ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้ที่เรียนมา

    ลำดับตอนที่ #4 : ดนตรี-ครูเทพเจ้าดนตรีไทย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 335
      1
      18 ม.ค. 54


    อันนี้ต้องก้อบปี้ครับ จาก http://std.kku.ac.th/4632200682/kru.htm

    ครูดนตรีไทย(เทพ)

              การศิลปของไทยเราทุกๆแขนง ย่อมต้องมีพิธีไหว้ครูประจำปีครั้งหนึ่ง และเมื่อเริ่มเรียนอีกครั้งหนึ่ง การไหว้ครูก่อนการเริ่มเรียนศิลปต่างๆนั้น ก็เป็นการกระทำโดยย่อ เพียงแต่เคารพครู หรือถวายตัวเป็นศิษย์แห่งเทพเจ้าผู้ถือว่าเป็นครูในศิลปนั้นๆ ส่วนการไหว้ครูประจำปีโดยมากจะทำเป็นพิธีการที่ใหญ่โตขึ้น ชื่อเทพเจ้าแห่งดุริยางคดนตรีนี้ ในโองการไหว้ครูจะปรากฏอยู่ ๓ องค์ คือ พระปัญจสีขร พระวิศวกรรม(พระวิษณุกรรมหรือพระเพชฉลูกรรม) และพระปรคนธรรพ (พระประโคนธรรพ) พระวิศวกรรม (พระวิษณุกรรมหรือพระเพชฉลูกรรม)   เป็นนายช่างใหญ่ ของเทวดา นับเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปการช่าง ซึ่งโองการไหว้ครูกล่าวไว้ว่า "พระวิศวกรรมผู้เรืองฤทธิ์ ท่านประสิทธิ์สาปสรรค์ เครื่องเล่นสิ่งสารพันในใต้หล้า" จะเห็นได้ว่าเครื่องดุริยางคดนตรี ต่างๆ ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นใช้บรรเลงนี้ ย่อมต้องใช้วิชาช่างเข้าประกอบทั้งสิ้น จึงถือกันว่าการสร้างเครื่องดนตรีขึ้นได้นี้ ก็ด้วยอำนาจแห่งพระวิศวกรรม ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งการช่างได้บันดาล ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามลักษณะ และบังเกิดเสียงขึ้นได้ หรืออาจถือว่าพระวิศวกรรมเป็นผู้สร้างเครื่องดนตรีขึ้นก่อน และประทานมาเป็นแบบฉบับให้มนุษย์เราได้ใช้บรรเลงสืบต่อกันมา ฉะนั้นพระวิศวกรรมจึงเป็นเทพเจ้าแห่งดุริยางคดนตรีอีกองค์หนึ่ง ตามที่ปรากฏในโองการไหว้ครู 

              พระปรคนธรรพ นามที่แท้จริงว่า "พระนารท (นา-รด)" ซึ่งเป็นคนธรรพหรือพวกมีภูษณ (ผู้มีกำเนิด) จำพวกหนึ่ง ซึ่งเข้าพวกเทวดาก็ได้ เข้าพวกมนุษย์ก็ได้ เพราะมีทั้งที่อยู่บนสวรรค์ และอยู่โลกมนุษย์ หรืออีกนัยหนึ่งว่ามีโลกต่างหากเรียกว่า"คนธรรพโลก" อยู่ระหว่างสวรรค์กับโลกมนุษย์ มีหน้าที่รักษาโสม ชำนาญในการปรุงโอสถ เป็นหมอดูผู้รอบรู้กิจการทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ทั้งยังเป็นผู้ชำนาญในการขับร้อง และดุริยางคดนตรี เป็นพนักงานขับร้อง และบรรเลงดนตรีขับกล่อมพระเป็นเจ้า และเทพยนิกร ผู้ที่เป็นครูผู้เฒ่าของการขับร้อง และดนตรีนี้คือ "พระนารทมุนี" ซึ่งเป็นผู้คิดทำพิณขึ้นเป็นอันแรก จึงได้นามว่า "ปรคนธรรพ" แปลว่ายอดของคนธรรพ บางทีก็เรียกว่า มหาคนธรรพ, เทพคนธรรพ, คนธรรพราช พระนารทนี้เป็นพรหมฤาษี เป็นประชาบดี และเป็นตนหนึ่งในทศฤาษี (ประชาบดีทั้งสิบ หรือมหาฤาษีทั้งสิบ) นัยหนึ่งว่าเกิดจากพระนลาฏของพระพรหมา แต่คัมภีร์วิษณุปุราณะกล่าวว่าเป็นโอรสพระกัศยปประชาบดี ด้วยเหตุนี้พระนารทจึงถือเป็นเทพเจ้าแห่งดุริยางคดนตรีองค์หนึ่ง เรียกว่า "พระปรคนธรรพ" 

