ลำดับตอนที่ #3
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : ตอนที่ 3 วิธีคิดเรื่องที่จะทำโครงงาน/การเลือกเรื่องที่จะทำโครงงาน
บัตรเนื้อหาที่ ๓.๑
เรื่อง วิธีคิดเรื่องที่จะทำโครงงาน
บัตรเนื้อหาที่ ๓.๑
เรื่อง วิธีคิดเรื่องที่จะทำโครงงาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา วิชา โครงงานสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
วิธีคิดเรื่องที่จะทำโครงงาน
เทคนิคการคิดหัวข้อเรื่องสำหรับการทำโครงงาน
เทคนิคการคิดหัวข้อเรื่อง สำหรับการทำโครงงาน ประเภทต่าง ๆ ซึ่งเป็นแนวคิดกว้าง ๆ สำหรับให้นักเรียนเป็นกรอบความคิดเพื่อให้นักเรียนตัดสินใจในการเลือกหัวข้อในการทำโครงงาน อาจได้มาจากสิ่งต่อไปนี้
๑. ให้สังเกตสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวที่เป็นปัญหา
ในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทั่วไปรอบ ๆ ตัวนักเรียนที่เป็นปัญหา เช่น สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน สิ่งแวดล้อมรอบ บ้านนักเรียนเอง สิ่งแวดล้อมทั่วไป เช่น ในโรงเรียนมีขยะ เยอะ มีเศษไม้ เศษหญ้า หรือวัสดุต่าง ๆ ที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ให้ประโยชน์ได้แล้ว แล้วคิดหาวิธีให้สามารถนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์อีกครั้ง
๒. ให้สำรวจปัญหาที่เกิดจากอาชีพในท้องถิ่น
ในการประกอบอาชีพในชุมชนหรือท้องถิ่นว่ามีปัญหาเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง เช่น ปัญหาจากแมลงศัตรูพืช วัชพืชต่าง หาวิธีในการกำจัดศัตรูพืช วัชพืชต่าง ๆ หรือนำสิ่งเหล่านั้นนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือวิธีในการเพิ่มจำนวนผลผลิตของ อาชีพต่าง ๆ หาวิธีในการลดค่าใช้จ่ายการการผลิต หาวิธีในการลดเวลา จำนวนต้นทุน ฯลฯ
๓. สำรวจปัญหาของอาชีพเสริม
ในการสำรวจปัญหาจากการประกอบอาชีพเสริมของตัวนักเรียนเองหรือชุมชน โดยการหาวิธีในการเพิ่มปริมาณผลผลิต คุณภาพผลของผลผลิต หรือปรับปรุงวิธีการต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น การเลี้ยงปลาสวยงาม ให้คิดหาวิธีในการทำให้ปลามีสีสวย คิดหาวิธีคิดสูตรอาหาร คิดหาวิธีในการเพาะพันธุ์ปลา
เป็นต้น
๔. สำรวจความเชื่อของคนในท้องถิ่น
ลองให้นักเรียนสำรวจความเชื่อต่าง ๆ ของคนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มีความเชื่อในเรื่องต่าง ๆ หรือที่เคยปฏิบัติสืบต่อ ๆ กันมา มาพิสูจน์หาข้อเท็จจริง ว่าที่คนในท้องถิ่นกระทำนั้นเป็นจริงหรือไม่ เช่น ความเชื่อในเรื่องฟันผุ มีสาเหตุมาจาก มีแมงกินฟันจริงหรือ ความเชื่อในการกินดินเค็ม ว่ามีสารให้ก่อประโยชน์ จริงหรือ ฯลฯ แล้วนำมาคิดหาแนวคิดในการทำโครงงาน
๕. ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ ตำราทางวิทยาศาสตร์ หรือหนังสือพิมพ์
ในการที่จะได้หัวข้อของโครงงาน ที่ได้มามากอีกทางหนึ่งคือ การศึกษาหาความรู้จากหนังสือ หรือตำราที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ หรือหนังสือพิมพ์ ที่ได้นำเสนอเกี่ยวกับการทำโครงงาน ชึ่งเราจะนำแนวคิดต่างๆ ที่ได้มาจากหนังสือพิมพ์ นำมาดัดแปลงหรือคิดเป็นหัวข้อโครงงานได้
๖. ชม ฟัง รายการวิทยุ หรือโทรทัศน์
รายการวิทยุ หรือโทรทัศน์ หลายรายการ ได้นำเสนอเกี่ยวกับการทำโครงงานของนักเรียนนักศึกษา ต่าง ๆ ที่ได้จัดทำประสบความสำเร็จได้นำมาเสนอสู่สายตาบุคคลทั่วไป เช่น รายการคนไทยวันนี้ รายการเกษตร รายการดินดำน้ำชุ่ม รายการของกระทรวงเกษตร ต่าง ๆ โดยนำแนวคิดต่าง ๆ มาปรับปรุงเพื่อคิดเป็นหัวข้อโครงงานได้
๗. ศึกษาจาก นิทรรศการ หรือโครงงานของผู้อื่น
