ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวบรวมข่าวสาร วงการทหารทั่วโลก

    ลำดับตอนที่ #7 : ซี-17 โกลบมาสเตอร์ III

    • อัปเดตล่าสุด 13 เม.ย. 50


     
     

    ซี-17 โกลบมาสเตอร์

    ซี-17 โกลบมาสเตอร์ III (C-17 Globemaster III) ซี-17 เป็นเครื่องบินลำเลียงที่มีความทันสมัยและเทคโนโลยีในการออกแบบชั้นสูง ระยะทางวิ่งขึ้นและร่อนลงพอๆกับ เครื่องบิน ซี-130 โครงการซี-17 ได้มีขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1979 ได้มีโครงการเครื่องบินลำเลียงซี-17 ซึ่งในช่วงนั้นกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้จัดทำโครงการเครื่องบิน ซีเอ็กซ์ (Cargo-Experimental:CX) เพื่อกำหนดความต้องการเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์แบบใหม่ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1981 บริษัทแมคดอนเนลล์ ดักลาส ได้รับชัยชนะในการประกวดโครงการ ซีเอ็กซ์ ซึ่งคุณสมบัติของโครงการนี้คือ เป็นเครื่องบินลำเลียงที่มีขีดความสามารถลำเลียงยานพาหนะได้ทุกชนิด อุปกรณ์ และสินค้า รวมทั้งกำลังพล ไปได้ทุกแห่งทั่วโลก โดยเสียค่าในการปฏิบัติการบิน และ ความต้องการในการซ่อมบำรุงต่ำ สามารถบรรทุกสัมภาระและพัยบินไกลเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศได้เท่ากับเครื่องบิน ซี-5 หรือ ซี-141 และมีสมรรถนะทางการบินคล่องตัว มีขีดความสามารถทำการวิ่งขึ้นหรือร่อนลงโดยใช้ระยะทางวิ่งสั้น AMST (Advanced Medium STOL Transport) เหมือน วายซี-14 หรือ วายซี-15 หรือใช้ระยะทางวิ่งในการปฏิบัติการเพียง 900 เมตร

    การทดสอบ

    เครื่องซี-17 เครื่องทดสอบเครื่องแรกได้ทำการบินครั้งแรกในวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1991 ผลจาการทดสอบและการทดสอบภาคพื้นดินทำให้ทราบข้อบกพร่องหลายอย่าง โดยกระทรวงกลาโหมที่มองว่า ซี-17 เป็นเครื่องบินที่ไม่มีความปลอดภัย พบว่ามีปัญหาเกิดขึ้นหลายอย่างเช่น แฟลบเกิดการอ่อนตัวเมื่อถูกความร้อน มีรอยร้าวเกิดขึ้นที่ผิวปีกด้านบน ปัญหาเชื้อเพลิงรั่ว ปัญหาฐานล้อยุบตัวมากไป ซึ่งต่อมาบริษัทผู้ผลิตได้ทำการแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

    แมคดอนเนลล์ ดักลาส ได้ส่งมอบ ซี-17 เครื่องแรกให้กับกองทัพอากาศสหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1993 โดยเข้าประจำการในกองบินลำเลียงที่ 437 และหลังจากมอบเข้าประจำการ ซี-17 ได้รับการทดสอบและใช้งานอย่างสมบุกสมบันเพื่อลบล้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีในอดีตจนกระทั่งกลายเป็นเครื่องบินที่สร้างความพอใจกับกองทัพอากาศสหรัฐฯเป็นอย่างมาก โดยการทดสอบในสภาพอุณหภูมิทั้งร้อนจัดและหนาวจัด การนำไปปฏิบัติการในบอสเนียในปี ค.ศ. 1996

     ห้องสัมภาระ

     

     

