ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โครงงานสุขศึกษา ม. 4

    ลำดับตอนที่ #2 : ตอนที 2 ขั้นตอนการดำเนินการโครงงานและการวิเคราะห์โครงงาน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.19K
      2
      28 มิ.ย. 55

     
     
     
     
     
     
     
     
     

     
     
    บัตรเนื้อหาที่ ๒.๑
    เรื่อง วิเคราะห์หลักสูตร
    เพื่อกำหนดหัวข้อโครงงาน
     
     
     
     
     
     
     
     
     

    บัตรเนื้อหาที่ ๒.๑  
    เรื่อง  การวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อกำหนดหัวข้อโครงงาน
     
              การวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อกำหนดหัวข้อโครงงาน เป็นกระบวนการที่สามารถส่งเสริมทักษะการคิดและวิเคราะห์แก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี มีจุดมุ่งหมายสำคัญ ๒ ประการ คือ
    ๑. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทำโครงงานได้สอดคล้องกับหลักสูตร เมื่อใดก็ตามที่ผู้เรียนกำหนดหัวข้อโครงงานด้วยวิธีการเลือกเนื้อหาที่อยู่ในแบบเรียนตามใจที่ชอบ โดยไม่คำนึงถึงองค์ประกอบของหลักสูตรแล้ว ความเป็นไปได้ที่จะทำให้ผลของการทำโครงงานไม่สอดคล้องกับหลักสูตรมีสูง เพราะว่า มาตรฐานการเรียนรู้ของ ๑  สาระการเรียนรู้ในรายวิชา ไม่ได้มีเพียงมาตรฐานการเรียนรู้เดียว และยิ่งกว่านี้ มาตรฐานการเรียนรู้เพียงข้อเดียว ก็ไม่ได้มีเพียงขั้นการเรียนรู้เดียว อาจประกอบด้วยขั้นการเรียนรู้ ๑ ๒ หรือ ๓ ขั้นก็ได้ เช่น ขั้นความจำ (ความรู้) ความเข้าใจ หรือขั้นการนำไปใช้ เพราะฉะนั้น ถ้าผู้เรียนเลือกทำโครงงานโดยปราศจากการคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง สาระมาตรฐาน และมาตรฐานการเรียนรู้แล้ว ผลงานของโครงงานอาจอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ เพราะเป็นการศึกษาที่ไม่ตรงกับจุดประสงค์ของหลักสูตร ตัวอย่างเช่น
    นางสาวปวีณา  วิมล ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทำโครงงานรายวิชาสุขศึกษา ในหัวข้อ “อวัยวะภายนอก” มีวัตถุประสงค์เพื่อให้รู้จักส่วนต่าง ๆ ของ อวัยวะภายนอกของมนุษย์ ซึ่งเป็นเพียงระดับการเรียนรู้ขั้นความจำเท่านั้น ครั้นเมื่อกลับไปตรวจดูรายละเอียดในหลักสูตรแล้ว พบว่า มาตรฐานการเรียนรู้เรื่องนี้ มุ่งให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในโครงสร้าง หน้าที่ และระบบการทำงาน รวมทั้งวิธีการดูแลรักษาอวัยวะภายนอกของมนุษย์ ซึ่งเป็นระดับการเรียนรู้ขั้นความเข้าใจ และการวิเคราะห์ ส่วนขั้นความจำเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรระดับประถมศึกษา สรุปได้ว่าการทำโครงงานของนางสาวปวีณา วิมล ไม่เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย
    ๒. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน เนื่องจากลักษณะกิจกรรมของโครงงาน มีความละเอียดและซับซ้อน ผู้เรียนจำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้อย่างกว้างขวาง เพื่อนำมาใช้ประกอบการเขียนรายละเอียดโครงงานและการทำชิ้นงาน จำเป็นต้องใช้ทักษะด้านการอ่าน การคิดเชิงมิติสัมพันธ์สูง รวมทั้งทักษะการวิเคราะห์และทักษะการเขียนในแทบทุกขั้นตอนของการทำโครงงานก็ว่าได้
    การวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อกำหนดหัวข้อโครงงานในรูปแบบตาราง  มีความเหมาะสมกับผู้เรียนมาก เนื่องจากได้มีการกำหนดส่วนประกอบของตารางไว้อย่างชัดเจน ซึ่งสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการฝึกทักษะการคิดอย่างมีกรอบและเชิงสัมพันธ์ รวมทั้งการวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่อยู่ในตารางแต่ละช่องได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ กระบวนการวิเคราะห์โครงงานยังเปรียบเสมือนเป็นกุญแจไขประตูไปสู่โลกโครงงาน   จึงได้จัดทำลำดับขั้นการวิเคราะห์หลักสูตร   ดังผังแสดงต่อไปนี้
     