ในการเข้าศึกษาดูงานจาก นิทรรศการ ต่าง ๆ ตามหน่วยงานหรือสถาบันทางการศึกษา ได้จัดขึ้น เช่นตามมหาวิทยาลัย ต่าง ๆ หรือหน่วยงานของทางราชการ หรือเอกชน จะมีการนำโครงงานประเภทต่าง ๆ เข้ามาประกวด หรือแข่งขัน ซึ่งนักเรียนสามารถติดตามหรือศึกษาจากโครงงานต่าง ๆได้ แล้วนำแนวคิดที่ได้จากการศึกษา มาปรับปรุงคิดเป็นหัวข้อโครงงานของเราได้
๘. นักเรียนสามารถสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้จากผู้รู้ หรือครูอาจารย์ที่ปรึกษา ในเรื่องที่เราสนใจ เพื่อหาแนวความคิดกว้าง ๆ หรือวิธีในการตัดสินใจในการเลือกคิดทำหัวข้อโครงงาน
บัตรเนื้อหาที่ ๓.๒
เรื่อง หลักการเลือกเรื่อง
ที่จะทำโครงงาน
บัตรเนื้อหาที่ ๓.๒
เรื่อง หลักการการเลือกเรื่องที่จะทำโครงงาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา วิชา โครงงานสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
การคิดหรือเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงาน
การคิดหรือเลือกหัวข้อเรื่องของโครงงาน เป็นขั้นที่สำคัญที่สุดของการทำโครงงาน ควรเป็นไปตามความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และความต้องการของตนเอง โดยทั่วไปหัวข้อเรื่องของโครงงานมักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่ประสบในชีวิตประจำวัน
เมื่อคิดหัวข้อเรื่อง หรือแนวทางกว้าง ๆ สำหรับเป็นหัวข้อโครงงานแล้ว สิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียน หรือครูที่ปรึกษาจะต้องคำนึงถึง มีดังต่อไปนี้
๑. ความยากง่ายเหมาะสมกับระดับความรู้ของนักเรียนหรือไม่
ในการจัดทำโครงงานนั้น ความยากง่ายจะต้องเหมาะสมกับระดับความรู้ของนักเรียนว่าอยู่ในระดับช่วงชั้นได ในระดับช่วงชั้นที่ ๑ หรือ ช่วงชั้นที่ ๒ เรื่องที่จะนำมาทำโครงงานจะต้องไปยากจนเกินไป จะเป็นเป็นเรื่องที่นักเรียนสามารถทำได้ในระดับของนักเรียน ส่วนนักเรียนที่ระดับสูงขึ้น เรื่องที่จะทำต้องยากขึ้นอีกกว่าระดับช่วงชั้นที่ ๑ หรือ ๒ ยิ่งระดับสูงขึ้นจะต้องมีความละเอียดของโครงงานซับซ้อนยิ่งขึ้น
๒. เป็นเรื่องที่แปลกใหม่ น่าสนใจ
ในการตัดสินใจในการทำโครงงานนั้น เรื่องที่จัดทำมีความแปลกใหม่น่าสนใจหรือไม่ เคยเป็นโครงงานที่มีผู้อื่นเคยทำมาก่อนหรือไม่ และเป็นเรื่องที่ผู้อ่านเห็นแล้วสนใจในเรื่องที่เราทำ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้อื่นได้
๓. มีความเป็นไปได้สูง
โครงงานที่นักเรียนจัดทำขึ้นมานั้น ถ้าทำแล้วมีโอกาสที่จะสำเร็จสูง ไม่ใช่ว่าทำไปแล้วล้มเหลว ซึ่งจะขึ้นอยู่กับครูที่ปรึกษาโครงงาน ควรให้คำแนะนำว่า หัวข้อโครงงานที่นักเรียนนำมาปรึกษานั้น ถ้านักเรียนทำแล้ว จะเสียเวลาหรือไม่ ความสำเร็จของโครงงาน มีหรือเปล่า การลงทุนมากหรือน้อย และตัวนักเรียนเองจะต้องใช้วิจารณญาณ เกี่ยวกับการทำโครงงานของตนเองว่า โอกาสแห่งความสำเร็จของโครงงานของเรา มีหรือไม่
๔. มีความชัดเจน
โครงงานของนักเรียนที่จะจัดทำขึ้นมานั้น ต้องมีความชัดเจน มีความเฉพาะเจาะจง ว่าเป็นการศึกษาเรื่องใด ยกตัวอย่างเช่น โครงงานเรื่องการใช้สมุนไพรกำจัดแมลง ก็ควรบอกให้ชัดลงไปว่า เราจะใช้สมุนไพรชนิดใด ประเภทใด กำจัดแมลงจำพวกไหน ก็ควรบอกให้ชัดเจน
๕. มีแหล่งความรู้
ในการทำโครงงานของนักเรียนนั้น ผู้จัดทำโครงงานเอง ก็ควรศึกษาหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ว่าหนังสือ หรือแหล่งความรู้ที่เราจะศึกษามีหรือเปล่า ถ้าหาหนังสือหรือตำราไม่ได้ เราสามารถได้สอบถามจากผู้รู้ได้หรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ค่อนข้างสำคัญมากที่ครูที่ปรึกษาและผู้จัดทำโครงงานจะต้องคำนึงถึง
๖. วัสดุอุปกรณ์ในการทำโครงงาน
