ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โครงงานสุขศึกษา ม. 4

    ลำดับตอนที่ #7 : ตัวอย่าง คำนำ สารบัญ กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานเจลฯ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 136.24K
      44
      2 ก.ค. 55

    คำนำ
     
    โครงงานเรื่อง เจลล้างมือกลิ่นสมุนไพร AROMA THERAPY HAND GEL” จะสำเร็จเจล
    ล้างมือสมุนไพร “AROMA THERAPY HAND GEL” อาศัยกระบวนการความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ  กระบวนการกลุ่มร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างนักเรียน ครู ชุมชน สร้างนวัตกรรมเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นมีอยู่ คือ การสร้างเจลล้างมือสมุนไพรที่หาวัสดุธรรมชาติได้ในท้องถิ่นมาสกัดกลิ่นและสี ผสมเป็นส่วนประกอบของเจลล้างมือ ทำให้เจลล้างมือมีกลิ่นที่หอม สีสันสวยงามดึงดูดความสนใจ ใช้ง่ายโดยไม่ต้องใช้น้ำล้าง ซึ่งช่วยลดขั้นตอนการล้างมือให้ง่ายและสะดวกขึ้น ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังสามารถกำจัดเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เนื่องจากใช้ส่วนประกอบหลักเช่นเดียวกันกับเจลล้างมือหรือนำยาฆ่าเชื้อโรคทั่ว ๆ ไป มีอัตราส่วนของแอลกอฮอล์ 60-80 เปอร์เซ็นต์ วัสดุส่วนหนึ่งนั้นสามารถหาได้จากธรรมชาติ ในชุมชน บูรณาการร่วมกับภูมิปัญญาในท้องถิ่น นำสมุนไพรหาได้ในท้องถิ่นมาสกัดกลิ่นและสี ผสมเป็นส่วนประกอบของเจลล้างมืออย่างสมดุล
     
     
    คณะผู้จัดทำ
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    สารบัญ
     
    เรื่อง                                                                                                         หน้า
     
    คำนำ                                                                                                                      
    สารบัญ                                                                                                          
    กิตติกรรมประกาศ                                                                                              
    บทคัดย่อ                                                                                                        
    บทที่ บทนำ                                                                            
    ที่มาและความสำคัญของโครงงาน                                                                      1
    จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า                                                                      1      สมมุติฐานของการศึกษา                                                                                                1      ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า                                                                             2      ระยะเวลาในการศึกษา                                                                                  2  
    บทที่ 2  เอกสารที่เกี่ยวข้อง
    Aroma  Therapy                                                                                     3
    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดอกมะลิ                                                                          5  
    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับขมิ้น                                                                              8  
    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับใบเตย                                                                            11  
    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดอกอัญชัน                                                                       12  
    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับตะไคร้หอม                                                                       14  
    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแครอท                                                                           16  
    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับไพล                                                                               17  
    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแคนตาลูป                                                                       19  
    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับขิง                                                                                20  
    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสตอเบอรี่                                                                        22 
    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแตงโม                                                                            23  
    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมะละกอ                                                                         24  
    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมะเขือเทศ                                                                       25  
    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดอกลีลาวดี                                                                      26  
    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับขึ้นฉ่าย                                                                           29  
    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกระชาย                                                                          30  
    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับฟักทอง                                                                           30  
    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดอกกุหลาบ                                                                      31  
    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดอกเฟื่องฟ้า                                                                     32   
    การสกัดสีจากผัก ผลไม้                                                                                34  
    การตรวจสอบประสิทธิภาพของเจลล้างมือ                                                           35  
     
     
    สารบัญ (ต่อ....)
     
    เรื่อง                                                                                                        หน้า
     
    บทที่ 3 วิธีดำเนินการทดลอง
    ตอนที่ 1  การสกัดด้วยตัวทำละลาย                                                                 40  
    ตอนที่ 2  การทำเจลล้างมือสมุนไพร                                                               40  
    ตอนที่ วิธีการทดสอบหาประสิทธิภาพของเจล                                                             42 
    ตอนที่ 4  การทำแบบสำรวจความพึงพอใจผู้ใช้เจลล้างมือ                                           44  
    บทที่ 4  ผลการทดลอง                                                                                        45  
    บทที่ 5  สรุปและอภิปรายผล
    สรุปและอภิปรายผลการทดลอง                                                                      52  
    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และข้อเสนอแนะ                                                        58  
    ภาคผนวก                                                                                                                59  
    บรรณานุกรม                                                                                                   71
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    กิตติกรรมประกาศ
     
