ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องทำงานแสนสกปรกรกรุงรัง

    ลำดับตอนที่ #1 : [แก้ภาษา]ผลไม้ไทย

    • อัปเดตล่าสุด 22 ธ.ค. 52


    มังคุด

    เป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบเขตร้อนชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่หมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะ แพร่กระจายพันธุ์ไปสู่หมู่เกาะอินดีสตะวันตกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24 แล้วจึงไปสู่ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส ปานามา เอกวาดอร์ ไปจนถึงฮาวายประเทศไทยมีการปลูกมังคุดมานานแล้วเช่นกัน เพราะมีกล่าวถึงในพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในสมัยรัชกาลที่ 1
    เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นสูง 7-25 เมตร ผลแก่เต็มที่มีสีม่วงแดง ยางสีเหลือง ใบเดี่ยวรูปรี แข็งและเหนียว ผิวใบมัน ดอกออกเป็นคู่ที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลืองติดอยู่จนเป็นผล ผลมีเปลือกนอกค่อนข้างแข็ง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-6 เซนติเมตร เนื้อในมีสีขาวฉ่ำน้ำ เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 เซนติเมตร อาจมีเมล็ดอยู่ในเนื้อผลได้ ขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของผล จำนวนกลีบของเนื้อจะเท่ากับจำนวนกลีบดอกที่อยู่ด้านล่างของเปลือก ผลมังคุดมีรสชาติหวานอมเปรี้ยวเหมือนสตรอว์เบอรี่ที่ยังไม่สุกหรือส้มที่มีรสหวาน เมล็ดไม่สามารถใช้รับประทานได้
    มังคุดเป็นผลไม้จากเอเชียที่ได้รับความนิยมมาก มังคุดได้รับขนานนามว่าเป็น "ราชินีของผลไม้" อาจเป็นเพราะด้วยลักษณะภายนอกของผลที่มีกลีบเลี้ยงติด อยู่ที่หัวขั้วของผลคล้ายมงกุฎของพระราชินีส่วนเนื้อในก็มีสีขาวสะอาด มีรสชาติที่แสนหวาน อร่อยอย่างยากที่จะหาผลไม้อื่นมาเทียบได้[ ปัจจุบันมีการเพาะปลูกและขายบนเกาะบางเกาะในหมู่เกาะฮาวาย ต้นมังคุดต้องปลูกในสภาพอากาศอบอุ่น หากอุณหภูมิลดลงต่ำกว่า 4 °C จะทำให้ต้นมังคุดตายได้
    การใช้ประโยชน์
    มีการนำมังคุดมาประกอบอาหารบ้าง แต่ไม่มากนัก เช่น มังคุดลอยแก้ว เปลือกของมังคุดมีสารให้รสฝาด คือแทนนิน แซนโทน (โดยเฉพาะแมงโกสติน) แทนนินมีฤทธิ์ฝาดสมาน ทำให้แผลหายเร็ว แมงโกสตินช่วยลดอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองได้ดี
    ในทางยาสมุนไพร ใช้เปลือกมังคุดตากแห้งต้มกับน้ำหรือย่างไฟ ฝนกับน้ำปูนใส แก้ท้องเสีย เปลือกแห้งฝนกับน้ำปูนใส ใช้รักษาอาการน้ำกัดเท้า แผลเปื่อย เปลือกมังคุด มีสารป้องกันเชื้อราเหมาะแก่การหมักปุ๋ย

