คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #10 : อารยธรรมจีน :: อารยธรรมจีนสมัยประวัติศาสตร์ ; ราชวงศ์ซ่ง (50%)
ราชวงศ์ซ่ง
ใน ค.ศ.960 แผ่นดินจีนถูกรวมเป็นปึกแผ่นอีกครั้งโดยขุนนางผู้สืบเชื้อสายจากราชวงศ์ถัง แล้วตั้งราชวงศ์ใหม่ขึ้น เรียกว่า ราชวงศ์ซ่ง เนื่องจากราชสำนักไม่เข้มแข็งพอ พวกอนารยชนจึงมักเข้ามารุกรานจีนเสมอ ขณะที่การค้าระหว่างประเทศกลับมีความเจริญรุ่งเรือง เหรียญเงินราชวงศ์ซ่งเป็นมาตรฐานในการซื้อขายแลกเปลี่ยนและเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย แต่ประเพณีบางอย่างกลับแสดงถึงความตกต่ำทางวัฒนธรรมของสังคม เช่น ประเพณีการรัดเท้า
อย่างไรก็ตาม แม้จะยอมติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ แต่ชาวจีนก็ยังมองว่าคนชาติอื่นๆ นั้นป่าเถื่อน มีอารยธรรมด้อยกว่าตน และยังคงไม่ยอมรับอารยธรรมของชนชาติอื่น
วิทยาการต่างๆ ในสมัยราชวงศ์ซ่ง
- มีความก้าวหน้าในการเดินเรือสำเภา
- รู้จักการใช้เข็มทิศ
- รู้จักการใช้ลูกคิด
- ประดิษฐ์แท่นพิมพ์หนังสือ
- รักษาโรคด้วยการฝังเข็ม
ในปีคริสต์ศักราช 950 พระเจ้าซ่งไท่จู่ มีพระนามว่า ‘ค่วงอิ้น’ ได้ก่อการปฎิวัติที่หมู่บ้านเฉินเฉียว และสถาปนาราชวงศ์ซ่งขึ้นสภาพแตกแยกของจีนที่เคยมีใสมัย 5 ราชวงศ์ และ 10 อาณาจักรจึงสิ้นสุดลง ราชวงศ์ซ่งปกครองประเทศนาน 319 ปีจนกระทั่งปีคริสต์ศักราช 1279 ราชวงศ์ซ่งก็ถูกราชวงศ์หยวนโค่นอำนาจลง ราชวงศ์ซ่งแบ่งเป็นสองช่วงได้แก่ซ่งเหนือและซ่งใต้ ในช่วงเวลาเดียวกันกับซ่งเหนือ ชนชาติชิตันได้สถาปนาราชวงศ์เหลียว (คริสต์ศักราช 947-1125) ขึ้นที่ภาคเหนือของจีน
ชนชาติตั่งเซี่ยงได้สถาปนาราชวงศ์เซี่ย (ค.ศ.1038-1227) ที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน คริสต์ศักราช 1115 ชนชาตินวี่เจินซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชนชาติแมนจูได้สถาปนาราชวงศ์จิน (คริสต์ศักราช 1115-1234) ที่ภาคเหนือของจีน ต่อมาคริสต์ศักราช 1125 ราชวงศ์จินได้โค่นราชวงศ์เหลียวลง และรุกเข้าสู่เมืองหลวงของราชวงศ์ซ่งในปี 1127 ได้จับจักรพรรดิ์ซ่งฮุยจงและจักรพรรดิซ่งชินจงไป ซ่งเหนือจึงได้สิ้นอำนาจลง หลังจากนั้น จักรพรรดิซ่งกัวจงได้ประกาศขึ้นครองราชย์ที่เมืองอิ้งเทียนฝู่ (เมืองซังชิว มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) แล้วย้ายเมืองหลวงไปหลินอัน (เมืองหางโจวในปัจจุบัน) และสถาปนาซ่งใต้ขึ้น ปกครองได้แต่ภาคใต้ของจีนเท่านั้น จึงกล่าวได้ว่า ซ่งเหนือเป็นช่วงที่มีอำนาจไปพร้อมๆกับราชวงศ์เหลียว ราชวงศ์เซี่ยและราชวงศ์จิน แต่ราชวงศ์ซุ่งใต้เป็นช่วงที่ปกครองแต่เพียงภาคใต้ของจีนเพื่อแสวงหาความสงบสุขและค่อยๆ เสื่อมโทรมลง
