ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อารยธรรมตะวันออก ; อารยธรรมจีน ✔

    ลำดับตอนที่ #15 : อารยธรรมจีน :: สังคมและวัฒนธรรม (50%)

    • อัปเดตล่าสุด 17 ก.พ. 54



    สังคมและวัฒนธรรมจีน

    ลัทธิขงจื้อ

                เป็นผู้วางรากฐานในกับลัทธิขงจื๊อที่มุ่งแก้ไขปัญหาการเมืองและสังคมของจีน ในสมัยจลาจล โดยเน้นให้มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความสงบสุขเรียบร้อย ทั้งนี้จะถือหลักการเรื่องมนุษยธรรมและจารีตประเพณี ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักแห่งสัมพันธภาพ 5 ประการ ขงจื๊อสั่งสอนลูกศิษย์โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ลูกศิษย์ของขงจื๊อจึงมีตั้งแต่เจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการ พ่อค้า ชาวไร่ชาวนา ทำให้เกิดชนชั้นปัญญาชนขึ้นในสังคมจีน ปัญญาชนเหล่านี้มีเป้าหมายอยู่ที่การเข้ารับราชการ โดยหวังว่าปัญญาความรู้ความสามารถที่ได้รับการอบรมมาจะเป็นประโยชน์ต่อการ ปกครองบ้านเมือง และยังเป็นการสร้างชื่อเสียงและฐานะให้กับตนเอง ครอบครัว วงศ์ตระกูลอีกด้วย ปัจจุบันลัทธิขงจื๊อแม้จะหมดบทบาทในด้านการเมือง แต่ในด้านวัฒนธรรม ลัทธิขงจื๊อยังฝังลึกอยู่ในสังคมจีนนานนับเป็นศตวรรษจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของ วิถีชีวิตในสังคมจีน

    ขงจื๊อสั่งสอนลูกศิษย์โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ลูกศิษย์ของขงจื๊อจึงมีทุกชนชั้น ทำให้เกิดชนชั้นปัญญาชนขึ้นในสังคมจีน  ปัญญาชนเหล่านี้มีเป้าหมายอยู่ที่การเข้ารับราชการ โดยหวังว่าปัญญาความรู้ความสามารถที่ได้รับการอบรมมาจะเป็นประโยชน์ต่อการ ปกครองบ้านเมือง และยังเป็นการสร้างชื่อเสียงและฐานะให้กับตนเอง ครอบครัว วงศ์ตระกูลอีกด้วย ลัทธิขงจื๊อ เรียกกันในอีกชื่อหนึ่งว่า แนวคิดหยู ซึ่งหมายถึงแนวคิดของปัญญาชน ผู้ที่ศึกษาแนวคิดของขงจื๊อและนักคิดคนอื่นๆ ในกลุ่มนี้เรียกกันในสมัยโบราณว่า ปัญญาชนหยู หรือชาวหยู ปัจจุบันลัทธิขงจื๊อแม้จะหมดบทบาทในด้านการเมือง แต่ในด้านวัฒนธรรม ลัทธิขงจื๊อยังฝังลึกอยู่ในสังคมจีนนานนับเป็นศตวรรษจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวจีน

     