    ขนุน
    • ขนุนไม่ได้เป็นผลไม้พื้นเมืองของไทยแต่ก็ไม่ปรากฎหลักฐานใดที่จะอ้างอิงได้ว่าใครนำขนุนเข้าปลูกเมื่อไหร่หรืออย่างไรแต่เดิมดินแดนสยามก็มีขนุนมาตั้งแต่ครั้งสมัยพ่อขุนรามคำแหงดังที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกว่า "ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้คำว่า "ลาง" เป็นภาษาไทใหญ่ หมายถึง "ขนุน" ครั้นล่วงถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ปรากฎว่าได้กล่าวไว้ในจดหมายเหตุของวิละภาเคทะระ เรื่อง "คณะฑูตลังกามาประเทศสยาม" ว่าคนสายามได้มีการในสิ่งของต้อนรับ หนึ่งในนั้นมีขนุน 11 ผลด้วย
    • คนไทยนิยมปลูกขนุนไว้ตามบ้าน เพราะเชื่อว่า "ขนุน" เป็นนามมงคลปลูกไว้ในบ้านไหน ก็จะให้ความเป็นสิริมงคลทำให้บ้านนั้นได้รับการเกื้อกูลหนุนเนื่องให้รุ่งเรืองในชีวิตและอาชีพการงาน
    • ขนุนเป็นไม้ยืนต้นเนื้อแข็ง ตะกูลเดียวกับต้นสาเกลำต้นใหญ่ มียางขาวทั้งต้นใบออกแบบสลับ รูปร่างกลมรีใบสีเขียวเข้มเรียบเป็นมัน เนื้อใบเหนียวและหนาดอกออกเป็นช่อสีเขียว ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกันช่อดอกตัวผู้ออกบริเวณปลายกิ่งหรือออกใบ เป็นแท่งยาว ช่อดอกตัวเมียเป็นแท่งกลมยาวออกตามลำต้นหรือกิ่งก้านใหญ่ ขนุนให้ผลดก ต้นที่สมบูรณ์สามารถให้ผลได้เต็มที่มากถึง 200-300 ผล ผลขนุนเติบโตมาจากดอกเล็ก ๆ นับร้อยนับพันที่ผสานกันเมื่อติดผลจำนวนนับร้อยเป็นยวงหุ้มเมล็ด (ยวงคือเนื้อขนุนส่วนที่นำมากิน)มีซังเป็นเส้น ๆ รองรับ เกาะเรียงกันบนแกนขนุน มีเปลือกหุ้มยางทั้งหมอจึงทำให้ดูคล้ายเป็นผลเดียวกัน ลักษณะเดียวกับสับปะรด ผลดิบเปลือกสีเขียวสดมีหนามทู่เล็ก ๆ รอบผล ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 20-35 ซม. หากกรีดเปลือกจะมียางเหนียว สีขาวไหลเยิ้มออกมาเมื่อขนุนแก่เปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนอมเหลืองหนามบนผิวเปลือกจะแบนป้านออกภายในผลจะมีซังขนุนเป็นเส้น ๆ หุ้มยวงสีเหลืองไว้ภายในยวงมีเมล็ดกลมรี สีเครีม เปลือกหุ้มเมล็ดบาง
    • ขนุนมีหลายพันธุ์หลายสีหลายเนื้อและหลายระดับความหวานซังขนุนบางผลจะหวานหอมเช่นเดียวกับยวงนำมากินได้เช่นเดียวกับเนื้อขนุนแต่ซังขนุนส่วนมากมักเหนียว รสหวานจือซืด จึงถูกทิ้ง ขนุนมีหลายขนาดขนาดใหญ่หนักถึง 40 กิโลกรับนับเป็นผลไม้ผลใหญ่ที่สุดในบรรดาผลไม้ทั้งหลายทั้งปวงในโลก ขนุนมีมากมายหลายพันธุ์เช่น พันธุ์ขุนวิชาญ อีถ่อ แม่น้อยทะวาย และละแม เป็นต้น
    • ขนุนที่นิยมปลูกมีดังต่อไปนี้
      • พันธุ์ตาบ๊วย เนื้อสีจำปาออกส้มเหลือง ผลขนาดใหญ่เนื้อหนา หวานกรอบ
      • พันธุ์ฟ้าถล่ม ขนาดใหญ่หนักถึง 20-30 กิโลกรับ ลูกค่อนข้างกลม เนื้อหนาสีเหลืองทอง รสหวานสนิท
      • พันธุ์ทองสุดใจ ผลขนาดใหญ่ มีน้ำหนักถึง 25 กิโลกรัม รูปร่างยาว เนื้อสีเหลืองแห้งกรอบ รสหวานปานกลางไม่หวานจัดเท่าฟ้าถล่ม
      • พันธุ์จำปากรอบ เนื้อสีจำปา เนื้อไม่หนาเท่าไร รสหวานอมเปรี้ยวนิด ๆผลมีขนาดกลาง น้ำหนัก 15-18 กิโลกรัม
    • ขนุนออกดอกตลอดปี จึงมีขนุนสุกให้กินตลอดปีเช่นกัน ในช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคมเป็นฤดูกาลที่ขนุนสุกมากที่สุด แหล่งปลูกอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี ชลบุรี ระยองนครปฐม นครสวรรค์ พิษณุโลก และอุตรดิตถ์
    • เนื้อขนุนสุกเป็นเครื่องชูกลิ่นชูรสขนมหวานอื่น ๆ ได้ดี เช่นฉีกใส่ไอศกรีมกะทิสด ลอดช่องสิงคโปร์ รวมมิตรหวานเย็น และใส่ในน้ำเชื่อมจะได้ทั้งกลิ่นและรสชาติอันเป็นเสน่ห์เฉพาะตัวของขนุนนอกจากนี้คนโบราณยังเอาขนุนไม่ทำเป็นหน้าข้าวเหนียวมุนเพือชูกลิ่นหอมมีรสหวานจัดเข้ากันได้ดีกับความมันเหนียวของข้าวเหนียวมูน
    • ขนุนสุกนำไปอบแห้งเป็นขนุนแห้งพร้อมกินเป็นของว่างคนอินโดนีเซียใช้ขนุนแห้งมารับแขกต่างชาติอย่างภาคภูมิใจในประเทศไทยมีขนุนอบแห้งบรรจุถุงออกมาขายอยุ่บ้างแต่ไม่แพร่หลาย ส่วนขนุนอ่อนนำมาใช้เป็นผักปรุงอาหารได้
    คุณค่าอาหารและสรรพคุณ
    ขนุน เป็นยาระบายอ่อน ๆ บำรุงกำลัง แก้กระหายน้ำ ช่วยให้หายเมาช่วยในการย่อยอาหาร ขนุนให้พลังงานสูง เพราะมีคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ยังมีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตาอีกด้วย ส่วน เมล็ด ช่วยขับน้ำนมในสตรีหลังคลอดและบำรุงร่างกาย แก่นหรือ กรัก ของต้นขนุนนำไปต้มน้ำ ทำเป็นสีย้อมฝาดใช้ย้อมสบงจีวรพระ
     
     
     
     
     
     
    ทุเรียน
     เป็นไม้ผลในวงศ์ฝ้าย (Malvaceae) ในสกุลทุเรียน (Durio)[1][2] (ถึงแม้ว่านักอนุกรมวิธานบางคนจัดให้อยู่ในวงศ์ทุเรียน (Durionaceae) ก็ตาม[2]) เป็นผลไม้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้[3][4][5] ผลทุเรียนมีขนาดใหญ่และมีหนามแข็งปกคลุมทั่วเปลือก อาจมีขนาดยาวถึง 30 ซม. และอาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวถึง 15 ซม. โดยทั่วไปมีน้ำหนัก 1-3 กิโลกรัม ผลมีรูปรีถึงกลม เปลือกมีสีเขียวถึงน้ำตาล เนื้อในมีสีเหลืองซีดถึงแดง แตกต่างกันไปตามสปีซีส์
    ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีกลิ่นเฉพาะตัว ซึ่งเป็นส่วนผสมของสารระเหยที่ประกอบไปด้วย เอสเทอร์ คีโตน และสารประกอบกำมะถัน บางคนบอกว่าทุเรียนมีกลิ่นหอม ในขณะที่บางคนบอกว่ามีกลิ่นเหม็นรุนแรงจนถึงขั้นสะอิดสะเอียน ทำให้มีการห้ามนำทุเรียนเข้ามาในโรงแรมและการขนส่งสาธารณะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง ทั้งยังอุดมไปด้วยกำมะถันและคอเลสเตอรอล จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
    ทุเรียนเป็นพืชพื้นเมืองของบรูไน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย และเป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกมาประมาณ 600 ปีมาแล้ว ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ ได้พรรณนาถึงทุเรียนว่า "เนื้อในมันเหมือนคัสตาร์ดอย่างมาก รสชาติคล้ายอัลมอนด์" เนื้อในของทุเรียนกินได้หลากหลายไม่ว่าจะห่าม หรือสุกงอม ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการนำทุเรียนมาทำอาหารได้หลายอย่าง ทั้งเป็นอาหารคาวและอาหารหวาน แม้แต่เมล็ดก็ยังรับประทานได้เมื่อทำให้สุก
    ทุเรียนมีมากกว่า 30 ชนิด มีอย่างน้อย 9 ชนิดที่รับประทานได้ แต่มีเพียง Durio zibethinus เพียงชนิดเดียวเท่านั้น ที่ได้รับความนิยมทั่วโลก จนมีตลาดเป็นสากล ในขณะทุเรียนชนิดที่เหลือมีขายแค่ในท้องถิ่นเท่านั้น ทุเรียนมีสายพันธุ์ประมาณ 100 สายพันธุ์ให้ผู้บริโภคเลือกรับประทาน นอกจากนี้ยังมีราคาสูงอีกด้วย ส่วนในประเทศไทยพบทุเรียนอยู่ 5 ชนิด
     