หลังจากซ่งเหนือรวมภาคเหนือของจีนเป็นเอกภาพแล้ว เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของจีนได้พัฒนาไปมาก การค้าระหว่างประเทศก็คึกคักมาก แม้ “การปฎิบัติตามนโยบายใหม่ของฟั่น จ้งเอียน” และการปฎิรูปของหวาง อันซึไม่ได้ทำให้ซ่งเหนือเจริญรุ่งเรืองเป็นระยะเวลายาวนานอย่างแท้จริงก็ตาม แต่ก็ได้แก้ไขความขัดแย้งทางสังคมไปบ้าง การลุกขึ้นต่อสู้ของชาวนาที่นำโดยซ่งเจียงและนายฟางล่าเพื่อต่อต้านการ ปกครองที่เสื่อมโทรมเน่าเฟะในสมัยจักรพรรดิซ่งฮุยจง หลังจากราชวงศ์จินได้โค่นอำนาจซ่งเหนือลงแล้ว ซ่งใต้ปกครองได้เพียงภาคใต้ของจีนเท่านั้นและไม่มีแผนการอันยิ่งใหญ่ที่จะ ปราบภาคเหนือของจีนเพื่อรวมจีนเป็นเอกภาพอีกครั้ง ในระยะเดียวกัน ชนชาติชิตันได้สถาปนาราชวงศ์เหลียวที่ภาคเหนือของจีน ชนชาติตั่งเซี่ยงได้สถาปนาราชวงศ์ซีเซี่ยที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน การตั้งราชวงศ์ซ่ง เหลียวและซีเซี่ยทำให้สถานการณ์มีสภาพเป็นดุลกำลัง3เส้า ในปี ค.ศ.1115 ชนชาตินวี่เจินได้สถาปนาราชวงศ์จินที่ภาคเหนือของจีน และใน ค.ศ.1125 จินได้โค่นอำนาจราชวงศ์เหลียว และในปี 1127 ได้รุกเข้าสู่กรุงไคเฟิงมืองหลวงของซุ่งเหนือ จับจักรพรรดิซุ่งฮุยจุงและซ่งชินจงไป ซ่งเหนือจึงได้สิ้นอำนาจลง หลังจากนั้น จักรพรรดิ ซ่งเกา จงชื่อเจ้าโก้วครองราชย์ที่เมือ งอิ้งเทียนฝู่ (เมืองซังชิวในปัจจุบัน) ต่อมายังหนีไปถึงกรุงหลินอัน (เมืองหังโจวในปัจจุบัน) ปกครองได้แต่เพียงภาคใต้ ในสายตาของชนชั้นปกครองเวลานั้น การต่อต้านราชวงศ์จินของจอมพลงักฮุยที่มีชื่อเสียงนั้นเป็นเพียงการป้องกันประเทศตนเท่านั้น การละโมบอำนาจและบริหารประเทศอย่างผิดพลาดของเจี่ย สื้อเต้าในช่วงปลายของสมัยราชวงศ์ซ่งใต้เป็นการเร่งให้ซ่งใต้พินาศ เร็วยิ่งขึ้น
ในสมัยราชวงศ์ซ่ง ผลงานในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีจำนวนมากมาย เข็มทิศ การพิมพ์หนังสือและดินปืนเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ยิ่งใหญ่สามประการที่ได้รับการพัฒนาและประยุกต์ใช้อย่างเต็มที่ในยุคนี้ ในจำนวนนี้ วิธีการพิมพ์โดยใช้ตัวเรียงพิมพ์ที่ประดิษฐ์คิดสร้างใหม่โดยปี้เซิงเกิดขึ้นก่อนยุโรปถึง 400 ปี ซูซ่งได้ผลิตเครื่องสังเกตปรากฏการณ์ดวงดาวและนาฬิกาทางดาราศาสตร์เครื่องแรกของโลก