค์เป็นพระเชษฐาของแกรนด์ ดัชเชช โอลก้า อเล็กซานดรอฟนา

    ตอนเจ้าชายมิคาอิลประสูติ เป็นรัชสมัยพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ ที่ 2 ทำให้พระองค์มีตำแหน่งเป็นองค์รัชทายาทอันดับที่ 4 รองจากพระราชบิดา พระเชษฐา 2 พระองค์คือ เจ้าชายนิโคลัส และเจ้าชายจอร์จ ( ส่วนเจ้าชายอเล็กซานเดอร์นั้น สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่พระเยาว์ ) ต่อมาเมื่อพระเชษฐาองค์โต ขึ้นเป็นพระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่ 2 เจ้าชายมิคาร์อิล ได้ขยับขึ้นมาเป็นองค์รัชทายาทอันดับ 2 รองจากเจ้าชายจอร์จ แต่เมื่อปี 1899 เจ้าชายจอร์จ สิ้นพระชนม์ด้วยโรควัณโรค เจ้าชายมิคาอิลจึงขึ้นมาเป็นองค์รัชทายาทอันดับ 1 เพราะในช่วงนั้นพระเชษฐามีแต่พระธิดา และภายใต้ระบบของรัสเซีย แกรนด์ ดัชเชช โอลก้า นิคาลัยเยฟน่า พระธิดาองค์โตของพระเจ้าซาร์จะได้ขึ้นครองราชย์ก็ในกรณีที่ราชตระกูลฝ่ายชายของพระเจ้าซาร์สิ้นพระชนม์ไปก่อนหน้าแล้วเท่านั้น

    แต่หลังจากพระเจ้าซาร์มีพระโอรสในปี 1904 เจ้าชายมิคาอิล จึงกลับไปเป็นองค์รัชทายาทอันดับ 2 อีกครั้ง

    แต่ที่สุดแล้ว เจ้าชายมิคาอิล ก็ถูกตัดสิทธิการสืบราชสมบัติ หลังจากที่ไปชอบพอกับนางนาตาเลีย เชเรเมเตฟสกาย่า สามัญชนที่เป็นม่ายมาถึง 2 รอบ ทั้งคู่มีทายาทด้วยกันคนหนึ่งชื่อจอร์จ (กิออร์กี้) เขาเกิดเมื่อปี 1910 และถูกตั้งชื่อตามพระ นามพระเชษฐาพระองค์หนึ่งที่สิ้นพระชนม์ไปของเจ้าชายมิคาอิล

    เจ้าชายทรงเข้าพิธีแต่งงานอย่างลับๆกับคู่รักที่กรุงเวียนนา ที่เจ้าชายพำนักอยู่ ซึ่งเรื่องนี้ทำให้เจ้าชายถูกพระเจ้าซาร์นิโคลัส ที่ 2 ซึ่งก็คือพระเชษฐาของพระองค์เองตัดสิทธิการเป็นองค์รัชทายาทตามระเบียบ เพราะเป็นการสมรสที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากพระเจ้าซาร์

    ในส่วนของนาตาเลียนั้น แม้หลังการแต่งงานจะไม่ได้รับการเลื่อนชั้นไปเป็นแกรนด์ ดัชเชช แต่อย่างใด แต่ก็ยังได้เป็น " เค๊าท์เตส " และใช้ชื่อว่า " เค๊าท์เตส บราซอฟว่า "

    ต่อมาพระเจ้าซาร์ทรงรับรองจอร์จว่าบุตรของคนทั้งสอง และให้มีศักดินาชั้นเค๊าท์ เท่ากับผู้เป็นแม่ จึงใช้ชื่อว่า " เค้าท์ บราซอฟ " ท่านเค้าท์น้อยรายนี้ เสียชีวิตตั้งแต่ตอนอายุแค่ 21 ปี จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อ 22 กรกฎาคม 1931

    และเมื่อ 28 กรกฎาคม 1935 เค๊าท์เตส บราซอฟว่าได้รับการเลื่อนชั้นไปเป็น เจ้าหญิง รามานอฟสกาย่า - บราซอฟว่า จากการแต่งตั้งแกรนด์ดยุค คิริล วลาดิมีโรวิช ลูกพี่ลูกน้องของเจ้าชายมิคาอิล พระสวามีผู้ล่วงลับไปในปี 1918 โดยเจ้าชายคิริล นั้นทรงถือว่าพระองค์เป็นผู้สืบทอดราชบัลลังก์รามานอฟ