    แตงโม
    ลักษณะทั่วไปของแตงโม
     

             
    ผลที่ข้างในสีสวยสดจับตาน่ากินชนิดนี้เป็นที่โปรดปรานของคนทั่วไปแค่ผ่าครึ่งก็พบกับความชุ่มฉ่ำ หอมหวาน เย็นชื่นใจ ใคร ๆ ก็ชอบหากลองกินแตงโมแบบไม่แช่เย็นก็จะพบกับกลิ่นที่หอมมากกว่า หรือจะลองคว้านเนื้อแดง ๆเอามาใส่เครื่องปั่น ใส่น้ำแข็งทุบ เติมน้ำเชื่อมนิดหน่อย แล้วเปิดเครื่องครู่เดียวแตงโมปั่นเย็น ๆ แก้ร้อนก็มาวางอยู่ตรงหน้า กินเพลินไปทีเดียวหรือจะใช้แตงโมเหลืองไร้เมล็ดก็สวยน่ารับประทานมากถึงมากที่สุด
    คุณค่าทางอาหาร
             
    คนไทยเรากินแตงโมมานาน กินสดเฉย ๆ ดูธรรมดาจึงพลิกแพลงมาเป็นปลาแห้งแตงโม ปัจจุบันไม่ค่อยมีคนทำรับประทานปลาแห้งที่ว่าต้องปรุงกันด้วยน้ำตาลและหอมเจียวเหมือนที่กินกับข้าวเหนียววิธีกินก็คือตัดแตงโมเป็นชิ้นพอคำจิ้มกับปลาแห้ง แล้วเอาเช้าปากก็จะได้รสกลมกล่อมของความหวาน จากน้ำแตงโมที่แหลมขึ้นด้วยน้ำตาล ความเค็มนิด ๆของปลาแห้ง และหอมเจียวที่หอมมันค่อย ๆ เคี้ยว อย่าเพิ่งน้ำลายไหลไปเสียก่อน เพราะแตงโมยังทำอาหารได้อีกหลายสูตรทั้งลูกสุกลูกอ่อนกินได้ทั้งนั้น
    การปลูกและดูแล
             
    แตงโมนิยมปลูกเป็นพืชไร่มากกว่าปลูกไว้กินตามบ้าน แต่ถ้าจะปลูกในบ้านก็คงได้เหมือนกัน ที่บ้านผู้เขียนพอมีที่อยู่เล็กน้อยเอาเมล็ดแตงโมไปทิ้งโดยไม่ตั้งใจปลูกแต่ไม่นานนักก็มีเถาอะไรบางอย่างเลื้อยทอดไปตามดิน จึงเอาไม้ไผ่ไปปักให้เลื้อยพันสักพักเธอก็มีดอกและออกลูกมาเป็นแตงโม คนเขียนก็เก็บเอามากินอร่อยไปถึงลูกจะเล็กกว่าที่เขาขาย ๆ กัน เพราะไม่ค่ยอได้เติมปุ๋ย แต่ก็มาจากหลังบ้านเราเองจึงกินได้สบายใจ เถาแตงก็ไม่ได้ใหญ่โตมากมาย มีพื้นที่เล็ก ๆแตงโมก็แทรกตัวเติบโตขึ้นจนมีลูกได้ก็แล้วกัน
              ใครหลายคนอาจไม่เคยเห็นเถาแตงโมเลยเถาแตงโมนั้นพอใจที่จะทอดเลื้อยไปตามพื้นมากกว่าจะขึ้นบนค้างใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกันใบมีรอยหยักเว้าแบบนิ้วมือ ดอกเป็นดอกเดี่ยว ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกันขยายพันธุ์แตงโมด้วยเมล็ดว่ากันว่าหากปลูกในที่ดอนดินดี ๆ น้ำน้อย ๆ แล้วละก็แตงที่ได้จะสีแดงสดรสหวานกว่าธรรมดา

             
    แตงโมมักถูกรบกวนด้วยแมลงเกษตรกรบางรายจึงมักพ่นยาฆ่าแมลงอย่างหนักดังนั้นเวลาซื้อมารับประทานก็ต้องล้างเปลือกนอกให้สะอาดก่อน
              สมัยเมื่อผู้เขียนเป็นเด็กเล็กคุ้นเคยอยู่กับแตงโมเปลือกเขียวเข้มลูกกลมเปลือกหนาเหมือนลูกระเบิดสมัยนี้เห็นมีแต่แตงจินตหราลูกเรียว ๆ มีลาย คล้าย ๆของเดิมก็เห็นมีแต่แตงตอร์ปิโดที่มีลูกเขียวเข้ม และก็เปลือกหนาเหมือนกันต่างแต่รูปร่างที่เรียวยาว ไม่กลมเหมือนที่คนเขียนคุ้นเคยสมัยเป็นเด็ก

             
    ว่าด้วยเรื่องกินแตงโมต่อ คราวนี้ว่ากันด้วยเรื่องคาว ๆ (ของอาหาร) บ้าง ลูกอ่อนของแตงโมนั้นเนื้อนิ่มขนาดเท่ากับกำปั้นผู้ใหญ่เอามาหั่นใส่แกงเลียงหรือแกงส้มก็ได้อร่อยคนละรสกับลูกใหญ่หั่นแล้วต้มราดกะทิจิ้มน้ำพริกก็ใช่ย่อย เปลือกแตงโมหนา ๆพันธุ์ดั้งเดิม กินเนื้อในแดงฉ่ำหมดแล้วไม่ทิ้งแต่ฝานเอาผิวข้างนอกออกไปเหลือแต่เนื้อเปลือกขาว ๆ หั่นพอคำทำแกงส้มเสียเลย
              เม็ดกวยจี๊ที่เราแทะจนลืมบ้านลืมเมืองก็มาจากแตงโมแต่เป็นแตงพันธุ์เฉพาะที่จะเก็บเอาเมล็ดเท่านั้นเนื้อแตงพันธุ์นี้จึงน้อยและสีออกชมพู ๆ
    ประโยชน์ของแตงโม