     
     
     
     
     
    ตัวอย่างตารางการวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อกำหนดหัวข้อโครงงาน
    รายวิชาสุขศึกษา  ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น
     
    สาระ/มาตรฐาน/
    มาตรฐานการเรียนรู้
    รายละเอียดสาระ     การเรียนรู้ ระบุชื่อโครงงานตามลักษณะประเภทของโครงงาน
    ทดลอง สำรวจ สิ่งประดิษฐ์ พัฒนา
    สาระที่ ๑ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
    มาตรฐาน พ ๑.๑.
    เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
    มาตรฐานการเรียนรู้
    ๑.อธิบายกระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงาน ของระบบอวัยวะต่าง ๆ 
     
    ข้อ ๒.วางแผนดูแลสุขภาพตามภาวะการเจริญเติบโตและพัฒนาการของตนเองและบุคคลในครอบครัว
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    ข้อ ๒.การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว
       
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    ๑.โครงงานสำรวจวิธีการดูแลสุขภาพโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    ๓.โครงงานดีท็อกลำไส้โดยใช้ใบตำลึงกับน้ำผึ้งเดือนห้า
     
     
    ๑.โครงงานสุขภาพ
    เจลล้างมือสมุนไพร
    ๒.โครงงานอาหารสมุนไพร
    ๓.โครงงานโมบายสายสุขภาพ
    ๔.โครงงานเส้นทาง
    สู่สุขภาพ
     
     
     
    หมายเหตุ    ถ้าผู้เรียน สามารถกำหนดหัวข้อโครงงานได้มากกว่า ๑ ให้นำไปประเมินความเป็นไปตรวจสอบว่า  
    โครงงานใดเป็นโครงงานที่ผู้เรียน สามารถทำได้ดีที่สุด โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการทำโครงงาน
     
     
     

     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     

     
     
    บัตรเนื้อหาที่ ๒.๒
    เรื่อง ลักษณะของโครงงานที่ดี
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     

    บัตรเนื้อหาที่ ๒.๒  
    เรื่อง  ลักษณะของโครงงานที่ดี
     
              ลักษณะของโครงงานที่ดี ต้องสะท้อนให้เห็นสิ่งต่อไปนี้
    ๑.  ความสัมพันธ์ของทุกส่วนองค์ประกอบ
    ๒.  ความสมเหตุสมผล
    ๓.  ความชัดเจน
    ๔.  สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ คือ จะทำอะไร ทำเพื่ออะไร ทำให้ใคร จะเริ่มทำและแล้วเสร็จเมื่อใด เกิดประโยชน์อะไรแก่ใคร ทำอย่างไร ใครเป็นคนทำ ที่ไหน ใช้เงินเท่าไร
    ๕.  สามารถตรวจสอบความสำเร็จได้
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     

     
     
    บัตรเนื้อหาที่ ๒.๓
    เรื่อง  ขั้นตอนการทำโครงงาน
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     