หนังสือเรื่อง “เมิ่งซีปี่ถาน” ของเสินคั่วมีฐานะสูงส่งในประวัติศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในด้านวัฒนธรรม จริยศาสตร์ได้รับความนิยมชมชอบ และได้มีนักจริยศาสตร์หลายคนเช่นจูซีและลู่จิ่วยวนเป็นต้น ศาสนาเต๋า พุทธศาสนาตลอดจนศาสนาอื่นที่แพร่หลายเข้าสู่จีนจากต่างประเทศก็แพร่หลายมาก หนังสือเรื่อง”ประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ถังฉบับใหม่”ที่เรียบเรียงโดยโอว หยางชิวในซ่งเหนือได้สร้างผลงานอันยิ่งใหญ่ต่อการบันทึกประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ถัง ส่วนหนังสือเรื่อง “จืจื้อทุงเจี้ยน” ซึ่งเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ทั่วไปที่ซือหม่าเชียน เรียบเรียงตามลำดับปี ก็นับเป็นผลงานยอดเยี่ยมของหนังสือประวัติศาสตร์ของจีน ในด้านวรรณคดี ราชวงศ์ซ่งมีกวีประพันธ์วรรณกรรมปกิณกะที่มีชื่อเสียงหลายคนเช่นโอว หยางชิวและซูสื้อเป็นต้น บทกลอนซ่งเป็นวรรณกรรมที่ยอดเยี่ยมที่สุดในช่วงราชวงศ์ซ่ง มีกวีที่ดีเลิศหลายคนเช่นเอี้ยนซู หลิวหย่ง โจวปังเอี้ยน หลี่ ชิงเจ้าและซิน ชี่จี๋เป็นต้น ในสมัยราชวงศ์ซ่งและราชวงศ์จิน ละครและงิ้วก็มีค่อนข้างแพร่หลาย ในด้านการวาดภาพ ผลงานที่มีชื่อเสียงค่อนข้างมากคือภาพวาดทัศนียภาพ ดอกไม้และนก ภาพวาดชื่อ “ชิงหมิงซั่งเหอถู” (งานรื่นเริงวันเช็งเหม็ง) ของจางจื๊อตวนเป็นผลงานยิ่งใหญ่ในด้านการวาดภาพของจีน
ในด้านวัฒนะธรรมนั้น นอกจากพัฒนาสิ่งที่สืบทอดจากสมัยถังแล้ว ยังมีการบันทึกประวัติศาสตร์ ศิลปะการเขียนภาพ ศิลปะการเขียนภู่กัน และการทำเครื่องปั้นดินเผาเนื้อแข็ง ลัทธิขงจื๊อมีอิทธิพลเหนือพุทธศาสนาเนื่องจากถูกมองว่าเป็นของต่างประเทศ และไม่มีคำตอบสำหรับการปฏิบัติ และแนวทางสำหรับทางการเมืองและปัญหาพื้นฐานทั่วไป ในขณะที่สำนักข่งฟูจื่อได้พัฒนาสู่ลัทธิข่งจื่อแนวใหม่ โดยการนำเอาปรัชญาแนวคิดดั้งเดิมของข่งจื่อมาสอดแทรกด้วยความเห็น ผสมผสานแนวคิดทางศาสนาพุทธ ลัทธิเต๋า เป็นต้น ลัทธิข่งจื่อแนวใหม่ที่มีอิทธิพลอย่างสูงคือแนวคิดของ จูสี่ ซึ่งมีแนวคิดในการสอนให้เชื่อฟังฝ่ายเดียว และตำหนิการคัดค้านผู้ปกครอง กล่าวคือ ลูกต้องเชื่อฟังพ่อแม่ ภรรยาเชื่อฟังสามี ผู้น้อยเชื่อฟังผู้อาวุโสกว่า เป็นต้น แนวคิดนี้ถูกฟังลึกอยู่ในสังคมจีนจนถึงศตวรรษที่ 19 แต่ยังคงมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวเกาหลี และญี่ปุ่นจนทุกวันนี้
ความคิดเห็น