             
    สารอาหารที่ค่อนข้างน้อยคือข้อด้อยของแตงโม แต่รสเย็นของแตงโมก็ช่วยได้ในเรื่องระบบขับถ่ายและระบบย่อยอาหารแถมผลไม้ในใจของหลายคนนี้ยังมีคุณค่าทางสมุนไพร อาทิ รากมีน้ำยางใช้กินแก้อาหารตกเลือดหลังการแท้ง ใบใช้ชงเป็นยาลดไข้ผลที่แสนอร่อยนั้นมีคุณสมบัตเป็นยาเย็น ช่วยระบาย ขับปัสสาวะ ช่วยย่อย แก้เบาหวาน และดีซ่าน
              เมล็ดมีโปรตีนสูง ช่วยบำรุงร่างกาย ปอด สมองมิน่าเล่าเวลามีเม็ดกวยจี๊อยู่ตรงหน้า เราจึงมีสมาธิดีเลิศกินเสร็จก็ปลอดโปร่งบอกไม่ถูก
              ลองหาเมล็ดแตงโมมาขยายพันธุ์ในบ้านของคุณดูบ้าง ใช้พื้นที่ไม่มากไม่ต้องทำค้าง ไม่ต้องเสียงกับข่าวลือ เรื่องแตงโมฉีดสี ไม่ต้องพ่นยาฆ่าแมลงเท่านี้ก็ได้แตงโมหวานฉ่ำที่ทำให้ (ปลูก) มากับมือ
     
     
     
     
    ส้มโอ

     เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางในตระกูลเดียวกับส้ม ใบเป็นแผ่นหนาสีเขียวเข้ม โคนก้านใบมีหูใบแผ่ออกเป็นรูปหัวใจ ดอกเดี่ยว สีขาว กลีบดอกมี 4 กลีบ ผิวของเปลือกผลมีต่อมน้ำมันกระจายทั่วไป ผลส้มโอมีเปลือกหนาทำให้สามารถเก็บรักษาได้นาน มีรสหวาน มีวิตามินซีมาก
    ส้มโอจัดว่าเป็นไม้ผลเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของไทย นิยมปลูกทางภาคตะวันตกของประเทศ
    ความเชื่อ
    ในพิธีไหว้พระจันทร์ของชาวจีน ส้มโอถือเป็นเครื่องสังเวยที่สำคัญ เนื่องจากมีความเชื่อว่าหลังจากไหว้ ถ้าผ่าผลส้มโอออกแล้วกลางลูกแห้ง ไม่มีน้ำจะเป็นเครื่องหมายของโชคดี สตรีที่ยังไม่แต่งงานจะนำส่วนของส้มโอมาทาหน้า เชื่อว่าทำให้ผิวพรรณผุดผ่อง และถ้ากินส้มโอในคืนนั้นจะทำให้ตาเป็นประกายสวยงาม
     
     
    มะพร้าว

    เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่งที่เรารู้จักกันดี อยู่ในตระกูลปาล์ม เราใช้ประโยชน์จากมะพร้าวได้หลายทาง เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดและคั้นทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ ฯลฯ นอกจากนี้มะพร้าวจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล

    ลักษณะทั่วไป
    มะพร้าว เป็นพืชยืนต้น ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ผลประกอบด้วยเอพิคาร์ป (epicarp) คือเปลือกนอก ถัดไปข้างในจะเป็นมีโซคาร์ป (mesocarp) หรือใยมะพร้าว ถัดไปข้างในเป็นส่วนเอนโดคาร์ป (endocarp) หรือกะลามะพร้าว ซึ่งจะมีรูสีคล้ำอยู่ 3 รู สำหรับงอก ถัดจากส่วนเอนโดคาร์ปเข้าไปจะเป็นส่วนเอนโดสเปิร์ม หรือที่เราเรียกว่าเนื้อมะพร้าว ภายในมะพร้าวจะมีน้ำมะพร้าว ซึ่งเมื่อมะพร้าวแก่ เอนโดสเปิร์มก็จะดูดเอาน้ำมะพร้าวไปหมด
    ขณะที่มะพร้าวยังอ่อน ชั้นเอนโดสเปิร์ม (เนื้อมะพร้าว) ภายในผลมีลักษณะบางและอ่อนนุ่ม ภายในมีน้ำมะพร้าว ซึ่งในระยะนี้เรามักสอยเอามะพร้าวลงมารับประทานน้ำและเนื้อ เมื่อมะพร้าวแก่ ซึ่งสังเกตได้จากการที่เปลือกนอกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ชั้นเอนโดสเปิร์มก็จะหนาและแข็งขึ้น จนในที่สุดมะพร้าวก็หล่นลงจากต้น
    ประโยชน์
    มะพร้าวสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น
    • ในผลมะพร้าวอ่อนจะมีน้ำอยู่ภายใน เรียกว่าน้ำมะพร้าว ใช้เป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ได้ เนื่องจากอุดมไปด้วยโพแทสเซียม นอกจากนี้น้ำมะพร้าวยังมีคุณสมบัติปลอดเชื้อโรค และเป็นสารละลายไอโซโทนิก (สารละลายที่มีความเข้มข้นเท่ากับภายในเซลล์ ซึ่งไม่ทำให้เซลล์เสียรูปทรง) ซึ่งด้วยเหตุนี้จึงสามารถนำน้ำมะพร้าวไปใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดเวน (หลอดเลือดดำ) ในผู้ป่วยที่มีอาการขาดน้ำหรือปริมาณเลือดลดผิดปกติได้
    • น้ำมะพร้าวสามารถนำไปทำวุ้นมะพร้าวได้ โดยการเจือกรดอ่อนเล็กน้อยลงในน้ำมะพร้าว
    • เนื้อในของมะพร้าวแก่ นำไปทำกะทิได้ โดยการขูดเนื้อในเป็นเศษเล็ก ๆ แล้วบีบเอาน้ำกะทิออก
    • กากที่เหลือจากการคั้นกะทิ ยังสามารถนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ได้
    • ยอดอ่อนของมะพร้าว หรือเรียกอีกชื่อว่า หัวใจมะพร้าว (coconut’s heart) สามารถนำไปใช้ทำอาหารได้ ซึ่งยอดอ่อนมีราคาแพงมาก เพราะการเก็บยอดอ่อนทำให้ต้นมะพร้าวตาย ด้วยเหตุนี้จึงมักเรียกยำยอดอ่อนมะพร้าวว่า 'สลัดเจ้าสัว' (millionaire's salad)
    • ใยมะพร้าว นำไปใช้ยัดฟูก ทำเสื่อ หรือนำไปใช้ในการเกษตร
    • น้ำมันมะพร้าว ได้จากการบีบหรือต้มกากมะพร้าวบด นำไปใช้ในการปรุงอาหารหรือนำไปทำเครื่องสำอางก็ได้ และในปัจจุบันยังมีการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันมะพร้าวอีกด้วย
    • กะลามะพร้าว นำไปใช้ทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ กระดุม ซออู้ ฯลฯ
    • ก้านใบ หรือทางมะพร้าว ใช้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว
    • จั่นมะพร้าว (ช่อดอกมะพร้าว) ให้น้ำตาล
    • จาวมะพร้าวใช้นำมาเป็นอาหารได้
    • น้ำมะพร้าวและเนื้อมะพร้าวใช้ถ่ายพยาธิได้
    • เปลือกหุ้มรากมะพร้าวใช้รักษาโรคคอตีบได้
    • น้ำมันจากกะลามะพร้าวใช้รักษาโรคผิวหนังได้
     