    ภายในห้องบรรทุกสัมภาระ

    ภายในห้องบรรทุกสัมภาระ

     
    บรรทุกพลร่ม

    บรรทุกพลร่ม

    บริษัท แมคดอนเนลล์ ดักลาส ซึ่งมีประสบการณ์ในการสร้างเครื่องบินที่มีชื่อเสียงมากมายอาทิ เอฟ-15 เอฟ-18 เอวี-8 แฮริเออร์ จึงนำประสบการณ์ในการสร้างเครื่องบินรบและเครื่องบินพาณิชย์ มาประยุกต์ในการสร้างเครื่องบินลำเลียงทางทหารแบบใหม่ ซี-17 ซึ่งได้มีการออกแบบห้องบรรทุกสินค้าเป็นรูปกล่องสินค้าโดยถูกกำหนดโดยกองทัพอากาศสหรัฐฯ ขนาดห้องบรรทุกของ ซี-17 กว้าง 5.28 เมตร สูง 5.48 เมตร ยาว 25.9 เมตร ขีดความสามารถในการบรรทุก สามารถบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เอเอช-64 2 เครื่อง และ เฮลิคอปเตอร์ โอเอช-58 3 เครื่อง หรือ ยานเกาะ 5 คัน พร้อมทหาร 38 นาย หรือ รถพ่วง 1 คัน รถสายพาน 1 คัน และ รถบรรทุก 2 คัน พร้อมทหาร 18 นาย หรือสามารถบรรทุกสัมภาระได้หนักสูงสุดกว่า 76.6 ต้น

    เจ้าหน้าที่ประจำเครื่องที่ปฏิบัติการกับซี-17 ใช้เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติเพียง 3 คน หนึ่งในนั้นคือเจ้าหน้าที่ขนส่งทางทหาร ซี-17 ได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงความสำคัญของการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ขนส่งทางอากาศ เจ้าหน้าที่ขนส่งทางอากาศจะมีแผงควบคุมการทำงานของตนเองโดยเฉพาะอยู่ที่ท้ายเครื่อง เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องบินลำเลียงอื่นๆ เช่น ซี-141 เจ้าหน้าที่ขนส่งทางอากาศจะไม่มีงานมากนัก แต่เครื่อง ซี-17 เจ้าหน้าที่ขนส่งทางกาศมีความสำคัญ จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับระบบต่างๆ มากมาย โดยสามารถสั่งการและควบคุมการทำงานผ่านแผงควบคุมโดยมีจอภาพวิดีโอแสดงการทำงานของระบบต่างๆ

    งานที่สำคัญที่เจ้าหน้าที่ขนส่งทางกาศต้องปฏิบัติคือ การบรรทุกสัมภาระและคำนวณจุดศูนย์ดุลของเครื่องบิน ซึ่งเจ้าหน้าที่ขนส่งทางอากาศประจำเครื่องจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์แลฟทอฟช่วยให้งานง่ายขึ้น ซึ่งคอมพิวเตอร์จะคำนวณพิสัยบิน ตารางขีดความสามารถ และ จำนวนเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับปฏิบัติการ

    ปีก

     
    บริเวณปีกมีการเพิ่มปลายปีกงอ

    บริเวณปีกมีการเพิ่มปลายปีกงอ

    การออกแบบปีกของเครื่องบินนับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญ เพื่อให้ได้ตรงตามความต้องการของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ซึ่งกำหนดให้ บริษัทแมคดอนเนลล ดักลาส ได้คิดค้นรูปแบบปีกต่างๆ เพื่อให้ปีกมีความแข็งแรงและมีแรงต้านน้อยที่สุด กองทัพอากาศสหรัฐฯกำหนดความกว้างไว้มากที่สุดเพียง 50 เมตร เพราะด้วยเหตุผลในเรื่องพื้นที่การจอดและการเคลื่อนที่บนพื้นในสนามบินบางแห่งที่อยู่ห่างไกล และกำหนดหลุมจอดของเครื่องซี-17 ไว้ที่ขนาด 90×122 เมตร สุดท้ายความยาวของปีกที่กางออกอยู่ที่ 50.3 เมตร โดยมีการเพิ่มปีกต่อจากปลายปีกงอขึ้นข้างบน ซึ่งรูปแบบปีกแบบนี้มีผลดีต่อเครื่องยนต์ในการลดความสินเปลืองในการเผาไหม้ได้ 2% เนื่องจากประสิทธิภาพในการบินในแนวระดับดีขึ้น แรงต้านลดลงขณะทำการเดินทาง 3% เมื่อเปรียบเทียบกับปีกที่ไม่มีปีกต่อจากปลายปีกงอขึ้นข้างบน ส่วนแพนหางได้สร้างเป็นรูปตัวที สูง 16.38 เมตร ลู่ไปข้างหลัง 41 อาศา และส่วนบนของแพนหางดิ่งติดแพนหางระดับ กางปีก 19.8 เมตร สร้างจากวัสดุผสมน้ำหนักเบา ซึ่งแพนหางรูปตัวทีขนาดใหญ่ช่วยทำให้เครื่องบินมีเสถียรภาพในการบินในระดับต่ำดีขึ้น ก่อนลงมือสร้างจริง แมคดอนเนลล์ ดักลาส ได้ทำการทดสอบแผนงานและรูปแบบต่างๆ กับเครื่องบินต้นแบบ วายซี-15ซึ่งมีขนาดครึ่งหนึ่งของเครื่อง ซี-17