              โครงงานเรื่อง  เจลล้างมือกลิ่นสมุนไพร AROMA THERAPY HAND GEL” จะสำเร็จลุล่วงไม่ได้ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือจากผู้อำนวยการโรงเรียนอำนาจเจริญ นายจักรทิพย์  กีฬา  
             นางลาวัณย์   นพพิบูลย์ ครูประจำวิชา ที่ช่วยให้คำปรึกษา ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงาน ตลอดจนเอื้อเฟื้อสถานที่ และออกแบบผลงาน
    นายสุดใจ  สุวรรณหาญ ที่ช่วยอนุเคราะห์อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ในการทดลอง
             นายสมใจ  หมายมั่น  และธนวรรต  ปรัสพันธ์ ที่ช่วยให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวกในการทดลอง
             ขอขอบคุณผู้ปกครอง ครูโรงเรียนอำนาจเจริญ  และชุมชนที่ให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ และให้กำลังใจตลอดมา
             คณะผู้จัดทำโครงงานขอขอบคุณท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องไว้ ณ โอกาสนี้
     
     
    คณะผู้จัดทำ
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    โครงงานสุขศึกษาและพลศึกษา  เรื่อง  เจลล้างมือสมุนไพร “AROMA THERAPY HAND GEL”                        
    คณะผู้จัดทำ
    1. เด็กหญิงอรทัย   นิลบุตร                                                        
     
    2. เด็กหญิงรุ่งนภา   จันเทวา       
     
    3. เด็กหญิงรุจิรา   วันนา
    ครูที่ปรึกษา      นางลาวัณย์   นพพิบูลย์ , นางสุรีพร  สุนทรักษ์
    สถานศึกษา      โรงเรียนอำนาจเจริญ   อำเภอเมือง    จังหวัดอำนาจเจริญ
     
    บทคัดย่อ
     
                        ในปัจจุบันการใช้เจลล้างมือโดยไม่ต้องใช้น้ำล้างเป็นที่นิยมกันมาก เนื่องจากเป็นวิธีการกำจัดเชื้อโรคที่ง่ายและสะดวกอย่างยิ่ง ด้านวัสดุอุปกรณ์สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น คณะผู้จัดทำโครงงานมีความสนใจจัดทำโครงงาน เจลล้างมือสมุนไพร “AROMA THERAPY HAND GEL” ขึ้น โดยนำกลิ่นและสมุนไพรที่ได้สังเคราะห์ สกัดขึ้นมา เป็นส่วนผสมหนึ่งในผลิตภัณฑ์ ได้แก่  กลิ่นดอกมะลิ  กลิ่นตะไคร้หอม   กลิ่นและสีเขียวจากใบเตย   กลิ่นและสีเหลืองจากขมิ้น  สีน้ำเงินจากดอกอัญชัน     กลิ่นและสีเหลืองจากแครอท  กลิ่นและสีเหลืองจากไพล กลิ่นและสีเหลืองจากแคนตาลูป  กลิ่นและสีเหลืองจากขิง กลิ่นและสีแดงจากสตอเบอรี่  กลิ่นและสีแดงจากแตงโม  กลิ่นและสีเหลืองจากมะละกอ  กลิ่นและสีแดงจากมะเขือเทศ  กลิ่นและสีเหลืองจากดอกลีลาวดี  กลิ่นและสีขาวจากขึ้นฉ่าย   กลิ่นและสีเหลืองจากกระชาย  กลิ่นและสีเหลืองจากฟักทอง   กลิ่นและสีแดงจากดอกกุหลาบ   กลิ่นและสีชมพูจากดอกเฟื่องฟ้า   ผลการทดลองสรุปได้ว่า  เจลล้างมือผสมกับกลิ่นผักและผลไม้ทั้ง 20  ชนิด ในอัตราส่วน  2;000 มล. : 20  มล. เป็นอัตราส่วนที่ทำให้เจลล้างมือที่ได้เหนียวนุ่มและมีกลิ่นหอมพอดี มีสีสันสวยงามน่าใช้  มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรค  จากนั้นได้นำเจลล้างมือที่ได้จากการศึกษาทดลองไปให้ผู้ทดลองใช้ ในเบื้องต้นได้ผลิตเจลล้างมือสมุนไพรทั้งหมด  4  ชนิด ได้แก่  เจลล้างมือกลิ่น/สีธรรมชาติจากดอกมะลิ  เจลล้างมือกลิ่นตะไคร้หอม/สีน้ำเงินจากดอกอัญชัน  เจลล้างมือกลิ่น/สีธรรมชาติจากใบเตย  เจลล้างมือกลิ่น/สีธรรมชาติจากขมิ้น   โดยให้นักเรียนโรงเรียนอำนาจเจริญจำนวน 100  คน ทดลองใช้ ผลการสำรวจคือ เจลล้างมือกลิ่นมะลิ เป็นเจลล้างมือที่มีผู้ชื่นชอบมากที่สุด และจากการให้ผู้ทดลองใช้โดยให้ครู ผู้ปกครอง  ชุมชน จำนวน 100  คน ผลการสำรวจคือ เจลล้างมือกลิ่นมะลิ เป็นเจลล้างมือที่มีผู้ชื่นชอบมากที่สุด  ต่อมาได้มีการพัฒนาและผลิตเพิ่มขึ้นได้ทั้งหมด 20  ชนิด โดยอาศัยความร่วมมือจากกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้ให้ข้อเสนอแนะและรวบรวมข้อมูลจากการสอบถามจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพิ่มเติม
     
     
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×