     
     
    ส้ม

     เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Citrus วงศ์ Rutaceae มีด้วยกันนับร้อยชนิด เติบโตกระจายอยู่ทั่วโลก โดยมากจะมีน้ำมันหอมระเหยในใบ ดอก และผล และมีกลิ่นฉุน หากนำใบขึ้นส่องกับแสงแดด จะเห็นจุดเล็กๆ เต็มไปหมด ซึ่งจุดเหล่านั้นก็คือแหล่งน้ำมันนั่นเอง ส้มหลายชนิดรับประทานได้ ผลมีรสเปรี้ยวหรือหวาน มักจะมีแคลเซียม โปแทสเซียม ไวตามินเอ และไวตามินซี มากเป็นพิเศษ ถ้าผลไม้จำพวกนี้มี มะ อยู่หน้า ต้องตัดคำ ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็น มะนาว มะกรูด
    อนุกรมวิธานของส้มนั้น มีความยุ่งยากและสับสนมาช้านาน และเป็นที่ถกเถียงในการจำแนกและตั้งชื่อชนิด (สปีชีส์) ของส้มอยู่เสมอ และการจำแนกกลุ่มยังขึ้นกับนักอนุกรมวิธานด้วย เช่น สวิงเกิล (Swingle) จำแนกได้ 16 ชนิด, ทานาคา (Tanaka) จำแนกได้ 162 ชนิด และฮอจสัน (Hodgson) จำแนก 36 ชนิด ขณะที่บางท่านเสนอว่าส้มทั้งหลายจัดเป็นพืชชนิดเดียวกัน ที่สามารถผสมพันธุ์ระหว่างกันได้ ขณะเดียวกัน การจำแนกอย่างละเอียดของทานาคา ก็สร้างความสำเร็จได้ เนื่องจากพบในภายหลังว่า บางชนิดเป็นเพียงการผสมข้ามสายพันธุ์เท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกหากเราจะพบชื่อวิทยาศาสตร์ของส้มหลายชนิดที่แตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อความแน่นอน จึงมักจะระบุถึงนักอนุกรมวิธานผู้จำแนกเอาไว้ด้วยพืชตระกูลส้ม
    ปัจจุบันนี้ มีการใช้เทคนิคในการระบุเอกลักษณ์ด้วยดีเอ็นเอ (DNA) และมีการเสนอว่าอาจจะมีชนิดพื้นฐานของส้มอย่างกว้างๆ 4 ชนิด ด้วยกัน คือ
    • C. halimii - พบทางภาคใต้ของไทย และตะวันตกของมาเลเซีย อาจเป็นชนิดต้นกำเนิดของส้ม Poncirus และ Fortunella
    • C. medica - ส้มโอมือ หรือส้มมือ อาจเป็นต้นกำเนิดของมะนาว หรือเลมอน (lemon)
    • C. reticulata - อาจเป็นต้นกำเนิดของส้มจำพวกส้มเขียวหวานทั้งหลาย
    • C. maxima (หรือ C. grandis) - ส้มโอ น่าจะเป็นต้นกำเนิดของส้มในปัจจุบันบางชนิดเช่นกัน
     
     
     
    มะปราง

     เป็นชื่อของผลไม้เมืองร้อนชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Anacardiaceae (มันอยู่ในวงศ์เดียวกับ มะม่วง มะกอก ฯลฯ ) ลำต้นมะปรางมีลักษณะที่ค่อนข้างแหลมและก็มีใบที่เยอะมากโดยใบของมันนั้นจะไม่มีการผลัดใบนอกจากนี้มันยังมีกิ่งก้านสาขาที่แตกแขนงจนทึบไปหมด ส่วนรากแก้วนั้นจะมีลักษณะที่ค่อนข้างแข็งแรงมากด้วยเหตุนี้มันจึงสามารถทนความแห้งแล้งได้ดี ดอกของมะปรางจะออกเป็นช่อและก็มีสีเหลืองเมื่อบาน ผลของมะปรางจะมีขนาดพอๆกับไข่ของนกพิราบและก็มีสีเหลืองหรือสีเหลืองอมส้มเวลาสุก
     
     
     
     
    เงาะ

    เงาะเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสม อยู่ในช่วง 25 30° C ความชื้นสัมพัทธ์สูงประมาณ 75 85 % ดินปลูกที่เหมาะสมควรมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (ค่า pH) ของดินประมาณ 5.5 6.5 และที่สำคัญควรเลือกแหล่งปลูกที่มีน้ำเพียงพอตลอดปี เงาะเป็นไม้ผลที่มีระบบรากหาอาหารลึกประมาณ 60 90 เซนติเมตรจากผิวดินจึงต้องการสภาพแล้งก่อนออกดอกติดต่อกัน ประมาณ 21 30 วัน เมื่อต้นเงาะผ่านสภาพแล้งและมีการจัดการน้ำอย่างเหมาะสมเงาะจะออกดอก ช่วงพัฒนาการของดอก (ผลิตดอก ดอกแรกเริ่มบาน) ประมาณ 10 12 วัน ดอกเงาะจะทยอยบานจากโคนช่อไปหาปลายช่อ ใช้เวลาประมาณ 25 30 วัน จึงจะบานหมดช่อ อกเงาะมี 2 ชนิด คือ ดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศ ต้นที่มีดอกตัวผู้จะไม่ติดผล ส่วนต้นที่มีดอกสมบูรณ์เพศนั้นเกสรตัวผู้ไม่ค่อยแข็งแรง ต้องปลูกต้นตัวผู้แซมในสวนเพื่อเพิ่มละอองเกสรหรือฉีดพ่นฮอร์โมนพืชเพื่อช่วยให้เกสรตัวผู้แข็งแรงขึ้น
     
     
     