    บัตรเนื้อหาที่ ๒.๓
     เรื่อง  ขั้นตอนการทำโครงงาน
     
     
    ขั้นตอนการทำโครงงาน
     
                       ขั้นตอนการทำโครงงาน มีดังนี้
                   ๑.  คิดและเลือกปัญหาที่จะศึกษา  นักเรียนจะต้องเป็นผู้กำหนดปัญหา  แนวคิดและวิธีการจะใช้แก้ปัญหาตามความสนใจ  ความอยากรู้ของตนเอง  ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในเรื่องเวลา  ความรู้  ความสามารถ  และแหล่งข้อมูลที่มี
                   ๒.  วางแผนในการทำโครงงาน  นักเรียนจะต้องวางแผนการทำงานในทุกขั้นตอนอย่างละเอียด  เพื่อป้องกันความผิดพลาดและสับสน  ขั้นตอนดังกล่าวประกอบด้วย
                       ๒.๑  การกำหนดปัญหา  และขอบเขตของการศึกษา
                       ๒.๒  การกำหนดวัตถุประสงค์  แนวคิด  วิธีการที่จะมาใช้แก้ปัญหา  สมมติฐานและนิยามเชิงปฏิบัติการ
                       ๒.๓  การวางแผนรวบรวมข้อมูล   และการค้นคว้าเพิ่มเติม
                       ๒.๔  กำหนดวิธีดำเนินงาน ได้แก่  แนวทางการศึกษาค้นคว้า  วัสดุอุปกรณ์
    ที่ต้องใช้การออกแบบการทดลอง  การควบคุมตัวแปร  การสำรวจ  และรวบรวมข้อมูล  การประดิษฐ์คิดค้น  การวิเคราะห์ข้อมูล  การกำหนดระยะเวลา  ในการทำงานแต่ละขั้นตอน
                   ๓.  ลงมือทำโครงงาน  นักเรียนจะต้องปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ในข้อ  ๒  และถ้ามีปัญหาให้ขอคำแนะนำ  ปรึกษาครู  หรืออาจารย์ที่ปรึกษา
                   ๔.  การเขียนรายงาน  นักเรียนจะต้องเสนอผลงานการศึกษาค้นคว้าเป็นเอกสาร  อธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ  และทราบถึงปัญหาวิธีการ  และผลสรุปที่ได้จากการศึกษา  พร้อมอภิปรายผลและให้ข้อเสนอแนะ  เพื่อเป็นแนวทางในการที่จะศึกษาค้นคว้าต่อไป
     

    วิธีทำโครงงานสุขศึกษาและพลศึกษา

    ๑.กำหนดปัญหา
    ตั้งปัญหาหรือสมมุติฐานเกี่ยวกับปัญหาเพื่อตอบคำถามของปัญหานั้น
    ๒.ตั้งสมมุติฐาน
    กำหนดตัวแปรที่สงสัย (ตัวแปรต้น) ผลที่ตามมาจากการสงสัย (ตัวแปรตาม) และจะต้องควบคุมตัวแปรใดบ้าง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ (ตัวแปรควบคุม)
    ๓.ออกแบบวิธีการศึกษา
    เป็นขั้นตอนการวางแผน รวมทั้งการสร้างเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าหรือทดลองเพื่อหาคำตอบที่ต้องการ ซึ่งจะต้องมีการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
    ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหา เพื่อนำมาใช้ในการกำหนดเป็นกรอบในแผนการปฏิบัติการ
     
    ๔.ปฏิบัติการศึกษา
    เป็นการลงมือปฏิบัติจริงตามแผนที่วางไว้ ตามประเภทของโครงงานซึ่งต้องทำตามขั้นตอน มีการบันทึกผลต่างๆ ไว้อย่างครบถ้วน เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลในการอภิปรายและสรุปผล ในขั้นนี้ก็ถือเป็นขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือหาคำตอบของปัญหาที่ตั้งไว้เป็นหัวข้อโครงงาน
     