    ในช่วงก่อนที่สงครามโลกครั้งที่ 1 เจ้าชายมิคาอิล ทรงทูลขอพระบรมราชานุญาตพระเจ้าซาร์กลับมารัสเซีย และกลับเข้ารับราชการในกองทัพบก พระองค์ได้กลับมารัสเซียโดยมียศทางทหารระดับนายพล รับผิดชอบบังคับบัญชากองพล Savage ซึ่งทหารส่วนใหญ่เป็นชาวเชชเนีย และดาเกสสถาน ( เป็นกองทหารชั้นเลว ซึ่งมองกันว่าเรื่องนี้เป็นการลงโทษพระองค์ )

    เวลาบ่าย 3 โมง 5 นาทีของวันที่ 15 มีนาคม 1917 พระเจ้าซาร์ ซึ่งถูกบรรดานายทหาร และนักการเมืองในสภากดดันอย่างหนัก ได้สละราชบัลลังก์ให้กับพระโอรส คือมกุฏราชกุมาร อเล็กเซย์ นิคาลัยเนวิช ที่มีพระชนมายุ 12 พรรษา แต่ต่อมาพระองค์ทรงเปลี่ยนพระทัย ด้วยเกรงว่า พระโอรสที่ไม่ค่อยแข็งแรง อาจจะจะถูกแยกออกไปจากพระองค์ ในเวลา 5 ทุ่ม 15 นาทีของวันเดียวกัน ก็จึงทรงลงพระปรมาภิไทยในเอกสารสละราชสมบัติให้เจ้าชายมิคาอิล พระอนุชาอีกฉบับ แต่ระบุเวลา บ่าย 3 โมง 5 นาที เท่ากับประกาศสละราชสมบัติฉบับแรก

    ประกาศสละราชสมบัติและแต่งตั้งผู้สืบทอดราชบัลลังก์ของพระเจ้าซาร์ ได้รับการลงนามสนองพระราชโองการโดยเจ้าหน้าที่หลายฝ่ายอย่างครบถ้วน และตามระเบียบของรัสเซีย เจ้าชายมิคาอิล ได้ขึ้นเป็นพระมหาจักรพรรดิ์ หรือพระเจ้าซาร์ ในวันที่คำประกาศสละราชบัลลังก์ของพระเชษฐาได้รับการเผยแพร่ออกไปอย่างถูกต้องตามกฏหมาย งานนี้ พระเจ้าซาร์องค์ใหม่ ทรงพระนามว่า พระเจ้าซาร์ มิคาอิลที่ 2

    แต่ในวันถัดมา ขณะที่รัฐบาลเฉพาะกาลที่เพิ่งแต่งตั้งขึ้นใหม่ส่วนใหญ่ยอมรับการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าซาร์มิคาอิล แต่ก็มีบางคนในรัฐบาลไม่ยอมรับ และดำเนินการเพื่อไม่ให้ระบบกษัตริย์ของรัสเซียดำเนินต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการเกลี้ยกล่อมให้พระองค์ปฏิเสธที่จะครองราช หรือกำหนดเงื่อนไขการขึ้นครองราช แต่พระเจ้าซาร์พระองค์ใหม่ ก็ไม่ได้สละราชสมบัติ หรือยอมรับราชสมบัติแต่อย่างใด งานนี้พระองค์โยนให้เป็นการตัดสินใจของประเทศ และของประชาชนว่าจะให้มีพระเจ้าซาร์อยู่อีกหรือไม่

    แต่ความหวังของพระเจ้าซาร์ ในการขึ้นครองบัลลังก์หลังการเลือกตั้งสภารัฐธรรมนูญ กลับต้องสูญไป เพราะเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายตามมาอีกมากมาย ทำให้การประกาศสละราชบัลลังก์แบบมีเงื่อนไขของพระองค์ครั้งนั้น มีความหมายถึงการยุติลงของระบอบกษัตริย์รัสเซียไปโดยปริยาย