    ชมพู่

     เป็นผลไม้ที่คนไทยเรียกเพี้ยนมาจากคำภาษามลายูว่า "จัมบู" หรือ "จามู"อินเดียกเรียกว่า gulab-jaman ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า pomme-rose ในสเปนเรียกว่า poma-rose มีชื่อสามัญว่า Rose apple เพราะมีกลิ่นหอมคล้ายกุหลาบชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Syzygium jambos (L.) Alston ชมพู่มีถิ่นกำเนิดแถบมลายูมีหลากหลายสายพันธุ์ชื่อที่เรียกในแต่ละท้องถิ่นล้วนเพี้ยนมาจากคำว่า "จัมบู"ของมลายูทั้งสิ้น บางตำราระบุว่าแหล่งดั้งเดิมของชมพู่อยู่ในประเทศอินเดียเพราะเป็นแหล่งรวมของพันธุ์ชมพู่หลากหลาย
    • ชมพู่เป็นไม้ต้นทรงพุ่มขนาดกลาง ใบรูปหอก เรียบหนาเป็นมันดอกสีขาวอมเหลืองออกเป็นช่อ มีกลิ่นหอมผลรูปทรงคล้ายระฆังคว่ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 4-6 ซม. ยาว 7-9 ซม. แต่ละพันธุ์มีขนาด ความยาว และสีสันแตกต่างกัน มีทั้งสีแดง สีเขียว หรือเขียวมีแดงแทรก เนื้อชมพู่ฉ่ำน้ำรสชาติมีตั้งแต่จืดกระทั่งหวานจัด มีกลิ่นหอม บางพันธุ์มีเมล็ด บางพันธุ์มีเฉพาะไส้จำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ได้ดังนี้
      • Syzygium jambos  เป็นพันธุ์ที่ฝรั่งเรียกว่า rose apple ตัวอย่างเช่นชมพู่น้ำดอกไม้ ชมพู่พันธุ์นี้แม้จะมีกลิ่นหอมแต่รสจืดซืด
      • Syzygium malaccensis บางที่เรียกพันธุ์มาเลย์ ผลทรงกลมรีเล็กน้อย กลิ่นหอมมีรสหวานอ่อน ๆ เช่น ชมพู่ สาแหรก ชมพู่มะเหมี่ยว เป็นต้น
      • Syzygium samaramgense มักเรียกว่า พันธุ์ขวา หรือพันธุ์อินโดนีเซีย
      • Syzygium aqueum มีชื่อสามัญว่า water apple แทนที่จะเป็น rose apple  เพราะพันธุ์นี้มีน้ำมาก กรอบและรสหอมหวาน ชมพูไทยหลายชนิดอยู่ในกลุ่มนี้
    • ชมพู่พันธุ์พื้นเมืองได้แก่                                                                                                
      • ชมพู่มะเหมี่ยว ผลสีแดงเข้ม เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ มีเมล็ดขนาดใหญ่ รสหวานอมเปรี้ยวกลิ่นหอมคล้ายดอกกุหลาบ                  
      • ชมพู่สาแหรก ลักษณะภายนอกคล้ายชมพู่มะเหมี่ยวแต่ขนาดผลเล็กกว่าบริเวณปลายกลีบยื่นออกมาคล้ายกับปากนำ เนื้อออกสีขาวขุ่น รสหวานฉ่ำน้ำ
      • ชมพู่แก้วแหม่ม ผลสีสีขาวออกชพุ เนื้อนุ่ม มีไส้เป็นปุย รสจือ มีกลิ่นหอม
      • ชมพู่พลาสติก หรือชมพู่แก้ว ขนาดเล็ก รูรงแป้น ผิวสีแดงสด เนิ้อน้ยอ รสเปรี้ยวมักปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับตามบ้าน
      • ชมพู่น้ำดอกไม้ เป็นชมพู่ผลกลม ภายในผลกลวง ที่ก้นผลมีกลีบ มองดูคล้ายดอกไม้ผลดิบสีเขียวเข้ม ผลสุกสีเขียวอ่อน มีกลิ่นหอม อันเป็นที่มาของชื่อน้ำดอกไม้
    • ชมพู่ที่ปลูกเพื่อการค้า ได้แก่
      • ชมพู่เพชรสุวรรณ ผิวสีเขียวอมแดง เนื้อหนากรอบ ฉ่ำน้ำ รสหวาน
      • ชมพู่เพชรสายรุ้ง เป็นพันธุ์ที่ปลูกในจังหวัดเพชรบุรีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2378 เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างชมพุ่กะหลาป่าของอินโดนีเซียกับชมพู่แดงของไทยเป็นชมพู่ที่มีรสหวานกรอบ และราคาแพงที่สุดในบรรดาชมพู่ด้วยกันรูปทรงคล้ายระฆังคว่ำตรงกลางผลป่องเล็กน้อย ผิวเปลือกสีเขียว เวลาแก่จัดจะเห็นเส้นริ้วสีแดงที่ผิวชัดเจนเนื้อแข็งกรอบ รสหวานมากกว่าชมพู่ทุกชนิด
      • ชมพู่ทับทิมจันทน์ ผลยาวรี ตรงกลางคอด บริเวณปลายผลป่อง ผิวสีแดง เนื้อกรอบฉ่ำน้ำ รสหวาน กลิ่นหอม ไม่มีเมล็ด
      • ชมพู่ทูลเกล้า เป็นชมพู่สีเขียวอ่อน รูปกรวยแคบ ผลยาวรีทรงสูงกว่าพันธุ์อื่น ๆขั้วผลแคบกลมมน ก้นผลกว้าง พองออกเล็กน้อย ผิวเรียบ สีเขียวอ่อนเนื้อในสีขาวออกเขียว เนื้อหนา กรอบ ฉ่ำน้ำ มีกลิ่นหอม ไม่มีเมล็ด
      • ชมพุ่เพชรน้ำผึ้ง ผลยาวรี รูปกรวยแคบ ขั้วผลแคบกลมมน ก้นผลกว้าง พองออกเล็กน้อยเปลือกหนา สีแดงเข้ม เนื้อสีขาว กรอบ รสหวานอมฝาดเล็กน้อย
     
    • นอกจากนี้ยังมีพันธุ์อื่น ๆ เช่น ชมพู่เพชรชมพุ ชมพู่เพชรสามพรานและชมพูนัมเบอร์วัน เป็นต้น
    • ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมเป็นฤดูกาลของชมพุ่ที่ออกผลปีละครั้งแต่เดี๋ยวนี้ชาวสวนสามารถทำชมพู่ทะวายออกมาขายในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมและธันวานคมได้แหล่งปลูกสำคัยอยู่ที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และจังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น
    • คนไทยกินชมพู่เป็นผลไม้หากรสหวานดีก็กินสด ๆแต่หากรสอมเปรี้ยวก็จิ้มพริกกับเกลือคนไทยสมัยก่อนใช้ชมพู่จจืดเป็นผักชนิดหนึ่ง
    คุณค่าอาหารและสรรพคุณ
    ชมพู่ เนื้อฉ่ำน้ำ กินแล้วสดชื่น แก้กระหายได้ดี มีวิตามินซีป้องกันโรคหวัดโรคเลือดออกตามไรฟัน มีแคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น เหล็ก เส้นใย วิตามินเอ วิตามินปี1 และวิตามินบีสอง
     