     
    ๕.อภิปรายและสรุปผล
    นักเรียนนำข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการปฏิบัติมาประเมินผลและอภิปรายโดยการศึกษาจากเอกสารหรือหลักฐาน เพื่อนำมาประกอบในการหาเหตุผลหรือข้อสรุปผลการทดลอง
     
    ๖.นำเสนอ
    นักเรียนนำเสนอข้อมูลที่ได้มาของความรู้ใหม่ กระบวนการทำงาน โดยการเขียนรายงานและจัดป้ายนิเทศ  เพื่อแสดงโครงงานสุขศึกษาและพลศึกษาที่ได้จัดทำ
     
     
    F
    F
    F
    ขั้นตอนการทำโครงงานสุขศึกษาและพลศึกษา
    ๑.  กำหนดปัญหา
     
    ๒.  ตั้งสมมุติฐาน
    ๓.  ออกแบบวิธีการศึกษา
    ๔.  ปฏิบัติการศึกษา
    ๕.  อภิปรายและสรุปผล
    ๖.  นำเสนอ
    กล่องข้อความ: Hกล่องข้อความ: H
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     


     
     
    บัตรเนื้อหาที่ ๒.๔
    เรื่อง  การวิเคราะห์โครงงาน
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     

    บัตรเนื้อหาที่ ๒.๔  เรื่อง  การวิเคราะห์โครงงาน
    ส่วนประกอบของโครงงาน  แบ่งออกได้เป็น ๑๒  ส่วน ดังต่อไปนี้
    1. ชื่อโครงงาน  เขียนให้กระชับ ชัดเจน น่าสนใจ สามารถสื่อความหมายหรือสะท้อนให้เห็นสิ่งที่จะ
    ทำได้ทันทีว่า “งานคืออะไร หรืออะไรคืองาน” และต้องสอดคล้องกับเนื้อหาที่จะทำอีกด้วย ตัวอย่างเช่น โครงงานเผยแพร่ความรู้โรคเอดส์ โครงงานจัดทำปฏิทินคำพังเพย โครงงานศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่าง ๆ ของสีไข่แดงของเป็ดที่ได้รับอาหารจากดอกดาวเรืองและดอกกุหลาบ
    ๒. หลักการและเหตุผล  หลักการและเหตุผลเป็นส่วนประกอบแรกและสำคัญต่อการตัดสินใจให้ความเห็นชอบและอนุมัติให้ทำโครงงานมากที่สุด เนื่องจาก ลักษณะของข้อมูลในส่วนนี้ แสดงให้เห็นความสำคัญของโครงงานตั้งแต่ที่มาและผลลัพธ์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ หลักการและเหตุผลเปรียบเสมือนศูนย์รวมส่วนประกอบสำคัญของโครงงานใน ๔ เรื่อง ได้แก่ วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินงาน เป้าหมาย และผลที่คาดว่าจะได้รับ ดังนั้น การเขียนหลักการและเหตุผลที่ดีต้องสามารถตอบคำถาม ทำไมต้องทำ? ให้ชัดเจน อาจกล่าวถึงความสำคัญหรือความจำเป็นว่า หากไม่ทำจะเกิดผลเสียหายต่อใคร/อะไร/อย่างไร/ หรือเพื่อพัฒนาปรับปรุงสิ่งเดิมที่มีและดีอยู่แล้ว ซึ่งอยู่ในสภาพเสื่อมให้ดีขึ้นหรือเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอย่างไร   การเขียนหลักการและเหตุผลนั้น เป็นการเขียนแสดงให้เห็นความสำคัญที่เป็นธรรมชาติของเรื่องหรือเนื้อหาที่จะทำ แล้วจึงบรรยายสภาพความเป็นจริงของสิ่งที่จะทำซึ่งเกี่ยวข้องกับเนื้อหาว่าอยู่ในสภาพเช่นใด อาจแสดงให้เห็นถึงสภาพที่เป็นปัญหาหรือความจำเป็นที่ต้องได้รับการแก้ไข หลักการนั้นให้เชื่อมโยงวิธีการที่จะนำมาใช้แก้ปัญหา และแสดงผลดีที่คาดว่าจะเกิดขึ้นด้วยวิธีการของผู้จะทำ
    เพื่อให้การเขียนหลักการและเหตุผลง่ายขึ้น จึงได้นำเสนอการอธิบายวิธีการเขียนในรูปแบบดังต่อไปนี้