              พระปัญจสีขร ในภาษาบาลีเรียกว่า "ปัญจสิข" เดิมเป็นเด็กเลี้ยงโค มีผม ๕ แหยม ได้สร้างสิ่งที่เป็นสาธารณะประโยชน์คือ ศาลา สระน้ำ ถนน และยานพาหนะ ได้เสียชีวิตลงตั้งแต่วัยหนุ่ม และไปบังเกิดเป็นเทพบุตรในชั้นจาตุมหาราช ชื่อว่า "ปัญจสิขคนธรรพเทพบุตร" มี ๕ ยอด ร่างกายเป็นสีทอง มีกุณฑล ทรงอาภรณ์ประดับด้วยนิลรัตน์ ทรงภูษาสีแดง มีความสามารถในเชิง ดีดพิณ และขับลำนำ ตามสักกปัญหสูตรกล่าวว่า เมื่อพระอินทร์จะไปทูลถามปัญหาพระพุทธเจ้า ซึ่งเสด็จประทับอยู่ ณ ถ้ำอินทสาลคูหา หว่างเขาเวทิยกบรรพต กรุงราชคฤห์ ก็ต้องให้ปัญจสิขคน ธรรพเทพบุตรเป็นผู้นำเข้าเฝ้าทูลขอโอกาสให้ก่อน เพราะ "ปัญจสิขคนธรรพเทพบุตรเป็นพระพุทธอุปัฏฐากคุ้นเคยสนิทในพระพุทธบาทยุคล คิดจะทำอันใดก็ทำได้ แม้ถามปริศนาแล้วก็ฟัง พระธรรมเทศนาเล่า อาจทำได้ดังนั้น ในขณะพระองค์ปรารถนา และไม่ปรารถนา เทพยดาอื่นๆไม่คุ้นเคยเหมือนปัญจสิขคนธรรพนี้" ก่อนที่จะกราบทูลพระพุทธเจ้า ขอประทานโอกาสแก่ พระอินทร์ในครั้งนั้น ปัญจสิขคนธรรพเทพบุตรได้ดีดพิณ และขับลำนำ พรรณนาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เป็นข้ออุปมาเปรียบด้วยกามคุณ ดังที่เคยขับประโลมนางสุริยวัจฉสา (ราชธิดาพระเจ้าติมพรุคนธรรพเทวราช) มาแล้ว การขับลำ และดีดพิณครั้งนี้ พระพุทธองค์ทรงชมเชยว่า "เสียงพิณ และเสียงขับแห่งท่าน สัณหน่าฟังนัก กลมกล่อมกันไป ไม่แตกไม่แยกกันเลย เสียงพิณก็เข้ากับเสียงขับ เสียงขับกับเสียงพิณมีลีลาศอันละมุนละม่อม เสมอสมานกันเป็นอันหนึ่งอันเดียว" ครั้นเมื่อปัญจสิขคนธรรพเทพบุตรสนทนากับพระพุทธองค์ตามสมควรแล้ว จึงทูลขอประทานโอกาสให้แก่พระอินทร์ พระพุทธองค์ก็ทรงประทานพุทธานุญาต พระอินทร์กับบริวารจึงได้เข้าเฝ้าทูลถามปัญหาตามประสงค์ เมื่อพระอินทร์ได้ทูลถามปัญหาและฟังพระธรรม เทศนา เสร็จแล้ว จึงมีเทวโองการว่า "ดูกรพ่อปัญจสิขเทพบุตร เจ้ามีคุณูปการแก่เราครั้งนี้นักหนา ตัวเจ้านี้ยังสมเด็จพระผู้มีพระภาคให้เลื่อมใสก่อนแล้ว เราจึงได้เข้ามาทัศนาการกราบถวาย มนัสการ ให้ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเราต่อเมื่อภายหลัง เราจะตั้งเจ้าไว้ในที่อันเป็นบิดา เจ้าจงเป็นสมเด็จพระเจ้าปัญจสิขคนธรรพเทพบุตรราช เราประสาทซึ่งนางสุริยวัจฉสา อันเป็นนางเทวธิดา ปรากฎให้เป็นมเหสีสำหรับยศแห่งท่าน" อันพิณของพระปัญจสีขร (ปัญจสิข) นี้ ตามบาลีแห่งพระสูตรนี้ว่ามีพรรณเลื่อมเหลือง ดุจผลมะตูมสุกสะอาด ตระพองพิณ นั้นแล้วด้วยทองทิพย์ธรรมดา คันนั้นแล้วด้วยแก้วอินทนิลมณี มีสาย ๕๐ สาย แล้วด้วยเงินงาม เวทกะ (ลูกบิด) ที่สอดสายเสียบอยู่ปลายคันนั้นแล้วด้วยแก้วประพาฬดังนี้ 
    ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็เป็นข้ออ้างอันสมควรที่สุดที่จะยก "พระปัญจสีขร" เป็นเทพแห่งดุริยางคดนตรีองค์หนึ่ง 
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×