    และการที่พระองค์ไม่มีโอกาสได้ปกครองรัสเซีย และครองบัลลังก์อยู่ไม่กี่ชั่วโมง ประวัติศาสตร์หลายสำนักจึงไม่ถือว่าพระองค์เป็นพระเจ้าซาร์ของรัสเซีย

    สำหรับประวัติศาสตร์ช่วงสุดท้ายของชีวิตพระเจ้าซาร์ผู้อาภัพนี้ค่อนข้างจะสับสน แต่หลักฐานที่พอจะเชื่อได้ บอกว่า ตอนแรก พระองค์ถูกกักบริเวณอยู่ที่เมืองกัตชิน่า ใกล้กับเมืองหลวง แต่ต่อมา มาลี้ภัยอยู่ที่เมืองเปร์ม (ในแถบเทือกเขาอูราล)

    ระหว่างนี้ พระองค์ส่งแอบส่งพระโอรสไปอยู่ในวังที่เดนมาร์ก เนื่องจากพระองค์มีเชื้อสายมาจากที่นั่น ต่อมาก็สามารถกล่อมมเหสี ให้หนีออกไปอยู่อังกฤษได้ โดยปลอมตัวเป็นนางพยาบาลกาชาด ถือหนังสือเดินทางเดนมาร์ก

    12 มิถุนายน 1918 ชายกลุ่มหนึ่งได้เดินทางไปที่โรงแรมที่ประทับของพระองค์ที่เมืองเปร์ม จากนั้นพระองค์และไบรอัน จอห์นสัน พระสหายสนิทชาวอังกฤษ ซึ่งทำหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนตัว ถูกพาขึ้นรถยนต์คันหนึ่งไปที่ชานเมือง และที่นี่ทั้งสองถูกสังหาร พระเจ้าซาร์ถูกยิงก่อน แต่ปืนเกิดติดขัด ไบรอัน จึงถูกยิงเป็นคนแรก พระเจ้าซาร์ ได้วิ่งเข้าไปหาพระสหาย จึงถูกยิงในระยะประชิดเข้าที่พระเศียร

    ฝ่ายโซเวียตบอกว่า ทั้งสองถูกสังหารโดยกลุ่มคนงานในท้องที่ ที่เกลียดระบอบกษัตริย์ และรำคาญกับการใช้ชีวิตหรูหราของพระองค์ แต่จากเอกสารที่มีอยู่ บอกว่า เรื่องนี้เป็นคำสั่งมาจากทางหน่วยเชกา (เคจีบีในยุคต่อมา) ของเมืองเปร์ม

    พระเจ้าซาร์ มิคาอิล ที่ 2 ของรัสเซียจึงกลายเป็นสมาชิกราชวงศ์รามานอฟ พระองค์แรก ที่ถูกพวกคอมมิวนิสต์สังหาร

    สำหรับพระศพของพระองค์ และศพของไบรอัน คาดว่าน่าจะถูกฝังอยู่ที่ใดที่หนึ่งในเขตชานเมืองเปร์ม

    http://www.oknation.net/blog/russky/2009/01/12/entry-1
     <style type="text/css">
    .head1 { background-color: #666666;  }             
    .head2 {   background-color: #999999; }                
    table.story {  border-color: #FFFFFF;           }                     
    span.desc_head {font-weight: bold;  color: #999999; }
                 
    table { background-color: #999999;   border:white ;     } 
    td {  background-color: #FFFFFF; border :1px solid #666666}  </style> <script type="text/javascript">
    <!--
    playSound();
    //-->
    </script> <style type="text/css">
          BODY   {   BORDER-RIGHT: #999999 20px ridge; BORDER-TOP: #999999 20px  
    ridge;   BORDER-LEFT: #999999 20px ridge; BORDER-BOTTOM: #999999 20px ridge 
    }    </style> <style type="text/css">
    BODY{
    background:url("http://static.zerochan.net/full/06/19/518456.jpg");
    background-attachment:fixed;
    } </style> <style type="text/css">td,th,div,body,li,ul,p {
        color: #666666;
        font-size:14px;
        font-family: 'Viner Hand ITC', 'Microsoft Sans Serif',sans-serif;
      }</style>

    ปล. ตรง Viner Hand ITC เปลี่ยนฟอนต์ได้นะเออ(ลองแทรกฟอนต์ดู=*=)
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×