คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #31 : [Grammar] การผันกริยา (~ㅂ/합니다 และ ~습니다) [Re-write ครั้งที่ 2]
รูปกริยาพื้นฐานในภาษาเกาหลีจะมี 2 แบบ คือลงท้ายด้วย -다 และ -하다
ซึ่งเป็นกริยาในรูปทั่วไป แต่ปกติคนเกาหลีจะผันคำกิริยาจากรูปพื้นฐานนี้ไปเป็นรูปอื่นๆ ขึ้นกับสถานการณ์ เช่น
가다 (คาดา) แปลว่า ไป
먹다 (ม่อกดา) แปลว่า กิน
하다 (ฮาดา) แปลว่า ทำ มีคำกิริยาที่ลงท้ายด้วย 하다 มากมายเช่น
공부하다 (คงบูฮาดา) แปลว่า เรียน
운동하다 (อุนทงฮาดา) แปลว่า ออกกำลัง
*ดูคำกริยาพื้นฐานอื่นๆ ได้ที่ ตอนที่ 53 : [Grammar] กริยาพื้นฐาน(기본 동사)
รูปแบบการผันกริยาแบบเป็นทางการ ~ㅂ/합니다 และ ~습니다
ทั้งสองแบบนี้เป็นรูปสุภาพทั่วไป ใช้กับคนที่เราเคารพ หรือคนที่เราไม่รู้จัก และใช้ในภาษาเขียนด้วย รูปแบบนี้ค่อนข้างจะสุภาพในระดับหนึ่งเลยนะคะ
วิธีการผัน
1) คำกิริยาที่ไม่มีตัวสะกด ให้ตัด 다 ท้ายคำทิ้ง แล้วเติม ㅂ เป็นตัวสะกด จากนั้นตามด้วย 니다(นีดา) ตัวอย่างเช่น
가다 (คาดา) >> 가+ㅂ+니다 >> 갑니다 (คัมนีดา) = ไป
하다 (ฮาดา) >> 하+ㅂ+니다 >> 합니다 (ฮัมนีดา) = ทำ
쓰다 (ซือดา) >> 쓰+ㅂ+니다 >> 씁니다 (ซึมนีดา) = เขียน
자다 (ชาดา) >> 자+ㅂ+니다 >> 잡니다 (ชัมนิดา) = นอน
마시다 (มาชีดา) >> 마시+ㅂ+니다 >> 마십니다 (มาชิมนิดา) = ดื่ม
타다 (ทาดา) >> 타+ㅂ+니다 >> 탑니다 (ทัมนิดา) = นั่ง(โดยสาร)
배우다 (แพอูดา) >> 배우+ㅂ+니다 >> 배웁니다 (แพอุมนิดา) = เรียน
요리하다 (โยรีฮาดา) >> 요리하+ㅂ+니다 >> 요리합니다 (โยรีฮัมนิดา) = ทำอาหาร
바느질하다 (พานือจิลฮาดา) >> 바느질하+ㅂ+니다 >> 바느질합니다 (พานือจิลฮัมนิดา) = เย็บ
다림질하다 (ทาริมจิลฮาดา) >> 다림질하+ㅂ+니다 >> 다림질합니다 (ทาริมจิลฮัมนิดา) = รีด
세수하다 (เซซูฮาดา) >> 세수하+ㅂ+니다 >> 세수합니다 (เซซูฮัมนิดา) = ล้างหน้า
설거지하다 (ซอลกอจีฮาดา) >> 설거지하+ㅂ+니다 >> 설거지합니다 (ซอลกอจีฮัมนิดา) = ล้างจาน
세탁하다 (เซทักฮาดา) > 세탁하+ㅂ+니다 >> 세탁합니다 (เซทักฮัมนิดา) = ซักผ้า
공부하다 (คงบูฮาดา) >> 공부하+ㅂ+니다 >> 공부합니다 (คงบูฮัมนีดา) = ศึกษา,เรียน