     ระบบควบคุม

    ห้องนักบิน

     
    ห้องนักบิน

    ห้องนักบิน

    ห้องนักบินของเครื่องบินลำเลียง ซี-17 มีการออกแบบและพัฒนาระบบอวิโอนิกส์ต่างๆ ขึ้นมาติดตั้งใช้งานโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะลดภาระงานของนักบินและลดเจ้าหน้าที่ประจำเครื่องให้น้อยลง โดย ซี-17 มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเพียง 3 คนเท่านั้น คือ นักบิน นักบินผู้ช่วย และ เจ้าหน้าที่ขนส่งทางอากาศ ซึ่งเครื่องบินลำเลียงโดยทั่วไปจะใช้เจ้าหน้าที่ 6-8 คน ระบบควบคุมการบินต่างๆของ ซี-17 คันบังคับเหมือนกับติดตั้งกับเครื่องบินรบไอพ่นซึ่งแตกต่างจากเครื่องบินลำเลียงทั่วไป และคันบังคับยังติดตั้งสวิทช์ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ มากมายประกอบด้วย สวิทช์ปรับเสถียรภาพของเครื่องบิน ไมโครโฟน สวิทช์เลือกโหมดการทำงานของระบบควบคุมการบินด้วยไฟฟ้า สวิทช์ระบบเติมเชื้อเพลิงในอากาศ/นักบินกล และ สวิทช์ระบบทิ้งสัมภาระในอากาศ ตรงหน้านักบินทั้งสองคนติดตั้งจอ HUD สามารถพับได้เมื่อไม่ใช้งาน จอ HUD เป็นเครื่องวัดประกอบการบินมูลฐานของ ซี-17 มีโหมดสำหรับตัดภาพฉากหลังออกไปเมื่อต้องปฏิบัติภารกิจในงานหนัก

     ระบบควบคุมการบินดิจิตอล

    ซี-17 มีการติดตั้งระบบควบคุมการบินดิจิตอล fly-by-wire ที่ทันสมัย เป็นระบบดิจิตอลควบคุมการทำงาน 4 แกน และเป็นเครื่องบินขนาดใหญ่แบบแรกที่สร้างขึ้นในสหรัฐฯที่ได้ใช้ระบบนี้ ระบบควบคุมการบินจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ

    ระบบคอมพิวเตอร์

    ซี-17 ได้รับการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์จำนวน 3 ระบบ คอมพิวเตอร์ 1 ใน 3 ระบบ สามารถทำงานสนับสนุนในการทำงานของระบบต่างๆได้อย่างสมบูรณ์ และนอกจากนี้ยังมีคอมพิวเตอร์ระบบหลักอีก 4 ระบบ

    • การแสดงภารกิจ
    • การแจ้งเตือนและบอกเหตุ
    • การบริหารการสื่อสารทางวิทยุรวมการ
    • การควบคุมการบิน

    คอมพิวเตอร์หลักจะใช้ในการสนับสนุนการทำงานของ digital line replacable unit จำนวน 56 ชุด ซึ่งได้รับการออกแบบมาสำหรับการถ่ายทอดสัญญาน การประมวลผล และ ส่งข้อมูลผ่านไปยัง เอ็มไอแอล-เอสทีดี-1553 บัส และ เออาร์ไอเอ็นซี 429 เพื่อทำหน้าที่ควบคุมเครื่องบินและแจ้งข้อมูลต่างๆให้กับน้กบิน

    ระบบป้องกันอันตรายจากศัตรู

    เครื่องซี-17 มีระบบป้องกันอันตรายจากศัตรูทั้งจากปืนต่อสู้อากาศยาน และ อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ ซี-17 ออกแบบให้มีความอยู่รอดเมื่อถูกยิงจากกระสุนปืนเจาะเกราะขนาด 12.7 มม. และเมื่อระบบควบคุมการบินดิจิตอลได้รับความเสียหายไม่สามารถใช้งานได้ทั้ง 4 ระบบ ยังมีระบบไฮดรอลิกส์สำรอง ซึ่งนักบินสามารถทำการบินต่อไปได้ ระบบป้องกันตนเองได้แก่

    • ระบบแจ้งเตือนทิศทางเข้ามาของอาวุธนำวิถีข้าศึก
    • เครื่องรบกวนสัญญานอินฟราเรต
    • เครื่องปล่อยแชฟฟ์และแฟร์