     
     
     
    ละมุด

    เป็นต้นไม้ผลขนาดกลาง ไม่สลัดใบ สูงประมาณ ๑๕-๒๐ เมตรต้นแผ่กิ่งก้านสาขาแข็งแรง กิ่งเหนียวไม่หักง่าย เมื่อต้นยังไม่แก่เปลือกจะเรียบมีสีน้ำ ตาลอ่อน มียางสีขาวอยู่ทั่วทุกส่วนของลำต้นซึ่งยางของละมุดนี้มีประโยชน์สำหรับทำไคเคิลกัม (Chicle gum) หรือชิวอิ่งกัม (Chewing gum) ใช้ทำหมากฝรั่ง เมื่อต้นแก่เปลือก จะแยกแตกออกจากกันใบมีสีเขียวเข้มค่อนข้างแข็ง หนา เรียบ รูปรี ปลายใบแหลมเล็กน้อย ยาว ประมาณ ๑๐-๑๕เซนติเมตร กว้าง ประมาณ ๓-๗ เซนติเมตร ด้านบนใบเป็นมัน ใต้ท้องใบสีเขียวอ่อนดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ เปลือกผลบาง มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อมีทั้งกรอบและนิ่มผลขณะยังดิบอยู่จะมียางสีขาว แต่เมื่อสุกจะไม่มียาง และเนื้อผลจะมีสีน้ำตาลปนแดงเมล็ดมีลักษณะแข็งสีดำเป็นมัน รูปร่างยาวเรียวประมาณ ๔ เซนติเมตร ในผลหนึ่ง ๆมีเมล็ดประมาณ ๒-๖ เมล็ด
     
    ละมุดที่ปลูกกันอยู่ทั่วไป ส่วนใหญ่ใน ประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ 1. ละมุดไทยหรือละมุดสีดา มีลักษณะทรงพุ่มโปร่ง โคนใบเรียวปลายใบมนผลมีขนาดเล็ก อีกชนิดหนึ่งคือ ละมุดฝรั่ง มีอยู่หลายพันธุ์คือ พันธุ์มะกอกเป็นละมุดผลใหญ่ เนื้อนิ่มช้ำง่าย ติดผลไม่ค่อยดก ใบยาวรี แคบ สีเขียวเข้มเป็นมันผลสุกมีสีน้ำตาลอมขาว มีเนื้อผลแข็งและกรอบ พันธุ์ไข่ห่าน ปลายใบยาวรี ปลาย ใบแคบสีเขียวอ่อน ขนาดผลใหญ่ใกล้เคียงกับพันธุ์มะกอกผลสุกเนื้อในค่อนข้างหยาบแต่ไม่แข็งกรอบ พันธุ์กระสวย มีขนาดผลเล็ก รูปร่างยาวรีก้นผลแหลม ผลสุกมีเนื้อสีแดง รสหวาน ให้ผลดก ปัจจุบันไม่นิยมปลูก

     
    และ 2. พันธุ์ฝาชี ผลสุกมีลักษณะคล้ายฝาชี ผิวของผลมีขุย เนื้อผลสุก หยาบ และไม่หวานจึงไม่เป็นที่นิยมปลูก ปัจจุบันนิยมปลูกพันธุ์มะกอกและไข่ห่าน การปลูกและดูแลรักษาการขยายพันธุ์นิยมใช้วิธีตอนกิ่งและเพาะเมล็ด กิ่งตอนจะให้ผลเมื่ออายุครบ 3 ปีส่วนการเพาะเมล็ดให้ผลเมื่ออายุ 6 ปี หลังจากตัดกิ่งตอนจากต้นแม่ควรชำไว้ในถุงเพาะชำ พักไว้ในโรงเรือน 1-2 เดือน ก่อนนำไปปลูกในแปลงระยะปลูกใช้ระยะ 8x8 เมตร หลุมปลูกขนาดกว้างและลึก 30 เซนติเมตร เท่ากันคลุกดินล่างกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า อัตรา 1 ปุ้งกี๋คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วเกลี่ยลงหลุม
     
    ปลูกกิ่งตอนหรือต้นกล้าและกลบดินให้แน่นรองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟตหรือโดโลไมต์ จะทำให้ต้นละมุดเจริญเติบโตได้ดีปักหลักผูกติด กับต้นกันลมพัดโยก รดน้ำพอชุ่ม ถ้าต้องการให้อัตราการตายต่ำควรปลูกในต้นฤดูฝน ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนเป็นต้นไป ครบ 3 ปีกิ่งตอนเริ่มให้ผลผลิต ละมุดออกดอกระหว่างเดือนมิถุนายนจนถึงกรกฎาคมและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในเดือน
    ธันวาคม จนถึงเดือนมกราคม อายุ 3 ปี ให้ผล 100-200 ผลต่อต้น หลังเก็บเกี่ยวผลแล้วควรตัดแต่งกิ่งที่แห้งและเป็นโรค เผาทำลายทิ้งใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้น แบ่งใส่ 2 ครั้งต้นฤดูและปลายฤดูฝน พร้อมปุ๋ยคอกเก่าอีก 1-2 ปุ้งกี๋ ต่อต้นหากฝนไม่ตกต้องรดน้ำตามทันที ปีที่ 4-6 จะให้ 300-500 ผลต่อต้น และปีที่ 7-10 ให้ผล 600-900 ผลต่อต้น
     
    ศัตรูสำคัญของละมุดคือ หนอนเจาะลำต้นเป็นตัวอ่อนของแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง ตัวเต็มวัยมีความยาว 3-5 เซนติเมตร ปีกมีสีดำและสีเหลืองส้มคาดกลางปีก วิธีป้องกันกำจัด ให้หมั่นตรวจดูแลต้นละมุดในสวนวิธีเก็บผลให้เขย่ากิ่งเบา ๆ รองรับด้วยสวิง รวบรวมผลได้ตามต้องการ ล้างน้ำให้สะอาดวางกระจายในร่มบนแคร่ไม้ให้แห้ง บ่มให้สุกในตุ่ม ที่รองก้นด้วยใบตองวางผลละมุดเป็นชั้น ๆ เกินครึ่งตุ่มเล็กน้อย ปักธูปที่จุดแล้วจำนวน 10 ดอกคลุมด้วยผ้าหรือกระสอบที่ปากตุ่ม ครบ 2 คืน ละมุดจะสุกพร้อมกัน นำผลออกจำหน่ายได้
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    สละ
    นับเป็นพืชที่น่าจับตามองพืชหนึ่ง เป็นผลไม้ที่มีรสชาติหอมหวานเฉพาะตัวเป็นที่นิยมของผู้บริโภค และนิยมนำมาเป็นของฝากเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตในเชิงการค้าได้ค่อนข้างเร็วหากมีการดูแลปฏิบัติรักษาและจัดการปัจจัยการผลิตอย่างถูกต้องเหมาะสม
    ชื่อวิทยาศาสตร์ :Zalacca edulis
    วงศ์ : Palmae