    ลัทธิเต๋า

                ลัทธิเต๋ามีกำเนิดในประเทศจีน ต้นกำเนิดเดิมของลัทธิเต๋าไม่ใช่ลัทธิหรือศาสนา แต่เป็นปรัชญาธรรม เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า โดยอยู่อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ ตัดสิ่งที่เกิน ความจำเป็นของชีวิต รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีที่ฟุ่มเฟือยและฝืนกับธรรมชาติ โดยกลับไป มีชีวิตแบบง่าย ๆ ท่ามกลางความสงบของป่าเขาลำเนาไพร แต่เมื่อเวลาผ่านพ้นไปปรัชญาเต๋าได้ถูก ดัดแปลงให้สอดคล้องกับความเชื่อดั้งเดิมของจีนซึ่งบูชาพระเจ้าประจำธรรมชาติ ผสมกับความเชื่อ ในทางไสยศาสตร์อื่น ๆ จึงเกิดเป็นลัทธิเต๋า ซึ่งจะกล่าวรายละเอียดในตอนต่อไปปรัชญาเต๋าเป็นระบบความคิดที่โดดเด่นต่างจากปรัชญาอื่น ๆ ของจีน กล่าวคือ มีแนวคิดที่นอกจากจะเน้นหนักในทางจริยศาสตร์แล้ว ยังมีแนวคิดทางด้านปรัชญาการเมืองและทัศนะในทางอภิปรัชญาค้นหาอันติมสัจจ์ที่เป็นรากฐานแห่งสรรพสิ่ง ตรงจุดนี้เองที่ทำให้ปรัชญาเต๋ายังคงยืนหยัดท่ามกลางกระแสปรัชญาอื่น ๆ ของโลกในปัจจุบันแม้นวันเวลาจะผ่านพ้นไปนานก็ตาม ปรัชญาเต๋า ยังคงเป็นสิ่งที่น่าศึกษาค้นคว้าสำหรับผู้รักการแสวงหาความจริง

                เล่าจื้อ ไม่ชอบชีวิตหรูหรา แต่ทุกคนดูเหมือนจะมุ่งมั่นเพื่อเงินชื่อเสียงและอำนาจ ในขณะเดียวกันทั้งเมืองก็เต็มไปด้วยการโกงกินกันอย่างมโหฬาร ด้วยเหตุนี้ วันหนึ่งท่านจึงขับเกวียนเทียมวัวดำสองตัวมุ่งไปยังภูเขาด้านทิศตะวันตก (ทิเบต?) พอถึงประตูเมืองนายประตูจำได้ จึงขอร้องให้ท่านหยุดพักเพื่อเขียนปรัชญาแห่งชีวิต ท่านจึงได้เขียนตำราที่โด่งดังของท่านเป็นอักษรจีน 5,500 ตัว จากนั้นก็ได้เดินทางต่อไป ปรากฏว่าพอถึงช่องแดนระหว่างภูเขา ท่านก็หายเข้าไปในก้อนเมฆ อะไรได้เกิดขึ้นก็ตามทีเถิด ตั้งแต่นั้นมาไม่มีใครเห็นท่านอีกเลย

     

    พระพุทธศาสนาในประเทศจีน

                ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมจีน บันทึกการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนจีนว่า เริ่มขึ้นในสมัยกษัตริย์เม่งตี่แห่งราชวงศ์ฮั่น ซึ่งเป็นเวลาที่จีนแผ่อำนาจไปทางตะวันตกและพระพุทธศาสนาแพร่ขึ้นมาทางเหนือ ของชมพูทวีป พระจักรพรรดิจีนรับสั่งให้นิมนต์พระภิกษุจากแคว้นกุสัน พร้อมด้วยพระสูตรมายังประเทศจีน และโปรดให้สร้างวัดม้าขาว เป็นวัดพุทธแห่งแรก ในพุทธศักราช 610

                ต่อมาได้มีพระภิกษุ พระเถระเดินทางมาจากอินเดียกลาง เป็นจำนวนมาก พระเถระเหล่านั้น ได้แปลพระสูตรเป็นภาษาจีน และชาวจีนได้รับอนุญาตให้อุปสมบทได้ ในพุทธศักราช 800 เป็นครั้งแรก

                หลังจากนั้นพระภิกษุจีน ที่มีความศรัทธาพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ได้ออกเดินทางไปศึกษาพระธรรมที่อินเดีย ที่ได้รับยกย่องในความเพียร ที่รู้จักกันดี ได้แก่หลวงจีนฟาเหียน เดินทางไปทางบกกลับทางเรือ พระภิกษุเฮียนจัง ที่รู้จักกันในนามพระถังซัมจั๋ง เดินทางไปกลับทางบก และ พระงี่เจ๋งเดินทางไปทางเรือกลับทางเรือ ทั้งสามท่านได้บันทึกการเดินทางไว้น่าสนใจมาก

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×