     เครื่องยนต์

     
    เครื่องยนต์ แพรทแอนด์วิทนีย์ เอฟ-117 พีดับบลิว-100

    เครื่องยนต์ แพรทแอนด์วิทนีย์ เอฟ-117 พีดับบลิว-100

    ซี-17 ได้รับการติดตั้งเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน แพทรแอนด์วิทนีย์ เอฟ-117 พีดับบลิว-100 ขนาดแรงขับเครื่องละ 181.0 กิโลนิวตัน เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานขับเคลื่อนติดอยู่ใต้ปีกข้างละ 2 เครื่อง ก่อนทำการติดตั้ง บริษัท แมคดอนเนลล์ ดักลาส ได้ทำการศึกษาผลดีผลเสียของติดตั้งเครื่องยนต์ในตำแหน่งอื่นๆ เช่น บริเวณตำแหน่งบนปีก ซึ่งทำให้เครื่องบินใช้ระยะในการวิ่งขึ้นและร่อนลงสั้น แต่จะทำให้เกิดแรงต้านมากขึ้นและประสิทธิภาพในการบินในแนวระดับต่ำลง

    เครื่องยนต์แต่ละเครื่องจะมี fan reverser หรือ กรีบใบพัดผันกลับ ที่ด้านหน้าและ core reverser ติดตั้งที่ด้านหลังเครื่องยนต์ ทำงานด้วยระบบไฮดรอลิกส์ ทั้ง fan reverser และ core reverser จะทำให้แรงขับจากเครื่องยนต์กระทำในทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางปกติของแรงขับ โดยนักบินจะใช้ในขณะลงสนาม ซึ่งทำให้เครื่องบินสามารถลดความเร็วได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเครื่องบินซี-17 ได้รับการพัฒนาให้สามารถทำการผันกลับแรงขับได้ทั้งขณะอยู่ที่พื้นหรือในอากาศ โดยแรงขับจากเครื่องยนต์จะขึ้นข้างบน 37 องศา ไม่ลงข้างล่างหรือออกด้านข้าง ทำให้ลดอันตรายที่จะเกิดจากก๊าชร้อนที่ปล่อยจากเครื่องยนต์ไปกระทบกับวัสดุหรือวัสถุที่อยู่บนพื้น ขณะอยู่บนพื้นดิน เครื่องซี-17 สามารถถอยวิ่งขึ้นเนิน 2 องศาได้ หรือ เลี้ยวกลับลำ 180 องศาได้ในตัวพร้อมรถถัง เอ็ม-1 บรรทุกอยู่ 1 คัน

    สมรรถนะของเครื่องบิน ซี-17 มีความเร็วเดินทางปกติ 0.77 มัคที่ ความสูง 28,000 ฟุต ความเร็วสูงสุดที่ความสูงระดับต่ำ 648 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเร็วในการลงสนามเมื่อบรรทุกน้ำหนักสูงสุด 213 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะทางในการลงสนามเมื่อบรรทุกสัมภาระหนัก 75,750 กิโลกรัม และ เครื่องยนต์ผันกลับแรงขับ 915 เมตร พิสัยบินเมื่อบรรทุกสัมภาระหนัก 75,750 กิโลกรัม 4,445 กิโลเมตร ซี-17 สามารถปฏิบัติได้ในทางวิ่งทั้งที่ลาดยางและทางวิ่งไม่ราดผิว


    รายละเอียด ซี-17

    • ผู้สร้าง บริษัท แมคดอนเนลล์ ดักลาส/โบอิง (สหรัฐอเมริกา)
    • ประเภท เครื่องบินลำเลียง เจ้าหน้าที่ 3 คน บรรทุกทหาร 102 นาย เปลพยาบาล 36 เปล
    • เครื่องยนต์ เทอร์โบแฟน แพรทท์แอนด์วิทนีย์ 117-พีดับลิว-100 ให้แรงขับเครื่องละ 40,440 ปอนด์ จำนวน 4 เครื่อง
    • กางปีก 51.75 เมตร
    • พื้นที่ปีก 353 ตารางเมตร
    • ยาว 53.04 เมตร
    • สูง 16.8 เมตร
    • น้ำหนักเปล่า 128,100 กิโลกรัม
    • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 263,083 กิโลกรัม
    • เพดานบินใช้งาน 13,716 เมตร
    • รัศมีทำการ 4,400 กิโลเมตร
    • ความเร็วสูงสุด 500 ไมล์/ชั่วโมง (มัค.77)
    • ส่วนประกอบที่ใช้ในการสร้าง
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×