คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #6 : วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
พระอารามหลวงแห่งนี้มีเนื้อที่ 50 ไร่ 38 ตารางวาอยู่ ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง ทิศเหนือจดถนนท้ายวัง ทิศตะวันออกจดถนนสนามไชย ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช มีถนนเชตุพน ขนาบด้วยกำ แพงสูงสีขาวแบ่งเขตพุทธาวาส และสังฆาวาสชัดเจน
มีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกไว้ว่า หลังจากที่พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระ บรมมหาราชวังแล้ว ทรงพระราชดำริว่า มีวัดเก่าขนาบพระ บรมมหาราชวัง 2 วัด ด้านเหนือ คือ วัดสลัก (วัดมหาธาตุฯ) ด้านใต้คือ วัดโพธาราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ขุนนางเจ้าทรงกรม ช่างสิบหมู่อำนวยการบูรณะปฏิสังขรณ์ เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2331
ใช้เวลา 7 ปี 5 เดือน 28 วัน จึงแล้วเสร็จ และโปรดฯ ให้มีการฉลองเมื่อ 2344 พระราชทานนามใหม่ ว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมัง คลาวาศ” ต่อมารัชกาลที่ 4 ได้โปรดฯ ให้เปลี่ยนท้าย นามวัดเป็น "วัดพระเชตุ พนวิมลมังคลาราม"ครั้นรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ นานถึง 16 ปี 7 เดือน ขยายเขตพระอารามด้านใต้และตะวันตก คือ ส่วนที่เป็นพระ วิหารพระพุทธไสยาสสวน มิสกวัน สถาปนาขึ้นใหม่พระมณฑป ศาลาการเปรียญ และสระจระเข้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ เป็นโบราณสถาน ในพระอารามหลวง ที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ แม้การบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดเมื่อฉลองกรุงเทพฯ 200 ปีพ.ศ. 2525 เป็นเพียงซ่อมสร้างของเก่าให้ดีขึ้น มิได้สร้างเสริมสิ่งใด ๆ
เกร็ดประวัติศาสตร์ ของการสถาปนา และการบูรณะปฏิ สังขรณ์วัดโพธิ์แห่งนี้ บันทึกไว้ว่า รัชกาลที่ 1 และที่ 3 ขุน นาง เจ้าทรงกรมช่างสิบหมู่ ได้ระดมช่างในราชสำนัก ช่าง วังหลวง ช่างวังหน้า และช่างพระสงฆ์ที่อยู่ในวัดต่างๆ ผู้ เชี่ยวชาญงานศิลปกรรมสาขาต่างๆ ได้ทุ่มเทผลงานสร้าง สรรค์พุทธสถาน และสรรพสิ่งที่ประดับอยู่ใน วัดพระอาราม หลวงด้วยพลังศรัทธา ตามพระราชประสงค์ของพระองค์ ท่านที่ให้เป็นแหล่งรวมสรรพศิลป์ สรรพศาสตร์ เปรียบ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งสรรพวิชาไทย (มหาวิทยาลัยเปิด แห่งแรก) ที่รวมเอาภูมิปัญญาไทย ไว้เป็นมรดกให้ลูก หลานไทยได้เรียนรู้กับอย่างไม่รู้จบสิ้น
การเดินทางมายังวัดโพธิ์
รถประจำทางธรรมดา สาย ๑ - ๓ - ๖ - ๙ - ๑๒ - ๒๕ - ๓๒ - ๔๓ - ๔๔ - ๔๗ - ๔๘ - ๕๑ - ๕๓ - ๘๒
รถประจำทางปรับอากาศ ปอ.๑ – ปอ.๖ – ปอ.๗ – ปอ.๘ – ปอ.๑๒ - ปอ.๔๔
เดินทางโดยเรือด่วนเจ้าพระยา สามารถขึ้นฝั่งที่ท่าเรือท่าช้าง, ท่าเรือท่าเตียน, ท่าเรือปากคลองตลาด แล้วเดินเข้าประตู
ทางถนนท้ายวังได้
ความคิดเห็น