운동하다 (อุนทงฮาดา) >> 운동하+ㅂ+니다 >> 운동합니다 (อุนทงฮัมนีดา) = ออกกำลังกาย
ตัวอย่างประโยค
ไปโรงเรียน
학교에 갑니다
(ฮักกฺโยเอ คัมนีดา)
เขียนอักษรฮันกึล
한글을 씁니다
(ฮันกือรึล ซึมนิดา)
ดื่มกาแฟ
커피를 마십니다
(คอพีรึล มาชิมนิดา)
รีดเสื้อผ้า
옷을 다림질합니다
(โอซึล ทาริมจิลฮัมนิดา)
เรียนภาษาเกาหลี
한국어를 공부합니다
(ฮันกุกอรึล คงบูฮัมนิดา)
นั่งรถเมล์
버스를 탑니다
(พอซึรึล ทัมนิดา)
2) คำกิริยาที่มีตัวสะกด ให้ตัด 다 ท้ายคำ แล้วเติม 습니다(ซึมนีดา) ไว้ด้านท้าย ตัวอย่างเช่น
먹다 (มอกดา) >> 먹습니다 (ม่อกซึมนีดา) = กิน
읽다 (อิลดา) >> 읽습니다 (อิลซึมนีดา) = อ่าน
듣다 (ทึดดา) >> 듣습니다 (ทึดซึมนีดา) = ฟัง
걷다 (ค่อดดา) >> 걷습니다 (ค่อดซึมนิดา) = เดิน
씻다 (ชิดตา) >> 씻습니다 (ชิดซึมนิดา) = ล้าง
받다 (พัดดา) >> 받습니다 (พัดซึมนิดา) = รับ
입다 (อิบดา) >> 입습니다 (อิบซึมนิดา) = สวม,ใส่
닫다 (ทัดตา) >> 닫습니다 (ทัดซึมนิดา) = ปิด
열다 (ยอลดา) >> 열습니다 (ยอลซึมนิดา) = เปิด
ตัวอย่างประโยค
รับประทานอาหาร
음식을 먹습니다
(อึมชีกึล มอกซึมนิดา)
ใส่เสื้อผ้า
옷을 입습니다
(โอซึล อิบซึมนิดา)
อ่านหนังสือ
책을 읽습니다
(แชกึล อิลซึมนิดา)
ฟังเพลง
노래를 듣습니다
(โนแรรึล ทึดซึมนิดา)
ล้างมือ
손을 씻습니다
(โซนึล ชิดซึมนิดา)
เปิดหน้าต่าง
창문을 열습니다
(ชังมูนึล ยอลซึมนิดา)
ปิดหน้าต่าง
창문을 닫습니다
(ชังมูนึล ทัดซึมนิดา)
ส่วนในกรณีจะใช้เป็นคำถาม ก็เปลี่ยนจาก …니다 เป็น 니까? ตัวอย่างเช่น
갑니까? (คัมนีก๊า) = ไปไหม?
먹습니까? (ม่อกซึมนีก๊า) = กินไหม?
듣습니까? (ทึดซึมนิก๊า) = ฟังไหม?
마십니까? (มาชิมนิก๊า) = ดื่มไหม?
++++++++++++++++++++++++
ไม่รู้ว่าจะมีคนไม่เข้าใจหรือเปล่า แต่ว่านี่ถือเป็นพื้นฐานที่ง่ายที่สุดในการผันรูปกริยา และก็อย่างที่บอกไว้เสมอนะคะว่าไม่ต้องซีเรียสกับการท่องจำ หรือต้องท่องจำให้ได้ แต่ว่าการได้ใช้บ่อยๆ สำคัญกว่าค่ะ ค่อยๆ ฝึกเขียน ฝึกอ่าน และหัดสังเกต ก็จะทำให้จำได้เองในที่สุดค่ะ ขอบคุณทุกคนที่ยังติดตามชมบทความต่อไปเรื่อยๆ นะคะ^_^
ความคิดเห็น