                       ส่วนที่  ๑  หลักการ  หมายถึง ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่มีผู้ใดปฏิเสธได้ เป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นความสำคัญตามธรรมชาติของทุกเรื่องในโลกนี้ซึ่งเมื่อใดก็ตามถ้าสิ่ง ๆ นั้น ไม่อยู่ในวิถีหรือสภาพที่ปกติ ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบเสียหาย
                       ส่วนที่  ๒  เหตุ  หมายถึง สภาพบางอย่างที่สมควรได้รับการแก้ไขหรือพัฒนา อันเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการนำเทคนิค วิธีการ หรือกระบวนการแก้ปัญหาหรือพัฒนา
                       ส่วนที่  ๓  ผล หมายถึง ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงสิ่งดีๆ ที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นภายหลังที่ได้นำวิธีการ เทคนิค หรือกระบวนการมาใช้
    ๓. วัตถุประสงค์
    เป็นการแสดงให้เห็นว่า จะทำอะไร (จุดประสงค์ต้นทาง) หรือเพื่อให้เกิดอะไรกับสิ่งที่จะทำ (จุดประสงค์ปลายทาง) หากมีมากกว่า ๑ เรื่อง ให้เขียนเป็นรายข้อ การเขียนวัตถุประสงค์ที่ดีต้องมีความชัดเจน มีทิศทาง วัดได้ และควรเลือกเขียนวัตถุประสงค์ในลักษณะต้นทางหรือปลายทางอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
              ๑) วัตถุประสงค์ต้นทาง แสดงให้เห็นชิ้นงานว่าคืออะไรหรือจะทำอะไร
              ๒) วัตถุประสงค์ปลายทาง แสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากโครงงาน
    ๔. เป้าหมาย
    เป็นการแสดงให้เห็นถึงผลผลิตที่จะเกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดกระบวนการทำงาน แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะดังนี้      ๑) เชิงปริมาณ  หมายถึง ผลผลิต/ผลงานที่สามารถแจงหรือนับได้ ลักษณะหน่วยนับอาจเป็น คน ชิ้น อัน เล่ม แผ่น ฉบับ เรื่อง ฯลฯ
    ๒) เชิงคุณภาพ  หมายถึง การแสดงให้เห็นคุณค่าหรือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผลผลิต ว่ามีคุณลักษณะอย่างไร กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เป้าหมายเชิงคุณภาพ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถนำมาแจงหรือนับได้ แต่สามารถบอกคุณลักษณะได้ว่า  มีคุณค่าหรือดีตามความตั้งใจ  หรือยึดบรรทัดฐานตามคุณลักษณะของงาน  นั้น ๆ เป็นตัวกำหนด เพื่อให้สามารถเข้าใจการเขียนเป้าหมายเชิงคุณภาพได้ง่ายขึ้น จึงแบ่งลักษณะคำที่นำมาใช้เขียนเป้าหมายเชิงคุณภาพ  ๒ ประเภท
              (๑) กลุ่มคำคุณศัพท์ ได้แก่ ดี สวยงาม สมบูรณ์ ครบถ้วน พร้อม ละเอียด ชัดเจน ง่าย สะดวก คงทน แข็งแรง เหมาะสม ซาบซึ้ง ฯลฯ เช่น  บัตรคำมีลักษณะสวยงามน่าหยิบอ่าน และคำที่บรรจุในบัตรคำมีความชัดเจน ละเอียด และเพียงพอต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
              (๒) กลุ่มคำกริยาขั้นการเรียนรู้ ได้แก่ รู้ เข้าใจ สามารถ บอกสาเหตุ อธิบาย แยกแยะ จำแนก สรุป  ตีค่า ประเมิน เช่น  บัตรคำสามารถสื่อความหมายของคำสุภาพได้ชัดเจนโดยไม่ต้องใช้บุคคลอธิบาย บัตรคำบรรจุด้วยถ้อยคำที่เหมาะสมแก่การนำไปใช้ในชีวิตประจำวันมาก
    ๕. ระยะเวลาดำเนินงาน
    เป็นการระบุระยะเวลาการเริ่มปฏิบัติงานภายหลังที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจัดทำโครงงานแล้ว ให้ระบุ วันที่ เดือน และ พ.ศ. เช่น ระหว่างวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๒  ถึง ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