ในการทำโครงงานทุกครั้ง เราจะต้องใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำ ครูที่ปรึกษาและผู้จัดทำโครงงางานจะต้องจัดหา ซึ่งจะต้องคิดว่า อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น สามารถหาได้ในท้องถิ่นหรือไม่ หรือสามารถยืมจากห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ได้หรือไม่
๗. ความปลอดภัยในการทำโครงงาน
สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ครูปรึกษาและตัวผู้จัดทำโครงงานเองจะต้องคำนึงถึงคือความปลอดภัยในการทำโครงงาน ว่าโครงงานที่เราจัดทำขึ้นมานั้น มีความปลอดภัยต่อตนผู้จัดทำเองหรือผู้อื่นหรือไม่ เช่น การทดลองสังเกตลักษณะของดวงอาทิตย์ การทดลองสังเกตพฤติกรมของงูพิษชนิดต่าง ๆ เป็นต้น ครูที่ปรึกษาจะต้องพิจารณาให้ดีว่าโครงงานที่นักเรียนเสนอมานั้นเหมาะสมหรือไม่ หรือการนำสารเคมีชนิดต่าง ๆ หรือเครื่องจักรกลมาใช้ในการทำโครงงาน จะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
๘. งบประมาณในการจัดทำโครงงาน
งบประมาณในการจัดทำโครงงานนั้นครูที่ปรึกษา ก็ควรพิจารณาให้ดีว่าโครงงานที่นักเรียนเสนอมานั้นใช้งบประมาณมากจนเกินไปไหม ตัวอย่างเช่น "การทดลองหาสูตรอาหารในการเลี้ยงสุกรให้โตวัย" ซึ่งในการทดลองนั้นจะต้องซื้อสุกรมาหลายตัวและอาหารที่จะต้องนำมาผสมกันนั้นจะต้องใช้ในปริมาณมาก ซึ่งจะต้องพิจารณาให้ดีว่างบประมาณที่จะใช้ในการทำโครงงานเหมาะสมหรือไม่
๙. เวลาที่ใช้ในการทำโครงงาน
เวลาที่ใช้ในการทำโครงงานของนักเรียนนั้นไม่ควรใช้เวลาในการทำมากจนเกินไป นักเรียนระดับช่วงชั้นที่ ๑ และ ๒ ก้อไม่ควรเกิน ๒ สัปดาห์ และระดับที่สูงกว่านั้น ไม่ควรเกิน ๑ เดือน
ทางผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เทคนิควิธีการเลือกหัวข้อที่จะทำโครงงานของนักเรียนให้ประสบความสำเร็จ มีความเป็นไปได้สูงนั้น
บัตรกิจกรรมที่ ๓.๑
เรื่อง วิธีคิดเรื่องที่จะทำโครงงานและเลือกเรื่องที่จะทำโครงงาน
๑. ให้นักเรียนศึกษา “ วิธีคิดเรื่องที่จะทำโครงงาน ” แล้วเลือกเรื่องที่จะทำโครงงาน มา ๕ หัวข้อเรื่อง
หัวข้อที่ ๑ ........................................................................................................................................................
หัวข้อที่ ๒ ........................................................................................................................................................
หัวข้อที่ ๓ ........................................................................................................................................................
หัวข้อที่ ๔ ........................................................................................................................................................
หัวข้อที่ ๕ ........................................................................................................................................................
๒. ให้นักเรียนนำหัวข้อที่ ๑ – หัวข้อที่ ๕ มาวิเคราะห์ หัวข้อเรื่องตามตารางต่อไปนี้
หัวข้อที่ |
๑. ความรู้และทักษะพื้นฐานของผู้ทำโครงงาน 5 คะแนน |
๒. แหล่งความรู้ที่จะศึกษาค้นคว้า 5 คะแนน |
๓. วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ 5 คะแนน |
๔. เวลาที่ต้องใช้ในการทำโครงงาน 5 คะแนน |
๕. ความปลอดภัย 5 คะแนน |
๖. งบประมาณ 5 คะแนน |
รวม 30 คะแนน |
๑ | |||||||
๒ | |||||||
๓ | |||||||
๔ | |||||||
๕ |
หัวข้อใดได้คะแนนมากที่สุด คือ เรื่องที่เราน่าจะทำมากที่สุด
เรื่องที่จะทำได้แก่ เรื่อง........................................................................................................................................
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น