8 วิธีอ่านหนังสือจำได้แม่น - นิยาย 8 วิธีอ่านหนังสือจำได้แม่น : Dek-D.com - Writer
×

    8 วิธีอ่านหนังสือจำได้แม่น

    ผู้เข้าชมรวม

    137

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    7

    ผู้เข้าชมรวม


    137

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  จิตวิทยา
    จำนวนตอน :  0 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  23 ม.ค. 65 / 08:13 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    1. อ่านบทสรุปก่อนเป็นอันดับแรก

    ในระยะเวลาที่จำกัด เราไม่ควรเริ่มอ่านหนังสือ หน้าแรกๆ ของบท เราไม่จำเป็นต้องรู้บทนำ หรือประวัติของผู้แต่ง จากการอ่าน แต่ในทางกลับกันการอ่านหนังสือให้เข้าใจง่ายขึ้นนั้น ควรเริ่มอ่านจากบทสรุป หรือบทส่งท้ายในช่วงท้ายของหนังสือ เนื่องจากหนังสือส่วนใหญ่จะมีการเขียนอธิบายเนื้อหาอย่างละเอียดยิบ ใช้ประโยคซ้ำๆ เพื่อย้ำให้เข้าใจ


    2. ใช้ปากกาไฮไลต์เพื่อเน้นใจความสำคัญ

    การไฮไลต์นั้น เป็นการบอกกับผู้อ่านว่าสิ่งไหนที่จำเป็นต้องจำ หรือสิ่งไหนไม่จำเป็นต้องจำ เพราะหนังสือมีเนื้อหามากมายให้จำทั้งหมดคงไม่ไหว ดังนั้นเราควรใช้ ปากกาไฮไลต์ เป็นสิ่งที่จะช่วยให้เราจับใจความสำคัญของหนังสือได้ดีขึ้น ไม่ควรไฮไลต์ทุกอย่างในหน้า และไม่ควรไฮไลต์น้อยจนเกินไป สิ่งที่ควรทำคือ การไฮไลต์ข้อความหัวข้อสรุป หรือใจความสำคัญเด่นๆ


    3. ดูสารบัญและหัวข้อย่อย

    การดูสารบัญและหัวข้อย่อย ทำให้เรารู้ใจความสำคัญของสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อ และ ลำดับความสำคัญของเนื้อหาได้มากขึ้น เพราะผู้เขียนมักจะกล่าวถึงประเด็นสำคัญซ้ำ ๆ ในทุกส่วนของหนังสือ

    4. ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมประกอบกับเนื้อหาที่อ่าน

             ไม่ควรจำความรู้ทุกอย่างจากการอ่านหนังสือที่คุณครูสั่งเพียงล่มเดียวเท่านั้น ลองเปิดโลกอินเตอร์เน็ตหาข้อมูลเพิ่มดูบ้าง หรือหาหนังสือเล่มอื่นๆ ในห้องสมุด ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียนมาอ่านดู

    5. ห้าม! อ่านทุกคำ

    คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า "การอ่านหนังสือทุกคำ" จะช่วยให้จดจำข้อมูลได้อย่างละเอียดมากขึ้น แต่จริงๆแล้วเป็นวิธีที่ ผิด! เพราะสมองจะได้รับข้อมูลมากเกินไป ทำให้เบื่อง่าย ปวดหัวจากความล้าของสมอง ตาลอยอ่านหนังสือแบบเร่งให้จบๆ ทำให้เนื้อหาไม่เข้าหัว เพราะผู้เขียนส่วนมาก ต้องการที่จะเน้นอธิบายให้เข้าใจ อ่านแต่ใจความสำคัญจริงๆ จะอยู่ที่บทสรุปช่วงท้าย หนังสือส่วนใหญ่ใส่ข้อมูล

    6. เขียนสรุปมุมมองของผู้อ่าน

    คนส่วนมากจะไม่ชอบการเขียน แต่การเขียนนั้นเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด ในการรวบรวมข้อมูลสำคัญในระยะเวลาอันสั้น หากเป็นไปได้ให้เขียนใจความสำคัญในแบบฉบับของเราใน 1 หน้ากระดาษ โดยพูดถึงประเด็นที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ ยกตัวอย่างสั้น ๆ และคำถามหรือความรู้สึกของเราที่ต้องการการค้นคว้าเพื่อหาคำตอบต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
    การเขียนสรุปแบบนี้ ช่วยให้เราเข้าใจถึงประเด็นสำคัญของหนังสือ เช่นเดียวกับการไฮไลต์ข้อความ เมื่อใกล้ถึงช่วงสอบ จะเป็นการง่ายกว่าที่เราจะนั่งอ่านสรุปของเรา แทนที่จะพลิกตำราอ่านหนังสือทั้งเล่มเพื่ออ่านทบทวนอีกครั้ง

    7. พูดคุยกับเพื่อน หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน

    การจับกลุ่มกัน เพื่อพูดคุย ถึงเนื้อหาของหนังสือที่ต้องอ่าน จะช่วยทบทวน ให้เราจำได้ง่ายขึ้น บางครั้งอาจพูดถึงหนังสือในแง่ตลก ๆ ก็จะทำให้เราจำประเด็นนั้นได้เมื่อเราอยู่ในห้องสอบ เพราะเราจะคิดถึงเรื่องตลกก่อน เป็นการใช้หลักการเชื่อมโยงข้อมูลที่ทำให้สมองของเราทำงานได้ง่ายขึ้น

    8. จดคำถามข้อสงสัยที่เกิดขึ้นระหว่างการอ่าน

    อย่าเชื่อว่าผู้เขียน ถูกต้องเสมอไป เมื่ออ่านไปแล้ว ลองตั้งคำถามดู เช่น
    •        ทำไมผู้เขียนจึงกล่าวเช่นนั้น?
    •        หลักฐานคำอธิบายนี้เป็นจริงหรือ?
    •        ประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับข้อโต้แย้งของผู้เขียนอย่างไร?
    •        ผู้เขียนต้องการสื่อข้อความนี้ให้แก่ใคร?

    คำถามไม่จำเป็นต้องยากก็ได้ อาจจะเป็นคำถามง่ายๆ ขึ้นอยู่กับหนังสือที่อ่าน วิธีนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เราอ่านหนังสือและจดจำได้เป็นอย่างดี แต่แน่นอนว่าอาจจะมีวิธีที่หลากหลายกว่านี้ แต่ละวิธีก็อาจให้ผลลัพธ์แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าใครชอบวิธีการแบบไหนมากกว่า

    อ้างอิง https://www.triamdomeonline.com/8-tips-for-reading-books-to-remember-better

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น