ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    การบ้าน หน่วยที่ ๑ สุข ม. ๓

    ลำดับตอนที่ #1 : ใบความรู้เพิ่มเติม เรื่องความแตกต่างระหว่างวัย

    • อัปเดตล่าสุด 15 ก.ค. 55


    ต่อมไทมัส (Thymus gland)

              ต่อมไทมัสเป็นต่อมขนาดเล็ก เป็นพูของเนื้อเยื่อที่คล้ายกับต่อมน้ำเหลือง มี 2 พู อยู่บริเวณกลางหน้าอก อยู่ที่ขั้วหัวใจ มีความสำคัญในช่วงอายุน้อย ในผู้ใหญ่ต่อมาจะฝ่อสลายไป จึงเป็นต่อมไร้ท่อที่มีเฉพาะในเด็กเท่านั้น   สร้างฮอร์โมนไทโมซิน ( thymosin ) เพื่อกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีจากพลาสมาเซลล์ในม้าม และต่อมน้ำเหลือง และยังสร้างฮอร์โมนไทโมวิดิน ( thymovidin ) ยับยั้งการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์ ( คล้ายฮอร์โมนเมลาโตนินจาก ต่อมไพเนียล )ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภูมิคุ้มกันแบบใช้เซลล์ (cell-mediated immunity)โดยลิมโฟไซด์ ที่สร้างจากกระดูกจะต้องมีการเจริญเปลี่ยนแปลงภายในต่อมไทมัส กลายเป็นเซลล์ชนิดที ก่อนที่จะออกสู่กระแสเลือด ต่อมไทมัสสามารถทำหน้าที่ดังกล่าวตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรถ์ ภายหลังการเกิดเมื่อทารกมีอายุมากขึ้น ต่อมไทมัสจะหมดความสำคัญ และจะฝ่อไปในที่สุด

     

    ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ คือ ไทร็อกซิน โดยใช้ไอโอดีนเป็นวัตถุดิบในการ สร้างฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนไทร็อกซินมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้ 
    1) ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก สมอง และระบบประสาท 
    2) ช่วยในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเมื่อเป็นผู้ใหญ่ 
    3) ช่วยควบคุมอัตราเมตาบอลิซึมในร่างกาย 

     

     ต่อมไพเนียล (Pineal gland)

              เรียกอีกชื่อว่า ต่อมเหนือสมอง (Epiphysis) อยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างรอยต่อของสมองส่วนซีรีบรัมซ้ายและขวา ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมนี้คือ ฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) โดยเมลาโทนินจะไปยับยั้งการเจริญของรังไข่และอัณฑะ และไปยับยั้งการหลั่งโกนาโดโทรฟิน ทำให้การเติบโตเป็นหนุ่มสาวช้า ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้าและสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด พบว่าฮอร์โมนเมลาโทนินมีผลทำให้สีผิวของสัตว์มีสีจางลง โดยต่อมไพเนียลจะทำหน้าที่เป็นกลุ่มเชลล์รับแสงคล้าย ๆ เนื้อเยื่อเรตินาของ ฮอร์โมนชนิดนี้จะทำงานตรงข้ามกับฮอร์โมน MSH จากต่อมใต้สมองส่วนกลาง ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด ต่อมนี้ยังทำหน้าที่เป็นกลุ่มเซลล์รับแสงคล้ายเนื้อเยื่อเรตินาของนัยน์ตาอีกด้วย

     

     

    ต่อมพิทูอิทารี (Pituitary gland) หรือ ต่อมใต้สมอง
              อยู่บริเวณใต้สมองหรือฐานของกะโหลกศีรษะด้านซ้ายบริเวณขมับมีลักษณะกลมขนาดเท่าถั่วลันเตาขนาด 5 – 10 มม. หนักประมาณ 0.5 กรัม ต่อมนี้แบ่งออกเป็น 2 lobe คือ 
              1.1 ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior lobe) ผลิตฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต ถ้าต่อมนี้ผลิตฮอร์โมนมากไปร่างกายของบุคคลนั้นจะสูงใหญ่ผิดปกติ (Giantism) ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนกว่าคนปกติและความรู้สึกก็น้อยกว่าคนปกติ แต่ถ้าผลิตน้อยทำให้บุคคลผู้นั้นเตี้ยแคระไม่สมประกอบ (Dwarfism) lobe นี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Master gland เพราะนอกจากจะผลิตฮอร์โมนแล้วยังควบคุมต่อมอื่น ๆ ได้อีก เช่น ต่อม Thyroid Gonads Parathyroid Pancreas (ที่ตับ) เป็นต้น 
              1.2 ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior lobe) ผลิตฮอร์โมนที่มีอิทธิพลต่อความดันโลหิตและผลิต Oxytocin ในสตรี เพื่อช่วยให้มดลูกบีบตัวในการคลอดบุตรและกระตุ้นการผลิตน้ำนม นอกจากนี้ยังบีบบังคับการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบการเผาผลาญไขมันและควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะให้มีจำนวนพอเหมาะ

     

     

     

    อยากได้รูปทั้ง 4 ต่อมส่ง mail หาครูจะส่งให้
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×