    ๖. สถานที่ดำเนินงาน
    เป็นการระบุสถานที่หลักที่ใช้ในการจัดทำโครงงาน
    ๗. งบประมาณ
              เป็นการแสดงให้เห็นแหล่งที่มาของเงิน จำนวนเงิน พร้อมแสดงรายละเอียดค่าใช้จ่าย 
              ๘. วิธีดำเนินงาน
              เป็นการแสดงให้เห็นขั้นตอนการทำงานในลักษณะงาน ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการกำหนดหัวข้อโครงงานกระทั่งสรุปและรายงานผล เช่น              ๑.วิเคราะห์หลักสูตรเพื่อกำหนดหัวข้อโครงงาน 
    ๒.วิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงงาน     ๓.จัดทำรายละเอียดโครงงาน (พร้อมแผนปฏิบัติงาน)         
    ๔. เสนอรายละเอียดโครงงานเพื่อขอความเห็นชอบจากครู   
    ๕. ดำเนินการตามแผน                       ๖. ประเมินผล             ๗. สรุปและรายงานผล
              ๙. การประเมินผล
              เป็นการแสดงให้เห็นถึงวิธีการตรวจสอบคุณภาพของผลงานก่อนที่จะนำส่งครูว่าสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือไม่ โดยระบุว่าใช้เครื่องมืออะไรในการประเมิน ใครบ้างที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน ประเมินอย่างไร เช่น  ประเมินผลชิ้นงานโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นเอง และนำไปสัมภาษณ์สมาชิกในชุมชน และ เพื่อนกลุ่มอื่น
              ๑๐. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
              เป็นการแสดงให้เห็นสภาพชิ้นงานที่ได้ ประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดจากการนำชิ้นงานไปใช้ รวมทั้งประโยชน์อันเป็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากนำชิ้นงานไปใช้ โดยให้ระบุว่าเกิดประโยชน์แก่ใครและอย่างไร
    ตัวอย่างอยู่ในรายละเอียดโครงงาน 
              ๑๑. ผู้รับผิดชอบโครงงาน
              เป็นการแสดงรายชื่อผู้ทำโครงงานพร้อมแจงรายละเอียดงานหรือหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคนให้ชัดเจน
    ๑๒. ที่ปรึกษาโครงงาน
              เป็นการแสดงชื่อและตำแหน่งของบุคคลที่ผู้เรียน ได้เชิญเป็นผู้ให้ข้อคิด คำแนะนำและให้ข้อเสนอแนะ
    ในการทำโครงงานอย่างถูกต้อง
     
     
     
    บัตรกิจกรรมที่ ๒
    เรื่อง  ขั้นตอนการดำเนินการโครงงานและการวิเคราะห์โครงงาน
     
     
     
    ชื่อ-สกุล…………………………………………………………………ชั้น ม.๔/…………..ชื่อเล่น……...….เลขที่…………..…
     
    คำชี้แจง  ให้ผู้เรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้สมบูรณ์
    .  ขั้นตอนในการทำโครงงานมีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
     
    .  ขั้นตอนในการทำโครงงานขั้นตอนใดเป็นขั้นตอนยากที่สุดเพราะเหตุใด
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
    .............................................................................................................................................................................
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×