ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องเล็กๆ ที่ฉันอยากจะเล่า

    ลำดับตอนที่ #13 : โลกในมุมมองของคนหลายๆคน

    • อัปเดตล่าสุด 16 พ.ค. 55


    สวัสดีครับ ช่วงนี้ผมอ่านหนังสือเกี่ยวกับสังคมอยู่บ้าน เลยเกิดแรงบันดาลใจเขียนตอนนี้
    ในสังคมมนุษย์เรา หลายท่านเห็นว่ามีมุมมองหลายเหลือเกิน และถ้าย้อนเวลากลับไปสักพันสองพันปี มุมมองของคนในช่วงนั้นก็ยิ่งแตกต่างไปอีก ดังนั้นผมจะมาสรุปสาระง่ายๆให้ฟัง
    ช่วงแรก-สมัยโบราณ ตอนที่ยังเป็นอาณาจักรรบพุ่งกันน่ะครับ ปราชญ์สมัยนั้นมองสังคมอิงพระเจ้า และมีราชาปกครอง ซึ่งปราชญ์แต่ละคนมีแนวคิดต่างกัน เช่นคนเรามาอยู่รวมกันเพราะความกลัว หรือเพื่อต้องการแสวงหาประโยชน์ร่วมกัน เป็นต้น
    ต่อมา จะตัดช่วงไปยังยุคเรเนอร์ซองค์
    ช่วงนี้ทฤษฎีต่างๆถูกคิดขึ้นมา อีกทั้งยังมีความเป็นเหตุเป็นผลมากยิ่งขึ้น (ช่วงนี้ยาวมาก ผมขออธิบายสั้นๆแค่นี้นะครับ)
    และมาถึงช่วงสุดท้าย
    -ยุคปัจจุบัน-
    ตรงนี้มีอะไรที่เราค่อนข้างคุ้นมาก เรื่องแรกคือสัญลักษณ์ การผลิตซ้ำท่างวัฒนธรรม
    สัญลักษณ์ คือการสร้างภาพลวงตาแล้วยอมให้มันครอบงำ คล้ายๆกับจารีตนั่นล่ะครับ แต่ปัจจุบันมันเป็นเรื่องปกติ เช่นสังคมส่วนใหญ่เชื่อ
    หรือชื่นชอบเรื่องแนวนี้ หรือนิยมสิ่งของแบบหนึ่ง เราก็ต้องทำตามอย่างเลี่ยงไม่ได้(ในหลายๆครั้ง) ทำให้เหมือนเป็นทาสของมัน
    (อันนี้ผมอาจพูดไม่เคลียร์นะครับ)
    การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม เป็นการถ่ายทอดค่านิยม(เช่นด้านบน) ให้คนอื่น เช่นเราชอบแบบนี้ นายต้องชอบบ้าง หรือการศึกษา บอกเล่าในครอบครัว หรือโรงเรียนก็เช่นกัน เป็นเสมือนการล้างสมองกรายๆนั่นเอง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×