    แหล่งปลูกที่เหมาะสม

    โดยทั่วไปสามารถปลูกได้ดีเกือบทุกสภาพพื้นที่แต่พื้นที่ที่เหมาะสม
    มีความลาดเอียง ไม่ควรเกิน 15% ไม่มีน้ำท่วมขัง
    ลักษณะดินควรเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนปนเหนียว ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงระบายน้ำดี

    ชั้นดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร

    ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 50 เซนติเมตร

    มีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ระหว่าง
    5.0-6.5
    อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ
    20-40 องศาเซลเซียส
    มีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี และการกระจายตัวของฝนดี

    ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยอยู่ระหว่าง
    60-70%
    มีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง

    น้ำควรสะอาดไม่มีสารอินทรีย์และอนินทรีย์ที่เป็นพิษปนเปื้อน


    พันธุ์
    การเลือกพันธุ์
    เลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับแหล่งปลูกและตรงตามที่ตลาด ต้องการ
    ตรงตามพันธุ์ซึ่งต้องเป็นต้นพันธุ์ที่ได้จากการขยายพันธุ์โดยการตัดชำลำต้นแก่หรือแยกหน่อจากต้นเพศเมียเท่านั้นและต้องไม่ใช่หน่อที่พัฒนามาจากไหลหรือจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในขณะที่ต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื่อเยื่อยังอาจกลายพันธุ์ได้
    มีความสมบูรณ์แข็งแรงไม่มีโรคและแมลง
    พันธุ์ที่นิยมปลูก
    1.
    พันธุ์เนินวง
    เป็นพันธุ์สละที่นิยมปลูกมากที่สุด ขนาดตะโพกหรือลำต้นเล็กกว่าระกำบริเวณกาบใบมีสีน้ำตาลทอง ปลายใบยาว หนามของยอดที่ยังไม่คลี่มีสีขาว ผลมีรูปร่างยาวหัวท้ายเรียวคล้ายกระสวย หนามผลยาว อ่อนนิ่ม ปลายหนามงอนไปทางท้ายผลเนื้อมีสีเหลืองนวลคล้ายน้ำผึ้ง หนานุ่ม รสชาติหวานหรือหวานอมเปรี้ยวรับประทานแล้วรู้สึกชุ่มคอ กลิ่นหอม เมล็ดเล็ก
    2.
    พันธุ์หม้อ
    ขนาดตะโพกหรือลำต้นเล็กและใบมีสีเข้มกว่าพันธุ์เนินวงข้อทางใบถี่ สั้น หนามยาวเล็กและอ่อนกว่าพันธุ์เนินวง ช่อดอกยาวติดผลง่ายกว่าพันธุ์เนินวง ผลคล้ายระกำ เปลือกผลสีแดงเข้ม เนื้อสีน้ำตาลมีลายเนื้อหนาแต่ไม่แน่น รสชาติหวาน มีกลิ่นเฉพาะ เมล็ดเล็กทนต่อสภาพแสงแดดจัดได้ดีกว่าพันธุ์เนินวง
    3.
    พันธุ์สุมาลี
    เป็นพันธุ์ใหม่ ลักษณะลำต้นคล้ายระกำ ทางใบยาวมีสีเขียวอมเหลืองใบใหญ่กว้างและปลายใบสั้นกว่าพันธุ์เนินวง หนามของยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่มีสีส้มอ่อนคานดอกยาว ช่อดอกใหญ่ ติดผลง่าย ผลมีรูปร่างป้อมสั้น สีเนื้อคล้ายสละเนินวงเนื้อหนากว่าระกำแต่บางกว่าพันธุ์เนินวง รสชาติหวาน มีกลิ่นเฉพาะเจริญเติบโตเร็วและทนต่อสภาพแสงแดดจัดได้ดีกว่าพันธุ์เนินวง
    ตารางเปรียบเทียบลักษณะประจำพันธุ์ของสละ
    พันธุ์

    เนินวง
    หม้อ
    สุมาลี

    ลำต้นและหนาม
    เล็กกว่าระกำ

    เล็กกว่าพันธุ์เนินวง
    ใหญ่กว่าระกำ

    หนามของยอดอ่อน
    หนามยังไม่คลี่มีสีขาว

    หนามยาวเล็กกว่าและ
    อ่อนกว่าพันธุ์เนินวง
    หนามยังไม่คลี่มีสีส้มอ่อน

    ใบ
    ทางใบยาว
    กาบใบมีสีน้ำตาลทอง
    ปลายใบยาว
    ข้อทางใบสั้น
    ใบเข้มกว่าพันธุ์เนินวง
    ทางใบยาว
    กาบใบมีสีเหลือง
    ใบใหญ่กว้าง
    ปลายใบสั้นกว่าพันธุ์เนินวง
    ดอก

    ช่อดอกยาว
    ช่อดอกยาว
    ช่อดอกยาวใหญ่

    ดอก
    ช่อดอกยาว

    ช่อดอกยาว
    ช่อดอกยาวใหญ่

    พันธุ์
    เนินวง

    หม้อ
    สุมาลี
    รูปร่างผล

    ยาวหัวท้ายเรียวคล้ายกระสวย
    คล้ายระกำ

    ป้อมสั้น
    เนื้อ

    สีเหลืองนวลคล้ายน้ำผึ้ง
    เนื้อหนาและแน่น
    สีน้ำตาล มีลาย
    เนื้อหนาแต่ไม่แน่น
    สีเนื้อคล้ายพันธุ์เนินวง
    เนื้อหนากว่าระกำ
    แต่บางกว่าพันธุ์เนินวง
    เมล็ด

    เล็ก
    เล็ก
    เล็ก

    รสชาติ
    หวานหรือหวานอมเปรี้ยว
    มีกลิ่นหอม
    หวาน
    มีกลิ่นเฉพาะ
    หวาน
    มีกลิ่นเฉพาะ
    การเจริญเติบโต

    ไม่ทนแดด
    ทนแดด

    โตเร็ว ทนแดด
     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×